วันศุกร์ 29 มีนาคม 2024
  • :
  • :
Latest Update

“ตัวการ” ที่ทำให้ไทยยกเลิก โครงการขุดคอคอดกระ ข้อมูลใหม่สมัยรัชกาลที่ ๕

ผู้เขียนไกรฤกษ์ นานา
เผยแพร่
โครงการขุดคอคอดกระในรัชกาลที่ ๕ เป็นแผนงานปริศนามาถึงทุกวันนี้ ปริศนาว่าทำไมพระเจ้าแผ่นดินไทยทรงอนุญาตให้ทีมงานชาวฝรั่งเศสสำรวจและจัดทำแผนที่พร้อมผลักดันโครงการดังกล่าว แต่แล้วคนในสมัยนั้นกลับหยุดยั้งแผนขุดคลองกระโดยกะทันหันเสียเอง เราไม่รู้เลยว่าปัญหาอะไรที่เป็นอุปสรรค
ขัดขวางการขุดคอคอดกระแต่แรก ทว่า การค้นคว้าครั้งใหม่พบว่าผู้เกี่ยวข้องโดยตรงต่างหากที่คัดค้านมิให้แผนการสำเร็จลงได้

พ.ศ. ๒๕๕๙ ทีมวิศวกรชาวจีนได้ลงพื้นที่สำรวจความเป็นไปได้ในการขุดคลองลัดผ่าน “คอคอดกระ” เชื่อมมหาสมุทรอินเดียเข้ากับทะเลจีนใต้ตามทฤษฎีความร่วมมือ One Belt One Road ของประธานาธิบดีสีจิ้นผิง แห่งจีน ผู้ประกาศนโยบายเส้นทางสายไหมทางทะเล (Maritime Silk Road)
ในการนี้จีนพี่ใหญ่ได้จัดตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank หรือ AIIB) ขึ้นเพื่อสนับสนุนเมก้าโปรเจ็คต์ของนโยบายดังกล่าว
เพียง ๖ เดือนหลังการก่อตั้งธนาคาร AIIB ก็มีสมาชิกต่างๆ จากทั่วโลกกว่า ๕๐ ประเทศสมัครเข้ามาเป็นสมาชิกทันที ซึ่งนายโมดี้ นายกรัฐมนตรีของอินเดีย ก็รณรงค์ทันทีในฐานะชาติมหาอำนาจแห่งเอเชียให้เกิดการร่วมมืออย่างเปิดกว้างและกระทำอย่างจริงจังเพื่ออนาคตของชาวเอเชียทั้งมวล
หนึ่งในโครงการเจ้ากรรมก็คือให้มีการรื้อฟื้นแผนการขุดคอคอดกระ (Kra Isthmus) ซึ่งอยู่ในประเทศไทยพาดผ่านเส้นทางสายไหมทางทะเลที่สามารถเชื่อมต่อมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดียเข้าด้วยกัน เป็นจุดเด่นของการคมนาคมขนส่งสู่สากลที่จะช่วยให้การขยายตัวทางการค้าระดับนานาชาติจะได้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและสะดวกมากกว่าที่เป็นอยู่ หากไม่ใช้เส้นทางเดิมผ่านช่องแคบมะละกาที่แน่นขนัดด้วยเรือสินค้าและเวลาเดินทางที่เยิ่นเย้ออ้อมคาบสมุทรมลายูซึ่งดำเนินมากว่า ๕๐๐ ปีแล้วโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย(๑)
ซึ่งแน่นอนว่าทั้งจีน อินเดีย และสมาชิกอีก ๕๐ ประเทศรวมทั้งนักธุรกิจไทยกลุ่มหนึ่งเห็นดีเห็นงามด้วย โดยให้เหตุผลว่าจะเป็นความหวังและอนาคตของชาวเอเชียไม่น้อยไปกว่าชาวโลก
สิ่งที่ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยคือ ความกดดันใหม่ต่อรัฐบาลไทยและชาวไทย ส่วนใหญ่ที่ยังลังเลกับความคิดนี้ เนื่องจากคอคอดกระไม่ใช่เรื่องใหม่เลย แต่เป็นความกดดันเก่าที่เคยสร้างพิษสงต่อการประเมินสถานการณ์ของผู้นำสยามในสมัยรัชกาลที่ ๕ มาแล้วในช่วง ค.ศ. ๑๘๘๑-๘๒ หรือเมื่อ ๑๓๕ ปีที่ผ่านมา(๒)
ในสมัยนั้นความกดดันเกิดขึ้นจากการแข่งขันเพื่อช่วงชิงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจระหว่างชาติมหาอำนาจยุโรปประกอบด้วยอังกฤษและฝรั่งเศสเป็นหลัก แต่ในสมัยนี้ความกดดันเกิดจากฉันทามติของประชาคมโลก ๕๐ กว่าประเทศต่อเจ้าของพื้นที่ดั้งเดิมคือชาวสยาม
บทความนี้เกิดขึ้นเพื่อวิเคราะห์วิจัยถึงผลประโยชน์ส่วนรวม ผลพวงและผลลัพธ์ของโครงการคอคอดกระในสมัยรัชกาลที่ ๕ ลงเอยด้วยการที่ผู้นำประเทศสยามยกเลิกความคิดที่จะขุดคลองลัดสายนี้ ปล่อยให้คนไทย (ในอนาคตคือคนรุ่นเรา) เป็นผู้ตัดสินใจกันเองต่อไป อะไรเป็น “ตัวการ” ที่ผลักดันให้บรรพบุรุษของเราตัดสินใจยุติความคิดนี้เมื่อกว่า ๑ ศตวรรษที่แล้ว?
ทีมงานผู้ชำนาญการชาวฝรั่งเศสสำรวจคอคอดกระใน ค.ศ. ๑๘๘๑ และสร้างแผนที่ตามมาตรฐานสากลฉบับแรกของบริเวณคลองกระที่จะขุด (ภายในเส้นกรอบ) ก่อนเกิดความขัดแย้งกันเองในคณะนักสำรวจชุดนั้น
ความคิดจะขุดคอคอดกระครั้งแรก
ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ (ประมาณรัชกาลที่ ๓) ความคิดเรื่องขุดคอคอดกระเกิดเป็นกระแสขึ้น เริ่มจากชาวอังกฤษก่อน โดยนักสำรวจชาวอังกฤษหลายคนของบริษัทอินเดียตะวันออก (British East India Company) เสนอแนวคิดที่จะหาผลประโยชน์ทางด้านการเดินเรือและเศรษฐกิจของอังกฤษ แต่กัปตันทรีเมนเฮียร์ (Captain G. B. Tremenhere) วิศวกรชาวอังกฤษกลับโต้แย้งว่าการขุดคอคอดกระทำได้ยากเพราะโครงสร้างทางธรณีวิทยาของพื้นที่เป็นหินแข็งพาดผ่านภูเขาหลายลูก ต้องใช้เงินทุนมหาศาลในการขุดเจาะและกินเวลายาวนาน(๑)
ต่อมา นายไรลีย์ (O. Riley) ผู้แทนข้าหลวงอังกฤษเมืองพะโคได้เข้ามาสำรวจคอคอดกระ ใน พ.ศ. ๒๓๙๒ (ค.ศ. ๑๘๔๙) และได้เสนอให้ขุดคลองเชื่อมสาขาของแม่น้ำปากจั่นเข้ากับแม่น้ำชุมพรเพื่อหลีกเลี่ยงพื้นที่ภูเขาพร้อมกับรายงานว่า พื้นที่ดังกล่าวอุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติหลายชนิด เช่น ดีบุก ถ่านหิน ฯลฯ รายงานดังกล่าวทำให้บริเวณคอคอดกระได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น และชาวอังกฤษพยายามที่จะครอบครองมันก่อนคู่แข่งอื่นๆ จากยุโรปเพราะรู้ความตื้นลึกหนาบางของภูมิภาคนี้ดี(๖)
กัปตันริชาร์ด (Captain Richard) เป็นชาวอังกฤษอีกคนหนึ่งที่เข้ามาสำรวจอีกครั้งใน พ.ศ. ๒๓๙๙ และเป็นอีกผู้หนึ่งที่กระตุ้นให้รัฐบาลของตนเห็นความสำคัญของคอคอดกระ เป็นที่น่าสังเกตว่าก่อนหน้ารัชกาลที่ ๔ ของไทย หมายถึงก่อนหน้า พ.ศ. ๒๓๙๔ (ค.ศ. ๑๘๕๑) นั้นเป้าหมายของทางรัฐบาลอังกฤษยังมีเหตุผลทางเศรษฐกิจอยู่เหนือเหตุผลทางการเมือง แต่เมื่อขึ้นรัชกาลที่ ๔ แล้วสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เพราะ ๑. อังกฤษเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญกับฝรั่งมากขึ้นกว่าในรัชกาลก่อนๆ และทรงเกรงใจอังกฤษมากกว่าชาติใดๆ และ ๒. ทรงเชื้อเชิญให้ฝรั่งทุกชาติเข้ามาติดต่อทำสัญญากับสยามอย่างจริงจัง อังกฤษจึงเสนอแนวคิดแบบจู่โจมเรื่องคอคอดกระเพื่อความได้เปรียบก่อนฝรั่งชาติอื่น เหตุผลของอังกฤษเริ่มเปลี่ยนแปลงไปเป็นเหตุผลทางการเมืองเหนือเหตุผลทางเศรษฐกิจ โดยได้จัดส่งนายไวส์ (Mr. H. Wise) แห่งบริษัทลอยด์ (Lloyd Company) เข้ามาเร่งรัดเพราะเห็นว่าคลองนี้จะส่งเสริมแสนยานุภาพของอังกฤษ
ดังนั้น หากพิเคราะห์ดีๆ ก็จะพบว่าเป้าหมายสูงสุดของโครงการขุดคอคอดกระนั้นมิใช่ความต้องการของราชสำนักไทยเลย แต่เป็นแรงกดดันและความต้องการของชาติมหาอำนาจจากตะวันตก ที่มีปัจจัยด้านผลประโยชน์ทางการเมืองและเศรษฐกิจล่อใจอยู่ตั้งแต่ต้น(๖)
แผนที่เส้นทางการเดินทางโดยเรือจากยุโรปผ่านคลองสุเอซ (๑) มาสู่คลองกระ (๒) เพื่อพิชิตตะวันออกไกล (รูปบน) และ (รูปล่าง) แผนที่คอคอดกระที่ถูกสำรวจครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๕ ค.ศ. ๑๘๘๑
อังกฤษเป็นชาวตะวันตกชาติแรกที่จู่โจมเข้ามาออกตัวว่าสนใจที่จะขุดคอคอดกระโดยยกแม่น้ำทั้งห้ามาให้รัชกาลที่ ๔ ทรงตระหนักถึงคุณประโยชน์คลองลัดนี้จะมีต่อการค้าและการเดินทางขนส่งระหว่างประเทศ อันจะเป็นการสร้างชื่อเสียงให้พระองค์และประเทศสยามเป็นที่ปรากฏตามนโยบายเปิดประเทศของพระองค์(๑)
นายไวส์ตัวแทนห้างลอยด์แห่งลอนดอนได้เขียนจดหมายเสนอตัวเข้ามาถวายคำแนะนำต่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๐๒ (ค.ศ. ๑๘๕๙) ซึ่งนับว่าเป็นจดหมายทางการฉบับแรกต่อรัฐบาลสยามเกี่ยวกับโครงการนี้
“ถวาย โยสมายิศตี พระบาทสมเด็จพระเจ้ากรุงสยาม พระองค์เอกข้าพเจ้าได้มียศ เมื่อราชทูตของพระองค์ออกไปอยู่ที่เมืองอังกฤษ ความคิดของบริติชกาวแมนต์ ถึงเรื่องอันจะทำคลองทางเรือเดินทะเลแหลมเมืองกระ เพื่อจะให้ทางเมล์ถึงเมืองจีนสั้นเข้า ข้าพเจ้าก็ได้กล่าวด้วยความยินดีเป็นอันมากว่า โยสมายิศตีมีพระทัยเห็นดีด้วยอย่างนั้น ซึ่งจะให้บ้านเมืองของพระองค์มาชิดใกล้เข้ากับอินเดียและยุโรป แต่บัดนี้ดูเหมือนเพราะราคามาก ที่คาดเป็นค่าที่ทำคลองเดินเรือนั้น คนมีทุนไม่มีใจจะจับแล่นเข้าในการสำคัญนั้น แต่เป็นที่คิดอยู่ว่าทางเล็กจะได้ตลอดแหลมนั้น ถ้าโยสมายิศตีพระองค์จะช่วยสงเคราะห์ในการอันนั้นเป็นอันมาก
ใต้อำนาจการเป็นเช่นนี้ ข้าพเจ้ากล้าวางใจว่า โยสมายิศตีพระองค์จะยกโทษซึ่งข้าพเจ้าแต่งเรื่องราวฝากมาถึงพระองค์ ด้วยเห็นแก่พวกที่คิดจะตั้งตัวขึ้นด้วยชื่อสยามเรลเวลกัมปนีเพื่อจะได้รู้ว่าเพียงไหนการซึ่งจะตั้งขึ้นเป็นที่ถูกพระทัยและเพียงไหน โยสมายิศตีพระองค์จะทรงพระกรุณาช่วย จะพระราชทานให้แผ่นดิน หรือจะโปรดให้มีคนทำหรือประการใด
มีความคิดแทรกเข้ามาว่า โยสมายิศตีพระองค์จะไม่ขัดขวาง แต่จะพระราชทานให้แก่เจ้าพนักงานกัมปนีเป็นนิจ คิดเอาราคาแผ่นดินประมาณสัก ๕ ไมล์หรือสักโยชน์หนึ่งทั้งสองข้างทางเล็กนั้น ให้เขามีอำนาจสำเร็จ จะบังคับพื้นแผ่นดินและการแร่ในแผ่นดินนั้นด้วย เมื่อจะให้เจ้าพนักงานกัมปนีนั้นมีกำลังเกลี้ยกล่อมเก็บเงินให้สมแก่การนั้นด้วยเร็วมิให้เนิ่นช้า
ฝ่ายหนึ่งเล่า ถ้าโยสมายิศตีพระองค์จะต้องพระราชประสงค์การแห่งพวกแอนไชนีย์ของกัมปนีนั้นได้มาช่วยทำทางเล็กใกล้เคียงกันกับกรุงเทพฯ นั้น และเวลาใดจะมีความปรารถนาอยากจะได้อินจเนียอย่างเอกและแท่งเหล็กอันเตรียมเป็นสำรับแล้ว ข้าพเจ้าจะวางใจแน่ว่าต้องพระราชประสงค์ในการนี้หรือการอื่นจะถูกรับด้วยความคิดอันเป็นที่ไว้วางใจ ว่าเรื่องความนี้จะได้ยกเป็นเรื่องอันโยสมายิศตีพระองค์ได้คิดทำความสัญญาตามธรรมเนียมอย่างนอกเป็นความ ๑๐ ข้อ กับหนังสือซึ่งจะตอบออกไปถึงมิศแหนรไวมีความแจ้งอยู่ในนี้ แล้วแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม”(๕)
รัชกาลที่ ๔ ไม่แน่พระราชหฤทัยถึงความมุ่งหมายที่แท้จริงของอังกฤษจึงมิได้ตัดสินพระราชหฤทัยทันทีทันใด เดชะบุญที่ในระยะนั้นอังกฤษยังหาผู้ลงทุนไม่ได้ทำให้แผนของอังกฤษชะงักไปชั่วคราว
แผนการของฝรั่งเศสคือใช้คอคอดกระเป็นเส้นทางใหม่สู่อินโดจีนและเมืองจีน แทนที่จะต้องอ้อมแหลมมลายูของอังกฤษ ตามนโยบายในฝันของฝรั่งเศส (ภาพจากหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๘๘๕)
แต่แม้นว่ารัชกาลที่ ๔ จะทรงสามารถถ่วงเวลามิให้พวกอังกฤษที่ชอบทำเป็นเจ้ากี้เจ้าการเข้ามาขุดคลอง แต่การเร่งเร้าของอังกฤษก็มิได้หมดสิ้นไป กลับปรากฏชัดยิ่งขึ้นโดยเฉพาะเมื่อพวกฝรั่งเศสพุ่งความสนใจมายังคอคอดกระเช่นกันภายหลังประสบความสำเร็จจากการขุดคลองสุเอซเชื่อมยุโรปและมหาสมุทรอินเดียเข้าด้วยกัน ส่งเสริมให้ชื่อเสียงและเทคโนโลยีของฝรั่งเศสแซงหน้าอังกฤษ และเป็นตัวแปรใหม่ที่สร้างความหนักใจให้ไทย
