วันเสาร์ 27 กรกฎาคม 2024
  • :
  • :
Latest Update

ดี้นิติพงษ์เชิญชวนฟังเกร็ดธงชาติไทยฉลองร้อยปีธงไตรรงค์

จะมีเรื่องราวที่คนไทยควรได้รู้บ้างเกี่ยวกับธงชาติไทยในโอกาสสำคัญนี้..มาเล่าให้ฟังนะ
วันละเกร็ด

———————————————————–

#ร้อยปีธงไตรรงค์ บทนำ 1

ก่อนหน้าวันที่ 28 กันยายน 2460 ธงชาติไทยไม่ได้หน้าตาแบบนี้…เป็นธงริ้วแดง จนเป็นธงช้าง หลากหลายรูปแบบเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีเหตุต่างๆ นานา…เอาไว้เล่าตอนอื่น ๆ …

แต่ตอนแรกนี้…ขอประกาศว่า…
28 กันยายน 2460 คือวันที่รัชกาลที่ 6 พระราชทานธงไตรรงค์ให้เป็นธงชาติไทยตั้งแต่บัดนั้นจนถึงบัดนี้..

มีเรื่องเล่ามากมายว่าทำไม…
———————————————————–

#ร้อยปีธงไตรรงค์ บทนำ 2

ธงไตรรงค์ชาติไทยที่ถูกต้อง…
คือผืนผ้าที่มีความยาว 9 ส่วน ความกว้าง 6 ส่วน

ความกว้าง 6 ส่วน แบ่งเป็น 6 แถบ…

แถบบนสุด กว้าง 1 ส่วน สีแดง (ถ้าจะให้ถูกต้อง ต้องเช็คหมายเลขเฉดสีด้วยนะ ให้ถูกต้อง)

แถบที่สองลงมา กว้าง 1 ส่วน สีขาว…

แถบที่สามจะกว้าง 2 ส่วน สีขาบ…ซึ่งอนุโลมกันไปมาว่าเป็นสีน้ำเงิน…(ถ้าจะให้ถูกต้องละก็ ต้องเช็คหมายเลขเฉดสีเช่นกัน)

