วันเสาร์ 14 กันยายน 2024
  • :
  • :
Latest Update

เปิดหนังสือไต่สวนนาย กศร.กุหลาบ ปั้นแต่งประวัติศาสตร์! (มีคลิปเสียง)

กศร.กุหลาบ เจ้าของนิตยสารสยามประเภทที่ตีพิมพ์เมื่อสมัยราวสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้แต่งประวัติสมเด็จพระสังฆราชขึ้นทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปรากฏความอันเป็นเท็จอยู่มาก จึงถูกไต่สวนจากคณะกรรมการที่โปรดให้ชำระความคดีนายกุหลาบ ซึ่งนายกุหลาบเขียนหนังสือจนเกิดเป็นที่ระคายเคืองมาแล้วหลายครั้ง แล้วผลการไต่สวนนี้จะเป็นเช่นไร ? ลองมาติดตามกันครับ

 

ประวัติย่อ กศร.กุหลาบ

ก.ศ.ร. กุหลาบ มีนามว่า กุหลาบ ตฤษณานนท์ เกิดในปี พ.ศ. ๒๓๗๗ เมื่ออายุได้สี่ขวบ พระองค์เจ้ากินรี ซึ่งเป็นพระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงขอไปเป็นบุตรบุญธรรม ก.ศ.ร. กุหลาบ มีนามว่า กุหลาบ ตฤษณานนท์ เกิดในปี พ.ศ. ๒๓๗๗ เมื่ออายุได้สี่ขวบ พระองค์เจ้ากินรี ซึ่งเป็นพระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงขอไปเป็นบุตรบุญธรรม

เด็กชายกุหลาบได้ใช้ชีวิตอยู่ในวังหลวงอยู่จนกระทั่งโกนจุก ก็ย้ายออกมาอยู่นอกเรือนในฐานะมหาดเล็กวังนอก
เรียน เมื่อบรรพชาเป็นสามเณร โดยมีสมเด็จกรมพระยาปรมานุชิตชิโนรสเป็นองค์อุปัชฌาย์ ก็ได้ฉายานามว่า เกศโร ซึ่งได้ใช้มาเป็นชื่อหน้าในภายหลัง คือ ก.ศ.ร. กุหลาบ ตามความนิยมที่จะมีชื่อหน้าอย่างตะวันตก

ก.ศ.ร. กุหลาบมีความสนใจและคบค้าสมาคมกับชาวตะวันตก จึงได้อิทธิพลจากตะวันตกมาก มีใจเป็นตะวันตกและอยากเป็นตะวันตก

งาน เนื่องจากได้มีโอกาสใกล้ชิดเจ้านายและเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่มาก จึงมีโอกาสในการศึกษาเล่าเรียนมาก ได้อ่านหนังสือตำราภาษาไทยจำนวนมาก และได้แอบคัดลอกหนังสือเหล่านั้น ออกมาพิมพ์เผยแพร่ให้กับบุคคลภายนอก โดยพยายามปรับเปลี่ยนเนื้อเรื่องและถ้อยคำของหนังสือใหม่ จึงทำให้ถูกไต่สวน มากถึง ๔ ครั้ง ในข้อหาแต่งเติมพงศาวดาร และเขียน”กุ”พงศาวดารขึ้นมาใหม่โดยไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์เดิม ซึ้งเชื่อได้ว่ามีเจตนาเพื่อที่จะสร้างชื่อเสียงให้กับตนเองแต่เมื่อถูกจับได้ก็พยายามหลบหนีด้วยการทำตบแต่งหลักฐานมิให้อาญาแผ่นดินถึงตัว แต่จากการไต่สวน ก็พบว่ามีการกระทำผิดจริงมาโดยตลอด    แต่เนื่องจากความเป็นวิกลจริต ทำให้ก.ศ.ร. กุหลาบไม่ติดคุกตามโทษอาญาเพียงแต่เคยไปอยู่”โรงเลี้ยงบ้า” ตามสมควรในบางช่วงชีวิต

