วันอังคาร 19 มีนาคม 2024
  • :
  • :
Latest Update

เมื่ออนาคตใหม่เล่นบท สมมุติเทพ?

ก่อนหน้านี้ เคยมีงานเขียนเล่าถึง งานสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมสมัยคณะราษฎร ซึ่งอธิบายแนวคิดทางการเมืองเมื่อปี 2475 ออกมาบ้างแล้ว ซึ่งคณะราษฎรในเวลานั้นเคยคิดถึงการพยายามสร้างแนวคิดด้านความเชื่อเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่างที่ พวกเขาเรียกว่า  “ประชาธิปไตย” ผ่านงานด้านศิลป์และความเชื่อด้านเทวนิยม

ซึ่งจากประวัติศาสตร์สมัยใหม่ที่ถูกเปิดเผยออกมานั้นจะเห็นได้ว่า คณะราษฎร เคยได้สร้าง “ศิลปะคณะราษฎร. เพื่อสนับสนุนแนวคิด ‘ลัทธิบูชารัฐธรรมนูญ’โดยอธิบายแนวคิดทางการเมืองผ่าน ‘เทวนิยมในศิลปะคณะราษฎร’  อย่างเช่น  ลาย อรุณเทพบุตร

อันเป็นสถาปัตยกรรมในศาสนสถานซึ่งถูกนำมาแทนที่ พระนารายณ์รงครุฑ หรือ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ที่หมายถึงสถาบันกษัตริย์ ซึ่งปรากฏตามสถานที่สำคัญในกรุงเทพมหานครในสมัยนั้น เช่น อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ บางเขน  ซึ่ง อรุณเทพบุตร คือ เทพในตำนานฮินดู เป็นผู้ขับรถม้า ให้กับพระอาทิตย์ โดยได้รับการออกแบบให้ถือแพนหางนกยูง มีร่างกายเพียงครึ่ง อันเป็นสัญลักษณ์ของสารถี อยู่ในมือทั้งสองข้าง อันมีความหมายถึง รุ่งอรุณใหม่

“เทพีรัฐธรรมนูญ” ก็เป็นอีก สัญลักษณ์ที่เกิดขั้นในสมัยนั้น เป็นเทพที่มีลักษณะเป็น ผู้หญิงแต่งกายคล้ายเทพธิดาชูพานรัฐธรรมนูญขึ้นเหนือหัว เป็นผลงานดังกล่าวถูกสร้างขึ้นจากภาพที่ชนะเลิศการประกวด ศิลปกรรมแห่งชาติ ซึ่งต่อมาถูกใช้เป็นต้นแบบในการสร้างโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับถาวร

‘อิศวรปางปราบอสุรตรีปูรำ เทิดรัฐธรรมนูญสยามรัฐ’เทพองค์ใหม่ถูกนิยามขึ้นจากกลุ่มคนที่สนับสนุนการปฎิวัติในครั้งนั้นสร้างขึ้นเพื่อยกย่องพระยาพหลพลพยุหเสนา เปรียบดั่ง พระอิศวร (เทพเจ้าสูงสุดตามความเชื่อในศาสนาฮินดู) ในมือถือพานรัฐธรรมนูญ และคันธนู

ทั้งหมดนี้ถือว่าเป็น เทพเจ้าองค์ใหม่ยุคคณะราษฎรรุ่งเรื่องกับแนวคิดการปกป้องรัฐธรรมนูญ ที่เกิดขึ้นในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี 2475

ล่าสุด เมื่อเดือนมิถุนายน 2561 ที่ผ่านมาได้มีโอกาสไปอ่านบทความหนึ่งที่เผยแพร่โดยเว็บไซต์ของ พรรค อนาคตใหม่ ผ่านทางTwitter ซึ่งได้เขียนบทความ พาดหัวไว้ว่า “อรุณเทพบุตร, โพรมิทิอุส และอนาคตใหม่” โดย นาย เชตวัน เตือประโคน ซึ่งเป็นถึงเจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อ สังกัดพรรคอนาคตใหม่
ทั้งนี้ในบทความดังกล่าวมีลักษณะอธิบายถึงอุดมการณ์ของพรรคอนาคตใหม่ เทียบเคียงเทพเจ้าอย่าง อรุณเทพบุตร และ โพรมิทิอุส อีกด้วย โดยเทพทั้งสององค์ที่กล่าวนั้น มีจุดดำเนิดและ ประวัติค่อนข้างชัดเจนและผูกพันกับประวัติศาสตร์และปรัชญาการเมืองในสังคมตะวันตกในลักษณะคล้ายๆ กัน