แถบที่สี่ ที่ห้า ก็คือซ้ำย้อนกับ แถบที่สอง กับที่หนึ่ง…

แค่นี้ก่อนนะแม่ประไพ พ่อทิดเอิบ

ในภาพอาจจะมี แถบ
———————————————————–

#ร้อยปีธงชาติไทย
ตอนที่ ๑
ดูจากประวัติศาสตร์สยามนั้น ไม่เคยมีการใช้ธงชาติมาก่อนกรุงรัตนโกสินทร์…ส่วนจะใช้สิ่งใดเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นชาตินั้นก็ไม่ค่อยชัดเจนสักเท่าไร…แม่ประไพ..
เคยมีการชักธงครั้งหนึ่ง เพื่อแสดงสัญลักษณ์ของชาติ ก็ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งนับเป็นแผ่นดินที่รุ่งเรืองที่สุดในยุคกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี…
ยุคนั้น อาณาเขตกว้างขวาง มีการค้าขายกับต่างชาติมากที่สุด…
ถ้าไม่นับจีน ญี่ปุ่น ที่ยังนับว่าโล้สำเภาไปมาหาสู่กันได้ใกล้ ๆ
ก็ยังมีถึง ฝรั่งเศส โปรตุเกส ฮอลแลนด์ ฯลฯ ก็เอาลมพัดพาเรือสำเภามาถึงลุ่มน้ำเจ้าพระยา…มาถึง กรุงศรีฯ
พวกฝรั่งมังค่า เวลาจะล่องเรือใหญ่ไปค้าขายยังถิ่นแดนใด ก็ต้องมีทั้งสินค้าไว้แลกเปลี่ยนซื้อขาย…
และต้องมีปืนใหญ่ติดเรือไว้ด้วย….ไม่งั้นเสียท่าโจรสลัดหมด
เอ…โจรสลัดยังมีธงเลย ที่ดูในหนังแล้วเป็นรูปกระโหลกไขว้…
ชะรอย ที่มาของธง…น่าจะเป็นสัญลักษณ์ที่ให้เห็นจาก ไกล ๆ ว่าเป็นพวกไหน….อันนี้ฉันคิดเองนะ
พวกที่ต้องรบทัพจับศึก ทำสงครามกัน…ก็ต้องทำธงผ้าให้เห็นไกลๆ ว่าเป็นพวกไหน แม่ทัพอยู่ไหน
พวกที่ต้องไปค้าขาย ล่องเรือไกล ๆ ก็ไม่รู้เรือใคร มาดีมาร้ายก็ไม่รู้ชัด….ก็เลยต้องเอาผ้าผืนใหญ่ๆ ชักขึ้นเป็นสีนั้น ลวดลายนี้ เป็นสัญลักษณ์ว่า ฉันมาจากไหน…ไม่งั้นเดี๋ยวป้อมปืนใหญ่ชายฝั่ง…ไม่แน่ใจว่ามึงมาจากไหน กูยิงแม่มก่อนเลยดีกว่า….
สมัยนี้ก็ยังเป็นนี่…ดูจากจอเรดาร์แล้ว เครื่องบินไม่ปรากฎสัญชาติ กูยิงตกไว้ก่อน….
ยังไงก็ตามพ่อทิดเอิบ…ถึงจะชักธงบนเรือแล้วให้รู้ว่าใคร….แต่ไอ้เรือโจรสลัด ที่ชักธงโจร…ก็แสดงความบริสุทธิ์ใจด้วยว่า กูก็เป็นโจรนะ…กูจะปล้นมึง….โคตรมีจรรยาบรรณโจรเลย…
พวกเรือค้าขายของฝรั่งพวกนี้ เขาจึงมีธรรมเนียมกันว่า ถ้าจะไปเทียบท่าของบ้านไหนเมืองไหน….กูรอดจากโจรสลัดมาแล้วละนะ….แต่ก็กลัวว่าบ้านนั้นเมืองนั้นจะไม่ไว้ใจ
ก็จะโชว์ให้เห็นว่า ปลดอาวุธละนะ ฉันมาค้าขายนะ ไม่ได้มาทำสงคราม…
ก็จะขออนุญาตเจ้าบ้านเจ้าเมือง ขอยิงปืนใหญ่ทิ้ง ให้หมดลูกปืนใหญ่ ให้เห็นกันว่า ฉันมาค้าขายจริงๆ
เจ้าบ้านเจ้าท่า ก็จะเบาใจ ไม่ยิงใส่ ให้มาเทียบท่าค้าขายแต่โดยดี
ทำไปทำมา นาน ๆ เข้า จนกลายเป็นธรรมเนียม ไม่ว่าจะมาธุระปะปังอะไร มาค้าขาย มาคุยการบ้านการเมือง ฯลฯ ก็จะต้องยิงปืนใหญ่ทิ้งก่อน
จนธรรมเนียมนั้นกลายเป็นประเพณี…
จากการแสดงความบริสุทธิ์ใจ กลายไปเป็นการแสดงความเคารพ ให้เกียรติ…..
ต่อมา จึงเรียกว่า “ยิงสลุต” ……
ฝ่ายผู้มาเยือน ต้อง ยิงสลุต แสดงธงประจำชาติ ประจำเรือ เพื่อให้เกียรติฝ่ายเจ้าบ้าน ก่อนที่จะนำเรือเข้าเทียบท่า…โดยที่ฝ่ายเจ้าบ้านก็ต้องแสดงธงประจำชาติ ประจำถิ่นเช่นกัน แล้วก็ต้องยิงสลุตกลับด้วย เพื่อเป็นการรองรับให้เกียรติ และไว้ใจซึ่งกันและกัน….
สมัยนั้น กรุงศรีอยุธยา หัวบันไดไม่แห้ง…ต่างชาติล่องเรือกันเข้ามาค้าขายเป็นว่าเล่น..
เรือฝรั่งเศสลำใหญ่ จะมาค้าขายกรุงศรีฯ…ก็ทำการตามธรรมเนียมของฝรั่ง คือ จะขออนุญาตยิงสลุตนะ…ถ้ามันดังตูมตามน่ะ อย่าตกใจ…
คือ ไอยิงลูกปืนทิ้ง ไอไม่ได้เล็งป้อมบนท่าเรือยูนะ…..
ความก็ได้ทราบถึงสมเด็จพระนารายณ์ฯ จึงทรงมีพระราชทานอนุญาต….
เอ้า…อนุญาตแล้ว ยังมีลีลาอีก ฝรั่งบอกทางกรุงศรีฯ ว่า คือตามธรรมเนียมแล้ว ทางฝั่งเจ้าบ้านต้องมี “ธง” แสดงความเป็นเจ้าบ้านด้วย เพื่อให้ฝรั่งมั่นใจ ว่าเราต้อนรับเขา….
เอาก็เอา…ทางสำนักกรุงศรีฯ ก็นึกไม่ทัน…
เคยมีธงที่ไหน….ก็อยู่ของกูอยู่ดีๆ ชาวสยามไม่เคยไปเพ่นพ่าน ตะลอน ๆ ที่ไหน อย่างมากจะมีสงครามก็กับแขวง กับมณฑลใกล้เคียง….เห็นสัปทน เห็นพัดโบก เห็นช้าง ก็รู้ว่าเป็นเจ้า เป็นจอมทัพจากไหน….จะสู้กัน จะยอมกัน ก็รู้หน้ารู้ตัวกันอยู่แล้ว….
จะมีธงไปทำไม…เพราะไม่ได้ไปตะลอนยุ่งขิงกับใครไกล ๆ ที่ไม่รู้จัก…
ที่สนุกก็คือ….ตอนนั้น สำนักกรุงศรีฯ ก็อยากจะมีธงเหมือนกัน แต่ไม่มี อยากรับแขกก็อยาก…
จะมีก็แต่ธงสีนั่นบ้าง สีนี่บ้าง เป็นธงประจำเหล่ากองทหารให้รู้ว่ากองไหนเป็นกองไหน…
มีพวกเรือกำปั่นที่ล่องไปในน่านน้ำใกล้ๆ ก็ชักธงสีแดงไว้ให้เห็นเท่านั้น..แต่ไม่ได้ถือเป็นสัญลักษณ์ชนชาติแต่อันใด
ฝรั่งมาขอให้เราชักธงชาติ….เอาไงล่ะ
ก็เลยไปหาเจอธงฮอลันดา…ฮอลแลนด์น่ะ…มีฝรั่งลันดามาทิ้งไ้ว้ให้เป็นที่ระลึกกระมัง….
แล้วก็ชักขึ้นเสาไป….เอ้านะ ชักให้แล้วนะ มึงจะได้สบายใจ จะยิงสลุต ยิงสลัด อะไรก็เอาที่สบายใจ…
พิธีรีตองมึงเยอะจริงๆ ฝรั่งห่านเนี่ย…
ก็ทำให้เสร็จๆ ซะ แล้วก็มาจอดเทียบ
จะได้ค้าขาย พูดคุยกันต่อไป…
ยุ่งๆ จริงๆ มึงเนี่ย…
เอ้า….เฮ้ย…ฝรั่งมันบอก โนเซ่อร์….ไม่ได้ขอรับ…
นั่นมันธงฮอลแลนด์….ไม่ใช่ธงยู
ยูต้องมีธงของยูสิครับ….
…ในที่สุด ก็มีข้าราชสำนักกรุงศรีอยุธยา แก้ปัญหาได้แบบไม่สิ้นคนดี…
…ก็ได้ มองสิเออร์…
…ธงที่เคยเป็นธงที่สุดที่เคยเห็น คือธงของพวกเรือกำปั่นนั่น…ก็คือ “ธงแดง”
ชักธงแดงขึ้น บัดเดี๋ยวนี้……..
แล้วยิงสลุตตอบตามธรรมเนียมฝรั่ง…
เหตุการณ์นั้น คือ การชัก “ธงชาติ” สยามครั้งแรกในประวัติศาสตร์โดยไม่ได้ตั้งใจ
ตามหลักฐานจดหมายเหตุของฝรั่งเศส…
สิ่งนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ ๓ กันยายน พ.ศ.๒๒๒๓
หลังจากนั้นมา…ก็ไม่มีการชักธงแสดงความเป็นชาติอีก…จนรัตนโกสินทร์
เฮ้ย เดี๋ยว…วันนี้นี่นา…๓๓๗ ปีเป๊ะ ในวันนี้
…ฮึ้ย…ขนลุก ไม่ได้ตั้งใจ
———————————————————-

