วันศุกร์ 29 มีนาคม 2024
  • :
  • :
Latest Update

พระราชกรณียกิจด้านการพระราชทานความเป็นธรรมและการแก้ไขวิกฤตการณ์ของชาติ

 

วิกฤต์การณ์ ๑๔ ตุลาคม

 

              พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้พระราชอำนาจและพระบารมีในการแก้ไขเหตุการณ์วันที่ ๑๔ ตุลาคมพ.ศ.๒๕๑๖อันมีสาเหตุมาจากนักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชนจำนวนมากทำการชุมนุมประท้วงรัฐบาลจอมพลถนอมกิตติขจรต่อเนื่องมาหลายวันจากกรณีรัฐบาลจับกุมผู้ต้องหาจำนวน ๑๓ คน ในข้อหากบฏ และเรียกร้องรัฐธรรมนูญหลังเที่ยงคืนของวันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๖กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงได้มารวมกันอยู่ที่บริเวณถนนหน้าพระราชวังสวนจิตรลดารอย่างแน่นขนัด และเริ่มสลายตัวในตอนเช้าวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๖ขณะที่มีการสลายตัวของฝูงชนกลับเกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้นที่บริเวณถนนหน้าพระราชวังสวนจิตรลดา ช่วงถนนพระราม ๕ ใกล้กับถนนรชวิถีเพราะฝูงชนที่จะกลับเกิดการปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจบางรายที่หนีได้ก็ปีนป่ายกำแพงเข้าไปในสวนสัตว์ดุสิต ใช้ก้อนหินขว้างปาใส่ตำรวจ

                อีกส่วนหนึ่งก็กรูกันเข้าไปเพื่อหลบภัยอยู่ในพระราชวังสวนจิตรลดาโดยมีมหาดเล็กเป็นคนเปิดให้เข้าไปซึ่งผู้คนทั้งหลายมาทราบว่าในภายหลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณารับสั่งให้มหาดเล็กช่วยเหลือฝูงชนเหล่านั้นเข้ามาหลบภัยอยู่ในพระราชวังสวนจิตรลดาและพระราชทานความช่วยเหลือแก่กลุ่มคนเหล่านั้น กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงกลับไปรวมตัวกันในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ฝ่ายรัฐบาลมีการใช้กำลังเข้าปราบปรามมีผู้ได้รับบาดเจ็บและถึงแก่ความตายหลายคน ในที่สุดเมื่อจอมพลถนอมกิตติขจรประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้นายสัญญาธรรมศักดิ์เป็นนายกรัฐมนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำรัสทางวิทยุโทรทัศน์แก่ปวงชนชาวไทยทรงเรียกวันดังกล่าวว่า“วันมหาวิปโยค”เพราะเกิดการปะทะกันทำให้คนไทยด้วยกันต้องเสียชีวิตจำนวนมากและทรงขอให้ทุกฝ่ายตั้งสติยับยั้งระงับเหตุแห่งความรุนแรงและทรงขอให้ประชาชนสนับสนุนรัฐบาลใหม่เพื่อนำบ้านเมืองให้กลับสู่ภาวะปกติดังปรากฏในพระราชดำรัสว่า

     “วันนี้เป็นวันมหาวิปโยคที่น่าเศร้าสลดอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ชาติไทยตลอดระยะเวลา ๖ – ๗วันที่ผ่านมาได้ทีการเรียกร้องและเจรจากันจนกระทั่งนักศึกษาและรัฐบาลทำข้อตกลงกันได้แต่แล้วมีการขว้างระเบิดขวดและยิงแก๊สน้ำตาขึ้นทำให้เกิดการปะทะกันและมีคนได้รับบาดเจ็บหลายคนความรุนแรงได้ทวีขึ้นทั้งพระนครถึงขั้นจลาจลและยังไม่สิ้นสุดมีคนไทยด้วยกันต้องเสียชีวิตนับร้อย ขอให้ทุกฝ่ายทุกคนจงระงับเหตุแห่งความรุนแรงด้วยการตั้งสติยับยั้งเพื่อให้ชาติบ้านเมืองคืนสู่สภาพปกติเร็วที่สุด

 

