วันพุธ 17 เมษายน 2024
  • :
  • :
Latest Update

ร่องรอย จอร์จ โซรอส – เจ้าของฉายา “พ่อมดการเงิน” ในวิกฤติโรฮิงยา

ความขัดแย้งกรณีชาวโรฮิงญาในเมียนมาร์ ซึ่งปะทุอีกเป็นครั้งที่สอง เมื่อเดือนสิงหาคม 2017 ที่ผ่านมา ดูเหมือนจะเป็นวิกฤติหลายมิติ ที่มีผู้เข้าร่วมการแข่งขันทางการเมืองที่สำคัญๆ หลายฝ่ายมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย

ณ ที่นี่ บรรดาผู้เชี่ยวชาญหมายถึง สาเหตุเบื้องหลังความขัดแย้ง ทั้งที่มาจากภายใน และภายนอกประเทศ ซึ่งได้โหมกระพือทำให้ไฟของความขัดแย้งดังกล่าวทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น

เหตุความขัดแย้งชาวโรฮิงญา ที่ปะทุขึ้นจากความไม่ลงรอยกันระหว่างชาวพุทธและชาวมุสลิมในรัฐยะไข่ ไปยังทางตะวันตกของในเมียนมาร์ ในปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เห็นได้ชัดว่า มีผู้เล่นจากภายนอกประเทศมในระดับโลกเข้ามาแทรกแซง – Dmitry Mosyakov ผู้อำนวยการศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลียและโอเชียเนีย ณ สถาบัน Oriental Studies of the Russian Academy of Sciences บอกกับ RT

ตามที่นักวิชาการระบุ ประเด็นความขัดแย้งดังกล่าว สามารถจำแนกออกเป็นสามมิติเป็นอย่างน้อย

ประการแรก นี่เป็นเกมเพื่อต่อกรกับจีน เนื่องจากจีนมีการลงทุนขนาดใหญ่ในรัฐ Arakan (ยะไข่)” Mosyakov กล่าวกับ RT “ประการที่สอง เหตุขัดแย้งพุ่งเป้าไปที่ การเติมเชื้อเพลิงให้แก่ บรรดามุสลิมผู้นิยมความรุนแรงสุดโต่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ … ประการที่สาม เหตุขัดแย้ง เป็นความพยายาม เพื่อหว่านเมล็ดพันธ์ความไม่ลงรอยกัน ภายในภูมิภาคอาเซียน (ระหว่างประเทศเมียนมาร์ และประเทศที่มีมุสลิมเป็นประชากรส่วนมาก อย่างอินโดนีเซียและมาเลเซีย)”

ตามที่ Mosyakov ระบุ ความขัดแย้งที่กินเวลายาวนานเป็นศตวรรษนี้ ถูกใช้เป็นเครื่องมือ โดยผู้เล่นภายนอก เพื่อบ่อนทำลายความมั่นคงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ว่า เกมความขัดแย้งนี้ มีเดิมพัน เป็นก๊าซสำรองไฮโดรคาร์บอนขนาดใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่นอกชายฝั่งของรัฐยะไข่

“มีเขตก๊าซขนาดใหญ่ ที่มีชื่อว่า Than Shwe ตามชื่อของนายพล ผู้ซึ่งปกครองประเทศเมียนมาร์มาอย่างช้านาน” Mosyakov กล่าว “นอกจากนี้ ณ บริเวณชายฝั่งของอาระกัน (ยะไข่) ก็มีน้ำมันไฮโดรคาร์บอนด้วย”

การค้นพบแหล่งพลังงานขนาดใหญ่ของรัฐยะไข่ในปี 2004 ได้ดึงดูดความสนใจจากจีน ในปี 2013 จีนจึงได้ดำเนินการต่อท่อส่งน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเชื่อมต่อท่าเทียบเรือ Kyaukphyu ของเมียนมาร์ เข้ากับกับเมืองคุนหมิง ในจังหวัดยูนนาน ประเทศจีน

ท่อส่งน้ำมันช่วยให้กรุงปักกิ่งสามารถส่งมอบน้ำมันดิบในตะวันออกกลางและแอฟริกา ผ่านทางช่องแคบมะละกา ขณะที่ท่อส่งก๊าซทำการขนส่งไฮโดรคาร์บอนจากเขตนอกชายฝั่งของเมียนมาร์ไปยังประเทศจีน

การพัฒนาโครงการพลังงาน Sino-Myanmar สอดคล้องกับสถานการณ์ความขัดแย้งอย่างรุนแรงกรณีชาวโรฮิงญาในช่วงปี 2011-2012 ขณะที่ผู้ลี้ภัยจำนวน 120,000 คนเดินทางออกจากประเทศเพื่อหลบหนีเหตุการณ์นองเลือด

Dmitry Egorchenkov รองผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการศึกษาด้านยุทธศาสตร์และการพยากรณ์โรคที่มหาวิทยาลัย Peoples’ Friendship University แห่งชาติรัสเซีย ชี้ว่า มันแทบจะไม่ใช่เหตุบังเอิญ แม้ว่าจะมีสาเหตุมาจากภายในที่อยู่เบื้องหลังวิกฤตโรฮิงญาอยู่บ้าง แต่นั่นก็อาจเป็นแรงผลักดันมาจากผู้เล่นภายนอก และผู้เล่นภายนอกที่สะดุดตาที่สุด ก็คือสหรัฐอเมริกา

