วันศุกร์ 29 มีนาคม 2024
  • :
  • :
Latest Update

ระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมของจีน – สมเกียรติ โอสสภา

ระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมของจีน
————————————————

สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต

รองศาสตราจารย์ ดร. Guo Jing รองหัวหน้าฝ่ายการเมืองเปรียบเทียบ Institute of Political Science, Chinese Academy of Social Sciences (CASS)

ระบอบประชาธิปไตยนั้นมีทั้งประชาธิปไตยแบบทางตรง และประชาธิปไตยทางอ้อม
————————————————————-

รูปแบบการเลือกตั้งที่ใช้กันอยู่ในโลกนั้น มีสองระบบหลักคือ
ระบบการเลือกตั้ง แบบแข่งขัน (Competitive electoral system)
และระบบการเลือกตั้งแบบปรึกษาหารือ (Consultative electoral system)
ซึ่งระบบการเลือกตั้งอย่างหลังนี้เป็นระบบที่จีนใช้

โดยที่ระบบ การเลือกตั้งแบบปรึกษาหารือยืนอยู่บนหลักการอันนํามาจากแนวคิดของลัทธิมาร์กซ์-เลนิน 4 ข้อ คือ

1) ความใกล้ชิดกับประชาชน (Close ties with the masses)
2) หลักการหาความจริง จากข้อเท็จจริง (Seek truth from facts)
3) การที่จะต้องปรับปรุงนโยบายตามความเหมาะสม ได้ (Policies Adjustability) และ
4) การให้ความสําคัญกับความชอบธรรมในการปกครอง (Governing Legitimacy)

ประชาธิปไตยแบบจีนมี 4 กลไกมารองรับ ได้แก่

1) สภาผู้แทนประชาชน

2) สภาที่ ปรึกษาการเมือง (โดยร่วมมือกับพรรคประชาธิปไตยอื่นๆ ภายใต้การนําของพรรคคอมมิวนิสต์ จีน)

3) การปกครองตนเองของชนชาติกลุ่มน้อย และ

4) การปกครองตนเองระดับหมู่บ้าน

ต่อไปนี้จะได้กล่าวถึงลักษณะของระบอบประชาธิปไตยแบบจีน โดยการเทียบกับระบบ ประชาธิปไตยตะวันตก และกล่าวถึงพรรคคอมมิวนิสต์จีน อันเป็นสถาบันที่สําคัญและมีอํานาจ สูงสุดในระบอบการปกครองของจีน รวมทั้งกล่าวถึงข้อท้าทายและข้อเสนอแนะต่อระบบ ประชาธิปไตยแบบจีนในปัจจุบัน .ความแตกต่างระหว่างระบบประชาธิปไตยแบบตะวันตกและระบบ ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือของจีน  ระบบการเลือกตั้ง การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างระบบประชาธิปไตยแบบตะวันตกและประเทศจีน จะทําให้เข้าใจระบบการเลือกตั้งแบบปรึกษาหารือที่ประเทศจีนใช้อยู่ได้ชัดเจนมากขึ้น ประเทศตะวันตกและประเทศจีนต่างก็ใช้ระบบการเลือกตั้ง แต่ตะวันตกเน้นการเลือกตั้ง แบบแข่งขันสูง ใช้การโต้วาที ฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมรับว่าอีกฝ่ายหนึ่งมีข้อดี ทั้งที่ความจริงแล้วแต่ ละฝ่ายย่อมมีข้อดีของตน แต่ด้วยระบบที่ต้องเน้นการแข่งขันระหว่างพรรค การยอมรับข้อดีของ ฝ่ายตรงข้ามจึงกลายเป็นการขายพรรคหรือหักหลังพรรคของตนไป

สําหรับประเทศจีนเน้นการเลือกตั้งแบบปรึกษาหารือ โดยเริ่มต้นจากขั้นการเสนอชื่อผู้แทน (Candidate) ในทุกระดับ สภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติ (National People’s Congress) จะกําหนด จํานวนผู้แทนต่อสัดส่วนประชากร ซึ่งจะมีสัดส่วนเท่ากันทั้งในเมืองและชนบท และอีกด้านหนึ่งการ จัดสรรจํานวนผู้แทนนั้นต้องทําให้ทุกภูมิภาค ทุกชนชาติ และทุกภาคส่วนมีจํานวนผู้แทนที่เหมาะสม ด้วย สําหรับชนกลุ่มน้อยที่แม้มีประชากรที่น้อยมากก็ต้องมีตัวแทนอย่างน้อยหนึ่งคน การเสนอชื่อก็จะทําตามการแบ่งเขตเลือกตั้งหรือหน่วยเลือกตั้ง ซึ่งพรรคต่างๆ กลุ่มชนต่างๆ สามารถร่วมกันเสนอชื่อตัวแทน ถ้าผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งสิบคนร่วมกันลงชื่อ ก็สามารถเสนอชื่อผู้แทน (Candidate) ได้ ผู้เสนอชื่อนั้นต้องแนะนําสถานภาพของตนต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งในแต่ละ ระดับ ผู้ที่ถูกเสนอชื่อเป็นผู้แทนนั้นต้องให้ข้อมูลประวัติส่วนตัวตามความเป็นจริงต่อคณะกรรมการ การเลือกตั้งในระดับของตน
—————————-