อนึ่งเพื่อขจัดเหตุร้ายนั้นจอมพลถนอมกิตติขจรได้ขอลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อค่ำวันนี้ข้าพเจ้าจึงแต่งตั้งให้ นายสัญญาธรรมศักดิ์เป็นนายกรัฐมนตรีขอให้ทุกคนทุกฝ่ายร่วมกันสนับสนุนเพื่อให้คณะรัฐบาลใหม่สามารถบริหารงานแผ่นดินได้โดยมีประสิทธิภาพเต็มเปี่ยมและแก้ไขสถานการณ์ให้คืนสู่สภาพเรียบร้อยได้โดยเร็วยังความสงบสุขความเจริญรุ่งเรืองให้บังเกิดแก่ประเทศและประชาชนชาวไทยโดยทั่วกัน”

วิกฤติการณ์พฤษภาทมิฬ

ในเดือนพฤษภาคมพ.ศ.๒๕๓๕ประชาชนผู้ชุมนุมประท้วงเรียกร้องรัฐบาลและต่อต้านพลเอกสุจินดาคราประยูรนายกรัฐมนตรีเหตุการณ์รุนแรงขึ้นมีการเผชิญหน้ากันอย่างรุนแรงระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายต่อต้านรัฐบาลถึงขั้นเสียเลือดเนื้อเกิดการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐบาลกับประชาชนผู้ชุมนุมมีผู้ได้รับบาดเจ็บและถึงแก่ความตายหลายคนด้วยพระบารมีปกเกล้าฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายสัญญาธรรมศักดิ์ประธานองคมนตรีและพลเอกเปรมติณสูลานนท์องคมนตรีนำพลเอกสุจินดาคราประยูรนายกรัฐมนตรี และพลตรีจำลองศรีเมืองผู้นำการประท้วงรัฐบาลเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับกระแสพระราชดำรัสและขอให้ช่วยกันแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญจนในที่สุดเหตุการณ์ต่างๆ ก็สงบลงด้วยพระบารมีที่ทรงเตือนสติผู้เกี่ยวข้อง ดังกระแสพระราชดำรัสตอนหนึ่งดังนี้

 

“ปัญหาวันนี้ไม่ใช่ปัญหาของการบัญญัติหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญแต่ปัญหาทุกวันนี้คือความปลอดภัยและขวัญของประชาชนซึ่งเดี๋ยวนี้ประชาชนทั่วไปทุกแห่งหนมีความหวาดระแวงว่าประเทศจะล่มจมโดยที่จะแก้ไขลำบากตามข่าวที่ได้รับทราบมาจากต่างประเทศเพราะเหตุว่าในขณะนี้ลูกชายทั้งลูกสาวก็อยู่ต่างประเทศทั้งสองก็ทราบดีแล้วก็ได้พยายามที่จะแจ้งกับคนที่อยู่ในประเทศเหล่านั้นว่าประเทศไทยนี้จะยังแก้ไขสถานการณ์ได้แต่ว่ารู้สึกว่าจะเป็นความคิดที่เป็นความคิดแบบหวังสูงไปหน่อยถ้าหากว่าเราไม่ทำสถานการณ์อย่าง๓วันที่ผ่านมานี้สิ้นสุดลงไปได้ฉะนั้นก็ขอให้ท่านโดยเฉพาะสองท่าน พลเอกสุจินดาและพลตรี จำลองช่วยกันคิดคือหันหน้าเข้าหากันไม่ใช่ประเทศของหนึ่งคนสองคนเป็นประเทศของทุกคนต้องเข้าหากันไม่เผชิญหน้ากันแก้ปัญหาเพราะว่าอันตรายมีอยู่เวลาคนเราเกิดความบ้าเลือดปฏิบัติการรุนแรงต่อกันมันลืมตัวลงท้ายก็ไม่รู้ว่าตีกันเพราะอะไรแล้วก็จะแก้ปัญหาอะไรเพียงแต่ว่าจะต้องเอาชนะแล้วก็ใครจะชนะไม่มีทางชนะอันตรายทั้งนั้นมีแต่แพ้คือต่างคนต่างแพ้ผู่ที่เผชิญหน้าก็แพ้แล้วที่แพ้ที่สุดคือประเทศชาติประชาชนจะเป็นประชาชนทั้งประเทศไม่ใช่ประชาชนเฉพาะในกรุงเทพมหานครเสียหาย ประเทศก็เสียหายทั้งหมดแล้วจะมีประโยชน์อะไรที่จะทนงตัวว่าชนะเวลาอยู่บนกองสิ่งปรักหักพัง

