วันพฤหัสบดี 10 ตุลาคม 2024
  • :
  • :
Latest Update

เมื่อโลกแบ่งออกเป็น “ชาตินิยม” และ “ผู้ลี้ภัยนิยม” Nationalism and Refugeeism

ก่อนจะไป”เข้าเรื่อง”ก็ขอพูดเกริ่นนำก่อนเสียหน่อยนึง หลังจากที่ข้าพเจ้าไม่ค่อยได้ โพสอะไรยาวๆเป็นสาระมานาน ช่วงนี้บทความจะเริ่มทะยอยนำมาลงบ่อยขึ้นหลังจากนี้เพราะคิดว่าน่าจะผ่านพ้นช่วงเวลาสำคัญของประเทศไทยไปแล้ว จึงเรียนมาเพื่อทราบกันนะครับทุกท่าน

หากใครติดตาม ประเด็นการเมืองโลกในช่วงตลอดปีที่ผ่านมาก็จะทราบเรื่องความเปลี่ยนแปลงของโลกใบนี้พอสมควร นับตั้งแต่การลี้ภัยของชาวชีเรียและชาวมุสลิมในตะวันออกกลางหลายกลุ่มที่ทะยอยทะลัก เข้าสู่ทวีปยุโรปและเอเชียก็จะเห็นได้ชัดเจนว่า การอพยพ ที่ส่วนใหญ่เป็นการ”ลี้ภัยสงคราม” นั้นส่งผลกระทบเป็นโดมิโน่กับประเทศมหาอำนาจมากๆ โดยเฉพาะ การทะลักของคนมุสลิมจำนวนมากส่งผลให้ พื้นฐานการดำรงชีพของสังคมยุโรปเกิดความขัดแย้งขึ้นบ่อยครั้ง ทั้งประเด็นการแย่งงานชาวพื้นเมืองยุโรป,ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำเนื่องจากปัญหาผู้ว่างงานจำนวนมาก,ปัญหาเรื่อิงการจำหน่ายสวัสดิการโอบอุ้มผู้ลี้ภัยมากเกินไปในขณะที่รีดภาษีพลเมืองท้องถิ่นจำนวนมาก อีกทั้งความขัดแย้งทางวัฒนธรรมและศาสนา .. เช่นประเด็นการออกกฏหมายควบคุม”ฮิญาบ” (การคลุมผ้าของสตรีมุสลิม)ในยุโรป เป็นต้น

ความขัดแย้งเหล่านี้ส่งผลทำให้รัฐบาลหลายประเทศในยุโรปมีลักษณะ”แข็งตัว” โดยการปฏิเสธผู้ลี้ภัย…กล่าวคือ ประเทศมหาอำนาจอเมริกาและในยุโรปมีลักษณะคล้ายกันคือคล้าย”ต้นมะม่วงที่มีผลเต็มต้น” ที่กำลังโดน “คนนอกประเทศรุมเด็ด” ในขณะที่คนในประเทศซึ่งเป็นผู้ปลูกต้นมะม่วงกลับไม่ไ่ด้รับผลตอบแทนอย่างเหมาะสม …หากปล่อยไว้ “ต้นมะม่วงของประเทศเหล่านี้ก็จะโค่นล้ม”ไปหมด จึงเกิดปรากฏการกีดกันผู้ลี้ภัยโดยทันที

มาตรการที่ออกมากีดกันนั้นก็มีหลายแบบ ตั้งแต่สร้างแพงเมืองไม่ให้ผู้ลี้ภัยเข้า , ออกกฏหมายควบคุมขอบเขตการจ่ายสวัสดิการ และ และรวมไปถึงการแปรรูป”ผู้ลี้ภัย”เป็น”แรงงาน” ซึ่งทั้งหมดนี้ หากไม่ละเอียดรอบคอบในการบริหารก็จะมีความขัดแย้งในความหลากหลายเหล่านี้เรื่อยๆ และกลายเป็นระเบิดเวลาที่พร้อมปริแตกออกได้เมื่อถึงเวลา
การพยายามทำตัว”เอาหน้า” ด้วยการอุ้มผู้ลี้ภัยโดยไม่มีกำหนดกลับคืนถิ่นกลายเป็นปัญหาใหญ่ทางเศรษฐกิจ และกลายเป็นปัจจัยสำคัญของการพยายามแบ่งแยกดินแดนเพื่อปัดความรับผิดชอบทางการเงินนั้นเอง

