วันเสาร์ 27 กรกฎาคม 2024
  • :
  • :
Latest Update

รัฐบาลอินโดนีเซียขู่บล็อค Google, Facebook, Twitter หากไม่เสียภาษี

บริษัท ที่ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกอาจถูกปิดกั้นในอินโดนีเซียหากไม่ได้รับสถานะ “สถานประกอบการถาวร” ในประเทศและจ่ายภาษีในประเทศอินโดนีเซีย

เมื่อปีที่แล้ว (ค.ศ.2016) รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของอินโดนีเซียง Bambang Brodjonegoro ประกาศว่าบริษัทต่างชาติที่ให้บริการบนอินเทอร์เน็ตแก่ประชาชนในอินโดนีเซียต้องทำการเสียภาษีจากรายได้แก่รัฐ มิฉะนั้นอาจถูกบล็อคการให้บริการ หรือจำกัดแบนด์วิดท์ในประเทศ

Brodjonegoro กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า การให้บริการผ่านอินเทอร์เน็ตทั้งหมดต้องมีบริษัทลูกเป็นนิติบุคคล พร้อมทั้งเสียภาษีตามข้อกำหนดของกฎหมายในรูปแบบของสำนักงานตัวแทนหรือ บริษัทอย่างถูกกฏหมาย

“ทุกคนต้องสร้างสถานประกอบการถาวรเช่นผู้รับเหมาสำหรับภาคน้ำมันเพื่อที่จะสามารถเก็บภาษีได้”

ทั้งนี้ Bambang Brodjonegoro ไม่ได้เจาะจงเรื่อง บริษัทอินเตอร์เน็ต ที่อาจจะได้รับผลกระทบครั้งนี้

ด้าน โฆษกกระทรวงการสื่อสารของอินโดนีเซีย Ismail Cawidu ได้ชี้แจงเกี่ยวกับกฎหมายนี้ว่าภาครัฐกำลังหารือรายละเอียดกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายฝ่าย ซึ่งคาดว่าจะมีการประกาศใช้กฎหมายในช่วงปลายเดือนมีนาคมนี้ โดยจะมีผลบังคับใช้ครอบคลุมทั้งบริษัทที่ให้บริการสตรีมมิ่ง, บริการสนทนาข้อความต่างๆ รวมทั้งผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์
ชาวอินโดนีเซียเป็นผู้ใช้ Google และไซต์โซเชียลมีเดียเป็นอย่างมาก ประเทศนี้ถือเป็นเมืองหลวงของ Twitter และเป็นที่ตั้งของผู้ใช้ Facebook จำนวนมากที่สุดในโลก

แม้ว่า Facebook และ Twitter ก็มีการตั้งสำนักงานตัวแทนบริษัทในอินโดนีเซีย ในขณะที่ Google เองก็มีการตั้งตัวแทนเพื่อดำเนินการทางกฎหมาย แต่บริษัทไอทีเหล่านี้ก็ไม่ได้มีการจ่ายภาษีให้แก่ภาครัฐ เนื่องจากการทำธุรกรรมทั้งหลายนั้นตัวเงินจะถูกส่งไปยังสำนักงานนอกประเทศโดยตรง

Ismail Cawidu อ้างถึงผลประโยชน์ของชาติเกี่ยวกับภาษีและการควบคุมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายและภาพลามกอนาจารเป็นเหตุผลหลักในการควบคุม

หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดอินโดนีเซียจะลดแบนด์วิดท์หรือบล็อกทั้งหมด Cawidu กล่าว

พร้อมกันนี้ทางการอินโดนีเซียยังคาดหวังผลประโยชน์อีกเรื่องหนึ่งจากกฎหมายใหม่ที่จะบีบเหล่าบริษัทไอทีต่างชาติให้ดำเนินการจัดตั้งบริษัทตัวแทนจดทะเบียนอย่างถูกต้อง นั่นก็คือเรื่องการสอดส่องดูแลเนื้อหาบนแพลตฟอร์มของผู้ให้บริการเหล่านี้ซึ่งน่าจะทำได้อย่างสะดวกมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสื่อลามกอนาจาร และเนื้อหาที่อาจมีความเกี่ยวโยงกับเหตุก่อการร้าย

บางส่วนของยักษ์ใหญ่ทางอินเทอร์เน็ตได้จัดตั้งนิติบุคคลขึ้นที่กรุงจาการ์ตาแล้วซึ่งรวมถึง Google ในขณะที่ Facebook และ Twitter ยังใช้ระบบสำนักงานตัวแทน ในอินโดนีเซีย