วันพฤหัสบดี 12 ธันวาคม 2024
  • :
  • :
Latest Update

คิดถึง”วันครบรอบฉลองพระนคร”และ”ศาลสนามสถิตยุติธรรม” – ปราชญ์ สามสี

เกล็ดความรู้ ปีนี้ก็พึ่งครบรอบฉลองพระนคร 236 ปี ไปเมื่อ 21 เม.ย พ.ศ.2561 ที่ผ่านมา บางคนไม่เคยทราบว่า วันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2325 มีความสำคัญอย่างไร ทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทย

ย้อนไปเมื่อ 232 ปีก่อน ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นราชธานีทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งคือฝั่งพระนครในปัจจุบัน

จากนั้น ในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีฝังเสาพระหลักเมืองที่กรุงเทพมหานคร รวมทั้งโปรดเกล้าฯ ให้มีการก่อสร้างพระบรมมหาราชวัง ตลอดจนวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว ขึ้นในคราเดียวกัน

เมื่อ 21 เมษายน พุทธศักราช 2425 เป็นปีที่กรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบหนึ่งศตวรรษ หรือ 100 ปี ในปีนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้จัดงานสมโภชพระนครครบรอบศตวรรษอย่างยิ่งใหญ่ โดยทรงมีพระราชประสงค์ให้จัดงานแสดงสินค้าแห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ณ ท้องสนามหลวง หรือที่เรียกว่า “แนชันนาลเอกษฮีบิชัน” พร้อมกันนี้ ยังทรงให้จัดทำเหรียญที่ระลึก สำหรับพระราชทานให้แก่ผู้ที่นำสินค้าแปลก ๆ มาจัดแสดงในงานสมโภชพระนครด้วย

นอกจากนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงมีพระราชประสงค์ให้บูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดารามที่เริ่มทรุดโทรมลงไปตามกาลเวลา ให้กลับมาสวยงามดังเดิมพร้อมกับงานฉลองพระนคร โดยพระองค์ได้พระราชทานเหรียญที่ระลึกให้แก่ผู้ที่ร่วมบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามจนแล้วเสร็จในครั้งนี้ด้วย

 

 

การจัดทำเหรียญที่ระลึกถือเป็นอีกสัญลักษณ์สำคัญของการฉลองเฉลิมหนึ่งศตวรรษของกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเหรียญที่ระลึกสำคัญเหรียญหนึ่งที่จัดทำในโอกาสดังกล่าว ก็คือ “เหรียญสตพรรษมาลา” ซึ่งด้านหน้าเหรียญเป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 5 และโดดเด่นด้วยการออกแบบรอบเหรียญให้เป็นแฉกรัศมี 100 แฉก ที่หมายถึงกรุงรัตนโกสินทร์ 100 ปี

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดสร้าง “ศาลสนามสถิตยุติธรรม” เนื่องในฉลองพระนคร 100ปี หรือหากนับอย่างปีรัตนโกสินทร์ ก็คือ ร.ศ.100 ทรงมีพระราชประสงค์ให้ศาลสถิตย์ยุติธรรมเป็นที่ดำรงความยุติธรรม ขจัดอธรรมทั้งหลายทั้งปวงทั้งภายนอกและภายในประเทศ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นเอกราชทางศาลและกฏหมายของราชอาณาจักร จีงโปรดเกล้าฯให้จัดตั้งศาลหลวงขึ้นและพระราชทานนามว่า “ศาลสถิตย์ยุติธรรม” โดยรวมเอาศาลตามกระทรวงต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน

แต่ถูกทำลายทิ้งหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี 24 มิถุนายน พ .ศ. 2475 โดยคณะราษฎร โดยให้เหตุผลว่าเป็นอาคารเก่าแก่ล้าหลัง จึงถูกทนแทนด้วยงอาคารศาลฎีกาตามแบบ”สถาปัตยกรรมคณะราษฎร”

 

ปัจจุบัน อาคารศาลฎีกาตามแบบ”สถาปัตยกรรมคณะราษฎร” ถูกรื้อและสร้างใหม่เป็นที่ตั้งอาคารศาลฎีกาแบบรัตนโกสินที่ริมท้องสนามหลวง เมื่อไม่นานมานี้