วันเสาร์ 27 กรกฎาคม 2024
  • :
  • :
Latest Update

จุฬาฯ ออกแถลงการณ์ แจงสื่อกรณีออกข่าวปลด ‘เนติวิทย์’

 

จุฬาฯ ออกแถลงการณ์ต่อสื่อมวลชน กรณีลงโทษทางวินัย ‘เนติวิทย์’ พร้อมพวก เรียกร้องสื่อเสนอข่าวอย่างถูกต้อง ไม่โยงการเมือง

จากกรณีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงโทษทางวินัยต่อกลุ่มนิสิตจากเหตุการณ์ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนของนิสิตชั้นปีที่ 1 ซึ่งนำโดยมีคำสั่งให้ปลด เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล ประธานสภานิสิตจุฬาฯ และสมาชิกสภานิสิตสามัญ อีก 4 คน พ้นจากตำแหน่ง ทำให้มีการรายงานข่าวต่อกรณีดังกล่าวทั้งสื่อไทยและสื่อต่างประเทศ

อย่างไรก็ตามจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกแถลงการณ์ต่อสื่อมวลชน โดยมีเนื้อหาระบุว่า เนื่องจากมีข้อเขียนและเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทั้งในสื่อไทยและต่างประเทศเกี่ยวกับคำตัดสินลงโทษทางวินัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต่อกลุ่มนิสิตที่มีพฤติกรรมอันก่อให้เกิดความไม่เรียบร้อยในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนของนิสิตชั้นปีที่หนึ่งเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2560 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอขอบคุณสื่อมวลชนที่ให้ความสนใจกับกิจการภายในของจุฬาฯ แต่ขออนุญาตอธิบายชี้แจงข้อมูลบางประการเพื่อให้พิจารณาเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

ประการแรก ในกรณีการลงโทษทางวินัยอื่นๆที่ผ่านมา จุฬาฯ มิได้เปิดเผยรายละเอียดคำตัดสินลงโทษต่างๆ ด้วยเกรงว่าจะส่งผลต่ออนาคตของนิสิตที่ถูกลงโทษ แต่ปรากฏว่าในกรณีนี้มีการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จและบิดเบือนในสื่อต่างๆ ดังนั้นมหาวิทยาลัยจึงจำเป็นต้องแถลงให้ทราบถึงข้อมูลที่ถูกต้อง โดยละเว้นการเปิดเผยรายชื่อของนิสิตที่เกี่ยวข้อง

ประการที่สอง จุฬาฯขอรับรองว่าการพิจารณาทางวินัยของกลุ่มนิสิตดังกล่าว เป็นไปตามขั้นตอน และกฎ ระเบียบตามปกติของมหาวิทยาลัย  ซึ่งระเบียบทางวินัยเช่นนี้มีในทุกมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลก คณะกรรมการส่งเสริมวินัยนิสิตมีกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงและการพิจารณาที่เป็นอิสระ และดำเนินการในรูปแบบเดียวกันกับกรณีสอบสวนทางวินัยเรื่องอื่นๆ หากนิสิตไม่พอใจกับผลการตัดสินก็มีสิทธิอุทธรณ์ในลำดับต่อไปได้

ประการที่สาม ท่ามกลางเสียงวิพากษ์เกี่ยวกับความเป็นอนุรักษ์นิยมของมหาวิทยาลัย พร้อมคำวิจารณ์ว่า จุฬาฯ ไม่ได้เปิดกว้างสำหรับความคิดที่แตกต่าง ทางจุฬาฯ ขอย้ำว่ามหาวิทยาลัยเคารพความคิดเห็นที่แตกต่างและพร้อมรับความแตกต่างนั้น พิธีการทั้งหมดภายในมหาวิทยาลัยเป็นกิจกรรมที่นิสิตเข้าร่วมโดยสมัครใจและมีสิทธิที่จะไม่เข้าร่วม โดยไม่มีผลเสียใด ๆ ต่อตัวนิสิต  แนวปฏิบัตินี้ใช้กับพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนซึ่งจัดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 สำหรับนิสิตชั้นปีที่หนึ่งทุกคน เพื่อแสดงความเคารพและปฏิญาณตนต่อหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้าในฐานะผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยด้วย

นอกจากนี้ “การถวายบังคม” ยังเป็นรูปแบบการแสดงความเคารพที่ปฏิบัติกันมาอย่างต่อเนื่องสำหรับพิธีถวายสัตย์ฯต่อพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล โดยในปีนี้ ทางผู้จัดได้มีการกำหนดพื้นที่ในการแสดงความเคารพด้วยวิธีอื่นเช่น การถวายคำนับ สำหรับนิสิตที่มีข้อจำกัดด้านสภาพร่างกายที่เป็นอุปสรรคต่อการคุกเข่าและถวายบังคม และสำหรับนิสิตที่มีความเชื่อทางศาสนา ทัศนคติทางการเมือง และอุดมการณ์ที่ไม่เห็นด้วยกับวิถีปฏิบัตินี้

