วันเสาร์ 27 กรกฎาคม 2024
  • :
  • :
Latest Update

ว่าด้วยเรื่องกบฎน้ำลาย

สืบเนื่องจากปัญหาบ้านเมือง ช่วง พ.ศ. 2550 – พ.ศ.2559
ซึ่งนับเป็นช่วงที่มีการเคลื่อนไหวของกลุ่มคน ที่เรียกตนเองว่า “นิติราษฎร หรือ ผู้เดินทางตามเจตจำนงของ คณะราษฎร” ซึ่งมีทั้งบนดินและใต้ดิน โดยสร้างแนวลัทธิที่เรียกว่า “ตาสว่าง”(ซึ่งหมายถึงกลุ่มคนที่จะไม่ก้มหัวต่อสถาบันฯ)

ได้ออกมา เขียนบทความไร้ข้อเท็จจริง โจมตีสถาบันเบื้องสูงมาโดยตลอด จนเกิด เป็นวาทกรรม “หมิ่นสถาบันฯ” และในภายหลังมีการ แอบสนับสนุน กลุ่มเยาวชนในเครือพรรคนิติราษฎร ออกมาทำกิจกรรม เรียกร้องให้ ทางคณะรัฐบาลซึ่งมีท่าที่ปกป้องสถาบันฯ (และอาจหมายถึงสถาบันฯ) ให้ปล่อยตัวผู้กระทำผิด ตัวอย่างเช่น นาย สมยศ พฤษาเกษมสุข บก.”วอย์ ออฟ ทักษิณ” ซึ่งติดคุกเรื่องจาก การเขียนบทความหมิ่นสถาบันฯ ของ จิตร ผลจันทร์ ( นามปากกาของ จักรภพ เพ็ญแข) นั้นเอง

สิ่งเหล่านี้ไม่ไช่เรื่องใหม่ และ เคยเกิดขึ้นตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ 5 – รัชกาลที่ 6 และการหมิ่นสถาบันฯในอดีต มีลักษณะ กระทำเป็นเรื่องเป็นราว มีขบวนการ ซึ่งไม่ต่างจากปัจจุบัน จึงไม่น่าแปลกใจว่า หากเราจะเรียก ทุรชนเหล่านี้ว่า กบฎ “อันเป็นอริราชศัตรู”

วันนี้จึงต้องขอนำเรื่องราว ในอดีตมาบอกต่อ เพื่อให้ ปัญญาชน กลับไป ขบคิดกันอีกซักครั้ง ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน นั้น… มีความเกี่ยวโยงกับอดีตอย่างไร… เพื่อเราจะได้ช่วยกันหาทางออกที่ดีในอนาคตร่วมกัน

—————————————-

คำเตือน
นี่เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นที่เรียบเรียงขึ้นมาใหม่เพื่อทำให้ง่ายต่อความเข้าใจ
โปรด อ่าน หนังสือ “ประวัติต้น รัชกาลที่หก” ฉบับเต็มเพื่อข้อมูลที่ถูกต้องละเอียดลึกซึ้ง

**********
เรื่องนี้เกิดก่อนเหตุการณ์คณะราษฎร์ก่อปฎิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ส.2475 20ปี

จากหนังสือ “ประวัติต้น รัชกาลที่หก” เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ที่พระองค์ได้ระบุความในพระราชหฤทัยลงไปเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ ทรงเขียนในลักษณะของบันทึก ใช้สรรพนามแทนตัวเองว่าฉัน เหมือนกับกำลังเล่าให้ใครสักคนฟัง

มีช่วงหนึ่ง หนังสือหน้าที่ 139 ระบุว่าในวันที่ 21 / 11 ปี พ.ศ. 2453 พระองค์ทรงบันทึกความว่า

“เปนบัตรสนเท่ห์ซึ่งทิ้งมาโดยไปรษณีย์ มีข้อความพูดกับฉันในเชิงบอกกล่าว ใจความนั้นมีว่า – เมื่อฉันได้ขึ้นครองราชสมบัติสนองพระองค์แล้ว ก็แสดงให้ปรากฎว่าปราศจากความยุติธรรมและเมตตาต่อประชาชนผู้ตกทุกข์ได้ยาก / ไม่ได้คิดถึงไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินเลย” – ราม วชิราวุธ

นับเป็น บัตรสนเท่ห์แรก ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับรู้ว่า่ มีใครบางคน คิดใส่ความพระองค์ว่าไม่มีทศพิธราชธรรม(อจริยวัตร 10 ประการที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรม)