เพื่อให้เข้าใจตรงตามที่ ผู้เขียน (นาย เชตวัน เตือประโคน) เขียนขึ้นนั้น คง ต้องขอยกบทความ ทั้งหมดมาให้ได้อ่านกันตามนี้ครับ
============================================
อรุณเทพบุตร, โพรมิทิอุส และอนาคตใหม่
22 พฤษภาคม 2018

บทความ โดย เชตวัน เตือประโคน

_______________________

แล้วในที่สุด กลุ่มผู้จดจัดตั้ง “พรรคอนาคตใหม่” ก็ได้รับอนุญาตจาก “คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)” ให้ทำการประชุมพรรคได้

ชัดเจนแล้วว่าเป็นวันที่ 27 พฤษภาคม นี้ ณ ยิมเนซียม 5 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต งานเปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าชมด้วยตั้งแต่เวลา 12.00 น. เป็นต้นไป

  เชื่อว่าจะเป็นอีกหนึ่งกลุ่มการเมืองที่ได้รับการจับตาเป็นอย่างยิ่ง

ย้อนกลับไปในวันเดินทางไปจดจัดตั้งพรรคกับ “คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และ ปิยบุตร แสงกนกกุล รวมถึงกลุ่มผู้จดจัดตั้ง 26 คน อธิบายถึงการใช้สีส้มเป็นสีประจำว่า

เนื่องจากเป็นสีที่มีพลัง สดใส และเป็นสีของอรุณรุ่ง และเป็นสีที่ผ่องอำไพ

“ที่ใช้สีส้ม ไม่ได้เป็นเพราะเหลืองผสมแดงแล้วเป็นสีส้ม เราไม่ได้ออกแบบเพราะเหตุผลนี้ แต่เห็นว่าสีส้มหมายถึงการเริ่มต้นใหม่” ธนาธร กล่าว

เรื่องของ “สีส้ม” และการ “เริ่มต้นใหม่” ทำให้ผมคิดถึง “อรุณเทพบุตร” และ “โพรมิทิอุส”

(ปกหนังสือเล่มหนึ่งของ ปิยบุตรใช้รูปโพมิทิอุสเป็นภาพนำ)

เทพองค์แรกมาจากปกรณัมของอินเดีย ขณะที่องค์หลังเป็นของกรีกโบราณ ซึ่งทั้งสององค์มีชะตากรรมคล้ายๆกัน

__________________

อรุณเทพบุตร เป็นใคร? มาจากไหน? มีเรื่องเล่าไว้ในคัมภีร์อินเดียโบราณหลายเวอร์ชั่น

แต่แบบเข้าใจง่าย และฟังคล้ายกับเรื่องของโพรมิทิอุสผู้ขโมยไฟจากมหาเทพมามอบความสว่างให้มวลมนุษย์ คือที่จะสรุปต่อไปนี้

  ชะตากรรมที่ว่าคล้ายนั้น เห็นจะเป็นการที่อรุณเทพบุตรต้องทนกับแสงแรงร้อนจากพระอาทิตย์ที่จะแผดเผาทำลายโลก ขณะที่โพรมิทิอุสต้องทนจากปากอันคมแกร่งของพญาอีกาจิกอยู่ทุกวี่ทุกวัน หลังไปโขมยไฟมามอบความสว่างให้มวลมนุษย์

  ย้อนกลับไปถึงจุดกำเนิดของเทวดาอินเดีย

  จากการที่แม่คลอดลูกออกมาเป็นไข่ 2 ฟอง ทนรอเห็นหน้าลูกไม่ไหว จึงกระเทาะเปลือกไข่ใบหนึ่งเพื่อดูหน้าลูกก่อนกำหนด 

  ทำให้ลูกที่ออกมาพิการ ร่างมีเฉพาะท่อนบน ซึ่งนั่นก็คือ “อรุณเทพบุตร” 

ขณะที่ไข่อีกฟองซึ่งฟักตามกำหนด มีแขน ขาครบ และเป็นน้องคือ “พญาครุฑ” ซึ่งมีร่างบึกบึน อย่างที่เราเห็นตามรูปเขียน หรือรูปปั้นทั่วๆ ไป