ชาวฝรั่งเศสกลายเป็นปัจจัยใหม่ที่สร้างความหวาดระแวงไม่เฉพาะกับไทยเท่านั้นแต่กับอังกฤษด้วย เพราะฝรั่งเศสเพิ่งจะมีผลงานมาสดๆ ร้อนๆ จากคลองสุเอซที่พิสูจน์ว่าคุ้มค่าคุ้มเวลากับผืนดินที่ขุดออกไป
พวกฝรั่งเศสมีประสบการณ์ขุดคลองมากกว่าอังกฤษ ได้วางแผนแม่บท และตั้งชื่อคลองใหม่อย่างเพราะพริ้งว่าคลองกระ (Kra Isthmus) แต่บางทีก็เรียกว่าคลองตระ ล้วนแต่เป็นคลองเดียวกัน ความคิดของฝรั่งเศสในเรื่องขุดคลองกระเป็นที่เลื่องลือวิพากษ์วิจารณ์กันไปต่างๆ นานา บ้างก็ว่าไทยถูกฝรั่งเศสบังคับ บ้างก็ว่าไทยจะใช้ฝรั่งเศสถ่วงดุลอำนาจอังกฤษ บ้างก็ว่าไทยสนับสนุนฝรั่งเศสเพราะมีผลงานขุดคลองสุเอซมาแล้ว
ทว่า นักประวัติศาสตร์ไทยกลับไม่เชื่อเรื่องพวกนั้นเลย คิดแต่ว่า ๑. ไม่ว่าฝรั่งเศสหรืออังกฤษได้สัมปทานไทยก็จะเสียดินแดนทางภาคใต้ (แหลมมลายู) ไปอย่างแน่นอน และ ๒. ถ้าฝรั่งเศสได้สัมปทานอังกฤษก็ต้องไม่พอใจ เพราะนอกจากจะเสียเพื่อนแล้วยังหมายความว่าไทยจงใจทำให้อังกฤษเสียผลประโยชน์ทางการค้า เพราะจะไม่มีเรือลงไปค้าขายที่เกาะหมาก (ปีนัง) และสิงคโปร์อีกเนื่องจากเรือหันมาใช้คลองกระ ทว่า ที่จริงแล้วไทยไม่สนับสนุนทั้งอังกฤษและฝรั่งเศส แต่ข่าวลือนี้กลับทำให้ไทยเสียหาย เพราะอังกฤษต้องพาลเชื่อว่าไทยสนับสนุนฝรั่งเศสอย่างแน่นอน(๕)
หนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสวาดภาพ นายเฟอร์ดินานด์ เดอ เลสเซป ได้รับการต้อนรับจากชุมชนนานาชาติที่เมืองอเล็กซานเดรียในอียิปต์ ในฐานะผู้อำนวยการขุดคลองสุเอซ (ภาพบน-ล่าง ภาพจาก L’ILLUSTRATION ค.ศ. ๑๘๕๘)
(ภาพขยาย) ภาพวาด นายเดอ เลสเซป ได้รับการต้อนรับจากประชาคมชาติต่างๆ ในอียิปต์ที่เป็นตัวแทนของคนทั้งโลกมาร่วมยินดีในความคิดของเขา
ไทยซื้อเวลาแลกกับการเสียดินแดน
อุบายของไทยคือต้องไม่ผิดใจกับอังกฤษ แต่ก็ต้องไม่ให้ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสเข้าใจผิด ดังสุภาษิตว่าบัวไม่ช้ำ น้ำไม่ขุ่น วิธีที่แยบยลที่สุดก็คือแต่งตั้งเจ้าเมืองลงไปคลี่คลายสถานการณ์ที่เมืองกระ คนๆ นั้นต้องเป็นที่ไว้วางใจของทางราชสำนักและชาวต่างชาติ ในที่สุดก็ทรงเลือกชาวจีนคนหนึ่งที่เป็นคนในบังคับอังกฤษและเป็นนักธุรกิจใหญ่ ส่งลงไปเป็นเจ้าเมืองกระ แต่ที่จริงต้องการส่งลงไปขัดตาทัพมิให้ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสเห็นว่าไทยทอดทิ้งคอคอดกระ เพราะอยู่ไกลหูไกลตาและเป็นเพียงหัวเมืองบ้านนอก เถ้าแก่ผู้นี้ชื่อตันกิมเจ๋ง เป็นเอเย่นต์ส่วนพระองค์อยู่ที่สิงคโปร์ และเป็นคนไว้ใจได้ แต่ที่สำคัญคือแน่พระราชหฤทัยว่าทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสไม่เคยมีความจริงใจต่อสยามในเรื่องขุดคลองกระ มีพระราชดำรัสว่า “ถ้ายอมให้ฝรั่งเศสขุดคลองกระ อังกฤษก็คงพาลชิงเอาหัวเมืองในแหลมมลายู หรือมิฉะนั้นฝรั่งเศสก็พาลชิงเอาเป็นอาณาเขต จะอย่างไรไทยก็ไม่มีกำลังพอจะรบพุ่งป้องกันได้ มีทางที่จะรอดแต่อย่าให้ขุดคลองกระได้” (๗)
(ซ้ายบน) รูปล้อ นายเดอ เลสเซป ในร่างของเทพเฮอร์คิวลิสผู้ทรงพลังแยกแผ่นดินออกจากกันให้เรือมนุษย์ผ่านออกไป, (ขวาบน) ภาพวาด นายเดอ เลสเซป ผู้อยู่เบื้องหลังโครงการขุดคลองสำคัญ ๓ แห่งซึ่งสามารถเชื่อมทุกทวีปเข้าด้วยกัน ได้แก่ คลองสุเอซ-คลองปานามา-คลองกระ, (ล่าง) ภาพ นายเฟอร์ดินานด์ เดอ เลสเซป ผู้มีชื่อเสียงประดับเครื่องราชฯ ของจักรพรรดินโปเลียนที่ ๓ และเจ้าผู้ครองอียิปต์ ต่อมาเขาก็ได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ จากรัชกาลที่ ๕ ในฐานะผู้มีคุณูปการต่อมวลมนุษยชาติ
เหตุที่รัชกาลที่ ๔ ทรงแต่งตั้งเถ้าแก่คนจีนชื่อตันกิมเจ๋งเป็นเจ้าเมืองกระบุรี แล้วพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็นขุนนางไทยเต็มขั้น โดยในขั้นแรกทรงตั้งเป็นพระพิเทศพานิช ต่อมาก็พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาอัษฎงคตทิศรักษาสยามประชานุกูลกิจ ใน พ.ศ. ๒๔๑๑ (ค.ศ. ๑๘๖๘) โดยมีนัยยะทางการเมืองแอบแฝงอยู่ดังที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวถึงในสาส์นสมเด็จว่า
“เรื่องประวัติเมืองกระบุรีนั้น เดิมมีเศรษฐีจีนที่เมืองสิงคโปร์คนหนึ่ง แซ่ตัน ชื่อกิมจิ๋ง เข้ามาค้าขายในกรุงเทพฯ ได้เฝ้าแหนคุ้นเคยชอบพระอัธยาศัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยมีความสวามิภักดิ์จึงทรงตั้งเป็นพระพิเทศพานิช ตำแหน่งกงสุลสยามที่เมืองสิงคโปร์ ครั้นถึงสมัยเมื่อดีบุกขึ้นราคาด้วยขายดีในยุโรป มีพวกฝรั่งและจีนพากันทำการขุดแร่ดีบุกในเมืองมลายูแดนอังกฤษมากขึ้น
พระพิเทศพานิชสืบทราบว่าที่เมืองกระมีแร่ดีบุก จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตทำเหมืองขุดหาแร่ดีบุกที่เมืองนั้น ประจวบเวลามีเหตุสำคัญในทางการเมืองเกิดขึ้น ด้วยเมื่อฝรั่งเศสขุดคลองสุเอชเห็นว่าจะสำเร็จได้ คิดจะขุดคลองลัดแหลมมลายูที่เมืองกระอีกคลอง ๑ เอมเปอเรอนโปเลียนที่ ๓ ให้มาทาบทามรัฐบาลสยาม พอรัฐบาลอังกฤษทราบข่าว ก็ให้มาทาบทามจะขอเกาะสองแขวงเมืองระนอง 
เป็นเกาะเปล่าไม่มีบ้านเรือนผู้คน แต่อยู่ตรงทางเข้าลำน้ำ ‘ปากจั่น’ อันจะเป็นต้นคลองที่ขุดใหม่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า ถ้ายอมให้ฝรั่งเศสขุดคลองกระ อังกฤษก็คงพาลชิงเอาหัวเมืองในแหลมมลายู หรือมิฉะนั้นฝรั่งเศสก็คงพาลชิงเอาเป็นอาณาเขต จะอย่างไรไทยก็ไม่มีกำลังพอจะรบพุ่งป้องกันได้ มีทางที่จะรอดแต่อย่าให้ขุดคลองกระได้ จึงโปรดฯ อนุญาตให้เกาะสองเป็นของอังกฤษๆ เปลี่ยนชื่อเรียกกันว่า เกาะวิกตอเรียอยู่บัดนี้ แต่ยังทรงพระราชวิตกเกรงว่า ฝรั่งเศสจะใช้อุบายอย่างอื่นมาตั้งหลักแหล่งที่เมืองกระ จึงโปรดฯ ให้ยกเมืองกระขึ้นเป็นหัวเมือง และทรงตั้งพระพิเทศพานิชเป็นพระยาอัษฎงคตทิศรักษา ผู้ว่าราชการเมืองกระบุรี เข้าใจว่าเพราะทรงพระราชดำริว่าเป็นคนในบังคับอังกฤษ ถ้าพวกฝรั่งเศสบังอาจมาข่มเหงประการใด ก็คงต้องกระเทือนถึงอังกฤษ แต่จะเป็นเพราะเหตุใดก็ตาม การที่ฝรั่งเศสจะมาขุดคลองกระในครั้งนั้น สงบไปได้ดังพระราชประสงค์”(๗)
แผนการขุดคลองกระที่เริ่มต้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ กลายเป็นเรื่องล่อแหลมด้านความมั่นคง การฉกฉวยผลประโยชน์ และการปกป้องชาติบ้านเมืองมากกว่าผลกำไรทางการค้า และความพัฒนาถาวร เพียงฝรั่งออกปากจะขอขุดคลอง ไทยก็ตั้งการ์ดรับอย่างเสียขวัญและครั่นคร้ามใจ ในยุคนั้นอังกฤษมีอำนาจมาก แม้แต่เมืองจีนยังเอาไม่อยู่ ประเทศที่เล็กกว่าจีนย่อมไม่ใช่ข้อต่อรองสำหรับอังกฤษ ต่อมาเมื่ออังกฤษออกปากขอเกาะสองไว้กันท่าฝรั่งเศส ไทยก็จำใจยกให้โดยไม่ขัดขืน เพื่อไม่ให้อังกฤษพาลหาเรื่องที่ใหญ่โตไปกว่านี้(๑), (๒)
การขุดคอคอดกระในสมัยนี้อาจมองว่าเป็นช่องทางไปสู่ความมั่งคั่งร่ำรวย และแสวงหาผลกำไรทางการค้าของประเทศเจ้าภาพในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม แต่ในสมัยนั้นเป็นแต่ความเสียเปรียบของสยามและหนทางไปสู่การแบ่งแยกดินแดน ทั้งยังเป็นการกอบโกยผลประโยชน์ของนายทุนต่างชาติในขณะที่ประเทศเจ้าภาพยังใช้ระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเอง พออยู่พอกิน และมิใช่ผู้กำหนดนโยบายระหว่างประเทศ อีกทั้งเป็นรองชาติมหาอำนาจในทุกๆ ด้าน
เดิมพันแรกของการรักษาฐานะความเป็นกลางของสยามในสมัยรัชกาลที่ ๔ อันเนื่องมาจากการรบเร้าของอังกฤษ ในการขอสัมปทานขุดคอคอดกระ กดดันให้สยามยอมยกดินแดนผืนน้อย (คือเกาะสอง) ปากแม่น้ำปากจั่นแลกกับการซื้อเวลาจากอังกฤษ(๑)
ภาพ Sa-ld Pasha เจ้าเมืองอียิปต์ ประทานอนุญาตให้ นาย เดอ เลสเซป ขุดคลองเป็นผลสำเร็จ
“คลองกระ” โดยทีมงานผู้ขุดคลองสุเอซ
ทั้งที่ชาวอังกฤษเป็นผู้มีภาษีและอิทธิพลมากกว่าชาติอื่นๆ ที่จะเกลี้ยกล่อมชาวสยามให้คล้อยตามความคิดของพวกตนก็ตาม แต่ทีมงานที่เหนือเมฆกว่าของฝรั่งเศสกลับเป็นตัวแปรที่บดบังกระแสของพวกอังกฤษ พวกฝรั่งเศสเข้ามาพร้อมกับชื่อเสียงของวิศวกรเอกผู้ขุดคลองสุเอซซึ่งเป็นคลองลัดนานาชาติแห่งแรกของโลกที่คนทั่วไปรู้จักจุดกำเนิดของคลองสุเอซอันเป็นคลองลัดที่เชื่อมต่อทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (ทวีปยุโรป) กับทะเลแดง (ทวีปเอเชีย) และเป็นคลองลัดที่ยาวที่สุดแห่งแรกในโลกจะปฏิวัติการเดินทางในอดีตที่ดำเนินมานาน ๒,๐๐๐ ปี อ้อมแหลมกู๊ดโฮป (แอฟริกาใต้) กลายเป็นเรื่องล้าสมัย สิ้นเปลืองค่าโสหุ้ย และเสียเวลา เพราะคลองสุเอซช่วยให้ระยะการเดินทางจากจากยุโรปมาเอเชียสั้นลงกว่าครึ่งเหลือ ๑ ใน ๓ คือใช้เวลาเพียง ๑ เดือน แทนที่จะเป็น ๓ เดือน ดังที่เคยเป็นมา
คนงานชาวอียิปต์นับหมื่นคนถูกระดมมาขุดคลองสุเอซภายใต้การกำกับดูแลของทีมงานฝรั่งเศส
ผู้ที่จุดประกายเรื่องคลองสุเอซคือจักรพรรดินโปเลียนที่ ๑ (ค.ศ. ๑๗๖๙-๑๘๒๑) แห่งฝรั่งเศส ผู้ออกแบบสร้างและดำเนินการขุดก็เป็นวิศวกรฝรั่งเศส เงินลงทุนก็มาจากฝรั่งเศส แถมผู้ที่รับช่วงต่อก็เป็นทายาทเชื้อพระวงศ์ (คือจักรพรรดินโปเลียนที่ ๓ ค.ศ. ๑๘๐๘-๗๓) และสามารถบรรลุเป้าหมายตามอุดมการณ์อันแท้จริงจนได้รับการยกย่องนับถือว่าเป็นต้นแบบของคลองลัดที่ดีที่สุดในโลก
แต่ความฝันของพระองค์ก็ต้องดับวูบลงเพราะมีอุปสรรคเฉพาะหน้าขวางทางอยู่ คือ ๑. ระดับน้ำในทะเล
แดงสูงกว่าระดับน้ำในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนถึง ๑๐ เมตร และต้องใช้เวลาหาทางแก้ปัญหาอีกนาน ๒. จะต้องใช้งบประมาณมหาศาลเกินกว่าที่จำเป็นในการสร้างเขื่อนขนาดยักษ์กั้นน้ำไม่ให้ทะลักเข้ามายังทะเลฝั่งยุโรป ถ้าผิดพลาดก็จะเกิดความหายนะอย่างมิอาจประเมินค่าได้ และ ๓. เกิดสงครามนโปเลียน (ค.ศ. ๑๘๐๔-๑๔) เสียก่อน จบลงด้วยความพ่ายแพ้ของจักรพรรดินโปเลียนที่ ๑ ทำให้โครงการคลองสุเอซมีอันต้องระงับไปชั่วคราว
พอขึ้นรัชกาลจักรพรรดินโปเลียนที่ ๓ (ค.ศ. ๑๘๔๘) พระองค์ทรงมีแนวคิดที่จะรื้อฟื้นความยิ่งใหญ่ของพระราชปิตุลา (จักรพรรดินโปเลียนที่ ๑) จึงทรงสนับสนุนอย่างเต็มที่ให้สร้างคลองสุเอซขึ้นเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการเมืองเต็มรูปแบบ
ภาพวาดมุมสูงของคลองสุเอซเชื่อมทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (มุมล่างซ้าย) กับทะเลแดงและโลกกว้าง (มุมบนขวา) มาตั้งแต่ ค.ศ. ๑๘๖๙ ทุกวันนี้ก็ยังเป็นที่นิยมใช้อยู่ของเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่