ลักษณะเด่นของระบบการเลือกตั้งแบบปรึกษาหารือ
————————————–

1. การเลือกผู้แทนลงสมัครรับเลือกตั้ง หลังจากคณะกรรมการการเลือกตั้งรวบรวมรายชื่อและ ข้อมูลพื้นฐานของผู้แทนที่ได้มาแล้ว ต้องประกาศให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นทราบก่อนวัน เลือกตั้งอย่างน้อย 15 วัน เพื่อปรึกษาหารือกัน แล้วจึงตัดสินคัดเลือกผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งที่มี คุณสมบัติผ่านอย่างเป็นทางการ และต้องประกาศรายชื่อผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งอย่างเป็นทางการให้ ประชาชนทราบก่อนวันเลือกตั้งอย่างน้อย 7 วัน

2. ห้ามซื้อเสียงหรือติดสินบนผู้ลงคะแนนเสียงหรือผู้สมัครรับเลือกตั้ง (Candidate) อันจะ ส่งผลกระทบต่อการใช้สิทธิ์เลือกตั้งและสิทธิ์ของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง

3. ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งทุกคนต้องแนะนําตัว และตอบคําถามของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง แต่มิใช่ใน รูปแบบการแข่งขันหาเสียง ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งต้องหยุดการแนะนําตัวก่อนวันเลือกตั้งจริง

4. คุณสมบัติของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งและจะเข้าสู่ระบบการเมืองต้องเป็นผู้ที่อยู่ในวงการและมี ประสบการณ์บริหารงานในท้องถิ่นระดับต่างๆ ของจีนมาอย่างยาวนาน รวมทั้งมีคุณลักษณะที่เป็นผู้ที่ มีความทันสมัย มีความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ในวงการต่างๆ ดังเช่น

เลขาธิการพรรคฯ ประจํา หมู่บ้าน (ผู้ใหญ่บ้าน) ท่านหนึ่งมีความสามารถเฉพาะด้าน ได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนในสภาผู้แทน ประชาชนแห่งชาติ (National People’s Congress) เป็นเวลานานกว่าสามสิบปี

อีกท่านหนึ่งเป็นลูก ชาวนาที่เข้ามาทํางานในเมือง ซึ่งมีความสามารถพิเศษในวงการของเขา ก็ได้รับเลือกตั้งเป็นตัวแทน คนรุ่นใหม่ในสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติ อย่างนี้เป็นต้น

ในการประชุมสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติสมัยที่ 12 สัดส่วนที่มาของตัวแทนประชาชนแต่ละ กลุ่มมีดังนี้ ผู้บริหารระดับสูงของพรรคการเมืองจํานวน 1,042 คน จากทั้งหมด 2,987 คน (คิดเป็น 34.9%) นอกจากนี้ยังมีตัวแทนที่มาจากกลุ่มเจ้าของกิจการ ธุรกิจ กลุ่มกรรมกร กลุ่มชาวนา กลุ่ม สตรี กลุ่มวิศวกร และกลุ่มชนชาติกลุ่มน้อยด้วย โดยส่วนใหญ่ ในบรรดาตัวแทนนั้นจะมีคนที่เป็น สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์มากกว่า 66% ของจํานวนทั้งหมด (2,987 คน)
=================================

 โครงสร้างอานาจ ระบบการเลือกตั้งแบบแข่งขัน (Competitive electoral system) อย่างสหรัฐอเมริกา แบ่งอํานาจ อธิปไตยออกเป็น 3 ฝ่าย มีฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการที่แยกจากกันอย่างชัดเจน และควบคุมถ่วงดุลซึ่งกันและกัน

ส่วนระบบแบบจีนรวมอํานาจทุกอย่างอยู่ที่สภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติ โดยสภาผู้แทน ประชาชนแห่งชาติเลือกตั้งประธานาธิบดี คณะรัฐมนตรี ศาลประชาชนสูงสุด และอัยการสูงสุด ซึ่ง แปลว่าอํานาจหลายอย่างรวมอยู่ที่สภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติ
———————————–

2. พรรคคอมมิวนิสต์จีน

ในการอธิบายเรื่องพรรคคอมมิวนิสต์จีน ต้องกล่าวถึงโครงสร้างและการจัดองค์กรของพรรค คอมมิวนิสต์จีน และต้องอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนและพรรคประชาธิปไตย อื่นๆ ในระบบการเมืองจีน รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนกับรัฐด้วย 

