วันพฤหัสบดี 5 ธันวาคม 2024
  • :
  • :
Latest Update

เกร็ดความรู้ “หมุดสยาม”และความหมาย

 

เกร็ดความรู้ “หมุดสยาม”และความหมาย

สำหรับหมุดใหม่ มีข้อความรอบนอกว่า “ความนับถือรักใคร่ในพระรัตนตรัยก็ดี ในรัฐของตนก็ดี ในวงศ์ตระกูลของตนก็ดี มีจิตซื่อตรงในพระราชาของตนก็ดี ย่อมเป็นเครื่องทำให้รัฐของตนเจริญยิ่ง”

ส่วนข้อความในวงด้านใน ระบุว่า “ขอประเทศสยามจงเจริญยั่งยืนตลอดไป ประชาชนสุขสันต์ หน้าใส เพื่อเป็นพลังของแผ่นดิน”

สิ่งที่น่าสนใจ คือ ประโยคที่สลักเอาไว้ว่า”ขอประเทศสยามจงเจริญยั่งยืนตลอดไป ประชาสุขสันต์หน้าใสเพื่อเป็นพลังของแผ่นดิน ความนับถือรักใคร่ในพระรัตนตรัยก็ดี ในรัฐของตนก็ดี ในวงศ์ตระกูลของตนก็ดี มีจิตซื่อตรงในพระราชาของตนก็ดี ย่อมเป็นเครื่องทำให้รัฐของตนเจริญยิ่ง” นั้นพบว่าเป็นคำแปลของ คาถาสุภาษิตว่า “ติรตเน สกรฏฺเฐจ สมฺพํเส จ มมายน สกราโชชุจิตฺตญฺจ สกรฎฺฐาภิวฑฺฒน” ซึ่งปรากฎในตรา “ดาราจักรี”เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ สร้างขึ้นเพื่อใช้ประดับฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์ สำหรับฝ่ายหน้า โดยจะติดไว้ที่อกซ้ายของฉลองพระองค์ครุย จัดเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับบำเหน็จความชอบในราชการแผ่นดิน เรียกย่อว่า เครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาจักรีบรมราชวงศ์ มีชั้นเดียวทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน

 

 

ส่วน ตรา “ดาราจักรี”มีความเป็นมายังไงนั้น อธิบายได้ดังนี้ครับ

“ดาราจักรี”เป็นดาราในเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ สร้างขึ้นเพื่อใช้ประดับฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์ สำหรับฝ่ายหน้า โดยจะติดไว้ที่อกซ้ายของฉลองพระองค์ครุย จัดเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับบำเหน็จความชอบในราชการแผ่นดิน เรียกย่อว่า เครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาจักรีบรมราชวงศ์ มีชั้นเดียวทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน จำนวนทั้งหมด 25 สำรับ แบ่งเป็น

– สำหรับพระมหากษัตริย์ 1 สำรับ

– สำหรับสมเด็จพระบรมราชินี 1 สำรับ

– สำหรับพระราชทานพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งสืบเชื้อสายโดยตรงในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หรือผู้ที่ได้สมรสกับพระบรมวงศานุวงศ์ดังกล่าว หรือผู้อื่นอันสูงศักดิ์ซึ่งสมควรได้รับพระราชทานอีก 23 สำรับ รวมเป็น 25 สำรับ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2425 ในครั้งนั้นเรียกว่า “เครื่องขัตติยราชอิสริยยศ” เพื่อเป็นเครื่องประดับสำหรับเชิดชูพระเกียรติยศและพระเดชพระคุณในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก อันเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี ของการสถาปนากรุงเทพพระมหานครเป็นราชธานี โดยโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้น ปรากฏตามพระบรมราชโองการ ซึ่งได้ประกาศเมื่อวันศุกร์ ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเมีย จุลศักราช 1244 ( พ.ศ. 2425 ) อันเป็นปีที่ 15 ในรัชกาลของพระองค์ และต่อมาพระราชบัญญัตินี้ได้แก้ไขอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ ร.ศ. 108 (พ.ศ. 2432) ซึ่งให้เรียกว่า “เครื่องราชอิสริยาภรณ์” แต่นั้นมา

ข้อมูลของ ตรา “ดาราจักรี อ้างอิงจาก สถาบันพระปกเกล้า