รัฐบาลฝรั่งเศสมีเครดิตดีกว่าชาติอื่นๆ ในการรณรงค์ขุดคลองสุเอซ เพราะเมื่อขึ้นรัชกาลจักรพรรดินโปเลียนที่ ๓ รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้นจากอาณานิคม และเศรษฐกิจที่เติบโตขนานใหญ่ อีกทั้งองค์จักรพรรดิก็มิได้สนพระราชหฤทัยในการศึกสงครามเหมือนในสมัยพระราชปิตุลา ทำให้ทรงทุ่มเทงบประมาณและเวลากับโครงการคลองสุเอซได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย ที่สำคัญคือนายช่างใหญ่เจ้าของโครงการนี้คือ นายเดอ เลสเซป (M. Ferdinand de Lessep) เคยดำรงตำแหน่งราชทูตฝรั่งเศสประจำอียิปต์ ช่วงทศวรรษ
ค.ศ. ๑๘๓๐ และเป็นพระสหายสนิทของเจ้าผู้ครองนครอียิปต์ในสมัยนั้นคือ Sa-ld Pasha ช่วยให้ นายเดอ เลสเซป มีช่องทางทำมาหากินพิเศษและเอื้ออำนวยให้เขาได้รับสัมปทานโดยตรงจากรัฐบาลอียิปต์โดยไม่ลำบากนัก
นายเดอ เลสเซป ได้ก่อตั้งบริษัทคลองสุเอซ (The Suez Canal Company หรือ Compagnie Universelle du Canal Maritime de Suez) ขึ้นเมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน ๑๘๕๘ (พ.ศ. ๒๔๐๑) และเริ่มขุดคลองทันทีเมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ๑๘๕๙ (พ.ศ. ๒๔๐๒) โดยเริ่มขุดจากเมืองท่า Port Said บนฝั่งทะเลด้านเอเชียก่อน เรียกต้นทางนี้ว่าด้านเหนือ ปลายทางอยู่ที่เมืองท่า Port Tawfik คือด้านใต้ที่บรรจบกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของยุโรป เมื่อแรกขุดเสร็จคลองนี้มีความยาว ๑๖๔ กิโลเมตร กว้าง ๒๐๕ เมตร ลึก ๒๔ เมตร (ในภายหลังถูกปรับแต่งให้สั้นลงเหลือความยาวเพียง ๑๖๒.๒๕ กิโลเมตร – ผู้เขียน) ใช้เวลาขุดทั้งสิ้น ๑๐ ปีจึงแล้วเสร็จ (ค.ศ. ๑๘๕๙-๖๙)
กระบวนเรือติดธงทิวในวันเปิดคลองสุเอซ ค.ศ. ๑๘๖๙
และเพราะความสำเร็จของฝรั่งเศสจากคลองสุเอซนี่เองที่มัดใจชาวโลกรวมทั้งชาวสยามอย่างดิ้นไม่หลุด
ทั้งที่รู้อยู่แก่ใจว่าโครงการที่มีชาวฝรั่งเศสดำเนินการอยู่มักจะมีอิทธิพลของรัฐบาลรวมทั้งนายทุนและนักการเมืองหนุนหลังอยู่ด้วยเสมอ แต่กระแสแห่งภาพลักษณ์ของประสบการณ์และเทคโนโลยีอันล้ำหน้าก็พิสูจน์ว่าฝรั่งเศสมีอุดมการณ์และแนวคิดที่เปิดเผยกว่าอังกฤษในเรื่องการสร้างหลักประกันและเปิดโอกาสมากกว่าต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจในภาพรวม(๒)
ชื่อเสียงของคนฝรั่งเศสในโครงการนี้จึงกลบกระแสนักล่าอาณานิคมซึ่งทั้งฝรั่งเศสและอังกฤษต่างก็เป็นจำเลยของสังคมลงได้บ้าง ดังจะเห็นว่ารัฐบาลสยามเริ่มมีทัศนคติที่ดีและไว้วางใจบริษัทฝรั่งเศสโดยปิดตาข้างเดียวให้กับการพิจารณาคำขอของคนฝรั่งเศส
สถานการณ์ในสมัยรัชกาลที่ ๕ นั้นเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิงจากสมัยรัชกาลที่ ๔ จากการที่เราเคยปกป้องคอคอดกระอย่างหวงแหน และเคยยึดภาษิตประจำใจอยู่เสมอว่ากันไว้ดีกว่าแก้ และไม่เห็นน้ำตัดกระบอก กลายมาเป็นโยนหินถามทาง และน้ำขึ้นให้รีบตักอย่างรวดเร็ว(๑)
พระราชดำรัสบางตอนของรัชกาลที่ ๕ ต่อคำขอของนักสำรวจจากฝรั่งเศสใน ค.ศ. ๑๘๘๐ โดยการนำของ ม. เดอลองก์ (M. Deloncle) ชี้ว่าทรงให้ความไว้วางใจต่อข้อเสนอของทางฝรั่งเศส ที่เปิดตัวว่า นายเดอ เลสเซป รู้เห็นและสนับสนุนอยู่ ทำให้ดูน่าเชื่อถือมากกว่าอังกฤษ
จดหมายเหตุรัชกาลที่ ๕
ว่าด้วยคำขอของคณะสำรวจจากฝรั่งเศส
จดหมายเหตุรัชกาลที่ ๕ ฉบับที่ ๑ ว่าด้วยจดหมายถ้อยคำซึ่งมองซิเออร์ฟรังซัว เดอลองก์ กราบบังคมทูลและมีพระราชดำรัสตอบในวันเสาร์ เดือน ๗ แรม ๙ ค่ำ ปีมะเมีย จัตวาศก ศักราช ๑๒๔๔
“เสด็จออกพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เวลาบ่าย ๔ โมง มองซิเออร์ เลอด็อกเตออาร์มอง กงซุลและคอมมิสแซฝรั่งเศส นำพระราชสาส์นกรุงเวียตนามทูลเกล้าฯ ถวายแล้วขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ มองซิเออร์ เดลอง เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว มองซิเออร์เดลอง เข้ามาเฝ้า ผู้ซึ่งอยู่ในโต๊ะที่เสด็จออกนั้น พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร พระองค์เจ้าโสณบัณฑิตย์ กงซุลฝรั่งเศสมองซิเออร์ลอยู แต่เจ้าพนักงานกรมท่าและมหาดเล็กเฝ้าอยู่ห่าง แต่พอได้ยินความถนัด มองซิเออร์เดลอง ถวายสำเนาหนังสือซึ่งมองซิเออร์เดอเลสเสปมีมาถึงตัว และหนังสือมองซิเออร์เดลองเอง ทรงทอดพระเนตรแล้ว มองซิเออร์เดลองกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตที่จะขุดคลองในชื่อของมองซิเออร์เดอเลสเสป
ดำรัสว่า การซึ่งจะขุดคลองนี้ ทรงเห็นว่าฝ่ายอังกฤษก็คงจะอยากขุดเหมือนกัน ก็ไม่อยากที่จะให้เป็นการ
ขัดขวางกับอังกฤษ ฝ่ายมองซิเออร์เดอเลสเสปเล่า ก็เป็นคนเคยทำการเห็นปรากฏว่าเป็นคนเคยทำสำเร็จ เราก็ไม่อยากจะขัดขวาง ถ้าการคลองนี้จำเป็นต้องขุดเป็นแน่แล้ว มองซิเออร์เดอเลสเสปจะเป็นผู้ขุด เราก็จะมีความยินดี ด้วยได้เห็นการที่ทำมาแล้ว แต่การตกลงซึ่งจะทำให้คอนเสสชั่นให้เป็นการตกลงแน่ในเวลานี้ไม่ได้ เพราะเหตุที่ยังไม่รู้การตลอด ในแผนที่และการต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์แก่เรา และจะต้องรู้แน่ว่าคอวเวอนเมนต์ต่างๆ ทั้งปวงซึ่งมีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง มีอังกฤษซึ่งเป็นผู้มีผลประโยชน์ใหญ่ เป็นต้น ได้เข้าใจดีตกลงพร้อมกัน เพราะเป็นการสำคัญซึ่งเราจะต้องระวังให้เป็นการเรียบร้อยตลอดไป
มองซิเออร์เดลอง กราบทูลว่า การซึ่งจะพูดกับคอวเวอนเมนต์ต่างประเทศนั้นมองซิเออร์เดอเลสเสปจะรับเป็นธุระพูดจาเอง ไม่ต้องให้ไทยพูด ถึงเมื่อครั้งคลองสุเอซและคลองปานามา เจ้าของก็ไม่พูดจาอันใด มองซิเออร์เดอเลสเสปพูดทั้งสิ้น
ทรงตอบว่า ดีแล้ว ถ้าดังนั้นให้มองซิเออร์เดอเลสเสปพูดจาเสียให้ตกลงก่อน จึงค่อยเอาคอนเสสชั่น(๑)
ทว่า แม้นว่าฝรั่งเศสจะถือไพ่เหนือกว่าอังกฤษในทุกด้าน แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือยังไม่ทรงยินดีที่จะให้สัมปทานในการขุดทันทีทันใด (คอนเสสชั่น = สัมปทาน) จนกว่าจะมีการสำรวจ (เซอร์เวย์) พื้นที่อย่างละเอียดก่อนจึงจะรู้แน่ชัดว่ามีความเป็นไปได้อย่างไร
“ดำรัสถามถึงที่ซึ่งจะขุดและการที่ทำนั้นอย่างไร มองซิเออร์เดลองทูลชี้แจงบ้าง และรวมความลงขอ
พระราชทานคอนเสสชั่น จึงดำรัสว่า การเรื่องที่จะขุดคลองนี้มีข้อขัดขวาง ซึ่งจะยอมให้คอนเสสชั่นไม่ได้เดี๋ยวนี้ ๒ ประการ ประการ ๑ นั้น ยังไม่ทรงทราบว่าการที่ขุดนั้นจะเป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์กันแน่ เพราะที่นั่นยังไม่ได้เซอรเวดู ให้รู้ว่าจะทำยากทำง่ายเป็นประการใด และเรือซึ่งจะมาเดินทางนั้น จะมากน้อยประการใด ก็ยังไม่ได้คิดกะประมาณการเป็นแน่ รวมใจความว่า เมื่อคอวเวอนเมนต์สยามยังไม่ได้พิจารณาการเรื่องนี้โดยละเอียดถ้วนถี่ ให้เห็นว่าจะเป็นประโยชน์แน่แล้ว จะยอมให้คอนเสสชั่นยังไม่ได้
มองซิเออร์เดลองได้กราบทูลว่า แผนที่และประมาณการเรื่องนี้ เขามีพร้อมที่จะยื่นถวายให้ทราบได้ แต่ซึ่งจะเอาเป็นแน่ละเอียดลออ เมื่อก่อนยังไม่ได้เซอรเวนั้นไม่ได้อยู่เอง มองซิเออร์เดอเลสเสปได้คิดไปว่า เมื่อใดได้คอนเสสชั่นแล้วจึงจะประชุมผู้ซึ่งชำนาญในการเซอรเว มาเซอรเวตรวจการให้ได้โดยละเอียดต่อเมื่อตรวจแล้วเห็นว่าควรจะทำ จึงจะทำได้
จึงดำรัสว่า ส่วนกัมปนีจะต้องตรวจให้เห็นว่าควรทำได้แล้วจึงจะทำ ส่วนเราก็ต้องขอตรวจให้รู้ก่อนว่า ควรจะอนุญาตแล้วจึงจะอนุญาตเหมือนกัน เพราะที่เหล่านี้เป็นที่มีบ่อแร่เป็นต้น และสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ของแผ่นดินและของราษฎรอย่างไรบ้าง เราต้องรู้ก่อนที่จะตกลง”(๒)
ทีมงานฝรั่งเศสจึงได้เริ่มการสำรวจ เกิดเป็นแผนที่การสำรวจคอคอดกระของนายเดอลองก์ฉบับ ค.ศ. ๑๘๘๑ ภายใต้พระบรมราชานุญาตของรัชกาลที่ ๕ ในการนี้ทรงมีหมายรับสั่งให้ทีมงานของทางราชสำนักติดตามไปด้วยเพื่อจะได้เปิดเผยและตรวจสอบได้ แต่บังเอิญผู้เชี่ยวชาญฝ่ายไทยดันเป็นคนอังกฤษ แผนงานของพวกฝรั่งเศสจึงไม่ค่อยจะราบรื่นนัก(๔)
เรือเดินสมุทรของอังกฤษจำเป็นต้องใช้คลองสุเอซเดินทางมายังอาณานิคมของตนในเอเชีย (ภาพวาดในหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสสมัยรัชกาลที่ ๕)
กัปตันลอฟตัส ตัวการยับยั้งคลองกระ
การส่งผู้แทนของรัฐบาลสยามที่เป็นชาวยุโรปไปกับคณะของคนฝรั่งเศส เป็นสิ่งที่ทีมงานฝรั่งเศสกลืนไม่เข้าคายไม่ออก มันเหมือนการส่งสายลับฝ่ายตรงข้ามไปกับคู่กรณีอย่างมีเจตนา และไม่เป็นผลดีต่อแผนการของฝรั่งเศสในระยะยาวเลย
ตัวแทนของฝ่ายไทยผู้นี้มีนามว่ากัปตันลอฟตัส ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสำรวจและงานวิศวกรรม รับราชการอยู่กับรัฐบาลสยามมานานตั้งแต่ต้นรัชกาลที่ ๕ แต่การเป็นคนอังกฤษย่อมเป็นหอกข้างแคร่สำหรับชาวฝรั่งเศสอย่างช่วยไม่ได้ และทำให้ภารกิจของชาวฝรั่งเศสไม่ใช่ความลับอีกต่อไป
ใครคือกัปตันลอฟตัส? นาวาเอก อัลเฟรด จอห์น ลอฟตัส (Major Alfred J. Loftus) (ค.ศ. ๑๘๓๔-๙๙) เป็นนายทหารเรือชาวอังกฤษโดยสัญชาติ ท่านได้รับการว่าจ้างให้ทำแผนที่ทางทะเลฉบับแรกให้รัฐบาลสยาม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๔ (ค.ศ. ๑๘๗๑) ภายใต้บังคับบัญชาของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
ต่อมาท่านก็ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้บังคับการเรือพระที่นั่งของรัชกาลที่ ๕ เมื่อเสด็จประพาสอินเดีย (ระหว่างวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๔๑๔-๑๖ มีนาคม ๒๔๑๕ - ผู้เขียน) เมื่อรัชกาลที่ ๕ มีพระชนมพรรษาเพียง ๑๙ พรรษา เป็นผู้ชำนาญการสำรวจทะเลและแม่น้ำของสยาม และเป็นหัวหน้าสำนักงานแผนที่ทางทะเล ท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระนิเทศชลธี เจ้ากรมเซอร์เวย์ทางน้ำ สังกัดกรมท่ากลาง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๙
กัปตันลอฟตัสได้รับความไว้วางใจให้เป็นตัวแทนของรัฐบาลสยามสำรวจคอคอดกระพร้อมกับคณะวิศวกรฝรั่งเศสที่มีนายเดอลองก์เป็นหัวหน้าทีม ใน พ.ศ. ๒๔๒๓-๒๔ (ค.ศ. ๑๘๘๐-๘๑)(๔)
หลังจากลาออกจากราชการไทยท่านก็ยังใช้ชีวิตต่อไปในสยามและได้ก่อตั้งกิจการรถรางเป็นครั้งแรก ทั้งยังเป็นผู้ริเริ่มการเดินรถไฟสายกรุงเทพฯ-ปากน้ำ และเป็นนักธุรกิจชาวอังกฤษผู้มีชื่อเสียงมากในกรุงเทพฯ ในช่วงบั้นปลายชีวิตท่านได้เดินทางไปพักผ่อนที่อังกฤษ แต่ก็ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากรัชกาลที่ ๕ แต่งตั้งให้เป็นกงสุลสยามประจำเมืองเบอร์มิงแฮมในอังกฤษอีกด้วย
กัปตันลอฟตัสเป็นผู้ที่รักเมืองไทยมาก เมื่อท่านถึงแก่กรรมคำสั่งสุดท้ายคือขอให้ผู้ประกอบพิธีศพช่วยห่อร่างของท่านด้วยธงชาติไทย (ธงช้าง) ตอนที่นำร่างท่านไปฝังในสุสาน