อรุณเทพบุตร ผู้เป็นพี่นั้นก็มีร่างกำยำใหญ่ไม่ต่างจากน้องพญาครุฑ เพียงแต่ไม่มีร่างท่อนล่าง

เรื่องเชื่อมโยง ต่อเนื่องจากการที่ฝ่ายเทพและอสูรช่วยกันกวนเกษียณสมุทร เพื่อให้ได้น้ำอมฤต โดยแรกว่าจะแบ่งปันกัน แต่ทว่าเมื่อได้น้ำศักดิ์สิทธิ์แล้ว เหล่าเทวดากลับเอาไปดื่มกินเพื่อความเป็นอมตะแต่เพียงกลุ่มเดียว

ในเหตุการณ์ดังกล่าว ขณะที่เทพกำลังแบ่งกันดื่มน้ำศักดิ์สิทธิ์นั้น อสูรนามว่า “ราหู” ได้ปลอมตัวเข้าไปร่วมดื่มด้วย

“พระอาทิตย์” และ “พระจันทร์” เห็นเข้าจึงรีบไปฟ้องมหาเทพ แล้วมหาเทพก็สั่งพระนารายณ์ณ์จัดการ ปรากฏว่าพระนารายณ์ณ์ขว้างจักรฟันอสูรราหูเหลือแต่ปาก ท่อนล่างตาย ท่อนบนไม่เป็นไรเพราะน้ำอมฤตได้ลงไปบ้างแล้ว

อสูรราหูโกรธพระอาทิตย์และพระจันทร์ขี้ฟ้องมาก เจอทีไรก็ต้องเข้ากัดกินอยู่ร่ำไป แต่ก็อย่างที่เราเห็น เมื่อราหูกินพระอาทิตย์และพระจันทร์แล้ว สุดท้ายก็ต้องหลุดเพราะร่างท่อนล่างตั้งแต่กรามลงมาของอสูรราหูไม่มีแล้ว

และเพราะคงโดนไล่กัด ไล่กินอยู่บ่อย โดยไม่มีเหล่าทวยเทพเข้ามาดูดำดูดี ทำให้ภายหลังพระอาทิตย์โกรธเหล่าทวยเทพ โดยพระอาทิตย์ว่า..

“ข้าได้ทำคุณแก่เทพยดาทั้งปวงโดยที่ได้แจ้งให้ทราบว่าพระราหูลอบเข้าไปดื่มน้ำอมฤต พระราหูจึงโกรธข้าเพราะเหตุนั้นและมาอมข้าเทพยดาทั้งหลายนิ่งดูอยู่ ไม่มีใครเจ็บร้อนแทนข้าเลย ข้าจะเผาโลกทั้งสามเสียด้วยความแค้น”

พระอาทิตย์ตั้งใจจะเผาทำลายสามโลกให้มอดไหม้ ร้อนถึงพระพรหมต้องหาทางแก้ไขโดยให้ “อรุณเทพบุตร” ไปเป็นสารถี หรือพูดง่ายๆ ก็คือคนขับรถม้าให้พระอาทิตย์ ใช้แผ่นหลังอันบึกบึนเช่นเดียวกับครุฑนั้น รองรับความร้อนเป็นเบื้องต้น

หรืออาจจะพูดได้ว่า เป็นการช่วยกรองแสง เพื่อป้องกันไม่ให้แสงพระอาทิตย์เผาทำลายสามโลก

เรื่องของอรุณเทพบุตร ถ้าจะดูจากตำนานนี้ แล้ววิเคราะห์ต่อจากที่ “ชาตรี ประกิตนนทการ” เขียนไว้ในหนังสือ “สถาปัตยกรรมคณะราษฎร” น่าคิดเป็นอย่างยิ่ง

กรณี “คณะราษฎร” สร้าง “วัดประชาธิปไตย” หรือต่อมาคือ “วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ บางเขน” แล้วปรากฏภาพปูนปั้นของอรุณเทพบุตรอยู่บริเวณหน้าบันพระอุโบสถของวัด อย่างไม่เคยมีมาก่อนตามคติไตรภูมิ หรือการสร้างวัดแต่โบร่ำโบราณนานมา คือจุดหนึ่ง

อีกจุดหนึ่งที่ปรากฏภาพอรุณเทพบุตร คือ เหนือประตูทางเข้าใต้ฐานพานแว่นฟ้า “อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย” ซึ่งก็สร้างขึ้นในสมัยคณะราษฎรเช่นกัน