ระบบโครงสร้างของพรรคคอมมิวนิสต์จีน

สมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์จีน (The Congress of the Communist Party of China) เป็นผู้ เลือกตั้งคณะกรรมการกลาง (Central Committee) และคณะกรรมาธิการตรวจสอบวินัยกลาง

ส่วน คณะกรรมการกลางจะเลือกตั้งเลขาธิการพรรคฯ คณะกรรมการกรมการเมือง (Politburo Commit- tee) คณะกรรมการประจํากรมการเมือง (Politburo Standing Committee) และคณะกรรมาธิการ กลางการทหาร

โครงสร้างองค์กรของพรรคคอมมิวนิสต์จีนมีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับส่วนกลาง โดยมี คณะกรรมการกลาง และระดับท้องถิ่น โดยมีคณะกรรมการประจําพรรคฯ (party standing commit- tee) ระดับท้องถิ่นต่างๆ ตั้งแต่ระดับมณฑล เขตปกครองตนเอง มหานคร1 เมืองและอําเภอหรือเขต ที่เทียบเท่าอําเภอ ลงไปจนถึงระดับชุมชน (หน่วยที่เล็กที่สุด) ก็มีสาขาพรรคฯ หรือคณะกรรมการ พรรคฯ ประจําบริษัทเอกชน หมู่บ้านในชนบท องค์กรภาครัฐ โรงเรียน สถาบันวิจัย สํานักงานเขต องค์กรอิสระทางสังคม รวมถึงในหน่วยย่อย (ระดับนายร้อย) ของกองทัพด้วย โครงสร้างของพรรค คอมมิวนิสต์จีนที่มีในทุกระดับตั้งแต่ ระดับส่วนกลาง และส่วนท้องถิ่นระดับต่างๆ ไม่ว่า มณฑล เขต ปกครองตนเอง เมือง อําเภอและตําบล มาจนถึงส่วนท้องถิ่นในระดับหมู่บ้าน เช่น บริษัท โรงเรียน หรือองค์กรทางสังคม เหล่านี้เองเป็นช่องทางที่ทําให้พรรคคอมมิวนิสต์จีนเข้าถึงประชาชนทุกระดับ ได้

สําหรับคณะกรรมการประจํากรมการเมือง (Politburo Standing Committee) ระดับส่วนกลาง และคณะกรรมการประจําพรรคระดับท้องถิ่นที่ย่อยลงไปมีโครงสร้างและหน้าที่การงานแต่ละด้านที่ คล้ายกัน โดยมีเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจําระดับนั้นๆ และมีตัวแทนที่มาจากฝ่ายรัฐ สภา ผู้แทนประชาชน สภาที่ปรึกษาการเมือง และฝ่ายคณะกรรมาธิการตรวจสอบวินัย ฝ่ายประชาสัมพันธ์ พรรค และฝ่ายบุคลากรพรรค รวมทั้งหมด 7 ตําแหน่งที่อยู่ในคณะกรรมการประจํากรมการเมือง และคณะกรรมการประจําพรรคในทุกระดับ สําหรับคณะกรรมการประจํากรมการเมืองส่วนกลางจะมีความพิเศษคือ สี จิ้นผิง (Xi Jinping) เป็นเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนประจําส่วนกลาง (ตําแหน่งฝ่ายพรรค) และยังเป็น ประธานาธิบดี (ตําแหน่งฝ่ายรัฐ) และประธานคณะกรรมาธิการกลางการทหาร (ตําแหน่งฝ่าย กองทัพ) ด้วย ส่วน หลี่ เค่อเฉียง (Li Keqiang) เป็นนายกรัฐมนตรี (ตําแหน่งฝ่ายรัฐ) จาง เต๋อเจียง (Zhang Dejiang) เป็นประธานสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติ หยู เจิ้งเซิง (Yu Zhengsheng) เป็น ประธานสภาที่ปรึกษาการเมืองแห่งชาติ หลิว หยุนซาน (Liu Yunshan) ดูแลฝ่ายประชาสัมพันธ์และ ฝ่ายบุคลากรพรรค หวัง ฉีซาน (Wang Qishan) เป็นเลขาธิการคณะกรรมาธิการตรวจสอบวินัย ส่วนกลาง และจาง เกาลี่ (Zhang Gaoli) เป็นรองนายกรัฐมนตรี เหล่านี้เป็น 7 คนที่อยู่ใน คณะกรรมการประจํากรมการเมืองส่วนกลางชุดสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 18 1 เมืองที่มีสถานะเป็นมหานครขึ้นตรงกับส่วนกลางของจีนมี 4 แห่ง ได้แก่ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เทียนจิน และฉงชิ่ง
———————————

