วันเสาร์ 20 เมษายน 2024
  • :
  • :
Latest Update

เมื่อ”นิธิ เอียวศรีวงศ์” ปลุกคนเสื้อแดง”ล้ำเส้น”ประเทศไทย

เมื่อ”นิธิ เอียวศรีวงศ์” ปลุกคนเสื้อแดง”ล้ำเส้น”ประเทศไทย -ปราชญ์ สามสี 20 พ.ย. 2560

หลังจากที่พอจะมีเวลา มาอ่าน บทความ “เสื้อแดงจากอีกมุมมองหนึ่ง” ของ”นิธิ เอียวศรีวงศ์” ฉบับล่าสุด ของ มติชน ที่นำประเด็นมาจากหนังสือต่างประเทศเล่มหนึ่ง ซึ่งเชิดชูขบวนการเสื้้อแดงในการ”ปฎิวัติ”มาบอกเล่าต่อนั้น ก็รู้สึกว่า การเล่าเรื่องของบทความดังกล่าวนี้ ช่างวกไปเวียนมาชวนปวดกระเพาะ

โดยเฉพาะ การผูกเรื่องราวของขบวนการ ชาวนาชาวไร่ ช่วงปีพ.ศ.2516- พ.ศ. 2519 ไปผูกเรื่องไว้กับการเคลื่อนไหวของกลุ่มนักศึกษา ในสมัยนั้น แล้วมาโยงกับการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงในปี พ.ศ.2553 โดยมีความพยายามจุดประเด็นปลุกพลังชาวนารากหญ้าขึ้นมาอีกครั้ง เรื่องนี้ไม่ได้มีอะไรพิเศษหรือใหม่อะไรแต่อย่างใด

เพราะบทความนี้เป็นเพียงการปลุกระดมการเคลื่อนไหวโดยอ้างสงครามทางชนชั้นขึ้นอีกครั้ง แต่ครั้งนี้มีการเปลี่ยนแนวทางการเล่าออกไปอยู่บ้างเล็กน้อย โดยเฉพาะ การชี้นำให้คนเสื้อแดงที่ยังเป็นพลังเงียบให้ออกมา “ปฎิวัติสังคม”ด้วยการ เปลี่ยนแปลง กฎหมาย, ประเพณี, ค่านิยม, การปลูกฝัง, ทัศนคติทางการเมืองและสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วไป ฯลฯ โดยอ้างถึงการถูกกดขี่จากอำนาจปืน ที่เป็นเพียงกลยุทธหนึ่งที่ “นิธิ เอียวศรีวงศ์” พยายาม ชักชวนผู้คนให้คล้อยตามความคิดของเขา

… การกล่าวหาที่น่าสนใจคือ การมั่วยึดโยงความรุนแรงของฝ่ายทหาร ที่เกิดขึ้น ช่วงพ.ศ. 2519 กับความขัดแย้ง ในเหตุการณ์ พ.ศ.2553 โดยไม่พูดถึงกองกำลังชายชุดดำติดอาวุธสงครามที่อยู่ในฝ่ายคนเสื้อแดงในเหตุการณ์ พ.ศ.2553 แต่อย่างใด … ทั้งสองเรื่องนี้ เป็นเรื่องคนละเรื่องเลยทีเดียว ….

 

และยิ่งการที่ นิธิ กล่าวอ้างว่า “ยุทธวิธีสำคัญของฝ่ายเสื้อแดงคือการยืนอยู่บนกฎหมายเสมอ ” เรื่องนี้ก็ถือว่าเป็นคำกล่าวที่ ไม่มีพื้นฐานความเป็นจริงแต่อย่างใด เพราะแม้ว่าการชุมนุมของคนเสื้อแดงในหลายๆครั้งจะเป็นการชุมนุมอย่างสันติ แต่ก็เป็นการชุมนุมต่อต้านกฏหมายหรืออำนาจศาลยุติธรรมเสียด้วยซ้ำ …อีกทั้งในการชุมนุมหลายๆครั้งนั้นมีการละเมิดกฏหมายบ่อยครั้งส่งผลให้แกนนำและแนวร่วมถูกจับกุมตามกฏหมาย …แล้วแบบนี้จะอ้าง ว่า “ฝ่ายเสื้อแดงคือการยืนอยู่บนกฎหมายเสมอ” ได้อย่างไร?