ทั้งนี้นิสิตที่เข้าร่วมพิธีในวันนั้นได้รับทราบถึงพื้นที่ที่ว่านี้อย่างทั่วถึง กลุ่มนิสิตที่ถูกตัดสินลงโทษทางวินัยต่างก็ตระหนักดีว่า มีพื้นที่เฉพาะที่จัดไว้แล้ว ดังเห็นได้จากการที่นิสิตกลุ่มนี้ได้นำเสนอข่าวสารผ่านโซเชียลมีเดียในเชิงสนับสนุนให้มีพื้นที่เพื่อการถวายคำนับแทน อย่างไรก็ดี นิสิตกลุ่มนี้เลือกที่จะก่อให้เกิดความไม่เรียบร้อยในพิธีการโดยการเดินออกไปจากแถวที่จัดไว้สำหรับพวกเขาในฐานะสมาชิกสภานิสิตจุฬาฯ และแสดง “พฤติกรรมเชิงสัญลักษณ์”  โดยการยืนโค้งคำนับ ในขณะที่นิสิตคนอื่น ๆ นับพันคนถวายบังคมอย่างพร้อมเพรียงเป็นระเบียบ (อ่านเพิ่มเติม ความแตกต่างระหว่าง “การถวายบังคม” กับ “การหมอบกราบ”) กลุ่มนิสิตที่ถูกตัดสินลงโทษทางวินัย มีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก

ขณะเดียวกันทุกชุมชนและสังคมมีสิทธิที่จะเรียกร้องมิให้การแสดงออกนั้นละเมิดสิทธิและความเชื่อของบุคคลอื่น โดยเฉพาะเมื่อการแสดงออกนั้นกระทบต่อความศักดิ์สิทธิ์ ความอ่อนไหว และทำร้ายความรู้สึกของบุคคล  พิธีถวายสัตย์ฯ  แม้จะกำเนิดขึ้นมากว่า 20 ปี หลังการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล ในปี พ.ศ. 2534 แต่ก็ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่า เป็นพิธีการศักดิ์สิทธิ์ของจุฬาฯ ซึ่งเชื่อมโยงสายสัมพันธ์ระหว่างนิสิต เจ้าหน้าที่และนิสิตเก่า (อ่านเพิ่มเติม พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนของนิสิตจุฬาฯ)

ในขณะนี้ ทางมหาวิทยาลัยกำลังดำเนินการกระบวนการสอบสวนทางวินัยสำหรับอาจารย์ที่ไม่สามารถควบคุมอารมณ์และได้การแสดงออกอย่างไม่สมควรยิ่งกับนิสิตคนหนึ่งในเหตุการณ์วันที่ 3 สิงหาคมดังปรากฏเป็นข่าวไปกว้างขวาง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เป็นเรื่องที่น่าเสียใจและน่าอับอายยิ่งสำหรับมหาวิทยาลัย แต่เป็นการกระทำของบุคคลเพียงคนเดียวและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับนโยบายของมหาวิทยาลัย  อาจารย์ท่านนี้ลาออกจากตำแหน่งผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต ตั้งแต่วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ไม่กี่วันหลังจากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว

สุดท้ายนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเข้าใจว่าสื่อมีเสรีภาพในการนำเสนอข่าว แต่จุฬาฯ ใคร่ขอให้สื่อมวลชนและผู้เกี่ยวข้องเสนอข่าวด้วยความถูกต้อง ไม่ลำเอียง และเป็นธรรมต่อสถานการณ์ของจุฬาฯ การจัดการกับสถานการณ์เช่นนี้ เป็นกิจการภายในที่ไม่ควรถูกเชื่อมโยงกับการแบ่งขั้วทางการเมือง และการควบคุมปราบปรามผู้เห็นต่าง ซึ่งมักนิยมใช้เป็นวาทกรรมและกรอบการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนทั้งในและนอกประเทศ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีประวัติอันยาวนานที่ผูกพันกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งความเชื่อและประเพณีปฏิบัติที่สืบทอดกันมานี้อาจเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ยากสำหรับผู้ที่ยึดถือในแนวคิดเสรีนิยมแบบตะวันตก แม้ว่าจุฬาฯ จะสนับสนุนความคิดเสรีนิยมและเสรีภาพในการแสดงออก แต่มหาวิทยาลัยก็มีรากฐานทางวัฒนธรรมและพันธกิจในการสร้างนิสิตที่เคารพในประเพณีปฎิบัติของสถาบัน ตลอดจนสิทธิเสรีภาพและความคิดของผู้อื่นด้วย จุฬาฯ ไม่คาดหวังให้สื่อตะวันตกเห็นชอบกับการตัดสินใจและวิธีการในเรื่องนี้ แต่เราขอขอบคุณท่านที่รายงานข่าวด้วยความเข้าใจต่อจุดยืนของมหาวิทยาลัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4 กันยายน 2560

 

This statement is written in response to many news reports, articles and commentaries that appeared in the international press in relation to the recent ruling at Chulalongkorn University on a group of students for their disciplinary misconduct associated with their disruptive behavior at a university’s function in early August.  While we appreciate that members of the international press see our internal matter as newsworthy, there are a few clarifications that may deserve your consideration.