การระบายผู้ลี้ภัยไปสู่ประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆด้วยข้ออ้าง ต่างๆนาๆ จึงเกิดขึ้น แต่เนื่องจาก ช่วงก่อนนี้ รัฐบาลส่วนใหญ่ของมหาอำนาจเป็นพรรคแนวคิด”ทุนนิยม-สังคมนิยม” ซึ่งมีฐานเสียงผูกกับ”ชนชั้นแรงงานต่างด้าว”ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลกับ”ผู้ลี้ภัย”โดยตรง จึงทำให้การกีตกัน ผู้ลี้ภัยทำได้โดยยาก ส่งผลให้ ประชาชนส่วนมากในหลายๆประเทศ ตัดสินใจหันไปสนับสนุนแนวคิดแบบ “อนุรักษ์นิยมสายกลาง” หรือ “ชาตินิยม” สังเกตได้จาก การเลือกตั้งในหลายประเทศในยุโรป เช่น ฝรั่งเศส, ออสเตรีย เป็นต้น ซึ่งมีแนวคิด อนุรักษ์นิยมสายกลาง

 

“ผู้ลี้ภัย”เป็น”ภัยร้าย”จริงหรือ?

ความจริงที่น่าเศร้าคือ”ผู้ลี้ภัย”ส่วนมาก เป็น”ผู้ลี้ภัยสงคราม”อันมาจากน้ำมือของมหาอำนาจนั้นเอง เนื่องจากนโยบายรุกรานเพื่อผลประโยชน์ยังคงมีอยู่ ส่งผลให้ประเทศที่ถูกรุกรานการเป็นประเทศล้มสลาย พลเมืองจำนวนมากจึงต้องหนีความลำบากมาอยู่ในพื้นที่สันติ และพื้นที่ที่ปลอดภัยที่สุดก็คือการหลบซ่อนในพื้นที่มหาอำนาจเสียเอง

“ผู้ลี้ภัย” ส่วนใหญ่โดยเฉพาะ “ผู้ลี้ภัยสงคราม” จึงเป็นกลุ่มคนที่”น่าสงสาร”แต่ก็มีคนบางกลุ่มใช้ประโยชน์จากความเศร้าเหล่านี้ กลายเป็น”อาวุธทางสังคม”ไปอย่างน่าเศร้า

“จอร์จโซรอส” พ่อมดการเมืองที่เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ทุนนิยม และพรรคการเมืองหลายพรรคทั่วโลก” นั้นทราบดีว่า หลังจาก”ผู้ลี้ภัย”ล้นทะลักเข้าไปอยู่ในทวีปยุโรป จำนวนมากเนื่องจาการความขัดแย้งในตะวันออกกลาง จึงมองเห็นโอกาสในการ”แซะ”ความมั่นคงของประเทศต่างๆ เพื่อให้ เกิดสถานการณ์ที่เอื้อต่อการเมืองทุนนิยมของตนเอง

โดยมีการสนับสนุน เงินทุนให้ “องค์กรช่วยเหลือผู้ลี้ภัย” และองค์กรอิสระเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนซึ่งเขาจัดตั้งขึ้นนั้น หันมาใช้ช่องว่างนี้ ในการสนับสนุน “ผู้ลี้ภัย” โดยเฉพาะ “ผู้ลี้ภัยการเมือง” ในการโจมตีบ้านเกิดเมืองนอนของพวกเขา อีกทั้ง
มีการสนับสนุนกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงบางแห่งเพื่อสร้างเกิดความเกลียดชังจนเป็นแรงกระเพื่อมทางการเมืองในการกีดกันมุสลิมซึ่งการกระทำดังกล่าวนี้ส่งผลเปิดช่องให้เกิดการก่อการร้ายที่อ้างศาสนาเข้ามาป่วนโดยอ้างความแตกแยกทางศาสนา

ทั้งนี้ความแตกแยกที่เกิดขึ้นนี้จะบั่นทอน เสถียรภาพของรัฐบาลประเทศนั้นๆที่ไม่ได้ขึ้นตรงต่อโซรอสนั้นเอง

“ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่ก็ยังเป็นเหยืออยู่ดี” ผลมาจาก สื่อมวลชนบางกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มนายทุนได้ยุแยงให้เกิดการเกลียดชังในสังคม ส่งผลให้คนพวกนี้จงตกอยู่ในความขัดแย้งในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

