วันพุธ 11 ธันวาคม 2024
  • :
  • :
Latest Update

รัฐบาลฮังการีออกโปสเตอร์โจมตีจอร์จ โซรอส

แม้ว่า ภาพลักษณ์ของ “จอร์จ โซรอส”  ที่มีข่าวอื้อฉาวเกี่ยวกับการเป็นต้นเหตุเห็นวิกฤติเศรษฐกิจฟองสบู่ปี 2540ของไทยก็ตามอีกทั้งยังตกเป็นผู้ต้องสงสัยให้เงินทุนสนับสนุน “ประชาไท” ในการรายงานข่าวที่โจมตีรัฐบาลไทยก็ตาม แต่ดูเหมือนว่า เมื่อ 24 สิงหาคม 2559 ม.ล. ณัฏฐกรณ์ เทวกุล หนึ่งในนักข่าวในเครือ VoiceTV และเป็นนักเคลื่อนไหวคนสำคัญในเครือข่ายคนเสื้อแดงก็ยังเคยออกมาปกป้อง  “จอร์จ โซรอส” โดยผ่านสื่อ VoiceTV ระบุว่า

“จอร์จ โซรอส” เป็นนักค้าเงินที่มีจิตกุศล บริจาคเงินให้มูลนิธิและองค์กรระหว่างประเทศหลายแห่ง โซรอสมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนขบวนการสร้างประชาธิปไต

เขาเป็นคนสำคัญที่สนับสนุน NGOs ด้านสิทธิมนุษยชนในสหรัฐอเมริกา และเป็นผู้ร่วมรณรงค์ให้สื่อทำงานอย่างโปร่งใสมากขึ้น อยากให้สื่อสตาร์ทอัพใหม่ในไทยของบจากโซรอสให้เต็มที่เพื่อเสริมพลังฝ่ายประชาธิปไตยในบ้านเรา”


แต่ดูเหมือนว่าก็การเคลื่อนไหวของ ม.ล. ณัฏฐกรณ์ เทวกุล  ไม่อาจทำให้กระแสการต่อต้าน “จอร์จ โซรอส” ลดลง อีกทั้งกระแสโลกก็ต่างพากันต่อต้าน  “จอร์จ โซรอส” กันมากขึ้นโดยเฉพาะ รัฐบาลฮังการีประเทศบ้านเกิดของ “จอร์จ โซรอส” เองก็มีการต่อต้านเช่นกัน  ล่าสุดรัฐบาลฮังการีออกโปสเตอร์โจมตีจอร์จ โซรอส อย่างหนักหน่วง เช่นกัน

คำบรรยายภาพ โปสเตอร์ของรัฐบาลที่โจมตีนายโซรอสมีข้อความว่า “อย่าให้โซรอสได้หัวเราะเป็นคนสุดท้าย” ทั้งมีผู้เขียนข้อความว่า “ยิวสกปรก” บนหน้าผากของรูปนายโซรอสด้วย

ทางการฮังการีนำแผ่นภาพโปสเตอร์ที่มีเนื้อหาต่อต้านนายจอร์จ โซรอส พ่อมดการเงิน และผู้บริจาคเพื่อการกุศลรายใหญ่ ไปติดเผยแพร่ตามสถานที่สาธารณะทั่วประเทศ ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าเป็นความพยายามครั้งล่าสุดจากรัฐบาลฝ่ายขวาของนายกรัฐมนตรีวิกเตอร์ ออร์บาน ที่จะสร้างกระแสความเกลียดชังต่อนายโซรอส และต่อชุมชนชาวยิวในประเทศ ซึ่งเรื่องนี้เชื่อมโยงกับนโยบายปิดกั้นไม่ต้อนรับผู้อพยพของรัฐบาลฮังการี ที่สวนทางกับแนวคิดของนายโซรอสซึ่งหนุนให้รับผู้อพยพอย่างจำกัดอีกด้วย

 

โปสเตอร์ดังกล่าวเป็นภาพของนายโซรอสขณะมีใบหน้ายิ้มแย้ม แต่มีข้อความพิมพ์ไว้ข้างกันว่า “อย่าให้โซรอสได้หัวเราะเป็นคนสุดท้าย” รวมทั้งมีข้อความด้านบนสุดที่ระบุว่า “99% ต่อต้านคนเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย”

 

มีรายงานว่ารัฐบาลฮังการีได้ใช้งบประมาณถึง 21 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 716 ล้านบาท) ในการรณรงค์ต่อต้านนายโซรอสและบรรดาผู้อพยพ โดยก่อนหน้านี้มีการออกโปสเตอร์ และจัดงานเสวนาแห่งชาติขึ้นเพื่อสร้างกระแสต่อต้านในหมู่ประชาชนในประเด็นนี้มาแล้ว

 

ส่วนเมื่อปีที่ผ่านมา รัฐบาลฮังการีปฏิเสธไม่ยอมรับผู้อพยพตามโควต้าที่จัดสรรโดยสหภาพยุโรปแม้แต่คนเดียว และพยายามจะปิดมหาวิทยาลัยยุโรปกลาง (Central European University) ที่นายโซรอสก่อตั้งขึ้นในกรุงบูดาเปสต์มาตั้งแต่ปี 1992 รวมทั้งออกกฎหมายบังคับให้องค์กรเอกชนต่างๆ เผยว่าตนเองรับเงินทุนจากต่างชาติ ซึ่งมุ่งเป้าไปยังกลุ่มเอ็นจีโอที่นายโซรอสให้เงินทุนสนับสนุนเป็นส่วนใหญ่

 

เหตุใดรัฐบาลฮังการีจึงต่อต้านนายโซรอส ?

ตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมา นายโซรอสได้บริจาคเงินไปแล้วถึง 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งส่วนใหญ่บริจาคผ่านมูลนิธิ Open Society ของเขาเอง โดยสนับสนุนองค์กรภาคประชาสังคมและความริเริ่มเพื่อพลเมืองต่าง ๆ เช่น โครงการขจัดความยากจน เพิ่มความโปร่งใสในการบริหารงานของรัฐบาล รวมทั้งมอบทุนการศึกษาและก่อตั้งมหาวิทยาลัยหลายแห่งทั่วโลก โดยเฉพาะในยุโรปกลางและประเทศอดีตสหภาพโซเวียต แม้แต่นายกรัฐมนตรีวิกเตอร์ ออร์บาน ของฮังการีเอง ก็เคยได้รับทุนจากองค์กรของนายโซรอสไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด

 

คำบรรยายภาพ นายโซรอสซึ่งเป็นชาวฮังกาเรียนเชื้อสายยิวโดยกำเนิด ได้บริจาคเงินไปทั้งสิ้น 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้โครงการความริเริ่มเพื่อพลเมืองในหลายประเทศตลอดช่วงเกือบ 40 ปีที่ผ่านมา

 

โครงการที่นายโซรอสสนับสนุน ล้วนเน้นประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นอย่างมาก ทำให้เขาเป็นที่เกลียดกลัวของรัฐบาลชาตินิยม และกลุ่มผู้ไม่ฝักใฝ่ในแนวคิดเสรีนิยม

 

ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา นายโซรอสยังได้แถลงต่อสาธารณชนหลายครั้งถึงแนวคิดของเขาที่สนับสนุนให้กลุ่มประเทศยุโรปรับผู้อพยพราว 300,000 คนต่อปีโดยผ่านกระบวนการคัดกรอง เขามองว่าเป็นหนทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานในหลายภาคการผลิตและการบริการของยุโรป แต่อย่างไรก็ตาม แนวคิดและท่าทีของนายโซรอสในเรื่องการรับผู้อพยพ ไม่เป็นที่พอใจของรัฐบาลพรรคฟิแดสซ์ (Fidesz) ของฮังการี ซึ่งมีจุดยืนแบบชาตินิยม ต่อต้านยิวและอิทธิพลจากต่างชาติ

 

การโจมตีนายโซรอสของฮังการี ก็คือการต่อต้านยิวใช่หรือไม่ ?

การติดโปสเตอร์โจมตีนายโซรอสนั้น กล่าวกันว่ารัฐบาลฮังการีจงใจให้ติดไว้ในสถานที่และตำแหน่งต่างๆ ที่ผู้คนจะเข้าไปเขียนต่อเติมแสดงความเกลียดชังได้ง่าย ผู้นำชุมชนชาวยิวในฮังการีได้ขอร้องต่อนายกรัฐมนตรีให้นำโปสเตอร์ดังกล่าวออก แต่ทางการปฏิเสธว่าไม่ได้มีเจตนาจะสร้างความเกลียดชังชาวยิวแต่อย่างใด ทั้งยังเรียกร้องให้ชุมชนชาวยิวร่วมแสดงการต่อต้านแผนรับผู้อพยพชาวมุสลิมเข้ามายังยุโรปให้มากขึ้น

 

คำบรรยายภาพ การบริจาคสนับสนุนองค์กรเพื่อประชาสังคม ทำให้รัฐบาลชาตินิยมของประเทศต่าง ๆ อย่างฮังการีไม่พอใจนายโซรอส

 

การรณรงค์ของรัฐบาลฮังการีเริ่มทวีความรุนแรง จนส่งผลกระทบต่อการเยือนของนายเบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล ในวันที่ 14 ก.ค. ที่จะถึงนี้ โดยทูตอิสราเอลประจำฮังการีได้ประณามการรณรงค์ต้านนายโซรอสว่าเป็นการบ่มเพาะความเกลียดกลัวยิว แต่อย่างไรก็ตาม ในภายหลังรัฐบาลอิสราเอลได้แถลงตำหนินายโซรอสเสียเองว่า “บ่อนทำลายรัฐบาลอิสราเอลที่เลือกตั้งมาตามครรลองประชาธิปไตย โดยให้ทุนสนับสนุนองค์กรที่สร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงของอิสราเอล และปฏิเสธไม่ยอมให้อิสราเอลป้องกันตนเอง”

 

ด้านนายโซรอสได้ออกมาแสดงความชื่นชมชาวฮังการีบางส่วนที่คัดค้านไม่เห็นด้วยกับการรณรงค์ต้านยิวและอิทธิพลต่างชาติของรัฐบาล โดยได้กล่าวต่อรัฐสภายุโรปเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. ที่ผ่านมาว่า

 

“ผมขอแสดงความชื่นชมต่อความกล้าหาญของชาวฮังการีที่ไม่ยอมสยบต่อการหลอกหลวง และการคอร์รัปชันของรัฐมาเฟียที่นายออร์บานสร้างขึ้น นอกจากนี้ ผมยังได้รับกำลังใจอย่างมากจากองค์กรต่าง ๆ ของสหภาพยุโรป ที่ไม่นิ่งเฉยต่อการท้าทายที่เริ่มมีมากขึ้นจากโปแลนด์และฮังการี” นายโซรอสกล่าว