วันเสาร์ 27 กรกฎาคม 2024
  • :
  • :
Latest Update

สถานีรถไฟอุตรดิตถ์ สัญลักษณ์ความเจริญของสยามประเทศ ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง

 

“สถานีรถไฟอุตรดิตถ์” นับเป็นสถานีรถไฟที่สำคัญแห่งหนึ่งที่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ด้วยความมุ่งหมายที่จะให้สถานีรถไฟแห่งนี้ เป็นศูนย์กลางการขนส่งโดยรถไฟในภาคเหนือ ที่นี่จึงถูกสร้างขึ้นอย่างยิ่งใหญ่และมีสถาปัตยกรรมที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศครั้งที่ 2

อุตรดิตถ์ในท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงประเทศ (แผ่นดินล้นเกล้ารัชกาลที่ 4- 5 พ.ศ.2393 – 2453) รถไฟมาอุตรดิตถ์เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาการรถไฟเพื่อเชื่อมโยงแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราโชบายสำคัญต้องการทำนุบำรุงการรถไฟของประเทศอย่างเต็มที่ การรถไฟเท่านั้นที่จะรับหน้าที่เป็นโครงสร้างที่เชื่อมโยงแผ่นดินและผู้คนให้ผูกเข้าด้วยกันมีความหมายทั้งในเชิงเศรษฐกิจ และการบริการปกครอง
ในปี พ.ศ.2448 -2459 กรมรถไฟทำทางรถไฟมาทางสายเหนือ แนวเส้นทางช่วงผ่านเมืองอุตรดิตถ์วิ่งตรงมายัง
วังเตาหม้อ (วัดท่าถนน) ผ่านป่าไผ่ที่เป็นป้าช้าเลยท่าเสา ผ่านป่าผ่านดงไปตลอดทางครั้นปี พ.ศ.21450 -2451
จึงได้วางรางมาตามแนวที่วางไว้ไปหยุดที่ท่าเสาและในปี พ.ศ. 2452-2453 สถานีรถไฟอุตรดิตถ์ก็สร้างเสร็จ
และแล้วในปี พ.ศ.2454 รถไฟขบวนแรก็วิ่งมาถึงสถานีอุตรดิตถ์ผลกระทบถึงขั้นย้ายตลาดถึงแม้กรมรถไฟจะทำทางรถไฟแยกไปหาตลาดหาดท่าอิฐแต่การคมนาคมชนิดใหม่นี้ก็ทำให้ทำเลและสภาพของการติดต่อค้าขายแต่เดิมของ
หาดท่าอิฐและเมืองท่าเหนือ กระทบกระเทือนเปลี่ยนแปลงไปหมด บรรดาสินค้าที่เคยขึ้นลงเชื่อมโยงตามแนวเหนือใต้ โดยทางน้ำก็เปลี่ยนไป ตลาดหาดท่าอิฐก็ซวนเซบรรดาพ่อค้าแม่ค้าเดิมต่างมีความเห็นพ้องกันว่า สมควรย้ายไปอยู่ใกล้ สถานีอุตรดิตถ์และสถานีท่าเสา ตลาดหาดท่าอิฐสลายตัวลง พ่อค้าแม่ค้า คนทำมาค้าขายแยกย้ายกันอพยพเปลี่ยนทำเลขึ้นไปอยู่ที่ท่าเสาและบางโพ ตั้งแต่นั้นมาบริเวณบางโพรอบวัดวังเตาหม้อก็เป็นตลาดหนาแน่นเพิ่มขึ้นทุกทีเช่นเดียวกับท่าเสา เป็นเช่นนี้หาดท่าอิฐก็เสื่อมลงเรื่อยๆ จนในที่สุดก็หมดสภาพไม่มีการค้าเหลืออยู่ต่อไป

เรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับ “สถานีรถไฟอุตรดิตถ์”
1. สถานีรถไฟอุตดิตถ์ อยู่ห่างจาก สถานีรถไฟกรุงเทพฯ เป็นระยะทาง 485.17 กิโลเมตร
2. สถานีรถไฟอุตรดิตถ์ สร้างขึ้นแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2453
3. ชาวอุตรดิตถ์ได้เห็นรถไฟเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2450 ต่างพากันพูดกันไปต่างๆ นาๆ ด้วยความตื่นเต้น บ้างว่า เสียดายคนที่ตายไปก่อนไม่ทันเห็นรถไฟ บ้างโต้เถียงกันว่ารถไฟวิ่งได้อย่างไร
4. ในขณะนั้น อุตรดิตถ์ มีเจ้าเมืองชื่อ “พระยาสุจริตรักษา (เชื้อ)”

5สถานีรถไฟอุตรดิตถ์ ออกแบบโดยสถาปนิกชาวเยอรมัน ชื่อนาย คาร์ล ซีกฟรีด เดอห์ริง (Karl Siegfried Döring)ชาวเยอรมัน ผู้ซึ่งเคยออกแบบสถานที่สำคัญๆ หลายแห่งในประเทศไทย
6. สถาปัตยกรรมของสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ มีลักษณะสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า “โมเดิร์นสไตล์” โดยมีป้อมตากอากาศอยู่กลางอาคาร ในขณะนั้นนับได้ว่ามีลักษณะสูงใหญ่และสวยงามกว่าสถานีรถไฟแห่งอื่นๆ
7. ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีการรื้อป้อมออก แล้วสร้างหลังคาคลุมไว้ เพื่ออำพรางไม่ให้เป็นเป้าในการโจมตีของฝ่ายสัมพันธมิตร 
8. สถานีรถไฟอุตรดิตถ์ ถูกโจมตีด้วยเครื่องบินทิ้งระเบิดอย่างหนัก ทำให้อาคารได้รับความเสียหายอย่างมาก
9. หลังจากนั้น จึงได้สร้างสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ขึ้นใหม่ บนเนื้อที่เดิม เป็นลักษณะอาคารแบบไทยประยุกต์ สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก
10. หอนาฬิกาเมืองอุตรดิตถ์ ก็ถูกสร้างขึ้นพร้อมกับสถานีรถไฟหลังใหม่นี้เอง
11. สถานีรถไฟศิลาอาสน์ ถูกสร้างขึ้นเนื่องจากปัญหาความคับแคบของพื้นที่สถานีรถไฟอุตรดิตถ์ ซึ่งมีระยะทางห่างกันเพียง 2.188 กิโลเมตรเท่านั้น นับได้ว่าเป็นสถานีรถไฟที่ระยะทางใกล้กันมากที่สุด
12. ปัจจุบัน สถานีรถไฟอุตรดิตถ์ได้ถูกสร้างขึ้นใหม่ ถัดจากสถานีเดิมมาทางทิศเหนือ 200 เมตร มีลักษณะเป็นอาคารพาณิชย์ 4 ชั้น ด้านหน้าเป็นชานชาลา ด้านหลังเป็นอาคารพาณิชย์ นับได้ว่าเป็นสถานีรถไฟที่ดูแปลกตาจากที่อื่นๆ

 

(ภาพในอดีต)        รถไฟเครื่องจักรไอน้ำ  จอดที่บริเวณสถานีรถไฟอุตรดิตถ์

(ภาพในอดีต) สถานีรถไฟอุตรดิตถ์ สไตล์ยุโรป  สร้างโดยบริษัทฯ เยอรมันที่สร้างทางรถไฟสายเหนือ ก่อนที่จะถูกทำลายไปสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุคของคณะราษฎร

 

 

ภาพ: สถานีรถไฟอุตรดิตถ์ที่สร้างขึ้นใหม่ ด้วยงบประมาณอันจำกัดช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในยุคของคณะราษฎร

 

ภาพ: สถานีรถไฟอุตรดิตถ์ในปัจุบันที่สร้างขึ้นในพื้นที่ไกล้เคียง