ในความคิดของข้าพเจ้า – “พวกเขาน่าสงสาร แต่ก็ไม่มีใครกล้ารับพวกเขาเข้าประเทศ เพราะมีผู้อยู่เบื้องหลังใช้ความน่่าสงสารแทรกแซงประเทศของอีกฝ่ายอยู่ดี”

Ethnic Rohingya Muslim refugees hold placards and shout slogans during a protest against the persecution of Rohingya Muslims in Myanmar, outside the Myanmar Embassy in Kuala Lumpur on November 25, 2016.
Around 5,000 Bangladeshi Muslims demonstrated in the capital Dhaka after Friday prayers on November 25, with hundreds more protesting in Kuala Lumpur, Jakarta and Bangkok as Myanmar faced mounting allegations of ethnic cleansing and genocide. / AFP PHOTO / MANAN VATSYAYANA

หากยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน ก็คงไม่พ้นปัญหาผู้ลี้ภัยโรฮิงญา ที่มีประเทศตะวันตกคอยแทรกแซงอยู่…

ยังมีอีกประเด็นที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวของนายทุนสามานต์ คือการสนับสนุน”ชนกลุ่มน้อย”ให้เกิดการแบ่งแยกดินแดนโดยใช้ประชาธิปไตยเครื่องมือ

เราสามารถยกตัวอย่าง กรณีของ กาตาลุญญา-สเปน เป็นต้น ซึ่งในประเด็นนี้ “ผู้ลี้ภัยทางการเมือง” และ”นักข่าว-นักแซะ”ในสังกัดนายทุนมีส่วนในการเคลื่อนไหวเหล่านี้มาก
นายทุนสามานต์ จะได้ประโยชน์จากประเทศเกิดใหม่หรือการเกิดความไม่เสถียรภาพของประเทศนั้นๆผ่านการซื้อขายส่วนต่างค่าเงินและหุ้นนั้นเอง เพราะนั้นเขาไมไ่ด้หวังผลจริงว่าฝ่ายใดจะชนะ ชัดเจนนัก ของเพียงเกิดความขัดแย้งอันส่งผลให้ GDPประเทศ ขึ้นหรือร่วงตามที่ตัวเองกำหนดก็สามารถทำกำไรได้ แต่ประเด็นที่แย่กว่านั้นคือการพยายาม เข้าไปควบคุมรัฐบาลประเทศต่างๆด้วยคนของตัวเอง นั้นเอง

เพราะฉะนั้นแล้วกลไกการเลือกตั้ง ประชาธิปไตย ยังคงเปิดโอกาสให้โซรอสเข้าแทรกแซงอยุ่ตลอดนั้นเอง ประชาชนชาตินั้นๆ ยากที่จะรู้ว่าพรรคใด คนใด ที่โซรอส เลี้ยงไว้ใช้งานอยู่นั้นเอง

ในกรณีของประเทศไทย เคยเจอกับกรณีเหล่านี้หรือไม่?

ฝ่ายทุนสามานต์ได้ สนับสนุนทุนให้กับฝ่ายใดฝ่ายนึงในการสร้างความแตกแยกมาโดยตลอด

นับว่าโชคดีท่ามกลางความโชคร้าย คือประเทศไทยได้รับผลจาการแทรกแซงของทุนนิยมสามานต์มาแล้วตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ.2540 เราผ่านกลยุทธที่ทุนสามานต์ใช้เคลื่อนไหวกดดันประเทศไทยเกือบมาทุกมุขแล้ว และหลายๆครั้งก็โดนก่อนชาติตะวันตก เช่นปัญหาผู้ลี้ภัย การแบ่งแยกดินแดนทั้งสันติวิธีและใช้ความรุนแรง, สงครามเสื้อสี, สงครามระหว่างชนชั้นลัทธิ, การก่อการร้ายจากปัญหาทางศาสนา, รวมไปถึงสงครามที่มีเจตนาเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่ก็รอดพ้นมาโดยตลอด

 

“เรารอดพ้นวิกฤติเพราะในหลวง ร.๙”