 ความสัมพันธ์ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์กับรัฐ (Party-State Relationship) พรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นผู้มีอํานาจสูงสุดของประเทศ องค์กรพรรคคอมมิวนิสต์ในระดับ ส่วนกลางและระดับท้องถิ่นเป็นผู้นําที่มีอํานาจสูงสุดในระดับนั้นๆ เช่น เป็นผู้นําของสภาผู้แทน ประชาชนทุกระดับ นอกจากนี้ สาขาย่อยของพรรคคอมมิวนิสต์ในระดับท้องถิ่นยังเป็นผู้นําของ องค์กรบริหารของรัฐ องค์กรยุติธรรม และกองทัพด้วย คณะกรรมการประจําพรรคในทุกระดับจะ รับผิดชอบเรื่องการกําหนดนโยบายและทิศทางด้านการเมือง การแต่งตั้งหรือปลดตําแหน่งสําคัญ และเรื่องสําคัญต่างๆ ที่ต้องตัดสินใจร่วมกัน กระบวนการการกําหนดนโยบายภายในพรรคคอมมิวนิสต์จีนนั้น สมาชิกและองค์กรระดับ ชุมชน (หน่วยที่เล็กที่สุด) ของพรรคสามารถเสนอความคิดเห็นและข้อเสนอให้องค์กรส่วนท้องถิ่น ตามลําดับได้ สุดท้ายองค์กรส่วนท้องถิ่นจะพิจารณา ลงไปดูงาน และศึกษาวิจัย หากเห็นความจําเป็น ก็จะเสนอขึ้นไปที่องค์กรส่วนกลาง ซึ่งส่วนกลางจะพิจารณา ลงไปดูงาน และศึกษาวิจัยในภาพกว้างอีก ครั้ง จึงจะนํามาซึ่งข้อเสนอนโยบายส่วนกลางอย่างจริงจัง ในกรณีที่สมาชิกของพรรคจะเสนอข้าม ระดับท้องถิ่นก็ทําได้เช่นกันหากจําเป็น เช่น สมาชิกของพรรคที่อยู่ในหมู่บ้านสามารถข้ามระดับ หมู่บ้านและอําเภอ ไปเสนอให้องค์กรระดับเมืองหรือระดับมณฑลได้ ขณะเดียวกัน เมื่อใดที่ส่วนกลางกําหนดนโยบายหรือมีมติตัดสินใจแล้ว สมาชิกและองค์กร ส่วนท้องถิ่นต่างๆ ของพรรคจะต้องปฏิบัติตามส่วนกลาง หากมีข้อคิดเห็นต่าง ให้เก็บความคิดเห็นนี้ ไว้ก่อน เมื่อถึงเวลาปฏิบัติแล้วหากเกิดปัญหาจริงค่อยปรับในรอบต่อไป
—————————————–

ความสัมพันธ์ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์กับพรรคประชาธิปไตยอื่นในระบบการเมืองจีน ในประเทศจีน

นอกจากพรรคคอมมิวนิสต์แล้ว ยังมีพรรคการเมืองอีก 8 พรรค ซึ่งเรียกกัน ทั่วไปว่า “พรรคประชาธิปไตย” ได้แก่ พรรคคณะกรรมการปฏิวัติพรรคก๊กหมิ่นตั๋งแห่งประเทศจีน พรรคสันนิบาตประชาธิปไตยแห่งประเทศจีน พรรคสมาคมสร้างชาติประชาธิปไตยแห่งประเทศจีน พรรคสมาคมส่งเสริมประชาธิปไตยแห่งประเทศจีน พรรคกรรมกรชาวนาประชาธิปไตยแห่งประเทศ จีน พรรคเพื่อสาธารณประโยชน์แห่งประเทศจีน พรรคสมาคม 3 กันยายน2 และพรรคสันนิบาต 2 พรรคสมาคม 3 กันยายน (九三学社 : Jiusan Society) ก่อตั้งขึ้นโดยปัญญาชนระดับกลางและสูงเมื่อปลายปี 1944 ช่วงแรกเป็นรูปแบบการจัดสัมมนาด้านวิทยาศาสตร์กับประชาธิปไตย หลังจากวันที่ 3 กันยายน 1945 ประเทศจีนชนะ สงครามต่อญี่ปุ่น จึงนําวันดังกล่าวมาตั้งชื่อพรรคกลายเป็นพรรคสมาคม 3 กันยายน หรือพรรคสมาคมเก้าสาม (เก้าคือเดือน 9 สามคือวันที่ 3)
ประชาธิปไตยเขตปกครองตนเองไต้หวัน พรรคการเมืองเหล่านี้ส่วนใหญ่ก่อตั้งและพัฒนาขึ้นระหว่างสงครามต่อต้านญี่ปุ่น และสงคราม ปลดแอกทั่วประเทศ (หรือที่ตะวันตกเรียกว่า สงครามกลางเมืองจีน ระหว่างฝ่ายพรรคคอมมิวนิสต์ จีนและฝ่ายรัฐบาลพรรคก๊กหมิ่นตั๋ง)