ฉะนั้นจึงขอให้สองท่านเข้ามาคือไม่เผชิญหน้าแต่ต้องหันหน้าเข้าหากันและสองท่านนี้เท่ากับเป็นผู้แทนของฝ่ายต่าง ๆ คือไม่ใช่สองฝ่ายคือฝ่ายต่าง ๆที่เผชิญหน้ากันให้ช่วยกันแก้ปัญหาปัจจุบันนี้คือความรุนแรงที่เกิดขึ้นแล้วก็เมื่อเยียวยาปัญหานี้ได้แล้วจะมาพูดกันปรึกษากันว่าจะทำอย่างไรสำหรับให้ประเทศไทยได้มีการสร้างพัฒนาขึ้นมาได้กลับมาคืนได้โดยดีอันนี้เป็นเหตุผลที่เรียกท่านทั้งสองมาและก็เชื่อว่าทั้งสองท่านก็เข้าใจว่าเป็นผู้ที่ได้สร้างประเทศจากสิ่งปรักหักพังแล้วก็จะได้ผลในส่วนตัวมากว่าได้ทำดีแก้ไขอย่างไรก็แล้วแต่จะปรึกษากันก็มีข้อสังเกตดังนี้”

                หลังจากนั้น ด้วยพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทำให้เหตุการณ์รุนแรงดังกล่าวกับคืนสู่สภาวะปกติอย่างรวดเร็ว

วิกฤตการณ์การเลือกตั้ง ๒ เมษายน ๒๕๔๙

 

                 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไม่ให้เกินขอบเขตของรัฐธรรมนูญดังที่เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองขึ้นในต้น พ.ศ.๒๕๔๙ โดยมีการชุมนุมต่อต้านพันตำรวจโททักษิณชินวัตรนายกรัฐมนตรีได้ตัดสินใจยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๙ฝ่ายที่ต่อต้านนายกรัฐมนตรีได้ขอนายกรัฐมนตรีพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยอ้างมาตรา๗ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งระบุว่า “ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใดให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราโชวาทต่อตุลาการศาลปกครองสูงสุดซึ่งเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับตำแหน่งหน้าที่เมื่อวันอังคารที่๒๕เมษายนพ.ศ.๒๕๔๙ว่า

 

               “…ขอยืนยันว่ามาตรา ๗ มิได้หมายถึงมอบให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจที่จะทำอะไรตามใจชอบ มาตรา ๗ พูดถึง การปกครองแบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขไม่ได้บอกให้พระมหากษัตริย์ตัดสินใจทำทุกอย่างถ้าทำไปเขาจะว่าพระมหากษัตริย์ทำเกินหน้าที่ได้ซึ่งข้าพเจ้าไม่เคยทำเกินหน้าที่ถ้าทำเกินหน้าที่ไม่ใช่ประชาธิปไตยเข้าอ้างถึงครั้งก่อนนี้ว่ารัฐบาลอาจารย์สัญญาธรรมศักดิ์ตอนนั้นไม่ได้ทำเกินอำนาจพระมหากษัตริย์ตอนนั้นไม่มีสภาสภาไม่อยู่ประธานสภาไม่อยู่รองประธานสภาทำหน้าที่เขามีนายกรัฐมนตรีที่สนองพระบรมราชโองการได้ตามรัฐธรรมนูญในครั้งนั้นตอนนั้นไม่ใช่นายกฯ พระราชทาน ไม่ได้ผิดรัฐธรรมนูญนายกฯ พระราชทาน หมายถึง ตั้งนายกฯ โดยไม่มีกฎเกณฑ์…”

 

นอกจากนี้ ในวันเดียวกันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราโชวาทต่อผู้พิพากษาประจำศาลสำนักงานศาลยุติธรรมซึ่งเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับตำแหน่งหน้าที่ถึงการที่ไม่พระราชทานนายกรัฐมนตรีตามที่มีกลุ่มบุคคลขอพระราชทานเพราะจะไม่ทรงทำสิ่งที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญดังนี้