และ ถ้าเปิดประวัติศาสตร์มาดู ช่วง 6 ตุลาคมพ.ศ. 2519 แท้จริงแล้ว เป็นปัญหาของ ขบวนการคอมมิวนิสต์ ที่จงใจลอบปลุกระดมให้มวลชนก่อการจนเกินเหตุอันเป็นการทำลายรัฐซึ่งเวลานั้นเป็นรัฐบาลทหาร และยังทำเกินเหตุลุกลามถึงการโจมตีเสียดสีสถาบันเบื้องสูงเสียด้วยซ้ำ อีกทั้งการปะทะกันระหว่างประชาชนฝ่ายขวาและฝ่ายซ้ายที่กลายเป็นความรุนแรงในช่วง พ.ศ. 2519 ไม่นานมานี้ ก็มีหลักฐานข้อมูลความมั่นคงของสหรัฐ เคยระบุว่าเป็นการแทรกแซงจากประเทศญี่ปุ่นเสียด้วยซ้ำ

เพราะในความเป็นจริงแล้ว ก่อนหน้านั้นในช่วง 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 การเคลื่อนไหวของพรรคนักศึกษาที่ก่อม็อบเรียกร้องทางออกตามระบอบประชาธิปไตยนั้นไม่ได้คุกคามสถาบันเบื้องสูงแม้แต่น้อย แม้ว่าจะมีบางส่วนมีแนวคิด คอมมิวนิสต์ก็ตาม …และเมื่อรัฐบาลทหารเวลานั้นมีการปราบปรามนักศึกษา สถาบันเบื้องสูงเสียด้วยซ้ำที่ออกมาช่วยเหลือประชาชนและเจรจาให้เกิดการยุติความขัดแย้ง

นั้นไม่ใช่ปัญหา แต่การที่ “นิธิ เอียวศรีวงศ์” ออกมาพูดถึง การปราบปรามชาวนา ใน พ.ศ. 2519 ก็ต้องถามต่อมา ว่า ชาวนาในยุคสมัยนั้นออกมาเพราะสภาพเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2516 และถูกนักศึกษาหัวคอมมิวนิสต์”โหน”ให้เข้าร่วมการปฎิวัติแบบ พลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน ไม่ใช่หรือ? ลำพังการเรียกร้องเนื่องจากปัญหาปากท้องไม่ใช่เรื่องที่เป็นภัยความมั่นคง แต่การถูกหลอกลวงให้เข้าร่วมพรรคคอมมินิสต์ให้จับอาวุธโค่นล้มสถาบันฯตามทฤษฎีการปฎิวัติชนชั้นของคอมมิวนิสต์ซึ่งเกิดขึ้นในยุค รัฐบาล ธานินทร์ กรัยวิเชียร พ.ศ. 2519 ตะหากที่เป็นเรื่องอันตรายต่อตวามมั่นคงของชาติ…แต่สุดท้าย ชาวนาหลายกลุ่มที่เข้าร่วมกับคอมมิวนิสต์ได้ ยอมวางอาวุธกลับมาเป็นผู้พัฒนาชาติไทยตาม นโยบาย 66/2523 ในยุคของ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ถือเป็นแก้ปัญหาคอมมิวนิสที่สันติที่สุดไม่ใช่หรือ?

 

แต่การที่ “นิธิ เอียวศรีวงศ์” พยายามอ้าง เหตุการณ์ ปี พ.ศ.2519 และ ปีพ.ศ. 2553 โดยโฟกัสในประเด็นหัวข้อ “การปฏิวัติจึงไม่จำเป็นต้องหมายถึงการจับอาวุธขึ้นล้มอำนาจรัฐเพียงอย่างเดียว” ซึ่งเห็นได้ชัดอยู่ว่า เป็นการ “บิดเบือนประวัติศาสตร์” เพื่อปลุกระดมให้ คนเสื้อแดงหลงเชื่อว่าประชาชนที่ออกมาปฎิวัตินั้นเป็นมวลชนมือเปล่าที่ถูกกดขี่จากอำนาจปืนของรัฐบาล ทั้งที่ในความเป็นจริงนั้นไม่ใช่ ….ยังจำได้ไหมว่า ใครกันเผาบ้านเผาเมือง ใครกันจับอาวุธขึ้นมาต่อสู้และทำร้ายเจ้าหน้าที่ …และใครกันที่พูดว่า “ถ้าเสียงปืนแตกนัดแรก ผมจะกลับมาเดินนำพี่น้องประชาชน” ในปีพ.ศ.2553