———————–

ซึ่งในหนังสือหน้า 245 – 249 หัวเรื่อง “ฉันได้รับบัตรสนเท่ห์พิกล” พระองค์ทรงเล่าว่าเป็นแผนส่วนหนึ่งที่ต้องการทำลายพระองค์ ก่อนจะก่อการกบฎในปีเดียวกัน

ในบัตรสนเท่ห์นั้นนอกจากจะกล่าวหาพระองค์ดังกล่าวต้นเรื่องแล้ว ยังมีเนื้อหาข่มขู่อีกมากดังเช่น

“ตามพระบรมราชโอวาทของพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงที่พระราชทานให้แก่พระเจ้าลูกยาเธอ ก็ได้ทรงสารภาพไว้แล้ว ว่าพระราชทรัพย์ใดใดก็ได้มาแต่ราษฎรนั้นเอง เพราะฉนั้นพระองค์ผู้เป็นพระเจ้าแผ่นดินอยู่บัดนี้ก็ได้เลี้ยงตนอยู่โดยกินเลือดเนื้อราษฎร และแสดงให้เห็นว่าเป็นคนไม่มีความเมตตาเช่นนี้ นับเปนคนเลวทรามไม่ควรอยู่บนพื้นโลก”

“เพราะฉนั้นขอให้ฉันปล่อยนักโทษที่ได้กระทำผิดติดคุกมาแต่รัชกาลที่ 5 นั้นทั้งหมด อย่าได้เหลือแม้แต่คนเดียว”

“พวกสมาชิกสมาคมผู้รักความยุติธรรมได้เตรียมการไว้แล้วที่จะลงโทษฉัน มีทั้งปืนบราวนิ่งและลูกระเบิด” – ราม วชิราวุธ

——————-

พระองค์ท่านจึง บันทึกต่อเอาไว้ว่า……

“ในเวลานั้นฉันและใครๆที่ได้พูดจาหาฤากัน มิได้นึกเลยว่าเป็นหนังสือของพวกที่กำลังริเริ่มคิดการกำเริบ”

พวกก่อการกำเริบคือกรณี รศ.130 (พ.ศ.2454) เรื่องก็คือก่อนจะก่อการใหญ่ ได้มีหนังสือสนเท่ห์เพื่อดิสเครดิตของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว กล่าวหาต่างๆนาๆ และลงมือก่อการปฎิวัติ

เหตุการณ์กบฏ รศ. 130 (พ.ศ.2454) เกิดขึ้นโดยกลุ่มคนที่ต้องการล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เพื่อเปลี่ยนรูปแบบการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมีการเตรียมการมานับปี บุคคลที่เป็นหัวหน้าขบวนการปฏิวัติในครั้งนี้ คือ

– ร.อ. ขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) / ร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์ / ร.ต. เนตร์ พูนวิวัฒน์ / ร.ต. จรูญ ษตะเมษ / ร.ท จรูญ ณ บางช้าง / ร.ต.เจือ ศิลาอาสน์

และมีพลเรือนอีกจำนวนหนึ่งร่วมมือด้วยรวมมีคนร่วมก่อการ 91 คน

คณะผู้ก่อการวางแผนจะก่อการในวันที่ 1 เมษายน ซึ่งเป็นวันพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา และวันขึ้นปีใหม่

กลุ่มผู้ก่อการได้วางแผนหนักหนาถึงขั้นลอบปลงพระชนม์พระเจ้าอยู่หัว โดยที่จับฉลากว่าต้องเป็นคนลงมือลอบปลงพระชนม์ คือ ร.อ.ยุทธ คงอยู่ (หลวงสินาดโยธารักษ์) เข้าไปปลงพระชนม์ด้วยอาวุธปืน กำลังอีกส่วนหนึ่งจะเข้าจับกุมคุมตัวพระบรมวงศานุวงศ์ ไว้เป็นตัวประกัน ก็เรียกว่าคิดได้ร้ายแรงมาก

(เชื่อได้ว่าอาจคิดเลียนแบบการปฏิวัติฝรั่งเศสโค่นล้มราชวงศ์บูรบง พ.ศ.2332 , การปฏิวัติซินไฮ่ในจีน โค่นล้มราชวงศ์ชิง พ.ศ.2454 )
———————————————————

ในหนังสือปฏิวัติ ร.ศ 130 ซึ่งพิมพ์เผยแพร่ภายหลังในหลังยุค พ.ศ. 2475 มีบอกว่า

“พวกฝ่ายทหารคิดกันว่า จะทูลเชิญพระราชวงศ์พระองค์หนึ่งขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่พวกพลเรือนบางคนนั้นคิดไปไกล จนถึงกับจะเปลี่ยนการปกครองเป็นสาธารณรัฐ (รีปับริค) เสียเลย”
———————————————————-