ในทางการเมือง พรรคเหล่านี้สนับสนุนการนําของพรรค คอมมิวนิสต์ อันเป็นผลสืบเนื่องทางประวัติศาสตร์ซึ่งได้มีกระบวนการต่อสู้ร่วมกันมายาวนานกับ พรรคคอมมิวนิสต์ พรรคประชาธิปไตยอื่นดังกล่าวข้างต้นมีเสรีภาพทางการเมือง มีอิสรภาพในการจัดตั้ง และ เสมอภาคทางกฎหมายตามที่กําหนดในรัฐธรรมนูญ

หลักพื้นฐานของการร่วมมือกันระหว่างพรรค คอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนและพรรคประชาธิปไตยต่างๆ คือ “อยู่ร่วมกันยาวนาน ควบคุม ตรวจสอบซึ่งกันและกัน เปิดเผยและเข้าใจกัน ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน” โดยมีสภาที่ปรึกษาการเมืองเป็น องค์กรที่ดูแลในระดับส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นด้วย 

สภาที่ปรึกษาการเมือง (National Committee of the People’s Political Consultative Con- ference: CPPCC) สภาที่ปรึกษาการเมือง นอกจากมีตัวแทนจากพรรคคอมมิวนิสต์ (ประมาณ 30%) และ พรรคประชาธิปไตยอีก 8 พรรคแล้ว ยังมีตัวแทนจากกลุ่มบุคคลประชาธิปไตยที่ไม่ขึ้นกับพรรค ชมรมต่างๆ ของประชาชน กลุ่มชนชาติกลุ่มน้อย ผู้แทนวงการต่างๆ และตัวแทนจากพี่น้องชาว ไต้หวัน ฮ่องกง มาเก๊า และชาวจีนโพ้นทะเลที่กลับประเทศ รวมทั้งบุคคลพิเศษที่ได้รับเชิญด้วย สภาที่ปรึกษาการเมืองมีบทบาทสําคัญในการให้คําปรึกษาแก่รัฐบาลจีน สภาที่ปรึกษา การเมืองดําเนินการอย่างจริงจังและมีความสําคัญมากขึ้นในยุคปัจจุบัน เนื่องจากตัวแทนสภาที่ ปรึกษาการเมืองมาจากกลุ่มคนที่มีการศึกษาสูงและมีฐานะทางเศรษฐกิจ ถือว่าเป็นตัวแทนปัญญาชน และกลุ่มทุนเอกชนจีน ตัวแทนสภาที่ปรึกษาการเมืองทั้งหมดจะทําหน้าที่เสนอข้อคิดเห็นและ แผนการแก้ไขปัญหาสังคมและประเทศ สรุปได้ว่าระบบสภาผู้แทนประชาชนและสภาที่ปรึกษาการเมืองต่างก็ทําหน้าที่รับฟังเสียงจาก ประชาชน เพื่อให้พรรคคอมมิวนิสต์และรัฐบาลจีนกําหนดนโยบายและดําเนินนโยบายที่เหมาะสม และถูกต้อง

การรับฟังข้อคิดเห็นจากประชาชนทั่วไปผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ตเป็นเวทีใหม่ที่พรรค คอมมิวนิสต์และรัฐบาลจีนได้รับฟังเสียงจากประชาชน ทําให้ประชาชนสามารถเรียกร้อง แสดงความ คิดเห็น เสนอข้อคิด หรือพูดคุยถึงปัญหาสําคัญต่างๆ ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมและ ชีวิตประจําวัน ผ่านอินเตอร์เน็ตเพื่อเสนอต่อผู้ศึกษาวิจัยนโยบายหรือผู้กําหนดนโยบายของภาครัฐ

ตัวอย่างเช่น มีผู้บริหารระดับอําเภอผู้หนึ่ง ขณะที่เขาไปจัดการปัญหาอุบัติเหตุจราจรได้ถ่ายรูปตัวเอง ไว้ ในรูปนั้นเขาได้ใส่นาฬิกาหรูราคาแพงเรือนหนึ่ง และมีคนเอาภาพนั้นมาลงอินเตอร์เน็ต ประชาชน สงสัยว่าเงินเดือนของเขาคงไม่สามารถซื้อนาฬิกาแพงเช่นนั้น น่าจะได้มาจากการทุจริต สุดท้าย หน่วยงานภาครัฐได้ฟังเสียงของประชาชนผ่านอินเตอร์เน็ต และเข้าไปตรวจสอบ ปรากฏว่าผู้บริหาร คนนี้ทุจริตจริงจึงถูกปลดจากตําแหน่ง เรื่องราวเช่นนี้เห็นได้มากในอินเตอร์เน็ต ซึ่งพรรคคอมมิวนิสต์และรัฐบาลจีนได้ให้ความสําคัญ ต่อเสียงจากประชาชนด้วย นอกจากนี้ ผู้กําหนดนโยบายหรือองค์กรของรัฐเองก็จะนําเอาผลการ ศึกษาวิจัยหรือแผนนโยบายมาให้ประชาชนทั่วไปแสดงความเห็นผ่านทางอินเตอร์เน็ตด้วยเช่นกัน เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากประชาชน นําไปปรับปรุงและกําหนดนโยบายที่เหมาะสม และถูกต้องตามวิถีประชาธิปไตย
————————–

