วันเสาร์ 27 กรกฎาคม 2024
  • :
  • :
Latest Update

อาจารย์ วรชาติ มีชูบท ตอก งานวิจัย บีบีซี มีอคติต่อสถาบันกษัตริย์ไทย

ภาพ พระเกี้ยว หรือ จุลมงกุฎ ซึ่งปรากฏในสำนักข่าวต่างประเทศ

 

อาจารย์ วรชาติ มีชูบท ตอกงานวิจัย บีบีซี มีอคติต่อสถาบันกษัตริย์ไทย

วันนี้ (21 ก.ค.2560 ) วรชาติ มีชูบท นักเขียนที่มีผลงานด้านประวัติศาสตร์สยาม ได้ โพสบทความลงใน เฟสบุ๊ก แฟนเพจ Logistics Thailand Forum ตำหนิ บทความ “เปิดงานวิจัย ความเป็นมา “สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” ของสำนักข่าวบีบีซี ซึ่งอ้างอิง นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล  โดย นาย วรชาติ มีชูบท ได้ระบุว่า

เป็นงานวิจัยที่มีพื้นฐานมาจากอคติ กรมพระคลังข้างที่นั้นเกิดขึ้นเพราะรัฐบาลสยามจะกู้เงินต่างประเทศมาพัฒนาระบบรถไฟ (ความเร็วต่ำ) ที่ปรึกษาการคลังชาวต่างประเทศจึงเสนอให้แยกรายจ่ายส่วนพระองค์ออกจากรายจ่ายแผ่นดิน โดยเสนอให้จัดสรรงบประมาณแผ่นดินร้อยละ ๑๕ ถวายให้พระมหากษัตริย์ทรงใช้สอย แต่ในความเป็นจริงทรงรับเงินนั้นน้อยกว่าร้อยละ ๑๕ ต่อปี

เมื่อแรกที่รัชกาลที่ ๕ ทรงตัดสินพระทัยรับเงินที่รัฐบาลจัดถวายแล้ว ปรากฏว่าไม่พอที่จะทรงใช้จ่าย สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพจึงถวายคำแนะนำให้ทรงเจียดเงินปีที่รัฐบาลจัดถวายไปลงทุน เริ่มจากสร้างตึกแถวและตลาดที่นครปฐม ต่อมามีการรับจำนองที่ดินเพิ่มเติม เมื่อเจ้าของไม่ไถ่ถอนที่ดินนั้นจึงตกเป็นของพระมหากษัตริย์ที่เป็นเจ้าหนี้เงินกู้

ต่อมานสมัยรัชกาลที่ ๖ เสนาบดีพระคลังมหาสมบัติขอให้ทรงแยกรายจ่ายส่วนพระองค์กับรายจ่ายแผ่นดินออกจากกัน ก็ทรงยอมตาม แต่เวลาที่กระทรวงพระคลังต้องการใช้ทรีพย์สินของกรมพระคลังข้างที่ก็มายึดไปเฉยๆ แม้จะขอบคุณก็ไม่มี ในขณะเดียวกันรัชกาลที่ ๖ ก็ทรงใช้จ่ายเงินส่วนที่รัฐบาลจัดถวายสนับสนุนงานราชการเป็นจำนวนมากทุกปี นแกจากนั้นยังทรงใช้เงินลงทุนในกิจการต่างๆ เพื่อประโยชน์ของประเทศ เช่น ลงทุนจัดตั้งบริษัทปูนซิเมนต์ไทย

ที่กล่าวว่าราชสำนักใช้เงินฟุ่มเฟือย แต่กิจการเสือป่าซึ่งเป็นกำลังสำรองของชาติก็ใช้เงินส่วนพระองค์ รวมทั้งการพยายามพัฒนาแบงก์สยามกัมมาจลให้สามารถแข่งขันกับธนาคารต่างชาติก็ใช้เงินลงทุนส่วนใหญ่จากพระคลังข้างที่ แต่เมื่อเกิดวิกฤติในแบงก์สยามฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ พระคลังข้างที่ต้องรับผลขาดทุนไปกว่า ๑.๖ ล้านบาท โดยรัฐบาลไม่ได้ให้ความช่วยเหลือ ต่างจากปัจจุบันที่รัฐบาลเข้าอุ้มธนาคารเอกชนที่มีปัญหาอยู่ตลอด เพราะความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

ตอนเปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะราษฎรอ้างว่า เจ้ากดขี่ขูดเลือดราษฎร จึงต้องโอนทรัพย์สินของเจ้าทั้งหมดมาเป็นทรัพย์แผ่นดินในชื่อ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ แล้วก็มีการนำที่ดินของพระคลังข้างที่มาจำหน่ายให้พรรคพวกตนเองในราคาถูก แถมให้ผ่อนส่ง ผ่อนกันมาได้สักระยะก็ขอพระราชทานยกหนี้กันเป็นแถวๆ หรือเอาเงินทรัพย์สินไปสร้างอุปรากรเรื่องดารนี ๑๐๐,๐๐๐ บาท ไม่ทราบว่าสร้างให้ใครดู วันดีคืนร้ายก็จ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลให้สมาชิกคณะราษฎร ทั้งที่ตาคนนี้ก็มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยายาลจากรัฐ

เพราะสนุกกับการผลาญเงินทรัพย์สินฯ กันตามอำเภอใจเช่นนี้ ต่อมาในสมัยรัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ จึงแก้กฎหมายนี้โดยถวายคืนเป็นพระราชอำนาจ แต่ก็ยังไม่วายมีเงาของรัฐบาลแอบแฝงอยู่ การแก้กฎหมายคราวนี้จึงเป็นการส่งคืนทรัพย์สินฯ กลับคืนสู่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง

โดยอาจารย์ วรชาติ มีชูบท