First, we are reticent about public communication on this matter.  In the past, we have kept details of such ruling confidential for fear of affecting the future of the students.  But in this particular case, a fair amount of false and distorted information have been disseminated in different media, so the university is obliged to get its story straight while refraining from revealing the identification of the students.

Secondly, we want to assure that the ruling followed all routine procedures of the university’s disciplinary protocols.  Such protocols also exist and are implemented in leading universities around the world.  Independent facts-finding and deliberation were carried out in the same manner as would be in other disciplinary cases and in line with the university’s regulation on student discipline.  If dissatisfied with the ruling, the students hold the right to appeal

Thirdly, while criticisms have been abound about the university’s conservatism and not being open to differences, we would like to stress that the university does respect different opinions and accommodates different beliefs.  All of the university’s functions including the “oath of allegiance” ceremony which has been organized since 1997 for all first-year students to pay respect and take an oath before the statutes of King Rama V and Rama VI, the two founders of the university, are voluntary activities.  Students are free to opt out with no consequences whatsoever.

Moreover, although paying obeisance (thawai bangkhom) has been a common form of paying respect to the two statutes, a space was also designated and sufficiently notified for students with special physical condition, religious beliefs, or political attitudes and ideologies that would interfere with their kneeling and paying obeisance.  The reprimanded group of students were aware of this designated space as evidenced in the fact that they have been advocating for this new alternative via their social media platforms. But they chose to disrupt the process by strolling out of the line reserved for their rank as university council members and performed their “symbolic act”—bowing – to contrast with hundreds of other students who were paying obeisance in unison. (See…Difference between paying obeisance and prostration)

While the reprimanded group of students are not wrong in advocating on grounds of freedom of expression, we also insist that every community and society has the right to reserve a certain space or activity as an exception from the free speech rule. This space could be a space of holiness, sensitivity, or pain.  The “oath of allegiance” ceremony, although conceived 20 years ago some years after the installation of the statutes in 1987, has been widely regarded as a holy ritual in the university’s community which extends from students to staff and alumni.  (See…The oath of allegiance ceremony for first-year students at Chulalongkorn University)

Meanwhile, an investigation and disciplinary procedure are underway for the lecturer who lost his temper and restrained one of the students during the incident on 3 August.  While what happened was a shameful episode for the university, it is an act of one person and bears no relevance to the university’s policy.  This lecturer resigned from his position as assistant to the president (student affairs) since 7 August 2017, a few days after the unfortunate incident.

While we understand that news media have freedom of speech, we also ask that journalists be accurate, unbiased, and fair to our situation.  Our handling of this situation, albeit culturally sensitive, is purely an internal affairs that should not be linked with divisive politics and suppression of dissent which seem to be the dominant discourse or news frame presented in western and local English-language media.  Our university has a long history and a royal lineage that are imbued in our tradition and beliefs that may be uncommon to western liberal values.  Much that we support liberalism and freedom of expression, we also have our cultural roots and harmony to balance.  We do not ask that western media approve our decision and approach in this matter but we would appreciate understanding and sensitivity to our standing which also represents difference and diversity that is much valued in the West.

 

Chulalongkorn University

4 September 2017

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สภานิสิตฯยันอุ้ม”เนติวิทย์”ไม่สนคำสั่ง อ้างวลี”มงแต๊สกีเยอ”ล้มจุฬาฯ

หมอตุลย์”ศิษย์เก่าจุฬาฯ” แนะ เนติวิทย์”ลาออก”จากม.จุฬาฯดีกว่า”ดันทุรัง”

ศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกแถลงการณ์สนับสนุน ปลด เนติวิทย์ ออกจากสภานิสิต

“ท่าน”เนติวิทย์โกนหัว ต่อต้านจุฬาฯ หลังถูกปลดจากประธานสภานิสิต

 

“ส.ศิวรักษ์”หนุน”เนติวิทย์”ล้มจุฬามหาวิทยาลัย

ช่างหัวผู้ใหญ่! สภานิสิตจุฬาฯออกประกาศไม่ยอมรับคำสั่งจุฬาฯ