การที่รัฐบาลสยามวางตัวกัปตันลอฟตัสให้เป็นผู้แทนติดตามไปกับคณะวิศวกรชาวฝรั่งเศสนอกจากจะทำให้ฝ่ายไทยได้ข้อมูลที่เป็นกลางไม่ฝักใฝ่กลุ่มนายทุนแล้ว ยังพิสูจน์ว่าไทยต้องการข้อมูลเบื้องต้นประกอบการพิจารณา ไม่ได้มุ่งหวังแต่เพียงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับชาติมหาอำนาจอย่างเดียว
การสำรวจเกิดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๔๒๕ (ค.ศ. ๑๘๘๒) จนถึงวันที่ ๔ เมษายน ๒๔๒๖ (ค.ศ. ๑๘๘๒) (ในสมัยรัชกาลที่ ๕ วันขึ้นปีใหม่ตรงกับ ๑ เมษายน แต่ยังเป็น ค.ศ. ๑๘๘๒ – ผู้เขียน) โดยเริ่มสำรวจจากเมืองชุมพรลงไปทางใต้ ได้สำรวจแม่น้ำสวีและแม่น้ำหลังสวนในขั้นแรกจนถึงตำบลที่เรือจะขึ้นไปอีกไม่ได้ แล้วขึ้นช้างเดินป่าต่อไปจนถึงเมืองระนอง จากนั้นลงเรือขึ้นไปทางเหนือตามลำแม่น้ำปากจั่นตลอดถึงเมืองกระบุรี(๔)
ปรากฏว่าเส้นทางที่ควรจะเป็นแนวคลองนั้นต้องผ่านไปในหมู่เทือกเขาที่มีความสูงไม่สม่ำเสมอกัน และมีลักษณะคดเคี้ยวมากขึ้นๆ ลงๆ เป็นลูกคลื่นและต้องอ้อมไปมาตัดเป็นเส้นตรงไม่ได้ สรุปได้ว่าเส้นทางของแนวคลองที่จะขุดนั้นต้องลัดเลาะไประหว่างหุบเขาของเทือกเขาเหล่านั้น หากจะตกแต่งแนวคลองให้เป็นเส้นตรงแล้วก็จะพบอุปสรรคยิ่งขึ้น เส้นทางตอนสูงที่สุดสูงกว่าระดับน้ำทะเลมากถึง ๒๕๐ เมตร โดยพื้นที่ตามเส้นทางที่จะขุดส่วนมากเป็นหินแข็ง
ส่วนตามแม่น้ำปากจั่นที่คาดว่าเรือใหญ่จะเข้ามาจากมหาสมุทรอินเดียนั้นก็คดเคี้ยวและแคบมาก ทั้งยังเต็มไปด้วยสันดอนทรายและมีหินใต้น้ำอยู่ทั่วไป ในฤดูมรสุมก็มีคลื่นลมแรงและไม่น่าจะปลอดภัยสำหรับเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ สรุปแล้วการขุดคลองในแถบนี้ไม่อาจสำเร็จลงได้โดยง่าย
อนึ่ง คณะนักสำรวจได้กะประมาณการไว้ว่าคลองกระน่าจะมีความยาวประมาณ ๑๑๑ กิโลเมตร โดยส่วนที่จะต้องขุดคลองใหม่จะมีความยาวเพียง ๕๓ กิโลเมตร ถ้าแผนงานเกิดขึ้นจริง(๘)
ผลการสำรวจคอคอดกระที่ตอนแรกน่าจะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของทีมงานชาวฝรั่งเศสกลับกลายเป็นการสำรวจร่วมของทีมงานผสมอังกฤษ-ฝรั่งเศส โดยมีกัปตันลอฟตัสเป็นหัวหอกประเมินบทสรุปเสียเองซึ่งดูจะไม่ส่งผลดีต่อความตั้งใจของพวกฝรั่งเศสเอาเลย(๙)
นอกจากกัปตันลอฟตัสจะต่อต้านความคิดทางทฤษฎีของวิศวกรฝรั่งเศสว่าคอคอดกระเป็นพื้นที่ทุรกันดารไม่เหมาะต่อการขุดคลองลัดแล้วเขาก็ยังเดินหน้าขัดขวางการรายงานผลลัพธ์ในที่ประชุมองค์กรระหว่างประเทศถึงกรุงลอนดอน เหมือนการขโมยซีนทีมงานฝรั่งเศสซึ่งๆ หน้า
โดยในราวกลางปี ๒๔๒๖ (ค.ศ. ๑๘๘๓) กัปตันลอฟตัสได้เดินทางไปกล่าวสุนทรพจน์ต่อหน้าที่ประชุมอันทรงเกียรติของราชสมาคมภูมิศาสตร์แห่งสหราชอาณาจักร (The Royal Geographical Society of Great Britain) ตัดหน้านายเดอลองก์โดยโต้แย้งว่าคอคอดกระในสยามมีสภาพไม่เอื้ออำนวยต่อการปรับพื้นที่เพื่อขุดคลองเพราะมีเทือกเขาสูงถึง ๒๕๐ เมตรจากระดับน้ำทะเล ยากต่อการขุดเจาะและไม่คุ้มทุนที่จะเดินหน้าบุกเบิกพื้นที่ผิดธรรมดาตามวัตถุประสงค์ของฝรั่งเศส(๘)
อันว่าราชสมาคมภูมิศาสตร์แห่งสหราชอาณาจักรนี้ เป็นองค์กรเก่าแก่ของอังกฤษที่ได้รับการเคารพนับถือของนักสำรวจจากทั่วโลกก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๓ (ค.ศ. ๑๘๓๐) ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๓ ของไทย ตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและพัฒนาความรู้ด้านการสำรวจค้นคว้าทางภูมิศาสตร์และวิทยาการ เป็นองค์กรที่มีอิทธิพลสูงต่อการโน้มน้าวความเชื่อของนักสำรวจโลกที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ตั้งอยู่ที่กรุงลอนดอน
และถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่บรรดาสมาชิกโดยวิชาชีพนักสำรวจและนักทำแผนที่จะรายงานผลสำรวจของตนให้ทางสมาคมทราบเป็นข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ในหมู่ชน รวมถึงการค้นพบครั้งล่าสุด การตั้งทฤษฎีใหม่บางทีก็หมายถึงการสรุปผลสำรวจทางภูมิศาสตร์ที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติ(๓)
คนรุ่นเราอาจไม่มีทางล่วงรู้เลยว่าทฤษฎีของกัปตันลอฟตัสเท็จจริงประการใด แต่หากมองในแง่บวกอาจเป็นความจริงก็ได้ ในกรณีข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์มันเป็นการยากที่จะแยกสมมุติฐานออกจากข้อเท็จจริงพอๆ กับที่จะแยกข้อเท็จจริงออกจากสมมุติฐาน ดังนั้น เราจำเป็นต้องยึดหลักฐานที่คนรุ่นก่อนยืนยันไว้เป็นเกณฑ์
เพราะยังมีหลักฐานเพิ่มเติมอีกว่าในระยะเดียวกันนั้นเอง (ค.ศ. ๑๘๘๐-๘๓) คณะนักสำรวจฝรั่งเศสอีกชุดหนึ่งของ นายเดอ เลสเซป ที่กำลังขุดคลองปานามา (Panama Canal) ได้ประสบปัญหาทางธรณีวิทยาของพื้นดินที่อ่อนยุ่ยในเขตที่ขุดคลองและไข้ระบาดอย่างหนักจทีมงานฝรั่งเศสจำต้องถอนตัวออกจากปานามาอย่างน่าอับอาย
ในทางปฏิบัติแล้วกัปตันลอฟตัสคือตัวการใหญ่ผู้ยับยั้งแผนงานของพวกฝรั่งเศสอย่างโจ่งแจ้ง เป็น
ผู้มีบทบาทสำคัญทำให้โครงการขุดคอคอดกระถูกยกเลิกไปโดยปริยายและเป็นมือที่สามที่เราไม่รู้จัก
มาก่อน คำทัดทานของท่านมีน้ำหนักและน่าเชื่อถือทั้งจากกลุ่มนายทุนและรัฐบาลสยามเอง(๔)
ปะรำพิธีของประมุขที่มาร่วมในงานเปิดคลองสุเอซ ค.ศ. ๑๘๖๙ (วงกลมด้านขวา) คนกลางคือพระนางเออเจนี พระอัครมเหสีของจักรพรรดินโปเลียนที่ ๓ เสด็จมาเป็นประธานในพิธีเปิดคลองสุเอซ
รัชกาลที่ ๕ ทรงปลอบใจทีมงานฝรั่งเศสอย่างไร?
การยุบโครงการขุดคลองกระโดยกะทันหันทำให้ทีมงานฝรั่งเศสเสียหน้ามิใช่น้อย โครงการขุดคลองปานามาที่ฝรั่งเศสถอนตัวออกมาก็เช่นเดียวกันได้สร้างความปวดร้าวให้ นายเดอ เลสเซป เป็นอย่างมาก ในกรณีของคลองปานามานั้นการเดินหน้าขุดคลองทั้งที่เผชิญอุปสรรคมากมาย เช่น นอกจากข่าวโจมตีพวกฝรั่งเศสว่าติดสินบนสื่อไม่ให้เปิดเผยผลประกอบการต่างๆ แล้ว ไข้ป่า (ในปานามาเรียกไข้เหลือง) ยังได้คร่าชีวิตคนงานพื้นเมืองไปกว่า ๑๐,๐๐๐ คนอีกด้วย(๘)
ตามวิสัยชาวสยามผู้หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าและเห็นอกเห็นใจผู้ประสบเคราะห์กรรมอยู่เสมอ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชบัญชาให้พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ อัครราชทูตสยามประจำกรุงปารีส หาทางรักษาน้ำใจทีมงานชาวฝรั่งเศสเพื่อผดุงมิตรภาพระหว่างกันเอาไว้
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงเขียนบันทึกว่าเพื่อเป็นการซื้อใจพวกฝรั่งเศส ทางรัฐบาลสยามได้จัดงานเลี้ยงรับรองขึ้นที่สถานทูตประจำกรุงปารีสเพื่อเรียกขวัญและเป็นกำลังใจให้แก่ทีมงานวิศวกรชาวฝรั่งเศส(๙)
โดยในวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๑๘๘๔ (พ.ศ. ๒๔๒๗) นายเดอ เลสเซป วิศวกรผู้ออกแบบและขุดคลองสุเอซพร้อมด้วยนายเดอลองก์ วิศวกรและเพื่อนร่วมงานผู้เสนอโครงการขุดคลองกระและชาวคณะทุกคนมีอาทิ กัปตันเบลลิอง (Captain Bellion) นายดรู (Mr. Léon Dru) และ นายเกรอัง (Mr. Grehan) อดีตกงสุลสยามประจำกรุงปารีส ได้รับเชิญมาเป็นเกียรติในงาน(๘)
ภาพวาดพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ อัครราชทูตสยามประจำกรุงปารีส เป็นผู้แทนพระองค์รัชกาลที่ ๕ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาสุราภรณ์มงกุฎไทยให้แก่ นาย เดอ เลสเซป เพื่อเป็นการขอบคุณ
ในการนี้พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงได้อ่านสุนทรพจน์กล่าวขอบคุณทีมงานสำรวจคอคอดกระของนายเดอลองก์และความสำเร็จของการสำรวจครั้งแรกและข้อมูลที่ได้จากใจจริงของราชสำนักสยาม
ทั้งยังได้อ้างถึงพระพรชัยมงคลและพระราชสดุดีของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานมาเป็นพิเศษแก่ นายเดอ เลสเซป ว่าผลงานจากคลองสุเอซของท่านเป็นผลงานอันโดดเด่นที่น่ายกย่องชื่นชม และเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติอย่างไม่ต้องสงสัย
พระองค์ในฐานะองค์พระประมุขของพระราชอาณาจักรแห่งเอเชียตระหนักถึงความสำเร็จและคุณูปการของ นายเดอ เลสเซป จึงได้ถือโอกาสนี้พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยิ่งแห่งกรุงสยามนามว่า “เครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาสุราภรณ์มงกุฎไทย” ชั้นสูงสุด (เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยมีทั้งหมด ๗ ชั้น ชั้นที่ นายเดอ เลสเซป ได้รับพระราชทานมีนามว่า Knight Commander of the Crown of Siam (Grand Cross of the Most Honourable Order of the Crown of Siam) ให้ นายเดอ เลสเซป เป็นเกียรติยศด้วย(๙)
โครงการขุดคอคอดกระในสมัยกาลที่ ๕ ยุติลงโดยสันติวิธีใน พ.ศ. ๒๔๒๘ (ค.ศ. ๑๘๘๕) และไม่ถูกหยิบยกขึ้นมาถกอีกเลยจนตลอดรัชกาล(๒)
ถึงวันนี้บทเรียนจากอดีตเป็นกรณีศึกษาที่คนรุ่นเราควรนำมาไตร่ตรองว่ามีความจำเป็นที่คนรุ่นเราควรหาทางขุดคอคอดกระในวันนี้หรือควรชะลอไว้ก่อนเหมือนครั้งเมื่อบรรพบุรุษของเรายับยั้งไว้ให้คนในอนาคตเป็นผู้ตัดสินใจกันเองเมื่อถึงคราวจำเป็นจริงๆ

เอกสารประกอบการค้นคว้า
(๑) ไกรฤกษ์ นานา. “ตะลึง! Blue Print คอคอดกระ สมัยรัชกาลที่ ๕ มีจริง ตอนที่ ๑ ทำไมรัชกาลที่ ๕ ทรงยอมให้ฝรั่งเศสสำรวจเมืองไทย,” ใน หน้าหนึ่งสยาม. สำนักพิมพ์มติชน, ๒๕๕๖.
(๒) ______. “ตะลึง! Blue Print คอคอดกระ สมัยรัชกาลที่ ๕ มีจริง ตอนจบ ระทึกเหตุที่โครงการถูกยุบ,” ใน หน้าหนึ่งสยาม. สำนักพิมพ์มติชน, ๒๕๕๖.
(๓) ______. “ตีแผ่เบื้องหน้า เบื้องหลัง ทำไมรัชกาลที่ ๕ ทรงคิดทำแผนที่เมืองไทย ‘ฉบับแรก’? ตอนที่ ๑ โยนหินถามทาง,” ใน ศิลปวัฒนธรรม. ปีที่ ๓๕ ฉบับที่ ๙ (กรกฎาคม ๒๕๕๗), น. ๑๑๔-๑๓๓.
(๔) แชน ปัจจุสานนท์, พลเรือตรี. ประวัติการทหารเรือไทย. โรงพิมพ์กรมสารบรรณทหารเรือ, ๒๕๐๙.
(๕) ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม. ชีวิตและงานกงสุลไทย ของ พระยาอนุกุลสยามกิจอุปนิกษิตสยามรัฐ (ตันกิมเจ๋ง) กงสุลเยเนอราลไทยคนแรก ณ เมืองสิงคโปร์. ๒๕๒๕.
(๖) ปิยนาถ บุนนาค. “เรื่องคอคอดกระ,” ใน สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย เล่ม ๒ (อักษร ข-จ) ฉบับราชบัณฑิตยสถาน.
(๗) ลายพระหัตถ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงมีโต้ตอบกับสมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๘ ใน สาส์นสมเด็จ เล่ม ๖. คุรุสภา, ๒๕๐๔.