ระบบการปกครองตนเองของชนชาติกลุ่มน้อย และระบบการปกครองตนเองระดับหมู่บ้าน – ระบบการปกครองตนเองของชนชาติกลุ่มน้อย ภายใต้ระบบประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือของจีน สําหรับชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช่ชนชาติจีน (ชาวฮั่น) จีนมีนโยบายเพื่อรักษาสิทธิพิเศษและสนับสนุนชนกลุ่มน้อยด้วยระบบการปกครองตนเอง ของชนชาติกลุ่มน้อย โดยให้มีสิทธิพิเศษภายในเขตปกครองตนเอง ดังนี้

1. สิทธิ์การกําหนดกฎหมายในเขตปกครองตนเองชนกลุ่มน้อยได้โดยอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ จีน

2. สิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติงานที่มาจากคําสั่งส่วนกลาง เพื่อให้เหมาะสมกับเขต ปกครองตนเองชนกลุ่มน้อย

3. สิทธิ์ในการบริหารเศรษฐกิจและงบประมาณการคลังของเขตปกครองตนเองชนกลุ่มน้อย

4. สิทธิ์ในการพัฒนาภาษาและวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย
5. สิทธิ์ในการบริหารกิจการตํารวจและความปลอดภัยของเขตปกครองตนเองชนกลุ่มน้อย

6. สิทธิ์ในการคัดเลือกคนชนกลุ่มน้อยมาเป็นผู้บริหารภาครัฐของเขตปกครองตนเองชนกลุ่ม น้อย หมายความว่าในเขตปกครองตนเองชนกลุ่มน้อย จะส่งเสริมให้ใช้คนที่มาจากชนกลุ่ม น้อยนั้นมาเป็นผู้บริหารเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตนเอง โดยมีสิทธิ์และโอกาสที่จะขึ้นมาเป็น ผู้บริหารสูงกว่าชาวฮั่น – ระบบการปกครองตนเองระดับหมู่บ้าน สําหรับระบบการปกครองตนเองระดับชุมชนหมู่บ้าน ประเทศจีนได้ให้ประชาชนในระดับ ชุมชนมีสิทธิ์เลือกตั้งโดยตรงเพื่อเลือกผู้บริหารของหมู่บ้าน ถือได้ว่าเป็นประชาธิปไตยทางตรง ซึ่ง ชาวบ้านสามารถเลือกผู้นําของหมู่บ้านโดยตรงได้ และยังสามารถมีส่วนร่วมในการปรึกษาหารือเรื่อง สาธารณะต่างๆ ของชุมชนได้ด้วย ตามสภาพความเป็นจริงของชุมชนหมู่บ้านในชนบทของจีนนั้น หมู่บ้านส่วนใหญ่จะ ประกอบด้วยชาวบ้านที่มีนามสกุล (แซ่) หลายนามสกุล บางนามสกุลมีจํานวนคนมากกว่านามสกุล อื่น แน่นอนว่าในการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน คนของนามสกุลนี้ย่อมได้เปรียบ แต่นอกเหนือจากการ เลือกตั้งทางตรงแล้ว ยังมีกฎว่าในการบริหารงานสาธารณะต่างๆ ของชุมชน คณะทํางานของ ผู้ใหญ่บ้านต้องรับฟังและปรึกษาหารือร่วมกับชาวบ้านทุกฝ่าย ต้องทํางานอย่างโปร่งใสและรับการ ตรวจสอบจากชาวบ้านทุกฝ่ายด้วย

โดยสรุปแล้ว รูปแบบการบริหารของระบบการปกครองตนเองระดับชุมชนหมู่บ้าน ต้องมี การเลือกตั้งทางตรง การกําหนดนโยบายแบบปรึกษาหารือโดยทุกคนมีส่วนร่วม และมีการตรวจสอบ จากประชาชนโดยทั่วไปด้วย

——.

