วันอังคาร 14 พฤษภาคม 2024
  • :
  • :
Latest Update

ความเป็นมาของ “เพลงสรรเสริญพระบารมี”ในฐานะ เพลงชาติสยาม

 

20061002145931

 

 

ความเป็นมาของ “เพลงสรรเสริญพระบารมี” เพลงที่คนไทยรู้จักและคุ้นหูกันมานานในฐานะเพลงประจำสถาบันพระมหากษัตริย์

ทุกครั้งที่คนไทยได้มีโอกาสชื่นชมพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือแม้แต่พระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์ท่าน สิ่งแรกที่ปรากฎขึ้นในใจของพวกเราชาวไทยก็คือ “เพลงสรรเสริญพระบารมี” เพราะเป็นเพลงที่คนไทยรู้จักและคุ้นหูกันมานานในฐานะเพลงประจำสถาบันพระมหากษัตริย์

ปัจจุบันเพลงสรรเสริญพระบารมี เริ่มเลือนหายและได้ยินกันน้อยลงต่างจากในอดีต เมื่อย้อนกลับไปสมัยรัชกาลที่ ๕ หลังจากจบการแสดงมหรสพต่างๆ แล้ว ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องมีการบรรเลงและขับร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีทุกครั้ง หรือแม้แต่ลิเกเบิกโรง หรือก่อนฉายหนังกลางแปลง เสียงเพลงสรรเสริญพระบารมีก็จะกระหึมก้องท้องทุ่งนาและในใจคนไทยทุกที่ไป เพื่อเป็นการเล่าขานว่าคนไทยอยู่ดีมีสุข มีการละเล่นครื้นเครง มีเครื่องบันเทิงใจจวบจนถึงทุกวันนี้ได้ก็เพราะพระบารมีของพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ที่ได้ทรงปกป้องประชาราษฎร์ให้อยู่เย็นเป็นสุข

เมื่อกาลเวลาผ่านไปเข้าสู่ยุคปัจจุบันจะเห็นได้ว่าการแสดงคอนเสิร์ตหรือละครเวทีต่างๆ ดูเหมือนจะไม่มีผู้จัดรายใดบรรจุเพลงสรรเสริญพระบารมีไว้ในรายการแสดงเลย บางโรงภาพยนตร์ก่อนฉายหนังก็ไม่ขึ้นเพลงสรรเสริญพระบารมีด้วยซ้ำไป หรือแม้แต่สถานีโทรทัศน์บางช่องที่ออกอากาศต่อเนื่องก็ไม่คิดที่จะนำเพลงสรรเสริญพระบารมีมาคั่นเวลาสักนาที เพื่อให้คนไทยได้ตระหนักถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ไทยเลย

พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ไว้ และประกาศให้ใช้เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๕๖

ในอดีตตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สยามได้ใช้เพลงประโคมอย่างโบราณแทนเพลงสรรเสริญพระบารมีเพื่อใช้เป็นเพลงถวายพระเกียรติ และเครื่องประโคมที่สำคัญได้แก่ มโหระทึก สังข์ แตรงอน ปี่ไฉน กลองชนะ และอื่นๆ

ต่อมาเมื่อขึ้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ซึ่งเป็นยุคทองของการเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่ง เพลงสรรเสริญพระบารมีอย่างไทยที่ใช้การประโคมเป็นอันต้องยุติบทบาทลง เนื่องด้วยการรับวัฒธรรมอย่างฝรั่งซึ่งมีที่มาจากช่วงปีพ.ศ.๒๓๙๔ ได้มีครูฝึกทหารชาวอังกฤษชื่อ Impey เดินทางเข้ามาเพื่อทำหน้าที่ฝึกทหารในวังหลวง ต่อมาทหารอังกฤษอีกนายหนึ่งชื่อ Thomas Knox ก็ได้เดินทางเข้ามาและพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าทรงให้ทำหน้าที่ฝึกทหารในวังหน้า ทั้งคู่เป็นผู้ที่นำเพลง “God Save The Queen” ซึ่งถือเป็นเพลงถวายพระเกียรติพระนางเจ้าวิคตอเรียแห่งประเทศอังกฤษมาใช้ในกรุงสยาม แต่มีการประพันธ์เนื้อร้องใหม่เป็นภาษาอังกฤษเพื่อถวายพระเกียรติรัชกาลที่ ๕ ซึ่งปรากฎหลักฐานสำคัญอยู่ในหนังสือ Siam Recorder

ต่อมาไม่นานพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) จึงได้ประพันธ์คำร้องเป็นภาษาไทยลงในทำนอง God Save The Queen โดยให้ชื่อว่า “จอมราชจงเจริญ” ดังนี้
ความ สุขสมบัติทั้ง บริวาร
เจริญ พละปฏิภาณ ผ่องแผ้ว
จง ยืนพระชนมาน นับรอบ ร้อยแฮ
มี พระเกียรติเพริศแพร้ว เล่ห์เพี้ยงเพียงจันทร์