จากประโยคที่ นิธิกล่าวอ้างว่า
” ยุทธวิธีเชิงรุกที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ายุทธวิธีเชิงรับของกฎหมายก็คือ การข้ามเส้น ”
ก็จะเห็นได้ว่าเป็นการชี้นำของนิธิยังระห่ำพอที่จะหลอกผู้คนด้วยวาทะกรรม “ข้ามเส้น” เพื่อจะนำเสนอให้ประชาชน “ทำลาย” ข้อตกลงทางสังคมเดิม ด้วยทุกวิทีการที่ทำได้ ในอนาคต ในขณะที่ นิธิได้ขยายความ”เส้นที่ถูกขีด”ว่าหมายถึง กฎหมาย, ประเพณี, ค่านิยม, การปลูกฝัง, ทัศนคติทางการเมืองและสังคม

ถ้าจะใช้ภาษาวัยรุ่นยุคนึง ก็คงหมายถึงการเสี้ยมสอนให้ผู้คน “แหลม” ออกมาจากกฏเกณฑ์ที่สังคมกำหนดไว้ ด้วยการกระทำ”อารยะขัดขืน” หรือ การก่อม็อบต่างพื้นที่ อย่างที่เขาพยายามยกเมฆ ซึ่งการออกมาสนับสนุนหรือพยายามพูดในลักษณะนี้ คงต้องถาม นิธิ ว่า “มีจุดประสงค์ใด?”

หากมองข้ามช็อตในแง่ของการเมือง ทำใม “นิธิ เอียวศรีวงศ์” ถึงต้องกลับมาพูดถึงเรื่องพลังชาวนา และการปฎิวัติ ในวันนี้? ข้าพเจ้าเชื่อว่า เนื่องจากปัจจุบันเป็นช่วงที่ คนเสื้อแดงมีกำลังอ่อนแอจนถึงขีดสุด นับตั้งแต่การมีตัวตนของคนเสื้อแดงที่ผ่านมา และ กลุ่มพรรคการเมืองฝ่ายที่ตนเองกำลังสนับสนุน กำลังเข้าสู้สนามเลือกตั้งในอนาคตอันไกล้ … “นิธิ เอียวศรีวงศ์” จึงต้องเรียกระดมมวลชน ครั้งใหม่อีกครั้งสำหรับการเลือกตั้งครั้งต่อไป โดยการปักธงแห่งเจตนารมย์ในการปฎิวัติ เสียดแทงระบอบการปกครองที่มีอยู่อีกครั้งเพื่อชักจูงให้ฐานการเมืองคนเสื้อแดง นำพาพรรคของพวกเขาไปสู่การปฎิวัติสุดซอยนั่นเอง

แต่หากจะมองอีกทาง อาจต้องการจะบอกว่า เส้นที่ถูกขีดว่าไว้อย่างกฎหมาย, ประเพณี, ค่านิยม, การปลูกฝัง, ทัศนคติทางการเมืองและสังคม ที่เรามีนั้นไม่ดี …หรือ… ต้องการให้คนไทย ออกมาทำตัวนอกกฎหมาย นอกจารีตประเพณี อย่างนั้นหรือ? หรือการให้ความสำคัญกับคำว่า “การปฏิวัติ” ที่หมายถึง “การพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน” มีนัยยะที่ตรงตัวตามข้อความที่ นิธิ พยายาม”เน้น และให้ความสำคัญ”

หรือว่าแท้จริงกำลังมีเจตนายุยงปลุกปั่นให้ผู้คนกระด้างกระเดื่องต่อกฏหมาย?

ซึ่งงานนี้คงไม่ได้สร้างความแปลกใจอะไร เพราะข้าพเจ้าเองก็รู้อยู่แล้วว่า นิธิ เอียวศรีวงศ์ คือผู้ก่อตั้ง มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนในอดีต คือผู้ที่ร่วมเคลื่อนไหวนำเสนอเเนวความคิด เรียกร้องให้ แก้ไขกฏหมาย 112 กับทาง ครก. และคือผู้ที่มีบทบาทมาตลอดใน หนังสือ ฟ้าเดียวกัน นั่นเอง