วันศุกร์ 19 เมษายน 2024
  • :
  • :
Latest Update

สิทธิบัตรเทคโนโลยีฝนหลวงของคนไทย

ผมเคยอธิบายประเด็นข้อกฎหมาย เรื่องสิทธิบัตรฝนหลวง ที่ในหลวงได้คิดขึ้นมาแล้วครั้งนึงนะครับ
.
วันก่อน ผมไปเจอข้อมูลใหม่มาโดยบังเอิญนะครับ และผมคิดว่าเป็นเรื่องที่คนไทยหลายคนยัง ไม่รู้
.
สิทธิบัตรฝนหลวงนั้น เราเป็นเจ้าของมานานแล้ว ที่บอกว่า “เรา” ก็เพราะในหลวงทำให้ราษฎรครับ ผมเลยใช้คำว่า “เรา” ทั้งๆที่ตามกฎหมาย ผู้เป็นเจ้าของสิทธิบัตรนี้คือในหลวง
.
ฝนหลวง ถูกรับไปบริหารจัดการโดย “กรมฝนหลวงและการบินเกษตร” อันนี้ไม่แปลก และไม่น่าตื่นเต้น เราเข้าไปเยี่ยมได้นะครับ [https://www.facebook.com/pages/Department-of-Royal-Rainmaking-and-Agricultural-Aviations-flyers/392766360819122?ref=stream]
.
cats
แต่ที่น่าแชร์ น่าเผยแพร่ก็คือ เทคโนโลยีฝนหลวงนี้ ถูกถ่ายทอดไปใช้ประโยชน์ช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ที่แห้งแล้ง “ทั่วโลก” ครับ
.
อเมริกา / นิวซีแลนด์ / ทวีปอัฟริกา / ออสเตรเลีย /โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในแถบตะวันออกกลาง (จอร์แดน-โอมาน) และรวมไปถึงจีน และญี่ปุ่นด้วย มีการลงนาม MOU ระหว่างไทยแลนด์ และประเทศเหล่านี้ โดยแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีฝนหลวง กับการเปิดตลาดพืชผลการเกษตร ยาง ฯลฯ
.

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นหน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพในการบริหารจัดการเทคโนโลยีในสิทธิบัตรนี้ โดยตั้ง “คณะทำงานพิจารณาข้อตกลงและเงื่อนไขการอนุญาตใช้เทคโนโลยีฝนหลวงในต่างประเทศ : กรณีประเทศ…….” ขึ้นมาอย่างจริงจัง เพื่อดำเนินการ
.cats
ลองใช้คีย์เวิร์ดนี้ค้นดูนะครับ Thailand Applied Atmospheric Research Program / U.S. Department of the Interior / March 1994 [กระทรวงมหาดไทยของอเมริกา ถึงกับเอาไปวิจัยเป็นเรื่องเป็นราว]
.
ไหนศาสดาลัทธิตาสว่างบอกว่างานของในหลวงเป็นการโปรปะกันด้าไงครับ นี่ผมไม่เคยรู้มาก่อนเลยนะครับ ว่าโครงการฝนหลวงเจ๋งขนาดนี้
.
นี่ไม่ธรรมดานะครับ ระดับโลกกันเลยทีเดียว ผลงานระดับโลกแบบนี้
.
งานของในหลวงมีอีกเพียบ เล่ายังไงก็เล่าไม่หมด ของจริงจับต้องได้ทั้งนั้น
.
แต่ทำไมคนที่บริภาษท่าน กลับมีแต่มุขเดิมๆซ้ำไปซ้ำมากันครับเนี่ย <3 <3 <3 🙂
__________________
เขียนโดย Tongrob Sunontalad