แต่โชคของสยามยังดี เพราะ ร.อ หลวงสีนาดโยธารักษ์ (มือวางมือปืนทำการปลงพระชนม์) เกิดเกรงกลัวความผิด ได้นำความลับและแผนการทั้งหมด จึงนำความไปแจ้งหม่อมเจ้าพันธุ์ประวัติ ผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ และพากันนำความไปแจ้ง สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ

และพระองค์ก็รีบเสด็จไปกราบทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ทรงทราบ ที่พระราชวังสนามจันทร์ ทั้งหมดได้ถูกจับกุมกลายเป็นกบฎไปทันที

ครั้งนั้นมีการตัดสินจากตุลาการศาลดังนี้ ให้ลงโทษประหารชีวิต 3 คน / จำคุกตลอดชีวิต 20 คน / จำคุกมีกำหนด 20 ปี 32 คน / จำคุกมีกำหนด 15 ปี 6 คน / จำคุกมีกำหนด 12 ปี 30 คน

คณะทั้งหมดจึงถูกจับกุมเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถูกส่งตัวไปคุมขังที่คุกกองมหันตโทษ ที่สร้างขึ้นใหม่
เมื่อคณะตุลาการศาลทหารส่งคำพิพากษาฉบับนี้ ขึ้นทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยอีกครั้ง ด้วยพระเมตตาของพระองค์ จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ เสียใหม่ ดังนี้

“….ด้วยได้ตรวจดูคำพิพากษาของตุลาการศาลทหาร ซึ่งได้พิจารณาปรึกษาโทษคดีมีผู้มีชื่อ 91 คน ก่อการกำเริบ ลงวันที่ 3 พฤษภาคม นั้นตลอดแล้ว เห็นว่าตุลาการพิพากษาลงโทษพวกเหล่านี้ชอบด้วยพระราชกำหนดกฎหมายทุกประการ แล้วแต่ว่าความผิดของพวกเหล่านี้ มีข้อสำคัญอยู่ที่จะกระทำร้ายต่อตัวเรา ซึ่งเราไม่ได้มีจิตพยาบาทคาดร้ายต่อพวกนี้ เห็นควรที่จะลดหย่อนผ่อนโทษโดยฐานกรุณา อันเป็นอำนาจพระเจ้าแผ่นดินจะยกให้ได้ เพราะฉะนั้นบรรดาผู้มีชื่อ 3 คนซึ่งวางโทษไว้ในคำพิพากษาของกรรมการว่าโทษชั้นที่ 1ให้ประหารชีวิตนั้น ให้ลดโทษเป็นชั้นที่ 2 คือ ให้จำคุกตลอดชีวิตบรรดาผู้ที่มีชื่อ 20 คน ซึ่งลงโทษไว้ว่าเป็นชั้นที่2 ให้จำคุกตลอดชีวิตนั้นให้ลดลงมาเป็นโทษชั้นที่ 3 คือให้จำคุก 20 ปี นับแต่วันนี้สืบไป”

กบฏทั้งหมดได้รับพระราชทานอภัยโทษด้วยความเมตตาจนหมดสิ้น…. ในพระราชพิธีฉัตรมงคล เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2467 ครบรอบปีที่ 15 ของการครองราชย์
—————————-
เกร็ดความรู้…
——————————-

แนวพระราชดำริและการเตรียมการเรื่องระบอบประชาธิปไตยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำการปกครองระบอบประชาธิปไตยมาทดลองใช้ในหมู่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และข้าราชสำนัก โดยในปี พ.ศ.๒๔๖๑ ได้ทรงสร้างเมืองจำลองชื่อ ดุสิตธานี ขึ้นบริเวณพระราชวังสวนดุสิต แล้วโปรดเกล้าฯ ให้เลือกมหาดเล็กและข้าราชการเป็นเจ้าของบ้านสมมุติในดุสิตธานี ดุสิตธานีอยู่ในบริเวณสนามเนื้อที่สองไร่ครึ่งระหว่างพระที่นั่งอุดรและอ่างหยกในบริเวณพระราชวังดุสิต พระราชดำริที่จะให้ดุสิตธานีเป็นก้าวแรกของการเตรียมตัวเพื่อการปกครองตนเองของราษฎร ดังพระราชดำรัสในวันเปิดศาลารัฐบาลของดุสิตธานีว่า

“การงานฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายนคราภิบาลก็ถ่ายแบบมาจากของจริง
ทั้งนั้น วิธีการที่ดำเนินไปนี้ เป็นการทดลองว่าจะเป็นประโยชน์
เพียงใด เพื่อเป็นตัวอย่างสำหรับธานีให้แน่ชัดเสียก่อน วิธีการ
ดำเนินการในธานีเล็ก ๆ ของเราเป็นเช่นไร ก็ตั้งใจว่าจะให้ประเทศ
สยามได้ทำเช่นเดียวกัน แต่จะให้เป็นการสำเร็จรวดเร็วทันใจดัง
ธานีเล็กนี้ก็ยังทำไปทีเดียวยังไม่ได้ โดยมีอุปสรรคบางอย่าง …”

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงประกาศธรรมนูญลักษณะการปกครองคณะนครภิบาลของดุสิตธานี มีการดำเนินการในรูปแบบของการปกครอง มีวาระ 1 ปี ต่อมามีการตั้งตำแหน่งกรรมการในนคราภิบาลสภาขึ้นอีกเรียกว่า เชษฐบุรุษ คือผู้แทนทวยนาครในอำเภอ

ประชาชนที่อาศัยอยู่ในดุสิตธานี เรียกว่าเป็น ทวยนาคร ประกอบด้วยบุคคลจากหลายสาขาอาชีพ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงเป็นทวยนาครผู้หนึ่งด้วย ดุสิตธานี เป็นเมืองมีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย โดยมีพรรคการเมือง 2 พรรค คือ พรรคแถบสีน้ำเงิน และพรรคแถบสีแดง มีการเลือกตั้งตามที่กำหนดในธรรมนูญลักษณะปกครองคณะนคราภิบาล (ดุสิตธานี) พระพุทธศักราช 2401 นอกจากนี้ ในดุสิตธานียังมีหนังสือพิมพ์รายวันพิมพ์ออกจำหน่ายถึง 3 ฉบับ คือ “ดุสิตสมัย” และดุสิตลักซี” กับมีหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ ชื่อ “ดุสิตสมิต” หรือ “ดุสิตเคอร์เตอร์” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นบรรณาธิการใหญ่ ทั้งนี้ ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทความต่าง ๆ เกี่ยวกับการเมือง ส่งไปลงหนังสือพิมพ์โดยทรงใช้นามแฝงในการเขียนว่า “อัศวพาหุ” และ “รามจิตติ”

ในกรณีที่มีผู้ไม่เห็นด้วยกับบทความของพระองค์เขียนมาโต้แย้ง เช่น ก.ศ.ร. กุหลาบ ( กุหลาบ ตฤษณานนท์ ) , เทียนวรรณ ( เทียน วัณณาโภ) พระองค์ก็จะทรงตอบกลับไปด้วยความมีน้ำพระราชหฤทัยเป็นนักประชาธิปไตย

และพระองค์ทรงมีพระราชอารมณ์ขัน ตอบโต้ ก.ศ.ร. กุหลาบ ( กุหลาบ ตฤษณานนท์ ) บก.หนังสือพิมพ์ “สยามประเภท” และ เทียนวรรณ ( เทียน วัณณาโภ)นักเขียนหนังสือพิมพ์”ตุลวิภาคพจนกิจ” โดยมีพระราชนิพนธ์รายงานการประชุมปาลิเมนต์สยามเป็นบทความติดตลก ถึงเทียนวรรณคือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระสุบิน(ฝัน)ไปว่า ประเทศไทยมีรัฐสภาแล้ว มีสมาชิกรัฐสภา 2 ท่าน ชื่อ นายเกศร์ ซึ่งอาจหมายถึง ก.ศ.ร กุหลาบ และนายทวน คงจะเป็นเทียนวรรณเสนอความเห็นในรัฐสภา แล้วเป็นการพูดนอกประเด็น

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวยังเคยออกปกหลังหนังสือพิมพ์”ดุสิตสมิต” เป็นภาพล้อฝีพระหัตถ์ โดยมีคำกลอนอธิบายเนื้อแท้ของภาพล้อว่า “ถึงล้อก็ล้องเพียง กละเยี่ยงวิธีสหาย บ่มีจะมุ่งร้าย บ่มิมุ่งประจานใคร”- ดุสิตสมิต 20 กันยายน พ.ศ.2462