ความท้าทายของระบบประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือของจีน ระบบประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือของจีนยังต้องเผชิญกับความท้าทาย ซึ่งพอสรุปปัญหา สําคัญได้ดังนี้

) ระบบประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือของจีนยังเผชิญกับการซื้ อเสียงในกระบวนการ เลือกตั้งในหลายระดับ เช่น การเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านในระดับหมู่บ้าน การเลือกตั้งผู้แทนสภาผู้แทน ประชาชนและการเลือกตั้งผู้แทนสภาที่ปรึกษาการเมืองในหลายระดับ และรวมถึงการเลือกตั้งภายใน พรรคคอมมิวนิสต์จีนเองก็เผชิญกับปัญหาการซื้อเสียงเช่นกัน การซื้อเสียงในระดับหมู่บ้านจะปรากฏค่อนข้างถี่ แต่มักมีมูลค่าไม่มาก เช่น ในการเลือกตั้ง ผู้ใหญ่บ้าน ผู้สมัครรับเลือกตั้งอาจให้บุหรี่ ของขวัญ เลี้ยงอาหาร หรือให้เงินเป็นจํานวนไม่มากโดย หวังจะชนะการเลือกตั้ง ส่วนการหาเสียงในการเลือกตั้งภายในพรรคคอมมิวนิสต์จีนเองก็มีบ้าง แต่ อาจจะไม่ใช่การซื้อเสียงด้วยเงิน จะเป็นการใช้อํานาจที่มีอยู่โน้มน้าวพูดคุยกันนอกรอบให้ช่วยเหลือ ในการผลักดันบางคน ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาไม่นานนี้ มีการซื้อเสียงกันมากในการเลือกตั้งผู้แทนสภาผู้แทน ประชาชน เนื่องจากตัวแทนบางกลุ่มที่เป็นนักธุรกิจที่รํ่ารวยหวังใช้เงินซื้อเสียงเพื่อให้ได้ตําแหน่งไป เป็นตัวแทนประชาชนในระดับที่สูงขึ้น

2 ปีที่ผ่านมานี้มีตัวอย่างที่ค่อนข้างหนักหนาสองคดี คดีแรก คือ คดีการซื้อเสียงที่เมืองเหิงหยาง (Hengyang) มณฑลหูหนาน คดีนี้ผู้แทนหลายคนจากสภาผู้แทน ประชาชนเมืองเหิงหยางร่วมซื้อเสียงโดยใช้เงินในการเลือกตั้งเพื่อให้ผู้แทนบางคนขึ้นไปเป็นผู้แทน ในสภาผู้แทนประชาชนระดับมณฑลหูหนาน คดีนี้สุดท้ายทุกคนที่ร่วมซื้อเสียงถูกปลดจากตําแหน่ง ผู้แทน และสําหรับประธานสภาผู้แทนประชาชนเมืองเหิงหยาง ซึ่งแม้ว่าไม่ได้ร่วมซื้อเสียง แต่ เนื่องจากอยู่ในฐานะผู้รับผิดชอบจึงถูกลงโทษด้วยในฐานละเลยต่อหน้าที่ อีกคดีหนึ่งเป็นคดีการซื้อเสียงของมณฑลเหลียวหนิง (Liaoning) คดีนี้ผู้แทนสภาผู้แทน ประชาชนระดับมณฑลจํานวนกว่า 400 คน ร่วมกันซื้อเสียงโดยใช้เงินในการเลือกตั้งเพื่อให้ผู้สมัคร บางคนได้ไปเป็นผู้แทนในสภาผู้แทนประชาชนระดับประเทศ คดีนี้สุดท้ายทุกคนที่ร่วมซื้อเสียงถูก ปลดจากตําแหน่งผู้แทน และสุดท้ายมณฑลนี้ต้องเลือกตั้งใหม่
—————-

2) การแบ่งฝักแบ่งฝ่ ายในพรรคคอมมิวนิสต์จีน ทําให้พรรคขาดความสามัคคี แต่แน่นอน ว่าภายในพรรคทุกพรรคต้องมีพวกมีฝ่ายอันเป็นธรรมชาติของการเมือง ในสมัยเหมา เจ๋อตง เหมาได้ กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้เช่นกัน มีใจความทํานองว่า “ถ้าในพรรคไม่มีพวกมีฝ่าย คงเป็นสิ่งที่แปลกประหลาด แต่ก็ต้องมีความสามัคคีที่ทําให้ทุกฝ่ายที่มาจากทั่วประเทศจีนสามารถอยู่ในพรรคเดียวกันได้” ใน พรรคต้องมีความหลากหลายแต่ก็ต้องมีความเป็นเอกฉันท์ ในช่วงแรกๆ ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้รับความสนับสนุนจากโซเวียตมาก แต่ฝ่ายโซเวียตไม่ค่อยรับฟังฝ่ายอื่นๆ ใช้คนของฝ่ายตนมาก เกินไป จนทําให้พรรคเสียหายไปมาก เพราะฉะนั้น ในสมัยนี้จึงกล่าวได้ว่า ในพรรคมีพวกได้ แต่ ไม่ใช่คิดแต่ผลประโยชน์ของพวกเดียวกันจนไม่คิดถึงส่วนรวม ต้องมองจากภาพใหญ่ด้วยว่า ผลประโยชน์ส่วนรวมคืออะไร ในพรรคนั้นมีการแข่งขันกันได้ แต่ที่สําคัญต้องมีความสามัคคีและ ความสมดุล ในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมา คนอย่าง โจว หย่งคาง (Zhou Yongkang) ป๋ อ ซีหลาย (Bo Xilai) และ หลิง จี้หัว (Ling Jihua) ซึ่งต่างเคยเป็นผู้บริหารระดับสูงของจีน คนเหล่านี้พยายามแบ่งฝักแบ่ง ฝ่ายในพรรคคอมมิวนิสต์ส่วนกลาง ใช้อํานาจหน้าที่แลกกับผลประโยชน์ส่วนตน พยายามสร้าง กระแสเพื่อเสริมต้นทุนทางการเมือง แต่ไม่ได้คิดถึงผลประโยชน์ส่วนรวมและทําลายความสามัคคีของ พรรค คนเหล่านี้จึงถูกจัดการโดยคณะกรรมาธิการตรวจสอบวินัยของพรรคเรียบร้อยแล้ว
————