(๘) Comte A. Mahé de la Bourdonnais. A French Engineer in Burma and Siam (1880). White Lotus, 2003.
(๙) Manich Jumsai, M.L. Prince Prisdang’s Files on His Diplomatic Activities in Europe, 1880-1886. Chalermnit, 1977.
เผยแพร่
โครงการขุดคอคอดกระในรัชกาลที่ ๕ เป็นแผนงานปริศนามาถึงทุกวันนี้ ปริศนาว่าทำไมพระเจ้าแผ่นดินไทยทรงอนุญาตให้ทีมงานชาวฝรั่งเศสสำรวจและจัดทำแผนที่พร้อมผลักดันโครงการดังกล่าว แต่แล้วคนในสมัยนั้นกลับหยุดยั้งแผนขุดคลองกระโดยกะทันหันเสียเอง เราไม่รู้เลยว่าปัญหาอะไรที่เป็นอุปสรรค
ขัดขวางการขุดคอคอดกระแต่แรก ทว่า การค้นคว้าครั้งใหม่พบว่าผู้เกี่ยวข้องโดยตรงต่างหากที่คัดค้านมิให้แผนการสำเร็จลงได้

พ.ศ. ๒๕๕๙ ทีมวิศวกรชาวจีนได้ลงพื้นที่สำรวจความเป็นไปได้ในการขุดคลองลัดผ่าน “คอคอดกระ” เชื่อมมหาสมุทรอินเดียเข้ากับทะเลจีนใต้ตามทฤษฎีความร่วมมือ One Belt One Road ของประธานาธิบดีสีจิ้นผิง แห่งจีน ผู้ประกาศนโยบายเส้นทางสายไหมทางทะเล (Maritime Silk Road)
ในการนี้จีนพี่ใหญ่ได้จัดตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank หรือ AIIB) ขึ้นเพื่อสนับสนุนเมก้าโปรเจ็คต์ของนโยบายดังกล่าว
เพียง ๖ เดือนหลังการก่อตั้งธนาคาร AIIB ก็มีสมาชิกต่างๆ จากทั่วโลกกว่า ๕๐ ประเทศสมัครเข้ามาเป็นสมาชิกทันที ซึ่งนายโมดี้ นายกรัฐมนตรีของอินเดีย ก็รณรงค์ทันทีในฐานะชาติมหาอำนาจแห่งเอเชียให้เกิดการร่วมมืออย่างเปิดกว้างและกระทำอย่างจริงจังเพื่ออนาคตของชาวเอเชียทั้งมวล
หนึ่งในโครงการเจ้ากรรมก็คือให้มีการรื้อฟื้นแผนการขุดคอคอดกระ (Kra Isthmus) ซึ่งอยู่ในประเทศไทยพาดผ่านเส้นทางสายไหมทางทะเลที่สามารถเชื่อมต่อมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดียเข้าด้วยกัน เป็นจุดเด่นของการคมนาคมขนส่งสู่สากลที่จะช่วยให้การขยายตัวทางการค้าระดับนานาชาติจะได้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและสะดวกมากกว่าที่เป็นอยู่ หากไม่ใช้เส้นทางเดิมผ่านช่องแคบมะละกาที่แน่นขนัดด้วยเรือสินค้าและเวลาเดินทางที่เยิ่นเย้ออ้อมคาบสมุทรมลายูซึ่งดำเนินมากว่า ๕๐๐ ปีแล้วโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย(๑)
ซึ่งแน่นอนว่าทั้งจีน อินเดีย และสมาชิกอีก ๕๐ ประเทศรวมทั้งนักธุรกิจไทยกลุ่มหนึ่งเห็นดีเห็นงามด้วย โดยให้เหตุผลว่าจะเป็นความหวังและอนาคตของชาวเอเชียไม่น้อยไปกว่าชาวโลก
สิ่งที่ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยคือ ความกดดันใหม่ต่อรัฐบาลไทยและชาวไทย ส่วนใหญ่ที่ยังลังเลกับความคิดนี้ เนื่องจากคอคอดกระไม่ใช่เรื่องใหม่เลย แต่เป็นความกดดันเก่าที่เคยสร้างพิษสงต่อการประเมินสถานการณ์ของผู้นำสยามในสมัยรัชกาลที่ ๕ มาแล้วในช่วง ค.ศ. ๑๘๘๑-๘๒ หรือเมื่อ ๑๓๕ ปีที่ผ่านมา(๒)
ในสมัยนั้นความกดดันเกิดขึ้นจากการแข่งขันเพื่อช่วงชิงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจระหว่างชาติมหาอำนาจยุโรปประกอบด้วยอังกฤษและฝรั่งเศสเป็นหลัก แต่ในสมัยนี้ความกดดันเกิดจากฉันทามติของประชาคมโลก ๕๐ กว่าประเทศต่อเจ้าของพื้นที่ดั้งเดิมคือชาวสยาม
บทความนี้เกิดขึ้นเพื่อวิเคราะห์วิจัยถึงผลประโยชน์ส่วนรวม ผลพวงและผลลัพธ์ของโครงการคอคอดกระในสมัยรัชกาลที่ ๕ ลงเอยด้วยการที่ผู้นำประเทศสยามยกเลิกความคิดที่จะขุดคลองลัดสายนี้ ปล่อยให้คนไทย (ในอนาคตคือคนรุ่นเรา) เป็นผู้ตัดสินใจกันเองต่อไป อะไรเป็น “ตัวการ” ที่ผลักดันให้บรรพบุรุษของเราตัดสินใจยุติความคิดนี้เมื่อกว่า ๑ ศตวรรษที่แล้ว?
ทีมงานผู้ชำนาญการชาวฝรั่งเศสสำรวจคอคอดกระใน ค.ศ. ๑๘๘๑ และสร้างแผนที่ตามมาตรฐานสากลฉบับแรกของบริเวณคลองกระที่จะขุด (ภายในเส้นกรอบ) ก่อนเกิดความขัดแย้งกันเองในคณะนักสำรวจชุดนั้น
ความคิดจะขุดคอคอดกระครั้งแรก
ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ (ประมาณรัชกาลที่ ๓) ความคิดเรื่องขุดคอคอดกระเกิดเป็นกระแสขึ้น เริ่มจากชาวอังกฤษก่อน โดยนักสำรวจชาวอังกฤษหลายคนของบริษัทอินเดียตะวันออก (British East India Company) เสนอแนวคิดที่จะหาผลประโยชน์ทางด้านการเดินเรือและเศรษฐกิจของอังกฤษ แต่กัปตันทรีเมนเฮียร์ (Captain G. B. Tremenhere) วิศวกรชาวอังกฤษกลับโต้แย้งว่าการขุดคอคอดกระทำได้ยากเพราะโครงสร้างทางธรณีวิทยาของพื้นที่เป็นหินแข็งพาดผ่านภูเขาหลายลูก ต้องใช้เงินทุนมหาศาลในการขุดเจาะและกินเวลายาวนาน(๑)
ต่อมา นายไรลีย์ (O. Riley) ผู้แทนข้าหลวงอังกฤษเมืองพะโคได้เข้ามาสำรวจคอคอดกระ ใน พ.ศ. ๒๓๙๒ (ค.ศ. ๑๘๔๙) และได้เสนอให้ขุดคลองเชื่อมสาขาของแม่น้ำปากจั่นเข้ากับแม่น้ำชุมพรเพื่อหลีกเลี่ยงพื้นที่ภูเขาพร้อมกับรายงานว่า พื้นที่ดังกล่าวอุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติหลายชนิด เช่น ดีบุก ถ่านหิน ฯลฯ รายงานดังกล่าวทำให้บริเวณคอคอดกระได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น และชาวอังกฤษพยายามที่จะครอบครองมันก่อนคู่แข่งอื่นๆ จากยุโรปเพราะรู้ความตื้นลึกหนาบางของภูมิภาคนี้ดี(๖)
กัปตันริชาร์ด (Captain Richard) เป็นชาวอังกฤษอีกคนหนึ่งที่เข้ามาสำรวจอีกครั้งใน พ.ศ. ๒๓๙๙ และเป็นอีกผู้หนึ่งที่กระตุ้นให้รัฐบาลของตนเห็นความสำคัญของคอคอดกระ เป็นที่น่าสังเกตว่าก่อนหน้ารัชกาลที่ ๔ ของไทย หมายถึงก่อนหน้า พ.ศ. ๒๓๙๔ (ค.ศ. ๑๘๕๑) นั้นเป้าหมายของทางรัฐบาลอังกฤษยังมีเหตุผลทางเศรษฐกิจอยู่เหนือเหตุผลทางการเมือง แต่เมื่อขึ้นรัชกาลที่ ๔ แล้วสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เพราะ ๑. อังกฤษเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญกับฝรั่งมากขึ้นกว่าในรัชกาลก่อนๆ และทรงเกรงใจอังกฤษมากกว่าชาติใดๆ และ ๒. ทรงเชื้อเชิญให้ฝรั่งทุกชาติเข้ามาติดต่อทำสัญญากับสยามอย่างจริงจัง อังกฤษจึงเสนอแนวคิดแบบจู่โจมเรื่องคอคอดกระเพื่อความได้เปรียบก่อนฝรั่งชาติอื่น เหตุผลของอังกฤษเริ่มเปลี่ยนแปลงไปเป็นเหตุผลทางการเมืองเหนือเหตุผลทางเศรษฐกิจ โดยได้จัดส่งนายไวส์ (Mr. H. Wise) แห่งบริษัทลอยด์ (Lloyd Company) เข้ามาเร่งรัดเพราะเห็นว่าคลองนี้จะส่งเสริมแสนยานุภาพของอังกฤษ
ดังนั้น หากพิเคราะห์ดีๆ ก็จะพบว่าเป้าหมายสูงสุดของโครงการขุดคอคอดกระนั้นมิใช่ความต้องการของราชสำนักไทยเลย แต่เป็นแรงกดดันและความต้องการของชาติมหาอำนาจจากตะวันตก ที่มีปัจจัยด้านผลประโยชน์ทางการเมืองและเศรษฐกิจล่อใจอยู่ตั้งแต่ต้น(๖)
แผนที่เส้นทางการเดินทางโดยเรือจากยุโรปผ่านคลองสุเอซ (๑) มาสู่คลองกระ (๒) เพื่อพิชิตตะวันออกไกล (รูปบน) และ (รูปล่าง) แผนที่คอคอดกระที่ถูกสำรวจครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๕ ค.ศ. ๑๘๘๑
อังกฤษเป็นชาวตะวันตกชาติแรกที่จู่โจมเข้ามาออกตัวว่าสนใจที่จะขุดคอคอดกระโดยยกแม่น้ำทั้งห้ามาให้รัชกาลที่ ๔ ทรงตระหนักถึงคุณประโยชน์คลองลัดนี้จะมีต่อการค้าและการเดินทางขนส่งระหว่างประเทศ อันจะเป็นการสร้างชื่อเสียงให้พระองค์และประเทศสยามเป็นที่ปรากฏตามนโยบายเปิดประเทศของพระองค์(๑)
นายไวส์ตัวแทนห้างลอยด์แห่งลอนดอนได้เขียนจดหมายเสนอตัวเข้ามาถวายคำแนะนำต่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๐๒ (ค.ศ. ๑๘๕๙) ซึ่งนับว่าเป็นจดหมายทางการฉบับแรกต่อรัฐบาลสยามเกี่ยวกับโครงการนี้
“ถวาย โยสมายิศตี พระบาทสมเด็จพระเจ้ากรุงสยาม พระองค์เอกข้าพเจ้าได้มียศ เมื่อราชทูตของพระองค์ออกไปอยู่ที่เมืองอังกฤษ ความคิดของบริติชกาวแมนต์ ถึงเรื่องอันจะทำคลองทางเรือเดินทะเลแหลมเมืองกระ เพื่อจะให้ทางเมล์ถึงเมืองจีนสั้นเข้า ข้าพเจ้าก็ได้กล่าวด้วยความยินดีเป็นอันมากว่า โยสมายิศตีมีพระทัยเห็นดีด้วยอย่างนั้น ซึ่งจะให้บ้านเมืองของพระองค์มาชิดใกล้เข้ากับอินเดียและยุโรป แต่บัดนี้ดูเหมือนเพราะราคามาก ที่คาดเป็นค่าที่ทำคลองเดินเรือนั้น คนมีทุนไม่มีใจจะจับแล่นเข้าในการสำคัญนั้น แต่เป็นที่คิดอยู่ว่าทางเล็กจะได้ตลอดแหลมนั้น ถ้าโยสมายิศตีพระองค์จะช่วยสงเคราะห์ในการอันนั้นเป็นอันมาก
ใต้อำนาจการเป็นเช่นนี้ ข้าพเจ้ากล้าวางใจว่า โยสมายิศตีพระองค์จะยกโทษซึ่งข้าพเจ้าแต่งเรื่องราวฝากมาถึงพระองค์ ด้วยเห็นแก่พวกที่คิดจะตั้งตัวขึ้นด้วยชื่อสยามเรลเวลกัมปนีเพื่อจะได้รู้ว่าเพียงไหนการซึ่งจะตั้งขึ้นเป็นที่ถูกพระทัยและเพียงไหน โยสมายิศตีพระองค์จะทรงพระกรุณาช่วย จะพระราชทานให้แผ่นดิน หรือจะโปรดให้มีคนทำหรือประการใด
มีความคิดแทรกเข้ามาว่า โยสมายิศตีพระองค์จะไม่ขัดขวาง แต่จะพระราชทานให้แก่เจ้าพนักงานกัมปนีเป็นนิจ คิดเอาราคาแผ่นดินประมาณสัก ๕ ไมล์หรือสักโยชน์หนึ่งทั้งสองข้างทางเล็กนั้น ให้เขามีอำนาจสำเร็จ จะบังคับพื้นแผ่นดินและการแร่ในแผ่นดินนั้นด้วย เมื่อจะให้เจ้าพนักงานกัมปนีนั้นมีกำลังเกลี้ยกล่อมเก็บเงินให้สมแก่การนั้นด้วยเร็วมิให้เนิ่นช้า
ฝ่ายหนึ่งเล่า ถ้าโยสมายิศตีพระองค์จะต้องพระราชประสงค์การแห่งพวกแอนไชนีย์ของกัมปนีนั้นได้มาช่วยทำทางเล็กใกล้เคียงกันกับกรุงเทพฯ นั้น และเวลาใดจะมีความปรารถนาอยากจะได้อินจเนียอย่างเอกและแท่งเหล็กอันเตรียมเป็นสำรับแล้ว ข้าพเจ้าจะวางใจแน่ว่าต้องพระราชประสงค์ในการนี้หรือการอื่นจะถูกรับด้วยความคิดอันเป็นที่ไว้วางใจ ว่าเรื่องความนี้จะได้ยกเป็นเรื่องอันโยสมายิศตีพระองค์ได้คิดทำความสัญญาตามธรรมเนียมอย่างนอกเป็นความ ๑๐ ข้อ กับหนังสือซึ่งจะตอบออกไปถึงมิศแหนรไวมีความแจ้งอยู่ในนี้ แล้วแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม”(๕)
รัชกาลที่ ๔ ไม่แน่พระราชหฤทัยถึงความมุ่งหมายที่แท้จริงของอังกฤษจึงมิได้ตัดสินพระราชหฤทัยทันทีทันใด เดชะบุญที่ในระยะนั้นอังกฤษยังหาผู้ลงทุนไม่ได้ทำให้แผนของอังกฤษชะงักไปชั่วคราว
แผนการของฝรั่งเศสคือใช้คอคอดกระเป็นเส้นทางใหม่สู่อินโดจีนและเมืองจีน แทนที่จะต้องอ้อมแหลมมลายูของอังกฤษ ตามนโยบายในฝันของฝรั่งเศส (ภาพจากหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๘๘๕)
แต่แม้นว่ารัชกาลที่ ๔ จะทรงสามารถถ่วงเวลามิให้พวกอังกฤษที่ชอบทำเป็นเจ้ากี้เจ้าการเข้ามาขุดคลอง แต่การเร่งเร้าของอังกฤษก็มิได้หมดสิ้นไป กลับปรากฏชัดยิ่งขึ้นโดยเฉพาะเมื่อพวกฝรั่งเศสพุ่งความสนใจมายังคอคอดกระเช่นกันภายหลังประสบความสำเร็จจากการขุดคลองสุเอซเชื่อมยุโรปและมหาสมุทรอินเดียเข้าด้วยกัน ส่งเสริมให้ชื่อเสียงและเทคโนโลยีของฝรั่งเศสแซงหน้าอังกฤษ และเป็นตัวแปรใหม่ที่สร้างความหนักใจให้ไทย