พระองค์มิได้ทรงใช้พระราชอำนาจที่ทรงมิได้ตอบกลับไปเลย

ดุสิตธานี แม้จะเป็นเมืองที่สร้างด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ แต่ชาวทวยนาครจะต้องออกทุนสร้างบ้านเรือนของตนเองกับต้องเสียภาษี เงินรายได้จากการเก็บภาษีส่วนหนึ่งจะถูกนำไปใช้บำรุงเมืองจำลองนี้ และส่วนหนึ่งที่เหลือก็นำไปสมทบในการสร้างเรือรบหลวงพระที่นั่ง ดุสิตธานี จึงมิใช่เรื่องเล่น ๆ แต่เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นพระราชเจตนาที่จะทรงพระราชทานรูปแบบการปกครองตามแบบประชาธิปไตยให้แก่ปวงชนชาวไทย เมื่อถึงเวลาอันควรดังพระราชดำรัสที่พระราชทานไว้ เนื่องในวโรกาสเสด็จฯ เปิดศาลารัฐบาลในดุสิตธานี ตอนหนึ่งว่า “วิธีการดำเนินงานในธานีเล็ก ๆ ของเราเป็นเช่นไรก็ตั้งใจว่า จะให้ประเทศสยามได้ทำเช่นเดียวกัน แต่จะให้การสำเร็จรวดเร็วทันใจดังธานีเล็กนี้ก็ยังทำไปทีเดียวยังไม่ได้ โดยมีอุปสรรคบางอย่าง เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าขอให้ข้าราชการทั้งหลายตลอดจนทวยนาคร จงตั้งใจกระทำกิจการของตนตามหน้าที่ให้สมกับธานีซึ่งได้จัดตั้งขึ้นนี้ ในไม่ช้าจะได้แลเห็นผลของประเทศสยามว่าจะเจริญไปได้เพียงไร”

ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปสร้าง ณ พระราชวังพญาไท ภายหลังได้ล้มเลิกไปเมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต
————————————————————————————————

นอกจากนี้ยังทรงปลูกฝังให้ประชาชนรู้จักใช้เสรีภาพอย่างมีขอบเขตในระบอบประชาธิปไตย โดยพระราชทานเสรีภาพแก่หนังสือพิมพ์อย่างกว้างขวางในการแสดงความคิดเห็น เรียกได้ว่ายุคสมัยนี้เป็นยุคที่หนังสือพิมพ์มีเสรีภาพกว่ายุคใดๆ โดยมีการออกหนังสือพิมพ์รายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน รวมแล้วกว่า ๑๔๙ ฉบับ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงความต้องการของกลุ่มปัญญาชนทั้งข้าราชการและประชาชนที่ต้องการปกครองในแนวประชาธิปไตย พระราชดำริของพระองค์เกี่ยวกับประชาธิปไตยได้ปรากฏในจดหมายเหตุรายวัน ว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตยมีข้อดีในการที่อำนาจการปกครองประเทศไม่ตกอยู่กับบุคคลคนเดียว

แต่ถ้าจะนำมาใช้ก็มีข้อจำกัด คือประชาชนไม่มีความรู้พอที่จะปกครองตนเองได้ ถ้าให้อำนาจในการตัดสินใจแทนผู้ปกครองแประเทศก็อาจจะเกิดผลร้ายต่อชาติ นอกจากนี้ในการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรก็ไม่แน่เสมอไปว่า จะได้คนดีมีความรู้ความสามารถ เนื่องจากประชาชนไม่มีเวลามากพอที่จะพิจารณาอย่างถี่ถ้วน นอกจากนั้นพระองค์ยังมีพระราชวิจารณ์เกี่ยวกับระบบพรรคการเมืองว่า พรรคการเมืองใดทุนมากก็อาจจะล่อใจให้ประชาชนเลือกพรรคของตน อำนาจจึงตกเป็นของคนกลุ่มน้อย แทนที่จะอยู่ในมือของประชาชน และการที่พรรคการเมืองผลัดกันเข้ามาบริหารประเทศ ทำให้การดำเนินนโยบายต่าง ๆ ไม่ติดต่อกัน การงานล่าช้า และชะงักงัน
———————————-

พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งแรกของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสร้างแล้วเสร็จเมื่อพ.ศ. 2485 ประดิษฐาน ณ ทุ่งศาลาแดง สวนลุมพินี ซึ่งเป็นบริเวณที่ดินส่วนพระองค์ ที่พระราชทานไว้เป็นสมบัติของประชาชน เพื่อจัดงานสยามรัฐพิพิธภัณฑ์แสดงสินค้าไทยแก่ชาวโลกเป็นครั้งแรก เพื่อบำรุงเศรษฐกิจและพาณิชยกรรมของประเทศ (แต่มิทันได้จัดก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน) และทรงตั้งพระราชหฤทัยว่าเมื่อเสร็จงานแล้ว จะพระราชทานเป็นสวนสาธารณะพักผ่อนหย่อนใจแห่งแรกในกรุงเทพฯ (สวนลุมพินี ในปัจจุบัน)

 

อ้างอิง จาก เฟสบุ๊ก ปราชญ์ สามสี