วันเสาร์ 27 กรกฎาคม 2024
  • :
  • :
Latest Update

อิฐที่จมหายในแผ่นดิน ปฎิวัติ 2475 นักเรียนทุนหลวงหายไปไหน?

(หลวงมหาสิทธิโวหาร )สอ เสถบุตร จบ ม.8 จาก โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้รับทุนคิงสกอลาชิพ (ทุนเล่าเรียนหลวง) ไปศึกษาต่อยังประเทศอังกฤษ จบปริญญาตรีเกียรตินิยม สาขาธรณีวิทยากับวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ กลับมารับบรรดาศักดิ์เป็น “รองเสวกเอก หลวงมหาสิทธิโวหาร” ด้วยวัยเพียง 26 ปี และดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมบัญชีกลาง ต่อมาได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เป็นปลัด กรมองคมนตรี สังกัดกรมราชเลขาธิการในราชสำนัก

ต้องโทษจองจำในคดีกบฏบวรเดช พ.ศ. 2476 เสวกโท หลวงมหาสิทธิโวหารถูกถอดบรรดาศักดิ์ ศาลตัดสินจำคุกตลอดชีวิต ที่ บางขวาง, เกาะตะรุเตา และเกาะเต่า

 

ระหว่างเป็นนักโทษ ใช้เวลาเขียนพจนานุกรมอังกฤษเป็นไทย (เริ่มแรกใช้คำว่า ปทานุกรม) ทั้งฉบับห้องสมุด และ ฉบับตั้งโต๊ะ ได้ความนิยมยกย่องทั่วประเทศว่าเป็นพจนานุกรมอันยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่ประเทศไทยเคยมีมา โดยลักลอบส่งต้นฉบับออกมาตีพิมพ์นอกเรือนจำผ่านทางมารดาที่เดินทางเข้ามาเยี่ยม-

รู้แล้วยังว่านักเรียนทุน จำนวน 510 คน ของ ร 5-ร 6 หายไปไหน ประเทศเสียหายใหญ่หลวงมาก

——————–

ในรัชสมัยของพระเจ้าพุทธเจ้าหลวง ทรงครองราชย์ 42 ปี ได้ส่งนักเรียนทุนคิง และทุนกระทรวงต่างๆ ไปศืกษาในต่างประเทศ 204 คน สมัยรัชกาลที่6 ครองราชย์ 15 ปี ส่งนักเรียนทุนไปศืกษาต่อต่างประเทศ 306 คน รวมสองรัชกาล มีนักเรียนทุน 510 คน

นักเรียนเหล่านี้ คือ ความหวังที่จะกลับมาพัฒนาสยามประเทศ ในโครงการที่ ร 5 ทรงริเริ่มไว้เป็นประเทศแรกๆในเอเซีย จนญี่ปุ่นยังต้องมาดูงาน

ความหวังของชาติ คือ การบุกเบิก ขยายการไฟฟ้า รถไฟ อากาศยาน รถราง ไปรษณีย์ ป่าไม้ วิศวกรรม วิทยาศาสตร์ พาณิชย์นาวี การพาณิชย์ การศืกษา การเหมืองแร่ การผังเมือง การศืกษา มหาวิทยาลัย การจัดที่ดิน อุตสาหกรรม การค้า ถนน ธนาคาร การเงิน

คนเก่งที่สุดของประเทศเหล่านี้ ถูกปลดจากราชการ ส่งไปขังไว้ที่เกาะตารุเตา นักพัฒนาจำนวนมากไปตายในต่างประเทศ

อิฐที่จมหายในแผ่นดิน ปฎิวัติ 2475

————————————

“อิฐก้อน แรกร่วง ลงพื้น

ก้อนอื่น ร่วงตาม ทับถม

กลบมิด ก้อนเก่า เจ้าจม

สะสม เป็นทาง ให้เดิน”

ผู้เขียน  ดร.สมเกียรติ โอสถสภา Somkiat Osothsapa

—————————————————————

[เพิ่มเติม : ตึกแดง หรือ “ทัณฑสถานเกาะตะรุเตา”ปี พ.ศ.2479 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเพียงสี่ปี พระยาพหลพลหยุหเสนาซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ประกาศให้เกาะตะรุเตา เป็นสถานที่ฝึกอาชีพพร้อมทั้งกักกันนักโทษคดีอุกฉกรรจ์และนักโทษการเมือง ด้วยภูมิประเทศที่ยากกับการหลบหนี เพราะเป็นเกาะใหญ่อยู่กลางทะเลลึก รอบเกาะเต็มไปด้วยฉลาม แถมในคลองก็มีจระเข้ชุกชุม คลื่นลมมรสุมก็รุนแรง ไม่มีเรือผ่านไปมา มั่นใจได้ว่าจะไม่มีการหลบหนี

ทั้งนี้ นอกเหนือจาก(หลวงมหาสิทธิโวหาร )สอ เสถบุตร แล้ว ยังมี หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากรพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ ทรงได้รับการยกย่องเป็น บิดาแห่งการเกษตรแผนใหม่ ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ร่วมก่อการกับ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช พระเชษฐา ในกบฏบวรเดช เมื่อ พ.ศ. 2476 ถูกตัดสินลงโทษจำคุกตลอดชีวิต คุมขังที่เรือนจำบางขวาง แล้วย้ายไปคุมขังที่ทัณฑนิคม เกาะตะรุเตา ก่อนย้ายมาเกาะเต่า ก่อนจะได้รับพระราชทานอภัยโทษในปี พ.ศ. 2487 ]

เพิ่มเติม โดย แอดมิน สยามานุสสติ