3) ปัญหาเรื่องการทุจริตของผู้บริหารในระดับท้องถิ่น ที่มักสมรู้ร่วมคิดกับนักธุรกิจโกงกิน ผลประโยชน์ของรัฐและส่วนรวม ตัวอย่างเช่น จี้ เจี้ยนเย่ (Ji Jianye) อดีตผู้ว่าการเมืองหนานจิง (Nanjing) เมืองหลวงของมณฑลเจียงซู (Jiangsu) ร่วมมือกับนักธุรกิจรายใหญ่ของมณฑลเจียงซูโกง กินบ้านเมือง และตัวอย่างที่มณฑลเสฉวน ที่หลี่ ชุนเฉิง (Li Chuncheng) กัว หย่งเสียง (Guo Yongxiang) และหลี่ ฉงซี (Li Chongxi) ที่ต่างก็เคยเป็นผู้บริหารระดับสูงในรัฐบาลมณฑลเสฉวน ใช้ อํานาจและความสัมพันธ์ทุจริตโดยเกี่ยวพันกับนักธุรกิจรายใหญ่หลายรายของมณฑลเสฉวน คดี เหล่านี้ถูกจัดการโดยคณะกรรมาธิการตรวจสอบวินัยของพรรคและกฎหมายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
—–

——
-4) ความคาดหวังร่วมกันของสังคมแตกแยกมากขึ้นเพราะถูกกลุ่มผลประโยชน์คุกคาม ในยุคเหมา เจ๋อตง และยุคเติ้ง เสี่ยวผิง พูดได้ว่าในสมัยนั้นผู้บริหารประเทศค่อนข้างรู้ว่าความ ต้องการของประชาชนคืออะไร แต่ในยุคปัจจุบัน เนื่องจากจีนปฏิรูปและเปิดประเทศสู่โลก ประเทศ ได้พัฒนาไปมากโดยเฉพาะในภาคตะวันออกและภาคกลาง ประชาชนบางกลุ่มรํ่ารวยมากขึ้น แนวคิด ต่างๆ ของโลกภายนอกก็เข้ามาสู่จีนพร้อมกับโลกาภิวัตน์ ความเหลื่อมลํ้าทางรายได้ (สถิติ Gini ของ จีนในปี ค.ศ. 2014 สูงถึง 0.469) และความแตกต่างทางความคิดทําให้มีความขัดแย้งภายในสังคม มากขึ้น และทําให้สังคมถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มผลประโยชน์หลายกลุ่ม นอกจากนี้ จีนได้พัฒนาประเทศตามแนวทางอุตสาหกรรมมาเกือบครึ่งทางแล้ว ประเทศจีนมี ความเป็นเมืองมากขึ้น แต่โอกาสที่จะพัฒนาต่อไปน้อยลง การเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของผู้คนก็ลด
น้อยลงด้วยหากเทียบกับช่วงแรกๆ ของการปฏิรูปจีนในยุคเติ้งเสี่ยวผิง ซึ่งทําให้ความคาดหวังต่อ ส่วนรวมของแต่ละกลุ่มผลประโยชน์ในสังคมแตกต่างกันมากขึ้น 4. ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงระบบประชาธิปไตยจีน พรรคคอมมิวนิสต์ต้องกวดขันมากขึ้นในเรื่องการตรวจสอบควบคุมการกระทําที่เป็นปัญหา ในพรรคดังที่กล่าวมา ส่วนในด้านการฟังเสียงจากประชาชนทุกฝ่ายในการกําหนดนโยบายนั้น ต้อง เน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมด้วย ทั้งนี้เชื่อมั่นว่าการปฏิรูปทางการเมืองภายใต้การนําของ ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงน่าจะทําให้พรรคคอมมิวนิสต์จีนเข้มแข็งและทําให้ระบบประชาธิปไตยแบบจีน พัฒนามากยิ่งขึ้น * * *