ทั้งนี้ ก.ศ.ร. กุหลาบ ถูกไต่สวน  ๔ ครั้ง
เช่น ช่วงที่ไต่สวนครั้งแรกถูกจับได้ว่าบิดเบือนประวัติศาสตร์ โดยเขียนบทความอ้างพระเจ้าแผ่นดินสมัยสุโขทัยชื่อ”พระปิ่นเกศ และ จุลปิ่นเกศ”เป็นเจ้าครองนครได้พ่ายแพ้ต่อเจ้าเมืองศรีอยุธยาครั้งนั้นเชื่อว่าเป็นการเอาชื่อ”พระจอมเกล้าและ พระจุลจอมเกล้า”มาหมิ่นประมาท – ก.ศ.ร. กุหลาบให้การรับสารภาพความผิดจึงถูกจับไปอยู่”โรงเลี้ยงบ้า”๗ วัน

ถูกไต่สวน  ครั้งที่๒ ในปี ร.ศ.๑๑๙ เป็นคดีการแต่งระเบียบการพระราชทานเพลิงพระศพ เนื่องในงานพระเมรุ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ พิมพ์ลงในหนังสือสยามประเภท นาย  ก.ศ.ร. กุหลาบ ให้การรับสารภาพว่าไม่ได้มีเอกสารอ้างอิง แต่ในครั้งนี้ไม่พบว่าได้รับโทษแต่อย่างใด

ครั้งที่๓ ก.ศ.ร. กุหลาบ ถูกไต่สวน ในคดีแต่งเรื่องพระประวัติสมเด็จพระสังฆราช ( แม้ว่าจะมีหนังสือแก้ตัวหลายฉบับแต่ก็พบว่ามิได้สารภาพด้วยความจริงใดๆ เมื่อไต่สวนพบว่ามีความผิด จึงได้รับโทษจำคุก แต่เพราะเห็นแก่ความชราของ นายกุหลาบจึงภาคทัณฑ์ไว้)

ถูกไต่สวน ครั้งที่๔ คือ ในคดี ใบปลิว ของนายกุหลาบ อ้างว่า ตนมี”ต้นฉบับกฏหมายแผ่นดินพระเจ้าท้ายสระ”

และเมื่อเกิดเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๓๐ ซึ่งกลุ่มนายทหารหนุ่มได้พยายามที่จะยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครอง กศร. กุหลาบ ก็ยิ่งถูกเพ่งเล็งมากขึ้น เนื่องจากงาน หนังสือของ กศร. กุหลาบ ส่วนใหญ่เกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ พงศาวดาร และชีวประวัติบุคคลสำคัญต่าง ๆ ถูกนำนำมาใช้อ้างอิงเพื่อใช้เคลื่อนไหวในการล้มล้างสถาบันกษัตริย์
กศร. กุหลาบ เสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๔ รวมอายุได้ ๘๗ ปี

 


 

เอกสาร “หนังสือไต่สวนนาย กศร.กุหลาบ “ที่จะเผยแพร่ ต่อจากนี้ เป็นจดหมายเหตุ ซึ่งแต่ง
ประวัติสมเด็จพระสังฆราชขึ้นทูลเกล้าฯถวาย พิมพ์ในงานพระศพ พระเจ้าบรมวงศเธอ พระองค์
เจ้าแขไขดวง ครบศตมาห วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน  พ.ศ.๒๔๗๒ โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร

(ดาวโหลดฉบับเต็มได้ที่นี่ คลิ้ก!)

 

(หนังสือเสียง: หนังสือไต่สวนนาย กศร.กุหลาบ อ้างอิงจาก หนังสือ” เรื่องเล่าเมื่อช่วงรัชสมัยสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง” ผู้เขียน: ไมเคิ้ล เลียไฮ, กรินทร์ สัตนาคี ฟังได้ตรงนี้)

 

————

เอกสาร “หนังสือไต่สวนนาย กศร.กุหลาบ ( ในคดีแต่งเรื่อง พระประวัติสมเด็จพระสังฆราช )