  อรุณเทพบุตร คือ สิ่งแรกที่เราจะได้เห็นก่อนที่พระอาทิตย์จะโผล่ (เนื่องจากขับรถม้าให้พระอาทิตย์ ย่อมต้องมาก่อน จึงเรียกยามเช้าว่า “อรุณ”) 

  แสงสีส้ม คือแสงแรก อบอุ่น เนื่องจากอรุณเทพบุตรได้ใช้แผ่นหลัง ซึมซับ บังแสงพระอาทิตย์ที่ร้อนแรงไว้แล้วเป็นเบื้องต้น 

  อรุณเทพบุตร คือ ผู้ทีต้องทุกข์ทรมานเพื่อมอบความสุขสบายแก่มวลมนุษย์ไม่ต่างจาก “โพรมิทิอุส” ผู้ขโมยไฟมาให้มวลมนุษย์แล้วโดนจับได้ 

“สีส้ม” และ “รุ่งอรุณ” ของ “กลุ่มอนาคตใหม่” อันมี “ธนาธร-ปิยบุตร” เป็นไปได้สูงยิ่งที่จะสื่อไปถึง “คณะราษฎร” ผู้อภิวัฒน์สยาม
  รวมถึงอรุณเทพบุตรผู้เป็นดั่งโพรมิทิอุสในโลกตะวันออก

ส่วนจะเป็นวันใหม่ เป็นอนาคตใหม่ได้หรือไม่ ทั้งหมดต้องรอการพิสูจน์

๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑/
(ปัจจุบัน  บทความดังกล่าวถูกลบ ออกไปแล้ว ไม่นานมานี้ แต่ก็ยังสามารถ เปิดอ่าน จาก Google’s cache ได้จากทางนี้

https://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:2lF5QqAjhLMJ:https://thefuturewewant.today/%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%2593%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25A3-%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%25AA/+&cd=1&hl=en&ct=clnk&gl=th )

 

เมื่อได้อ่านจบคุณจะรู้สึกได้ทั้นทีว่า  โอ้ว! ช่างเป็นความพยายามยกตนให้สูงขึ้นเทียบเท่าเทวดายังไงก็ยังงั้น และช่างกล้ามากที่เทียบตนกับเทพปกรนัมอย่าง โพรมิทิอุสซึ่งถือว่าเป็นเทพแห่งปัญญาที่กล้าท้าทายกับพระเจ้าของเหล่าพระเจ้าทั้งมวล หรือการยกอรุณเทพบุตรผู้มาแทน พระนารายณ์ทรงครุฑ มาเป็นแรงบันดาลใจในการตั้งพรรคอนาคตใหม่ก็ตาม
เรื่องการยกยอปอปั้นคนของพรรคเทียบเคียงสมมุติเทพประมาณนี้ แม้แต่ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล หนึ่งในขบวนการล้มเจ้าผู้สนับสนุนคนสำคัญของพรรคอนาคตใหม่ยังไม่สามารถรับได้ ถึงขนาดสบถออกมาว่า “อ่านแล้วจะอ้วก”  และสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ยังระบุเป็นภาษาอังกฤษผสมไทยอีกว่า ”คณะราษฎร, for all its mistakes and weaknesses, did aim to solve the central issue of its days, i.e. the royal power. The FFP didn’t dare even to raise the issue of 112, which is only one aspects of the central isssue of our days, and thus, leaving the low-educated “ชาวบ้าน” who lack the skills and the legel know-hows to tackle the issue themselves and end up, times and again, in jail.” ซึ่งแปลเป็นไทยว่า “คณะราษฎรแม้มีข้อผิดพลาดและมีจุดอ่อนมากมายแต่ก็มีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาสำคัญ ๆ ในสมัยนั้นคืออำนาจของพระราชา  แต่ พรรคอนาคตใหม่ กลับไม่กล้าที่จะยกประเด็นเรื่อง 112 ซึ่งเป็นเพียงแง่มุมเดียวของยุคกลางที่เกิดขึ้นในสมัยของเราและทำให้ชาวบ้านที่ขาดการศึกษาซึ่งขาดทักษะและความรู้ด้านข้อมูล แก้ไขปัญหาด้วยตัวเองและจบลงครั้งแล้วครั้งเล่าในคุก)