#ร้อยปีธงไตรรงค์
ตอนที่ ๒

…หลังจากชักธงแดงขึ้นรับการยิงสลุตจากเรือฝรั่งเศส เมื่อสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กรุงศรีอยุธยา…

…ก็ไม่มีหลักฐานในประวัติศาสตร์ว่ามีความคืบหน้าอย่างไรกับการให้ความสำคัญกับการให้ธงเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ…

…ก็ยังคงเป็นธงผ้าสีแดงที่อยู่แต่บนเสาเรือกำปั่น เรือสินค้า ของชาวบ้านร้านตลาด ที่ในยุคนั้น ติดต่อเดินทางค้าขายกันด้วยเรือเป็นหลัก แม่น้ำเจ้าพระยาถือเป็นถนนสายหลัก แม่น้ำลำคลองเล็กๆ ก็ถือเป็นตรอกซอกซอย…
…ล่องเรือกันขวักไขว่ไปมา ทั้ง เรือหลวง เรือราษฎร…ก็ชักธงแดงเป็นสัญญาณด้วยกันทั้งสิ้น

…ผ่านแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา สู่ธนบุรี…ก็ยังเป็นเช่นนั้น

…จวบจนเข้ายุครัตนโกสินทร์ จึงเริ่มมี “ธง” อย่างเป็นทางการขึ้นมา….

…พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช…ทรงมีพระราชดำริให้ เรือหลวงมีสัญญลักษณ์ธงที่แตกต่างจากเรือราษฎรทั่วไป…
…จึงโปรดเกล้าฯ ให้เรือพระที่นั่ง เรือหลวงต่าง ๆ ทางราชการ ให้มีรูปจักรสีขาว บนพื้นสีแดงของธงเดิม…
…ส่วนเรือราษฎรก็ให้เป็นธงแดงตามเดิม

ทำไมต้องเป็นรูปจักร…แม่ประไพ…

จักร เป็นคำเรียก วัตถุที่มีลักษณะเป็นแผ่นกลม ที่ต้องหมุนรอบตัวเองได้เมื่อต้องการใช้งาน….

ส่วนใหญ่เราจะนึกถึง กงจักร ที่เป็นอาวุธโบราณ เป็นบ่วงกลม ๆ มีคมเมื่อเหวี่ยงออกไปตัดเนื้อเถือหนังอริราชศัตรู…

แต่สำหรับอย่างอื่นที่มีลักษณะหมุนรอบวงได้ ก็เรียกจักร เหมือนกัน…

จักรเย็บผ้า จักรยาน เครื่องจักร…ฯลฯ

เอ้า…นอกเรื่อง

จักรบนธงแดงในที่นี้ หมายถึงอาวุธของพระนารายณ์ (หรือเรียกอีกชื่อว่า พระวิษณุ)….

พระนารายณ์องค์นี้เป็นหนึ่งในสามเทพสูงสุดของพราหมณ์นะ…แม่ประไพอย่าสับสนกับ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา…

สมัยประถมฉันก็สับสนอยู่นาน…ว่าเป็นองค์เดียวกันไหม…

พระนารายณ์ของอินเดียองค์นี้ มีสี่กร กรหนึ่งถืออาวุธที่เรียกว่า “จักร”

ความเชื่อทางพราหมณ์ ที่แผ่มาเมืองไทย ตั้งแต่โบราณกาลจนถึงทุกวันนี้..มีอยู่ว่า…

พระราชานั้นถือเป็นสมมติเทพ…เป็นพระนารายณ์สี่กรนี่แหละ จุติลงมาเป็นพระราชา…

เป็น “เทวดาจุติลงมา” นะจ๊ะ….ไม่ใช่ “เทวดาลงมาจุติ”…

เอาตรง ๆ จุติ…แปลว่า ตายจ้ะ ไม่ใช่แปลว่า เกิด…
แต่เป็นการตายของเทวดา เพื่อไปเกิดในชาติภูมิอื่นที่ดีงาม…

นอกเรื่องอีกละ….

อิทธิพลความเชื่อทางพราหมณ์ ก็แผ่มาสุวรรณภูมิด้วย…

พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ ถือกันว่า เป็นพระนารายณ์อวตารลงมาโปรด…

เพราะฉะนั้น จักร ที่ถือว่าเป็นอาวุธของพระนารายณ์ ก็กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งพระบรมเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์…

จึงเป็นที่มาของ จักรสีขาวบนพื้นสีแดง เป็นธงสัญลักษณ์ของเรือหลวง

และดูจะเป็นความ “ขลัง” ครั้งแรกของความเป็นธง…
แต่กระนั้นก็ดี…ก็ยังไม่นับว่าเป็นธงชาติเสียทีเดียว…
เป็นธงสัญลักษณ์ที่สื่อถึงองค์พระมหากษัตริย์เสียมากกว่า…
สำหรับ “เรือหลวง”

เรือราษฎรก็ยังชักธงแดงพื้น ๆ เช่นเดิม…

โปรดสังเกตนะพ่อทิดเอิบ…
นี่ยังเป็น ธง ที่ชักขึ้นหัวเรือเท่านั้นนะ…

ยังไม่มีใคร ตั้งเสาธง ชักธง ตามอาคารบ้านเรือน หรือบนแผ่นดินกันเลย….

ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ

ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ

#ร้อยปีธงชาติไทย
ตอนที่ ๑
ดูจากประวัติศาสตร์สยามนั้น ไม่เคยมีการใช้ธงชาติมาก่อนกรุงรัตนโกสินทร์…ส่วนจะใช้สิ่งใดเป็นสัญ…

โพสต์โดย นิติพงษ์ ห่อนาค บน 2 กันยายน 2017