ความไม่สงบของเมียนมาร์อาจส่งผลกระทบต่อโครงการพลังงานของประเทศจีน และสร้างความไม่มั่นคงให้กับธรณีประตูของกรุงปักกิ่ง สถานการณ์ ได้มอบเพื่อนบ้านอีกคน คือ ประเทศจีน ให้แก่วิกฤติความขัดแย้งที่กำลังดำเนินอยู่ระหว่างสหรัฐฯ และเกาหลีเหนือ ทั้งนี้ กรุงปักกิ่งอาจค้นพบว่า ตนเองกำลังติดอยู่ในกองไฟ

ในขณะเดียวกันกองรบเฉพาะกิจแห่งประเทศเมียนมาร์ ซึ่งประกอบด้วยองค์กรหลายแห่ง ที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก จอร์จโซรอส  นักวิเคราะห์ค่าเงิน และนักลงทุนหุ้น ผู้มีชื่อเสียงฉาวโฉ่ เจ้าของฉายา “พ่อมดการเงิน” และ “นายทุนหน้าเลือด” ก็ได้ดำเนินภารกิจของตนอย่างแข็งขันในเมียนมาร์ นับตั้งแต่ปี 2013 ซึ่งได้มีการเรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศยุติสิ่งที่เรียกว่า “การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชนกลุ่มน้อยชาวโรฮิงญา” อย่างไรก็ดี การแทรกแซงของโซรอส ต่อกิจการภายในประเทศเมียนมาร์นั้น อันที่จริงมันยังหยั่งรากลึกลงไปในประวัติศาสตร์ของประเทศอีกด้วย

ในปี 2003 จอร์จ โซรอส ได้เข้าร่วมกับกองรบเฉพาะกิจของสหรัฐฯ ซึ่งปฏิบัติภารกิจด้วยเป้าหมาย เพื่อเพิ่ม “ความร่วมมือของสหรัฐฯกับประเทศอื่น ๆ ในความต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมระยะยาวในพม่า (เมียนมาร์)”

ตามที่ระบุในเอกสารจากสภาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (CFR) ซึ่งโซรอสเคยเป็นสมาชิกในคณะกรรมการ ในปี 2003 ภายใต้ชื่อ “พม่า: เวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง” ได้ประกาศ การจัดตั้งกลุ่ม ที่ยืนกรานว่า “ระบอบประชาธิปไตย … ไม่สามารถอยู่รอดได้ในประเทศพม่า หากปราศจากความช่วยเหลือจากสหรัฐฯและประชาคมระหว่างประเทศ”

“เมื่อจอร์จ โซรอสเข้าไปยังประเทศนี้หรือประเทศนั้น … เขาจะมองหาความขัดแย้งทางศาสนา ชนชาติ หรือสังคม จากนั้นเขาจะเลือกรูปแบบสำหรับการปฏิบัติการให้แก่หนึ่งในตัวเลือกเหล่านี้ หรือ ทั้งหมดรวมกัน และเขาก็จะพยายามสุมไฟ (ความขัดแย้ง) เหล่านี้” Egorchenkov อธิบาย ขณะกล่าวกับ RT

ในทางกลับกัน ตามที่ Mosyakov ระบุ ดูเหมือนว่าเศรษฐกิจโลกบางแห่งที่ยั่งยืนแล้ว กำลังพยายามหาหนทางเพื่อจำกัด พัฒนาการทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วของประเทศในกลุ่ม ASEA โดยการกระตุ้นให้เกิดการปะทะกันภายในกลุ่ม

นักวิชาการได้ให้ความเห็นว่า นโยบายการจัดการแบบโลกาภิวัตน์ มีแนวคิดหว่านเมล็ดพันธ์แห่งความขัดแย้งในระหว่างการสร้างเนื้อสร้างตัวที่มั่นคงของภูมิภาค โดยการกระตุ้นให้มีความขัดแย้งในระดับภูมิภาค อันจะส่งผลทำให้ผู้เล่นภายนอกสามารถฉกฉวยโอกาส เพื่อให้ได้มาซึ่งการควบคุมรัฐอธิปไตย และสร้างความกดดันให้กับพวกเขามากขึ้น

วิกฤติโรฮิงญาล่าสุด ปะทุขึ้นในวันที่ 25 สิงหาคม เมื่อกลุ่มก่อการร้ายชาวมุสลิมชาวโรฮิงญา บุกโจมตีกองกำลังรักษาความปลอดภัยในรัฐยะไข่ของพม่า การตอบสนองที่แข็งกร้าวของเจ้าหน้าที่ภายในประเทศ ได้ก่อให้เกิดการปะทะกันอย่างรุนแรง สถานการณ์ตามที่มีการอ้าง ระบุว่ามีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 402 คน อย่างไรก็ตาม การประมาณการณ์บางสำนัก กล่าวว่า มีชาวมุสลิมกว่า 3,000 รายถูกสังหารในช่วงความขัดแย้งที่ผ่านมา

ความขัดแย้งที่เริ่มต้นขึ้นเมื่อประมาณหนึ่งศตวรรษก่อนหน้านี้ ได้ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่ปี 2011 และพุ่งสู่ความรุนแรงสูงสุดในปี 2012 เมื่อชาวมุสลิมกว่าหลายพันครอบครัว จำต้องลี้ภัยไปยังค่ายผู้ลี้ภัยพิเศษในดินแดนของประเทศ หรือหนีไปประเทศเพื่อนบ้าน บังคลาเทศ และล่าสุด สถานการณ์ความรุนแรงก็ได้ปะทุขึ้นอีกครั้ง นับจากปี 2016 หรือ ปีที่แล้วเป็นต้นมา

Source: sputniknews.com/analysis