ชาวฝรั่งเศสกลายเป็นปัจจัยใหม่ที่สร้างความหวาดระแวงไม่เฉพาะกับไทยเท่านั้นแต่กับอังกฤษด้วย เพราะฝรั่งเศสเพิ่งจะมีผลงานมาสดๆ ร้อนๆ จากคลองสุเอซที่พิสูจน์ว่าคุ้มค่าคุ้มเวลากับผืนดินที่ขุดออกไป
พวกฝรั่งเศสมีประสบการณ์ขุดคลองมากกว่าอังกฤษ ได้วางแผนแม่บท และตั้งชื่อคลองใหม่อย่างเพราะพริ้งว่าคลองกระ (Kra Isthmus) แต่บางทีก็เรียกว่าคลองตระ ล้วนแต่เป็นคลองเดียวกัน ความคิดของฝรั่งเศสในเรื่องขุดคลองกระเป็นที่เลื่องลือวิพากษ์วิจารณ์กันไปต่างๆ นานา บ้างก็ว่าไทยถูกฝรั่งเศสบังคับ บ้างก็ว่าไทยจะใช้ฝรั่งเศสถ่วงดุลอำนาจอังกฤษ บ้างก็ว่าไทยสนับสนุนฝรั่งเศสเพราะมีผลงานขุดคลองสุเอซมาแล้ว
ทว่า นักประวัติศาสตร์ไทยกลับไม่เชื่อเรื่องพวกนั้นเลย คิดแต่ว่า ๑. ไม่ว่าฝรั่งเศสหรืออังกฤษได้สัมปทานไทยก็จะเสียดินแดนทางภาคใต้ (แหลมมลายู) ไปอย่างแน่นอน และ ๒. ถ้าฝรั่งเศสได้สัมปทานอังกฤษก็ต้องไม่พอใจ เพราะนอกจากจะเสียเพื่อนแล้วยังหมายความว่าไทยจงใจทำให้อังกฤษเสียผลประโยชน์ทางการค้า เพราะจะไม่มีเรือลงไปค้าขายที่เกาะหมาก (ปีนัง) และสิงคโปร์อีกเนื่องจากเรือหันมาใช้คลองกระ ทว่า ที่จริงแล้วไทยไม่สนับสนุนทั้งอังกฤษและฝรั่งเศส แต่ข่าวลือนี้กลับทำให้ไทยเสียหาย เพราะอังกฤษต้องพาลเชื่อว่าไทยสนับสนุนฝรั่งเศสอย่างแน่นอน(๕)
หนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสวาดภาพ นายเฟอร์ดินานด์ เดอ เลสเซป ได้รับการต้อนรับจากชุมชนนานาชาติที่เมืองอเล็กซานเดรียในอียิปต์ ในฐานะผู้อำนวยการขุดคลองสุเอซ (ภาพบน-ล่าง ภาพจาก L’ILLUSTRATION ค.ศ. ๑๘๕๘)
(ภาพขยาย) ภาพวาด นายเดอ เลสเซป ได้รับการต้อนรับจากประชาคมชาติต่างๆ ในอียิปต์ที่เป็นตัวแทนของคนทั้งโลกมาร่วมยินดีในความคิดของเขา
ไทยซื้อเวลาแลกกับการเสียดินแดน
อุบายของไทยคือต้องไม่ผิดใจกับอังกฤษ แต่ก็ต้องไม่ให้ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสเข้าใจผิด ดังสุภาษิตว่าบัวไม่ช้ำ น้ำไม่ขุ่น วิธีที่แยบยลที่สุดก็คือแต่งตั้งเจ้าเมืองลงไปคลี่คลายสถานการณ์ที่เมืองกระ คนๆ นั้นต้องเป็นที่ไว้วางใจของทางราชสำนักและชาวต่างชาติ ในที่สุดก็ทรงเลือกชาวจีนคนหนึ่งที่เป็นคนในบังคับอังกฤษและเป็นนักธุรกิจใหญ่ ส่งลงไปเป็นเจ้าเมืองกระ แต่ที่จริงต้องการส่งลงไปขัดตาทัพมิให้ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสเห็นว่าไทยทอดทิ้งคอคอดกระ เพราะอยู่ไกลหูไกลตาและเป็นเพียงหัวเมืองบ้านนอก เถ้าแก่ผู้นี้ชื่อตันกิมเจ๋ง เป็นเอเย่นต์ส่วนพระองค์อยู่ที่สิงคโปร์ และเป็นคนไว้ใจได้ แต่ที่สำคัญคือแน่พระราชหฤทัยว่าทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสไม่เคยมีความจริงใจต่อสยามในเรื่องขุดคลองกระ มีพระราชดำรัสว่า “ถ้ายอมให้ฝรั่งเศสขุดคลองกระ อังกฤษก็คงพาลชิงเอาหัวเมืองในแหลมมลายู หรือมิฉะนั้นฝรั่งเศสก็พาลชิงเอาเป็นอาณาเขต จะอย่างไรไทยก็ไม่มีกำลังพอจะรบพุ่งป้องกันได้ มีทางที่จะรอดแต่อย่าให้ขุดคลองกระได้” (๗)
(ซ้ายบน) รูปล้อ นายเดอ เลสเซป ในร่างของเทพเฮอร์คิวลิสผู้ทรงพลังแยกแผ่นดินออกจากกันให้เรือมนุษย์ผ่านออกไป, (ขวาบน) ภาพวาด นายเดอ เลสเซป ผู้อยู่เบื้องหลังโครงการขุดคลองสำคัญ ๓ แห่งซึ่งสามารถเชื่อมทุกทวีปเข้าด้วยกัน ได้แก่ คลองสุเอซ-คลองปานามา-คลองกระ, (ล่าง) ภาพ นายเฟอร์ดินานด์ เดอ เลสเซป ผู้มีชื่อเสียงประดับเครื่องราชฯ ของจักรพรรดินโปเลียนที่ ๓ และเจ้าผู้ครองอียิปต์ ต่อมาเขาก็ได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ จากรัชกาลที่ ๕ ในฐานะผู้มีคุณูปการต่อมวลมนุษยชาติ
เหตุที่รัชกาลที่ ๔ ทรงแต่งตั้งเถ้าแก่คนจีนชื่อตันกิมเจ๋งเป็นเจ้าเมืองกระบุรี แล้วพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็นขุนนางไทยเต็มขั้น โดยในขั้นแรกทรงตั้งเป็นพระพิเทศพานิช ต่อมาก็พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาอัษฎงคตทิศรักษาสยามประชานุกูลกิจ ใน พ.ศ. ๒๔๑๑ (ค.ศ. ๑๘๖๘) โดยมีนัยยะทางการเมืองแอบแฝงอยู่ดังที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวถึงในสาส์นสมเด็จว่า
“เรื่องประวัติเมืองกระบุรีนั้น เดิมมีเศรษฐีจีนที่เมืองสิงคโปร์คนหนึ่ง แซ่ตัน ชื่อกิมจิ๋ง เข้ามาค้าขายในกรุงเทพฯ ได้เฝ้าแหนคุ้นเคยชอบพระอัธยาศัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยมีความสวามิภักดิ์จึงทรงตั้งเป็นพระพิเทศพานิช ตำแหน่งกงสุลสยามที่เมืองสิงคโปร์ ครั้นถึงสมัยเมื่อดีบุกขึ้นราคาด้วยขายดีในยุโรป มีพวกฝรั่งและจีนพากันทำการขุดแร่ดีบุกในเมืองมลายูแดนอังกฤษมากขึ้น
พระพิเทศพานิชสืบทราบว่าที่เมืองกระมีแร่ดีบุก จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตทำเหมืองขุดหาแร่ดีบุกที่เมืองนั้น ประจวบเวลามีเหตุสำคัญในทางการเมืองเกิดขึ้น ด้วยเมื่อฝรั่งเศสขุดคลองสุเอชเห็นว่าจะสำเร็จได้ คิดจะขุดคลองลัดแหลมมลายูที่เมืองกระอีกคลอง ๑ เอมเปอเรอนโปเลียนที่ ๓ ให้มาทาบทามรัฐบาลสยาม พอรัฐบาลอังกฤษทราบข่าว ก็ให้มาทาบทามจะขอเกาะสองแขวงเมืองระนอง 
เป็นเกาะเปล่าไม่มีบ้านเรือนผู้คน แต่อยู่ตรงทางเข้าลำน้ำ ‘ปากจั่น’ อันจะเป็นต้นคลองที่ขุดใหม่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า ถ้ายอมให้ฝรั่งเศสขุดคลองกระ อังกฤษก็คงพาลชิงเอาหัวเมืองในแหลมมลายู หรือมิฉะนั้นฝรั่งเศสก็คงพาลชิงเอาเป็นอาณาเขต จะอย่างไรไทยก็ไม่มีกำลังพอจะรบพุ่งป้องกันได้ มีทางที่จะรอดแต่อย่าให้ขุดคลองกระได้ จึงโปรดฯ อนุญาตให้เกาะสองเป็นของอังกฤษๆ เปลี่ยนชื่อเรียกกันว่า เกาะวิกตอเรียอยู่บัดนี้ แต่ยังทรงพระราชวิตกเกรงว่า ฝรั่งเศสจะใช้อุบายอย่างอื่นมาตั้งหลักแหล่งที่เมืองกระ จึงโปรดฯ ให้ยกเมืองกระขึ้นเป็นหัวเมือง และทรงตั้งพระพิเทศพานิชเป็นพระยาอัษฎงคตทิศรักษา ผู้ว่าราชการเมืองกระบุรี เข้าใจว่าเพราะทรงพระราชดำริว่าเป็นคนในบังคับอังกฤษ ถ้าพวกฝรั่งเศสบังอาจมาข่มเหงประการใด ก็คงต้องกระเทือนถึงอังกฤษ แต่จะเป็นเพราะเหตุใดก็ตาม การที่ฝรั่งเศสจะมาขุดคลองกระในครั้งนั้น สงบไปได้ดังพระราชประสงค์”(๗)
แผนการขุดคลองกระที่เริ่มต้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ กลายเป็นเรื่องล่อแหลมด้านความมั่นคง การฉกฉวยผลประโยชน์ และการปกป้องชาติบ้านเมืองมากกว่าผลกำไรทางการค้า และความพัฒนาถาวร เพียงฝรั่งออกปากจะขอขุดคลอง ไทยก็ตั้งการ์ดรับอย่างเสียขวัญและครั่นคร้ามใจ ในยุคนั้นอังกฤษมีอำนาจมาก แม้แต่เมืองจีนยังเอาไม่อยู่ ประเทศที่เล็กกว่าจีนย่อมไม่ใช่ข้อต่อรองสำหรับอังกฤษ ต่อมาเมื่ออังกฤษออกปากขอเกาะสองไว้กันท่าฝรั่งเศส ไทยก็จำใจยกให้โดยไม่ขัดขืน เพื่อไม่ให้อังกฤษพาลหาเรื่องที่ใหญ่โตไปกว่านี้(๑), (๒)
การขุดคอคอดกระในสมัยนี้อาจมองว่าเป็นช่องทางไปสู่ความมั่งคั่งร่ำรวย และแสวงหาผลกำไรทางการค้าของประเทศเจ้าภาพในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม แต่ในสมัยนั้นเป็นแต่ความเสียเปรียบของสยามและหนทางไปสู่การแบ่งแยกดินแดน ทั้งยังเป็นการกอบโกยผลประโยชน์ของนายทุนต่างชาติในขณะที่ประเทศเจ้าภาพยังใช้ระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเอง พออยู่พอกิน และมิใช่ผู้กำหนดนโยบายระหว่างประเทศ อีกทั้งเป็นรองชาติมหาอำนาจในทุกๆ ด้าน
เดิมพันแรกของการรักษาฐานะความเป็นกลางของสยามในสมัยรัชกาลที่ ๔ อันเนื่องมาจากการรบเร้าของอังกฤษ ในการขอสัมปทานขุดคอคอดกระ กดดันให้สยามยอมยกดินแดนผืนน้อย (คือเกาะสอง) ปากแม่น้ำปากจั่นแลกกับการซื้อเวลาจากอังกฤษ(๑)
ภาพ Sa-ld Pasha เจ้าเมืองอียิปต์ ประทานอนุญาตให้ นาย เดอ เลสเซป ขุดคลองเป็นผลสำเร็จ
“คลองกระ” โดยทีมงานผู้ขุดคลองสุเอซ
ทั้งที่ชาวอังกฤษเป็นผู้มีภาษีและอิทธิพลมากกว่าชาติอื่นๆ ที่จะเกลี้ยกล่อมชาวสยามให้คล้อยตามความคิดของพวกตนก็ตาม แต่ทีมงานที่เหนือเมฆกว่าของฝรั่งเศสกลับเป็นตัวแปรที่บดบังกระแสของพวกอังกฤษ พวกฝรั่งเศสเข้ามาพร้อมกับชื่อเสียงของวิศวกรเอกผู้ขุดคลองสุเอซซึ่งเป็นคลองลัดนานาชาติแห่งแรกของโลกที่คนทั่วไปรู้จักจุดกำเนิดของคลองสุเอซอันเป็นคลองลัดที่เชื่อมต่อทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (ทวีปยุโรป) กับทะเลแดง (ทวีปเอเชีย) และเป็นคลองลัดที่ยาวที่สุดแห่งแรกในโลกจะปฏิวัติการเดินทางในอดีตที่ดำเนินมานาน ๒,๐๐๐ ปี อ้อมแหลมกู๊ดโฮป (แอฟริกาใต้) กลายเป็นเรื่องล้าสมัย สิ้นเปลืองค่าโสหุ้ย และเสียเวลา เพราะคลองสุเอซช่วยให้ระยะการเดินทางจากจากยุโรปมาเอเชียสั้นลงกว่าครึ่งเหลือ ๑ ใน ๓ คือใช้เวลาเพียง ๑ เดือน แทนที่จะเป็น ๓ เดือน ดังที่เคยเป็นมา
ผู้ที่จุดประกายเรื่องคลองสุเอซคือจักรพรรดินโปเลียนที่ ๑ (ค.ศ. ๑๗๖๙-๑๘๒๑) แห่งฝรั่งเศส ผู้ออกแบบสร้างและดำเนินการขุดก็เป็นวิศวกรฝรั่งเศส เงินลงทุนก็มาจากฝรั่งเศส แถมผู้ที่รับช่วงต่อก็เป็นทายาทเชื้อพระวงศ์ (คือจักรพรรดินโปเลียนที่ ๓ ค.ศ. ๑๘๐๘-๗๓) และสามารถบรรลุเป้าหมายตามอุดมการณ์อันแท้จริงจนได้รับการยกย่องนับถือว่าเป็นต้นแบบของคลองลัดที่ดีที่สุดในโลก
แต่ความฝันของพระองค์ก็ต้องดับวูบลงเพราะมีอุปสรรคเฉพาะหน้าขวางทางอยู่ คือ ๑. ระดับน้ำในทะเล
แดงสูงกว่าระดับน้ำในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนถึง ๑๐ เมตร และต้องใช้เวลาหาทางแก้ปัญหาอีกนาน ๒. จะต้องใช้งบประมาณมหาศาลเกินกว่าที่จำเป็นในการสร้างเขื่อนขนาดยักษ์กั้นน้ำไม่ให้ทะลักเข้ามายังทะเลฝั่งยุโรป ถ้าผิดพลาดก็จะเกิดความหายนะอย่างมิอาจประเมินค่าได้ และ ๓. เกิดสงครามนโปเลียน (ค.ศ. ๑๘๐๔-๑๔) เสียก่อน จบลงด้วยความพ่ายแพ้ของจักรพรรดินโปเลียนที่ ๑ ทำให้โครงการคลองสุเอซมีอันต้องระงับไปชั่วคราว
พอขึ้นรัชกาลจักรพรรดินโปเลียนที่ ๓ (ค.ศ. ๑๘๔๘) พระองค์ทรงมีแนวคิดที่จะรื้อฟื้นความยิ่งใหญ่ของพระราชปิตุลา (จักรพรรดินโปเลียนที่ ๑) จึงทรงสนับสนุนอย่างเต็มที่ให้สร้างคลองสุเอซขึ้นเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการเมืองเต็มรูปแบบ
ภาพวาดมุมสูงของคลองสุเอซเชื่อมทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (มุมล่างซ้าย) กับทะเลแดงและโลกกว้าง (มุมบนขวา) มาตั้งแต่ ค.ศ. ๑๘๖๙ ทุกวันนี้ก็ยังเป็นที่นิยมใช้อยู่ของเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่