ซึ่งแม้ว่าคนไทยส่วนใหญ่ อาจจะไม่ได้คิดแบบเดียวกับ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล กับเรื่องสถาบันเบื้องสูงก็เถอะ แต่การอย่างน้อยๆเราก็อาจจะมีความเห็นคล้ายกับสมศักดิ์ได้ก็คราวนี้แหล่ครับว่า มันช่างเป็นเรื่องของคนหลงตัวเองอย่างจริงจังสำหรับกลุ่มคนที่พยายามเปรียบเทียบว่าตนเองคือ เทพผู้ขโมยไฟจากมหาเทพปกรนัม

 

เรื่องนี้ ถ้า อนาคตใหม่ อยากจะเป็นเทพ ก็คงต้องเอาวรรณคดีไทยมาอธิบายพฤติกรรมซึ่งถ้าจะหาให้ใกล้เคียงก็คงต้องนึกถึง เทพล้างเท้าอย่าง ”นนทก” ผู้ที่ตายด้วยอำนาจของตนเอง จากความงามของนางอัปสรเป็นแน่แท้

สำหรับคนที่ไม่รู้จัก นนทก ก็ขอเอามาเล่าตรงนี้ละกันครับว่า นนทกซึ่งเป็นยักษ์น่าตาอัปลักษณ์และมีหัวล้านทำหน้าที่คอยล้างเท้าให้กับเทพยดาที่ต้องการขึ้นไปเข้าเฝ้าพระอิศวรที่ตีนเขาไกรลาส . เวลาเทวดาจะมาเข้าเฝ้าพระอิศวรก็จะมาให้ยักษ์นนทกล้างเท้าให้  แต่ด้วยความนึกสนุก เทวดาส่วนใหญ่ที่ยืนเท้าให้นนทกรางให้นั้นก็พลางลูบหัวเล่นหัวด้วยความเอ็นดู จนเส้นผมบนกบาลของนนทกล้านโล่ง  นนทก ทนไม่ไหว จึงไปทูลพระอิศวร ขออำนาจอภินิหารจากพระอิศวรเพื่อใช้จัดการกับเทวดาที่เล่นหัวตนอย่างสนุกสนาน พระอิศวร จึงมอบนิ้วเพชรที่ชี้ไปที่ใครคนนั้นก็จะตาย เมื่อนนทกได้อำนาจใหม่นี้ก็จึงไปสังหารเทวดาจำนวนมากที่เคยลูปหัวเอ็นดูไปเสียสิ้น ส่งผลให้ พระนารายณ์ ต้องลงมากปราบ นนทก ในการกระทำอันเกินเหตุ พระนารายณ์จึงออกอุบายจำแลงเป็นนางอัปสร เมื่อนนทกเห็น นางอัปสรรูปงามก็เริ่มเกี้ยวพาราสี นางอัปสรจึงหลอกล่อด้วยความงามชักจูงให้ร่ายรำร่วมกันจนทำท่า “นาคาม้วนหาง” ซึ่งนนทกต้องเต้นรำโดยเอานิ้วชี้ไปที่ขาของตนเอง จึงทำให้ขาหักสิ้นฤทธิ์ทรุดอยู่กับพื้น
ในวรรณคดี ยังมีต่อว่า นางอัปสรจึงคืนร่างเป็นพระนารายณ์ เหยียบอกยักษ์นนทกไว้หมายจะสังหารเสีย ฝ่ายนนทกเห็นว่าเสียทีดังนี้จึงร้องบริภาษว่า ตัวเองมีสองมือ จะสู้คนที่มีหลายมือได้ยังไง …
พระนารายณ์จึงให้คำสัตย์ว่า ให้ยักษ์นนทกไปเกิดใหม่ มีสิบเศียรสิบพักตร์ยี่สิบมือ เหาะเหินเดินอากาศได้ มีอาวุธนานาชนิดครบทุกมือ ส่วนพระนารายณ์จะไปเกิดเป็นมนุษย์มีสองมือและตามไปฆ่านนทกให้ได้

ยักษ์นนทกจึงเกิดใหม่เป็นทศกัณฐ์ ส่วนพระนารายณ์ก็ลงมาเกิดเป็นพระราม แต่สุดท้ายพระรามก็เป็นฝ่ายชนะอยู่ดี..

เมื่ออ่าน วรรณคดีไทยตอน นนทก ก็คงรู้สึกว่าช่างคับคล้ายคับคลา ว่า นนทก ฉบับการเมืองไทยในสมัยนี้ อาจจะแพ้ นางอัปสรที่ชื่อ “เฌอปราง” ก็ได้