 

ขอบคุณข้อมูลเสียงจาก พิพิธภัณฑ์ ธงชาติไทย

 

จนกระทั่งขึ้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระองค์ท่านได้เสด็จประพาสเมืองสิงคโปรและเกาะชวาในปี พ.ศ.๒๔๑๔ ขณะที่พระองค์ประทับอยู่ที่สิงคโปร ซึ่งในเวลานั้นอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ทหารอังกฤษจึงได้ใช้เพลง God Save The Queen บรรเลงเป็นเพลงถวายพระเกียรติรับเสด็จแบบเดียวกับที่ใช้ในกรุงสยาม ครั้นเมื่อพระองค์เสด็จถึงเมืองปัตตาเวีย เกาะชวา ซึ่งในขณะนั้นเป็นอาณานิคมของฮอลลันดา ทหารฮอลลันดาจึงทูลถามพระองค์ว่าจะให้ใช้เพลงอะไรบรรเลงเพื่อเป็นเพลงถวายพระเกียรติรับเสด็จ พระองค์จึงทรงสั่งให้บรรเลงเพลง God Save The Queen เช่นเดียวกับในกรุงสยาม ทหารฮอลลันดาจึงทูลถามอีกครั้งว่า สยามมิได้ตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ทำไมจึงใช้เพลง God Save The Queen เมื่อพระองค์ทรงได้ยินเช่นนั้นก็ตกพระทัย และสั่งมิให้มีการบรรเลงเพลง God Save The Queen เป็นเพลงเกียรติยศรับเสด็จนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เมื่อเสด็จนิวัติกลับพระนครจึงได้มีการประชุมครูดนตรีเพื่อสรรหาเพลงสรรเสริญพระบารมีแทนเพลง God Save The Queen

ตอนนั้น คณะครูดนตรีไทยจึงได้เสนอเพลงบุหลันลอยเลื่อน (หรือเพลงทรงพระสุบิน) ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ใช้เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายเฮวุดเซน (Heutsen) ครูดนตรีในกรมทหารมหาดเล็กชาวฮอลันดา เรียบเรียงทำนองขึ้นใหม่ให้เป็นทางดนตรีตะวันตก และได้ใช้เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๑๔ (ดร. สุกรี เจริญสุข ได้สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเพลงเดียวกันกับเพลงสรรเสริญเสือป่า ซึ่งใช้เป็นเพลงเกียรติยศของกองเสือป่าในสมัยรัชกาลที่ ๖

ต่อมาจึงได้มีการเปลี่ยนมาใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีฉบับของพระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางกูร) (หรือครูมีแขก) ครูดนตรีคนสำคัญ ที่ได้ประดิษฐ์ทำนองขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเมื่อราว พ.ศ. ๒๔๑๖ภายหลังจากพระราชพิธีบรมราชภิเษกครั้งที่ 2 ได้ไม่นาน ซึ่งได้เค้าทำนองมาจากเพลงสรรเสริญนารายณ์ของเก่าและได้เรียบเรียบเสียงประสานสำหรับดนตรีตะวันตกโดยปโยตร์ ชูรอฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) นักประพันธ์ชาวรัสเซีย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงนิพนธ์เนื้อร้องประกอบและได้ออกบรรเลงครั้งแรกที่ศาลายุทธนาธิการในปีเดียวกัน ต่อมาทรงนิพนธ์เนื้อร้องของเพลงนี้อีกหลายเนื้อร้องเพื่อขับร้องในกลุ่มต่าง ๆ กัน เช่น ทหาร นักเรียนชาย นักเรียนหญิง เป็นต้น แต่มีเนื้อร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีอีกสำนวนหนึ่งที่เป็นพระนิพนธ์ในพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ สำนวนนี้เป็นสำนวนสำหรับทหารเรือขับร้องโดยเฉพาะ

เนื้อร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีฉบับปัจจุบันนั้น เดิมทีเป็นเนื้อร้องที่พระองค์ได้นิพนธ์ขึ้นเพื่อใช้ในพระราชพิธีลงสรงของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ต่อมาเมื่อถึงรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำเพลงสรรเสริญพระบารมี มาพระราชนิพนธ์คำร้องขึ้นใหม่ โดยทรงรักษาคำร้องเดิมเอาไว้เกือบทุกอย่าง ยกเว้นแต่ทรงเปลี่ยนคำร้องในท่อนสุดท้ายว่า ฉะนี้ ให้เป็น ชโย และประกาศใช้ ในวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ และใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ เพลงสรรเสริญพระบารมีไม่ได้ใช้ในฐานะเพลงชาติอีกต่อไป แต่ยังคงใช้ในฐานะของเพลงถวายความเคารพแด่องค์พระมหากษัตริย์ มีอยู่ช่วงหนึ่งมีการตัดทอนเพลงนี้ให้สั้นลง แต่ได้ยกเลิกการใช้แล้ว

sansoen_pra_barami_rama5_siamese_anthem-1