 

“…ลองไปดูมาตรา ๗ เขาเขียนว่าไม่มีบทบัญญัติประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขไม่ได้บอกว่ามีพระมหากษัตริย์ที่จะมาสั่งการได้แล้วก็ขอยืนยันว่าไม่เคยสั่งการอะไรที่มีกฎเกณฑ์ของบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญกฎหมายพระราชบัญญัติต่าง ๆ ทำถูกต้องตามรัฐธรรมนูญทุกอย่างที่เขาขอร้องให้มีนายกฯพระราชทานไม่เคยมีข้อนี้มีนายกฯ แบบที่มีการรับสนองพระบรมราชโองการถูกต้องทุกครั้งมีคนเขาอาจจะมาบอกว่าพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๙ ที่ทำตามใจชอบ ซึ่งไม่เคยทำอะไรตามใจชอบเลย ตั้งแต่เป็นพระมหากษัตริย์ มีรัฐธรรมนูญหลายฉบับแล้วก็ทำมาหลายสิบปีไม่เคยทำอะไรตามใจชอบถ้าทำตามใจชอบบ้านเมืองล่มจมมานานแล้วแต่ตอนนี้เขาขอให้ทำตามใจชอบแล้วถ้าทำตามใจชอบที่เขาขอเขาก็จะต้องด่าว่านินทาพระมหากษัตริย์ว่าทำอะไรตามใจชอบซึ่งไม่ใช่กลัวถ้าต้องทำก็ต้องทำ แต่มันไม่ต้องทำ”

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงวางพระองค์อย่างพอเหมาะพอดีเรื่องการใช้พระราชอำนาจในการแก้ไขปัญหาวิกฤตของชาติเป็นอย่างมากเพราะทรงตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญและทรงเน้นย้ำถึงความสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเสมอ ดังพระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่ผู้พิพากษาประจำศาลสำนักงานศาลยุติธรรมอีกตอนหนึ่งว่า

 

“ข้าพเจ้ามีความเดือดร้อนมากเอะอะอะไรก็ขอนายกฯพระราชทานซึ่งไม่ใช่การปกครองแบบประชาธิปไตยถ้าไปอ้างมาตรา ๗ ตามรัฐธรรมนูญเป็นการอ้างที่ผิด อ้างไม่ได้มาตรา ๗ มี๒ บรรทัดว่า อะไรที่ไม่มีระบุในรัฐธรรมนูญก็ให้ปฏิบัติตามประเพณีหรือตามที่เคยทำมา ไม่มีที่อยากจะได้นายกฯ พระราชทาน เป็นต้น การขอนายกฯพระราชทานไม่ใช่การปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นการปกครองแบบขอโทษนะ แบบมั่ว แบบไม่มีเหตุผล

 

               วิกฤตการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเตือนสติผู้ที่เกี่ยวข้องกับทุกฝ่ายให้ช่วยกันแก้ไขปัญหาของชาติโดยทรงเน้นว่า“พระมหากษัตริย์ไม่มีอำนาจหน้าที่” และได้พระราชทานแนวคิดว่าสถาบันตุลาการควรร่วมปรึกษาหารือกันเพื่อแก้ไขปัญหาของชาติซึ่งเป็นผลให้ทุกฝ่ายต่างน้อมรับพระบรมราโชวาทมาปฏิบัติเพื่อให้เกิดความสมานฉันท์ในชาติ

 

พระราชทานแนวทางแก้ไขความขัดแย้งและวิกฤตการณ์ในชาติทั้งในกรณี“๑๔ตุลา วันมหาวิปโยค”กรณี“พฤษภาทมิฬ”และกรณี“วิกฤตการณ์เลือกตั้งเมษายน๔๙”ดังกล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยุติวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นได้โดยฉับพลันระงับความเสียหายที่เกิดขึ้นและเตือนสติแก่ผู้คนที่เกี่ยวข้องทั้งหลายให้ระลึกถึงความถูกต้องชอบธรรมนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นแก่พสกนิกรชาวไทย

เรียบเรียงจากบทความ “พระราชกรณียกิจด้านการพระราชทานความเป็นธรรมและการแก้ไขวิกฤตการณ์ของชาติ” ของพชร ยุติธรรมดำรง