วันพุธ 17 เมษายน 2024
  • :
  • :
Latest Update

มีแนวโน้มขอลี้ภัยล่วงหน้า?ตร.มีความเห็นสั่งฟ้อง ‘ส.ศิวรักษ์’ให้ร้ายบูรพกษัตริย์สยาม

พนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งฟ้องคดี ‘ส.ศิวรักษ์’ ข้อหา ม.112  ปมกล่าวพาดพิงถึงสมเด็จพระนเรศวรและกรณียุทธหัตถี ส่งพนักงานอัยการศาลทหารพิจารณาคดีต่อ พร้อมนัดให้มาฟังคำสั่งวันที่ 7 ธ.ค.นี้

แฟ้มภาพ

9 ต.ค.2560 จากกรณี สุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ส.ศิวรักษ์ นักวิจารณ์การเมืองชื่อดัง ถูก พล.ท.ผดุง นิเวศวรรณ และ พล.ท.พิทยา วิมะลิน เข้าแจ้งความให้เจ้าพนักงาสอบสวน สน.ชนะสงคราม  ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เมื่อวันที่ 16 ต.ค.2557 จากรณีที่ สุลักษณ์ ได้ร่วมอภิปรายเรื่อง “ประวัติศาสตร์ว่าด้วยการชำระและการสร้าง” ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดโดยคณะสภาหน้าโดม เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2557 โดยกล่าวหาว่าในการอภิปรายดังกล่าวสุลักษณ์ได้กล่าวหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอดีตพระมหากษัตริย์ คือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยกล่าวหลายถ้อยคำที่เข้าข่าย “หมิ่นเบื้องสูง”

 

‘ส.ศิวรักษ์ ครั้งเมื่อไปเยี่ยมนาย ปรีดี พนมยงค์ หลังจากที่ลี้ภัยการเมืองไปอาศัยในอยู่ไปยังประเทศฝรั่งเศส เนื่องจากนาย ปรีดี พนมยงค์ ได้พัวพันกับคดีลอบปลงพระชนม์ รัชกาลที่ ๘

ส ศิวรักษ์ ขณะเยี่ยม นาย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล และ นาย จรัล ดิษฐาอภิชัย สองผู้ลี้ภัยคดีใส่ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย  โดยมีการพบป่ะกันที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสเมื่อหลังปี 2557

ล่าสุดวันนี้ (9 ต.ค.60) พวงทิพย์ บุญสนอง ทนายความของสุลักษณ์ เปิดเผยว่าวันนี้ พนักงานสอบสวนสรุปสำนวนคดีดังกล่าวเสร็จแล้ว และมีความเห็นควรสั่งฟ้อง จึงนำสำนวนพร้อมตัวสุลักษณ์ส่งพนักงานอัยการศาลทหารให้พิจารณาคดีต่อไป โดยหลังจากนี้จะอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของพนักงานอัยการ และนัดให้มาฟังคำสั่งวันที่ 7 ธ.ค.นี้ 10.00 น.

สำหรับสุลักษณ์ไม่กี่ปีที่ผ่านมาเคยถูกฟ้องด้วยคดี 112 สองครั้ง ข้อมูลจากเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพโดยไอลอว์ ระบุว่า คดีแรกเกิดขึ้นจากกรณีเมื่อ 17 ธ.ค.47 สุลักษณ์ได้รับเชิญไปอภิปรายเรื่อง “สังคมไทยทางรอดที่ควรเลือก เหลียวหลังแลหน้าจากราชดำเนินถึงตากใบ” ที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ระหว่างการอภิปรายผู้ต้องหาได้ประชาสัมพันธ์หนังสือวารสาร Seeds of Peace ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม-เมษายน 2548 ซึ่งเป็นวารสารภาษาอังกฤษนำมาวางจำหน่ายหน้าห้องอภิปราย ในวารสารดังกล่าวมีบทความเรื่อง SIAM of the Forgotten Monarch: The True Life Sequel to the King and the Land of Smile ที่เขียนโดยผู้ใช้นามแฝงว่า บี.พี. มีเนื้อหากล่าวถึงการสวรรคตของรัชกาลที่ 8 เจ้าหน้าที่สำนักข่าวกรองแห่งชาติที่ไปฟังการเสวนาได้ซื้อวารสารมาอ่านพบบทความดังกล่าว จึงได้รายงานผู้บังคับบัญชาและแจ้งเรื่องให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติทราบ มีการตั้งคณะทำงานสอบสวน ผลการสอบสวนพบว่าวารสารฉบับดังกล่าวนี้มิได้มีการจดแจ้งต่อนายทะเบียนการพิมพ์กรุงเทพมหานคร และข้อความในวารสารเข้าข่ายหมิ่นมาตรา 112 จึงได้ร้องทุกข์ดำเนินคดีกับผู้ต้องหา ต่อมาอัยการสั่งไม่ฟ้องคดีนี้ เนื่องจากพิจารณาเห็นแล้วว่า จากคำให้การของพยานบุคคลจำนวนหลายคนที่อ่านบทความ แสดงความคิดเห็นไม่ยืนยันไปในทางเดียวกันว่า บทความดังกล่าวมีเนื้อหาเป็นการดูหมิ่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประกอบกับไม่มีพยานยืนยันว่าผู้ต้องหาเป็นผู้เขียนบทความ เป็นเพียงผู้เสนอขายวารสารที่ปรากฎบทความเท่านั้นจึงรับฟังไม่ได้ว่าผู้ต้องหามีเจตนากระทำผิดตามข้อกล่าวหา

คดีที่สอง เกิดจากกรณีที่เมื่อวันที่ 11 ธ.ค.50 สุลักษณ์ได้กล่าวที่อาคารศาลาพระราชทานปริญญาบัตรหลังเก่า ภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ต่อมาวันที่ 6 พ.ย.51 พ.ต.อ.คัชชา ธาตุศาตร์ รอง.ผบก.ภ.จว.ขอนแก่น พร้อมกำลัง ได้จับกุมสุลักษณ์ ตามหมายจับศาลจังหวัดขอนแก่น เลขที่ 431 / 2551 ลงวันที่ 22 ก.ย.51 ในข้อหามาตรา 112 โดยบุกจับกุมที่บ้านพักในกรุงเทพฯ แล้วนำตัวไปจังหวัดขอนแก่น  สุลักษณ์ได้ยื่นขอประกันตัว โดยมี กิตติบดี ซึ่งเป็นคณะบดีของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ใช้ตำแหน่งประกันตัว สุลักษณ์ ยังไม่ทราบความคืบหน้าของคดี