รัฐบาลฝรั่งเศสมีเครดิตดีกว่าชาติอื่นๆ ในการรณรงค์ขุดคลองสุเอซ เพราะเมื่อขึ้นรัชกาลจักรพรรดินโปเลียนที่ ๓ รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้นจากอาณานิคม และเศรษฐกิจที่เติบโตขนานใหญ่ อีกทั้งองค์จักรพรรดิก็มิได้สนพระราชหฤทัยในการศึกสงครามเหมือนในสมัยพระราชปิตุลา ทำให้ทรงทุ่มเทงบประมาณและเวลากับโครงการคลองสุเอซได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย ที่สำคัญคือนายช่างใหญ่เจ้าของโครงการนี้คือ นายเดอ เลสเซป (M. Ferdinand de Lessep) เคยดำรงตำแหน่งราชทูตฝรั่งเศสประจำอียิปต์ ช่วงทศวรรษ
ค.ศ. ๑๘๓๐ และเป็นพระสหายสนิทของเจ้าผู้ครองนครอียิปต์ในสมัยนั้นคือ Sa-ld Pasha ช่วยให้ นายเดอ เลสเซป มีช่องทางทำมาหากินพิเศษและเอื้ออำนวยให้เขาได้รับสัมปทานโดยตรงจากรัฐบาลอียิปต์โดยไม่ลำบากนัก
นายเดอ เลสเซป ได้ก่อตั้งบริษัทคลองสุเอซ (The Suez Canal Company หรือ Compagnie Universelle du Canal Maritime de Suez) ขึ้นเมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน ๑๘๕๘ (พ.ศ. ๒๔๐๑) และเริ่มขุดคลองทันทีเมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ๑๘๕๙ (พ.ศ. ๒๔๐๒) โดยเริ่มขุดจากเมืองท่า Port Said บนฝั่งทะเลด้านเอเชียก่อน เรียกต้นทางนี้ว่าด้านเหนือ ปลายทางอยู่ที่เมืองท่า Port Tawfik คือด้านใต้ที่บรรจบกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของยุโรป เมื่อแรกขุดเสร็จคลองนี้มีความยาว ๑๖๔ กิโลเมตร กว้าง ๒๐๕ เมตร ลึก ๒๔ เมตร (ในภายหลังถูกปรับแต่งให้สั้นลงเหลือความยาวเพียง ๑๖๒.๒๕ กิโลเมตร – ผู้เขียน) ใช้เวลาขุดทั้งสิ้น ๑๐ ปีจึงแล้วเสร็จ (ค.ศ. ๑๘๕๙-๖๙)
กระบวนเรือติดธงทิวในวันเปิดคลองสุเอซ ค.ศ. ๑๘๖๙
และเพราะความสำเร็จของฝรั่งเศสจากคลองสุเอซนี่เองที่มัดใจชาวโลกรวมทั้งชาวสยามอย่างดิ้นไม่หลุด
ทั้งที่รู้อยู่แก่ใจว่าโครงการที่มีชาวฝรั่งเศสดำเนินการอยู่มักจะมีอิทธิพลของรัฐบาลรวมทั้งนายทุนและนักการเมืองหนุนหลังอยู่ด้วยเสมอ แต่กระแสแห่งภาพลักษณ์ของประสบการณ์และเทคโนโลยีอันล้ำหน้าก็พิสูจน์ว่าฝรั่งเศสมีอุดมการณ์และแนวคิดที่เปิดเผยกว่าอังกฤษในเรื่องการสร้างหลักประกันและเปิดโอกาสมากกว่าต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจในภาพรวม(๒)
ชื่อเสียงของคนฝรั่งเศสในโครงการนี้จึงกลบกระแสนักล่าอาณานิคมซึ่งทั้งฝรั่งเศสและอังกฤษต่างก็เป็นจำเลยของสังคมลงได้บ้าง ดังจะเห็นว่ารัฐบาลสยามเริ่มมีทัศนคติที่ดีและไว้วางใจบริษัทฝรั่งเศสโดยปิดตาข้างเดียวให้กับการพิจารณาคำขอของคนฝรั่งเศส
สถานการณ์ในสมัยรัชกาลที่ ๕ นั้นเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิงจากสมัยรัชกาลที่ ๔ จากการที่เราเคยปกป้องคอคอดกระอย่างหวงแหน และเคยยึดภาษิตประจำใจอยู่เสมอว่ากันไว้ดีกว่าแก้ และไม่เห็นน้ำตัดกระบอก กลายมาเป็นโยนหินถามทาง และน้ำขึ้นให้รีบตักอย่างรวดเร็ว(๑)
พระราชดำรัสบางตอนของรัชกาลที่ ๕ ต่อคำขอของนักสำรวจจากฝรั่งเศสใน ค.ศ. ๑๘๘๐ โดยการนำของ ม. เดอลองก์ (M. Deloncle) ชี้ว่าทรงให้ความไว้วางใจต่อข้อเสนอของทางฝรั่งเศส ที่เปิดตัวว่า นายเดอ เลสเซป รู้เห็นและสนับสนุนอยู่ ทำให้ดูน่าเชื่อถือมากกว่าอังกฤษ
จดหมายเหตุรัชกาลที่ ๕
ว่าด้วยคำขอของคณะสำรวจจากฝรั่งเศส
จดหมายเหตุรัชกาลที่ ๕ ฉบับที่ ๑ ว่าด้วยจดหมายถ้อยคำซึ่งมองซิเออร์ฟรังซัว เดอลองก์ กราบบังคมทูลและมีพระราชดำรัสตอบในวันเสาร์ เดือน ๗ แรม ๙ ค่ำ ปีมะเมีย จัตวาศก ศักราช ๑๒๔๔
“เสด็จออกพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เวลาบ่าย ๔ โมง มองซิเออร์ เลอด็อกเตออาร์มอง กงซุลและคอมมิสแซฝรั่งเศส นำพระราชสาส์นกรุงเวียตนามทูลเกล้าฯ ถวายแล้วขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ มองซิเออร์ เดลอง เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว มองซิเออร์เดลอง เข้ามาเฝ้า ผู้ซึ่งอยู่ในโต๊ะที่เสด็จออกนั้น พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร พระองค์เจ้าโสณบัณฑิตย์ กงซุลฝรั่งเศสมองซิเออร์ลอยู แต่เจ้าพนักงานกรมท่าและมหาดเล็กเฝ้าอยู่ห่าง แต่พอได้ยินความถนัด มองซิเออร์เดลอง ถวายสำเนาหนังสือซึ่งมองซิเออร์เดอเลสเสปมีมาถึงตัว และหนังสือมองซิเออร์เดลองเอง ทรงทอดพระเนตรแล้ว มองซิเออร์เดลองกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตที่จะขุดคลองในชื่อของมองซิเออร์เดอเลสเสป
ดำรัสว่า การซึ่งจะขุดคลองนี้ ทรงเห็นว่าฝ่ายอังกฤษก็คงจะอยากขุดเหมือนกัน ก็ไม่อยากที่จะให้เป็นการ
ขัดขวางกับอังกฤษ ฝ่ายมองซิเออร์เดอเลสเสปเล่า ก็เป็นคนเคยทำการเห็นปรากฏว่าเป็นคนเคยทำสำเร็จ เราก็ไม่อยากจะขัดขวาง ถ้าการคลองนี้จำเป็นต้องขุดเป็นแน่แล้ว มองซิเออร์เดอเลสเสปจะเป็นผู้ขุด เราก็จะมีความยินดี ด้วยได้เห็นการที่ทำมาแล้ว แต่การตกลงซึ่งจะทำให้คอนเสสชั่นให้เป็นการตกลงแน่ในเวลานี้ไม่ได้ เพราะเหตุที่ยังไม่รู้การตลอด ในแผนที่และการต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์แก่เรา และจะต้องรู้แน่ว่าคอวเวอนเมนต์ต่างๆ ทั้งปวงซึ่งมีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง มีอังกฤษซึ่งเป็นผู้มีผลประโยชน์ใหญ่ เป็นต้น ได้เข้าใจดีตกลงพร้อมกัน เพราะเป็นการสำคัญซึ่งเราจะต้องระวังให้เป็นการเรียบร้อยตลอดไป
มองซิเออร์เดลอง กราบทูลว่า การซึ่งจะพูดกับคอวเวอนเมนต์ต่างประเทศนั้นมองซิเออร์เดอเลสเสปจะรับเป็นธุระพูดจาเอง ไม่ต้องให้ไทยพูด ถึงเมื่อครั้งคลองสุเอซและคลองปานามา เจ้าของก็ไม่พูดจาอันใด มองซิเออร์เดอเลสเสปพูดทั้งสิ้น
ทรงตอบว่า ดีแล้ว ถ้าดังนั้นให้มองซิเออร์เดอเลสเสปพูดจาเสียให้ตกลงก่อน จึงค่อยเอาคอนเสสชั่น(๑)
ทว่า แม้นว่าฝรั่งเศสจะถือไพ่เหนือกว่าอังกฤษในทุกด้าน แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือยังไม่ทรงยินดีที่จะให้สัมปทานในการขุดทันทีทันใด (คอนเสสชั่น = สัมปทาน) จนกว่าจะมีการสำรวจ (เซอร์เวย์) พื้นที่อย่างละเอียดก่อนจึงจะรู้แน่ชัดว่ามีความเป็นไปได้อย่างไร
“ดำรัสถามถึงที่ซึ่งจะขุดและการที่ทำนั้นอย่างไร มองซิเออร์เดลองทูลชี้แจงบ้าง และรวมความลงขอ
พระราชทานคอนเสสชั่น จึงดำรัสว่า การเรื่องที่จะขุดคลองนี้มีข้อขัดขวาง ซึ่งจะยอมให้คอนเสสชั่นไม่ได้เดี๋ยวนี้ ๒ ประการ ประการ ๑ นั้น ยังไม่ทรงทราบว่าการที่ขุดนั้นจะเป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์กันแน่ เพราะที่นั่นยังไม่ได้เซอรเวดู ให้รู้ว่าจะทำยากทำง่ายเป็นประการใด และเรือซึ่งจะมาเดินทางนั้น จะมากน้อยประการใด ก็ยังไม่ได้คิดกะประมาณการเป็นแน่ รวมใจความว่า เมื่อคอวเวอนเมนต์สยามยังไม่ได้พิจารณาการเรื่องนี้โดยละเอียดถ้วนถี่ ให้เห็นว่าจะเป็นประโยชน์แน่แล้ว จะยอมให้คอนเสสชั่นยังไม่ได้
มองซิเออร์เดลองได้กราบทูลว่า แผนที่และประมาณการเรื่องนี้ เขามีพร้อมที่จะยื่นถวายให้ทราบได้ แต่ซึ่งจะเอาเป็นแน่ละเอียดลออ เมื่อก่อนยังไม่ได้เซอรเวนั้นไม่ได้อยู่เอง มองซิเออร์เดอเลสเสปได้คิดไปว่า เมื่อใดได้คอนเสสชั่นแล้วจึงจะประชุมผู้ซึ่งชำนาญในการเซอรเว มาเซอรเวตรวจการให้ได้โดยละเอียดต่อเมื่อตรวจแล้วเห็นว่าควรจะทำ จึงจะทำได้
จึงดำรัสว่า ส่วนกัมปนีจะต้องตรวจให้เห็นว่าควรทำได้แล้วจึงจะทำ ส่วนเราก็ต้องขอตรวจให้รู้ก่อนว่า ควรจะอนุญาตแล้วจึงจะอนุญาตเหมือนกัน เพราะที่เหล่านี้เป็นที่มีบ่อแร่เป็นต้น และสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ของแผ่นดินและของราษฎรอย่างไรบ้าง เราต้องรู้ก่อนที่จะตกลง”(๒)
ทีมงานฝรั่งเศสจึงได้เริ่มการสำรวจ เกิดเป็นแผนที่การสำรวจคอคอดกระของนายเดอลองก์ฉบับ ค.ศ. ๑๘๘๑ ภายใต้พระบรมราชานุญาตของรัชกาลที่ ๕ ในการนี้ทรงมีหมายรับสั่งให้ทีมงานของทางราชสำนักติดตามไปด้วยเพื่อจะได้เปิดเผยและตรวจสอบได้ แต่บังเอิญผู้เชี่ยวชาญฝ่ายไทยดันเป็นคนอังกฤษ แผนงานของพวกฝรั่งเศสจึงไม่ค่อยจะราบรื่นนัก(๔)
เรือเดินสมุทรของอังกฤษจำเป็นต้องใช้คลองสุเอซเดินทางมายังอาณานิคมของตนในเอเชีย (ภาพวาดในหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสสมัยรัชกาลที่ ๕)
กัปตันลอฟตัส ตัวการยับยั้งคลองกระ
การส่งผู้แทนของรัฐบาลสยามที่เป็นชาวยุโรปไปกับคณะของคนฝรั่งเศส เป็นสิ่งที่ทีมงานฝรั่งเศสกลืนไม่เข้าคายไม่ออก มันเหมือนการส่งสายลับฝ่ายตรงข้ามไปกับคู่กรณีอย่างมีเจตนา และไม่เป็นผลดีต่อแผนการของฝรั่งเศสในระยะยาวเลย
ตัวแทนของฝ่ายไทยผู้นี้มีนามว่ากัปตันลอฟตัส ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสำรวจและงานวิศวกรรม รับราชการอยู่กับรัฐบาลสยามมานานตั้งแต่ต้นรัชกาลที่ ๕ แต่การเป็นคนอังกฤษย่อมเป็นหอกข้างแคร่สำหรับชาวฝรั่งเศสอย่างช่วยไม่ได้ และทำให้ภารกิจของชาวฝรั่งเศสไม่ใช่ความลับอีกต่อไป
ใครคือกัปตันลอฟตัส? นาวาเอก อัลเฟรด จอห์น ลอฟตัส (Major Alfred J. Loftus) (ค.ศ. ๑๘๓๔-๙๙) เป็นนายทหารเรือชาวอังกฤษโดยสัญชาติ ท่านได้รับการว่าจ้างให้ทำแผนที่ทางทะเลฉบับแรกให้รัฐบาลสยาม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๔ (ค.ศ. ๑๘๗๑) ภายใต้บังคับบัญชาของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
ต่อมาท่านก็ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้บังคับการเรือพระที่นั่งของรัชกาลที่ ๕ เมื่อเสด็จประพาสอินเดีย (ระหว่างวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๔๑๔-๑๖ มีนาคม ๒๔๑๕ - ผู้เขียน) เมื่อรัชกาลที่ ๕ มีพระชนมพรรษาเพียง ๑๙ พรรษา เป็นผู้ชำนาญการสำรวจทะเลและแม่น้ำของสยาม และเป็นหัวหน้าสำนักงานแผนที่ทางทะเล ท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระนิเทศชลธี เจ้ากรมเซอร์เวย์ทางน้ำ สังกัดกรมท่ากลาง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๙
กัปตันลอฟตัสได้รับความไว้วางใจให้เป็นตัวแทนของรัฐบาลสยามสำรวจคอคอดกระพร้อมกับคณะวิศวกรฝรั่งเศสที่มีนายเดอลองก์เป็นหัวหน้าทีม ใน พ.ศ. ๒๔๒๓-๒๔ (ค.ศ. ๑๘๘๐-๘๑)(๔)
หลังจากลาออกจากราชการไทยท่านก็ยังใช้ชีวิตต่อไปในสยามและได้ก่อตั้งกิจการรถรางเป็นครั้งแรก ทั้งยังเป็นผู้ริเริ่มการเดินรถไฟสายกรุงเทพฯ-ปากน้ำ และเป็นนักธุรกิจชาวอังกฤษผู้มีชื่อเสียงมากในกรุงเทพฯ ในช่วงบั้นปลายชีวิตท่านได้เดินทางไปพักผ่อนที่อังกฤษ แต่ก็ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากรัชกาลที่ ๕ แต่งตั้งให้เป็นกงสุลสยามประจำเมืองเบอร์มิงแฮมในอังกฤษอีกด้วย
กัปตันลอฟตัสเป็นผู้ที่รักเมืองไทยมาก เมื่อท่านถึงแก่กรรมคำสั่งสุดท้ายคือขอให้ผู้ประกอบพิธีศพช่วยห่อร่างของท่านด้วยธงชาติไทย (ธงช้าง) ตอนที่นำร่างท่านไปฝังในสุสาน
การที่รัฐบาลสยามวางตัวกัปตันลอฟตัสให้เป็นผู้แทนติดตามไปกับคณะวิศวกรชาวฝรั่งเศสนอกจากจะทำให้ฝ่ายไทยได้ข้อมูลที่เป็นกลางไม่ฝักใฝ่กลุ่มนายทุนแล้ว ยังพิสูจน์ว่าไทยต้องการข้อมูลเบื้องต้นประกอบการพิจารณา ไม่ได้มุ่งหวังแต่เพียงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับชาติมหาอำนาจอย่างเดียว
การสำรวจเกิดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๔๒๕ (ค.ศ. ๑๘๘๒) จนถึงวันที่ ๔ เมษายน ๒๔๒๖ (ค.ศ. ๑๘๘๒) (ในสมัยรัชกาลที่ ๕ วันขึ้นปีใหม่ตรงกับ ๑ เมษายน แต่ยังเป็น ค.ศ. ๑๘๘๒ – ผู้เขียน) โดยเริ่มสำรวจจากเมืองชุมพรลงไปทางใต้ ได้สำรวจแม่น้ำสวีและแม่น้ำหลังสวนในขั้นแรกจนถึงตำบลที่เรือจะขึ้นไปอีกไม่ได้ แล้วขึ้นช้างเดินป่าต่อไปจนถึงเมืองระนอง จากนั้นลงเรือขึ้นไปทางเหนือตามลำแม่น้ำปากจั่นตลอดถึงเมืองกระบุรี(๔)
ปรากฏว่าเส้นทางที่ควรจะเป็นแนวคลองนั้นต้องผ่านไปในหมู่เทือกเขาที่มีความสูงไม่สม่ำเสมอกัน และมีลักษณะคดเคี้ยวมากขึ้นๆ ลงๆ เป็นลูกคลื่นและต้องอ้อมไปมาตัดเป็นเส้นตรงไม่ได้ สรุปได้ว่าเส้นทางของแนวคลองที่จะขุดนั้นต้องลัดเลาะไประหว่างหุบเขาของเทือกเขาเหล่านั้น หากจะตกแต่งแนวคลองให้เป็นเส้นตรงแล้วก็จะพบอุปสรรคยิ่งขึ้น เส้นทางตอนสูงที่สุดสูงกว่าระดับน้ำทะเลมากถึง ๒๕๐ เมตร โดยพื้นที่ตามเส้นทางที่จะขุดส่วนมากเป็นหินแข็ง
ส่วนตามแม่น้ำปากจั่นที่คาดว่าเรือใหญ่จะเข้ามาจากมหาสมุทรอินเดียนั้นก็คดเคี้ยวและแคบมาก ทั้งยังเต็มไปด้วยสันดอนทรายและมีหินใต้น้ำอยู่ทั่วไป ในฤดูมรสุมก็มีคลื่นลมแรงและไม่น่าจะปลอดภัยสำหรับเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ สรุปแล้วการขุดคลองในแถบนี้ไม่อาจสำเร็จลงได้โดยง่าย
อนึ่ง คณะนักสำรวจได้กะประมาณการไว้ว่าคลองกระน่าจะมีความยาวประมาณ ๑๑๑ กิโลเมตร โดยส่วนที่จะต้องขุดคลองใหม่จะมีความยาวเพียง ๕๓ กิโลเมตร ถ้าแผนงานเกิดขึ้นจริง(๘)
ผลการสำรวจคอคอดกระที่ตอนแรกน่าจะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของทีมงานชาวฝรั่งเศสกลับกลายเป็นการสำรวจร่วมของทีมงานผสมอังกฤษ-ฝรั่งเศส โดยมีกัปตันลอฟตัสเป็นหัวหอกประเมินบทสรุปเสียเองซึ่งดูจะไม่ส่งผลดีต่อความตั้งใจของพวกฝรั่งเศสเอาเลย(๙)
นอกจากกัปตันลอฟตัสจะต่อต้านความคิดทางทฤษฎีของวิศวกรฝรั่งเศสว่าคอคอดกระเป็นพื้นที่ทุรกันดารไม่เหมาะต่อการขุดคลองลัดแล้วเขาก็ยังเดินหน้าขัดขวางการรายงานผลลัพธ์ในที่ประชุมองค์กรระหว่างประเทศถึงกรุงลอนดอน เหมือนการขโมยซีนทีมงานฝรั่งเศสซึ่งๆ หน้า
โดยในราวกลางปี ๒๔๒๖ (ค.ศ. ๑๘๘๓) กัปตันลอฟตัสได้เดินทางไปกล่าวสุนทรพจน์ต่อหน้าที่ประชุมอันทรงเกียรติของราชสมาคมภูมิศาสตร์แห่งสหราชอาณาจักร (The Royal Geographical Society of Great Britain) ตัดหน้านายเดอลองก์โดยโต้แย้งว่าคอคอดกระในสยามมีสภาพไม่เอื้ออำนวยต่อการปรับพื้นที่เพื่อขุดคลองเพราะมีเทือกเขาสูงถึง ๒๕๐ เมตรจากระดับน้ำทะเล ยากต่อการขุดเจาะและไม่คุ้มทุนที่จะเดินหน้าบุกเบิกพื้นที่ผิดธรรมดาตามวัตถุประสงค์ของฝรั่งเศส(๘)
อันว่าราชสมาคมภูมิศาสตร์แห่งสหราชอาณาจักรนี้ เป็นองค์กรเก่าแก่ของอังกฤษที่ได้รับการเคารพนับถือของนักสำรวจจากทั่วโลกก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๓ (ค.ศ. ๑๘๓๐) ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๓ ของไทย ตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและพัฒนาความรู้ด้านการสำรวจค้นคว้าทางภูมิศาสตร์และวิทยาการ เป็นองค์กรที่มีอิทธิพลสูงต่อการโน้มน้าวความเชื่อของนักสำรวจโลกที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ตั้งอยู่ที่กรุงลอนดอน
และถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่บรรดาสมาชิกโดยวิชาชีพนักสำรวจและนักทำแผนที่จะรายงานผลสำรวจของตนให้ทางสมาคมทราบเป็นข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ในหมู่ชน รวมถึงการค้นพบครั้งล่าสุด การตั้งทฤษฎีใหม่บางทีก็หมายถึงการสรุปผลสำรวจทางภูมิศาสตร์ที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติ(๓)
คนรุ่นเราอาจไม่มีทางล่วงรู้เลยว่าทฤษฎีของกัปตันลอฟตัสเท็จจริงประการใด แต่หากมองในแง่บวกอาจเป็นความจริงก็ได้ ในกรณีข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์มันเป็นการยากที่จะแยกสมมุติฐานออกจากข้อเท็จจริงพอๆ กับที่จะแยกข้อเท็จจริงออกจากสมมุติฐาน ดังนั้น เราจำเป็นต้องยึดหลักฐานที่คนรุ่นก่อนยืนยันไว้เป็นเกณฑ์
เพราะยังมีหลักฐานเพิ่มเติมอีกว่าในระยะเดียวกันนั้นเอง (ค.ศ. ๑๘๘๐-๘๓) คณะนักสำรวจฝรั่งเศสอีกชุดหนึ่งของ นายเดอ เลสเซป ที่กำลังขุดคลองปานามา (Panama Canal) ได้ประสบปัญหาทางธรณีวิทยาของพื้นดินที่อ่อนยุ่ยในเขตที่ขุดคลองและไข้ระบาดอย่างหนักจทีมงานฝรั่งเศสจำต้องถอนตัวออกจากปานามาอย่างน่าอับอาย
ในทางปฏิบัติแล้วกัปตันลอฟตัสคือตัวการใหญ่ผู้ยับยั้งแผนงานของพวกฝรั่งเศสอย่างโจ่งแจ้ง เป็น
ผู้มีบทบาทสำคัญทำให้โครงการขุดคอคอดกระถูกยกเลิกไปโดยปริยายและเป็นมือที่สามที่เราไม่รู้จัก
มาก่อน คำทัดทานของท่านมีน้ำหนักและน่าเชื่อถือทั้งจากกลุ่มนายทุนและรัฐบาลสยามเอง(๔)
ปะรำพิธีของประมุขที่มาร่วมในงานเปิดคลองสุเอซ ค.ศ. ๑๘๖๙ (วงกลมด้านขวา) คนกลางคือพระนางเออเจนี พระอัครมเหสีของจักรพรรดินโปเลียนที่ ๓ เสด็จมาเป็นประธานในพิธีเปิดคลองสุเอซ
รัชกาลที่ ๕ ทรงปลอบใจทีมงานฝรั่งเศสอย่างไร?
การยุบโครงการขุดคลองกระโดยกะทันหันทำให้ทีมงานฝรั่งเศสเสียหน้ามิใช่น้อย โครงการขุดคลองปานามาที่ฝรั่งเศสถอนตัวออกมาก็เช่นเดียวกันได้สร้างความปวดร้าวให้ นายเดอ เลสเซป เป็นอย่างมาก ในกรณีของคลองปานามานั้นการเดินหน้าขุดคลองทั้งที่เผชิญอุปสรรคมากมาย เช่น นอกจากข่าวโจมตีพวกฝรั่งเศสว่าติดสินบนสื่อไม่ให้เปิดเผยผลประกอบการต่างๆ แล้ว ไข้ป่า (ในปานามาเรียกไข้เหลือง) ยังได้คร่าชีวิตคนงานพื้นเมืองไปกว่า ๑๐,๐๐๐ คนอีกด้วย(๘)
ตามวิสัยชาวสยามผู้หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าและเห็นอกเห็นใจผู้ประสบเคราะห์กรรมอยู่เสมอ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชบัญชาให้พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ อัครราชทูตสยามประจำกรุงปารีส หาทางรักษาน้ำใจทีมงานชาวฝรั่งเศสเพื่อผดุงมิตรภาพระหว่างกันเอาไว้
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงเขียนบันทึกว่าเพื่อเป็นการซื้อใจพวกฝรั่งเศส ทางรัฐบาลสยามได้จัดงานเลี้ยงรับรองขึ้นที่สถานทูตประจำกรุงปารีสเพื่อเรียกขวัญและเป็นกำลังใจให้แก่ทีมงานวิศวกรชาวฝรั่งเศส(๙)
โดยในวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๑๘๘๔ (พ.ศ. ๒๔๒๗) นายเดอ เลสเซป วิศวกรผู้ออกแบบและขุดคลองสุเอซพร้อมด้วยนายเดอลองก์ วิศวกรและเพื่อนร่วมงานผู้เสนอโครงการขุดคลองกระและชาวคณะทุกคนมีอาทิ กัปตันเบลลิอง (Captain Bellion) นายดรู (Mr. Léon Dru) และ นายเกรอัง (Mr. Grehan) อดีตกงสุลสยามประจำกรุงปารีส ได้รับเชิญมาเป็นเกียรติในงาน(๘)
ภาพวาดพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ อัครราชทูตสยามประจำกรุงปารีส เป็นผู้แทนพระองค์รัชกาลที่ ๕ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาสุราภรณ์มงกุฎไทยให้แก่ นาย เดอ เลสเซป เพื่อเป็นการขอบคุณ
ในการนี้พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงได้อ่านสุนทรพจน์กล่าวขอบคุณทีมงานสำรวจคอคอดกระของนายเดอลองก์และความสำเร็จของการสำรวจครั้งแรกและข้อมูลที่ได้จากใจจริงของราชสำนักสยาม
ทั้งยังได้อ้างถึงพระพรชัยมงคลและพระราชสดุดีของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานมาเป็นพิเศษแก่ นายเดอ เลสเซป ว่าผลงานจากคลองสุเอซของท่านเป็นผลงานอันโดดเด่นที่น่ายกย่องชื่นชม และเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติอย่างไม่ต้องสงสัย
พระองค์ในฐานะองค์พระประมุขของพระราชอาณาจักรแห่งเอเชียตระหนักถึงความสำเร็จและคุณูปการของ นายเดอ เลสเซป จึงได้ถือโอกาสนี้พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยิ่งแห่งกรุงสยามนามว่า “เครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาสุราภรณ์มงกุฎไทย” ชั้นสูงสุด (เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยมีทั้งหมด ๗ ชั้น ชั้นที่ นายเดอ เลสเซป ได้รับพระราชทานมีนามว่า Knight Commander of the Crown of Siam (Grand Cross of the Most Honourable Order of the Crown of Siam) ให้ นายเดอ เลสเซป เป็นเกียรติยศด้วย(๙)
โครงการขุดคอคอดกระในสมัยกาลที่ ๕ ยุติลงโดยสันติวิธีใน พ.ศ. ๒๔๒๘ (ค.ศ. ๑๘๘๕) และไม่ถูกหยิบยกขึ้นมาถกอีกเลยจนตลอดรัชกาล(๒)
ถึงวันนี้บทเรียนจากอดีตเป็นกรณีศึกษาที่คนรุ่นเราควรนำมาไตร่ตรองว่ามีความจำเป็นที่คนรุ่นเราควรหาทางขุดคอคอดกระในวันนี้หรือควรชะลอไว้ก่อนเหมือนครั้งเมื่อบรรพบุรุษของเรายับยั้งไว้ให้คนในอนาคตเป็นผู้ตัดสินใจกันเองเมื่อถึงคราวจำเป็นจริงๆ

เอกสารประกอบการค้นคว้า
(๑) ไกรฤกษ์ นานา. “ตะลึง! Blue Print คอคอดกระ สมัยรัชกาลที่ ๕ มีจริง ตอนที่ ๑ ทำไมรัชกาลที่ ๕ ทรงยอมให้ฝรั่งเศสสำรวจเมืองไทย,” ใน หน้าหนึ่งสยาม. สำนักพิมพ์มติชน, ๒๕๕๖.
(๒) ______. “ตะลึง! Blue Print คอคอดกระ สมัยรัชกาลที่ ๕ มีจริง ตอนจบ ระทึกเหตุที่โครงการถูกยุบ,” ใน หน้าหนึ่งสยาม. สำนักพิมพ์มติชน, ๒๕๕๖.
(๓) ______. “ตีแผ่เบื้องหน้า เบื้องหลัง ทำไมรัชกาลที่ ๕ ทรงคิดทำแผนที่เมืองไทย ‘ฉบับแรก’? ตอนที่ ๑ โยนหินถามทาง,” ใน ศิลปวัฒนธรรม. ปีที่ ๓๕ ฉบับที่ ๙ (กรกฎาคม ๒๕๕๗), น. ๑๑๔-๑๓๓.
(๔) แชน ปัจจุสานนท์, พลเรือตรี. ประวัติการทหารเรือไทย. โรงพิมพ์กรมสารบรรณทหารเรือ, ๒๕๐๙.
(๕) ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม. ชีวิตและงานกงสุลไทย ของ พระยาอนุกุลสยามกิจอุปนิกษิตสยามรัฐ (ตันกิมเจ๋ง) กงสุลเยเนอราลไทยคนแรก ณ เมืองสิงคโปร์. ๒๕๒๕.
(๖) ปิยนาถ บุนนาค. “เรื่องคอคอดกระ,” ใน สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย เล่ม ๒ (อักษร ข-จ) ฉบับราชบัณฑิตยสถาน.
(๗) ลายพระหัตถ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงมีโต้ตอบกับสมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๘ ใน สาส์นสมเด็จ เล่ม ๖. คุรุสภา, ๒๕๐๔.
(๘) Comte A. Mahé de la Bourdonnais. A French Engineer in Burma and Siam (1880). White Lotus, 2003.
(๙) Manich Jumsai, M.L. Prince Prisdang’s Files on His Diplomatic Activities in Europe, 1880-1886. Chalermnit, 1977.