เรื่องนี้ขอใช้ภาษาง่ายๆในการอธิบายครับว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่สถาบันพระมหากษัตริย์มีความรู้และมีความเข้มแข็งและเข้าใจในความหลากหลายอันเป็นองค์ประกอบของความเป็นชนชาติไทยได้เป็นอย่างดี การบริหารประเทศที่มุ่งเน้นในการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสโดยไม่เกี่ยวศาสนาชาติพันธ์และยังเอื้อไปสู่เพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศด้อยพัฒนาและกำลังพัฒนา กลายเป็นเกราะที่เข้มแข็งของประเทศไทย ที่ทำให้ประเด็นความขัดแย้งด้าน ศาสนา , ชนกลุ่มน้อย, ความเลื่อมล้ำทางเพศและชนชั้น ซึ่งทั้งหมดมีความเหลื่อมล้ำน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับอีกหลายประเทศ จนทำให้ นักเสี้ยมจากต่างแดนยากที่ จะเสี้ยมให้คนไทย เพราะ สถาบันเบื้องสูงทรงป็นจุดศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งแผ่นดิน

ในหลวงทรงสร้างทฤษฎี “เศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งวิธีนี้ เป็นการสนับสนุนให้สังคมไทยสนับสนุนคนไทยด้วยกันทางเศรษฐกิจในสังคมโดยไม่ฟุ่มเฟื่อยและแข่งขันกันเกินงาม และเป็นการสนับสนุนให้คนไทยสามารถยืนด้วยขาของตัวเอง อยากได้อยากมีอะไรก็สร้างด้วยตนเอง ไม่ต้องไปจ่ายแพงๆเพื่อซื้อของจากต่างประเทศที่มูลค่าสูงเกินความจำเป็น

แม้ว่า”โลกภายนอก”จะมีความเชื่อแบบผิดๆว่า ประเทศไทยเราเป็น”ประเทศล้าหลัง”เพราะเราไม่ค่อยจะมีความเจริญทางวัตถุก็ตาม แต่นั้นก็เพราะเขาต้องการยัดเยียดให้คนไทยซื้อวิทยาการฝรั่งแบบใหม่ๆที่มีมูลค่าสูงเกินความจำเป็นทุกๆปี

 

วัฒนธรรมสังคมไทยอันเป็นเอกลักษณ์ บวกกับการคลังที่เข้มแข็งและการปกครองที่อบอุ่นไม่เลือกปฎิบัติ ทำให้ประเทศไทย เป็นอิจฉาของประเทศทุนนิยมโดยมาก เพราะทุกคนอยู่ได้ด้วยการเกือกูลกันมากกว่าเอาเปรียบกัน
และการที่ประเทศไทยสามารถยืนได้ด้วยตัวเองนั้นส่งผลทำให้ ทุนนิยมทำกำไรจากประเทศไทยได้น้อยลงนั้นเอง

อีกทั้งพระบารมีของในหลวงในการเจริญสัมพันธไมตรี กับมิตรประเทศต่างๆก็ยังแสดงให้เห็นว่าประเทศของเรานี้เป็น ต้นมะม่วงที่ไร้ผล ไร้โทษ ไร้ผลประโยชน์ อันเป็นบ่อเกิดของกิเลส ส่งผลให้เกิดสงครามและการโค่นล้มเหมือนที่ปรากฏในหลากหลายประเทศทั่วโลก

ซึ่งถือเป็นตัวอย่าง “ชาตินิยม”ชั้นดี อันเป็นต้นแบบให้ ชาติจำนวนมากอยากเดินตามประเทศไทย เพราะเป็น”ชาตินิยม” ที่เมตตาต่อเพื่อนบ้าน เป็นชาตินิยมที่ไม่เอาเปรียบผู้อื่นและยังช่วยเหลือให้พัฒนาไปด้วยกัน

แม้ประเทศไทยอาจจะมีปัญหาอยู่บ้าง อย่างเช่น ปัญหาข้อตกลงทางสังคม, ความอ่อนแอของศีลธรรมของผู้คนบางกลุ่มอันเกิดการเอาเปรียบในสังคมและการบังคับใช้กฏหมายที่ไปไม่ถึงผู้ที่ตั้งตนเป็นกฎหมู่ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรัง แต่ยังไม่ใช่ในระดับที่ทำให้แตกแยก เพียงแต่ปัญหาต่างๆต้องถูกนำมาประสานให้เข้าใจในสังคมในขณะที่ภาคประชาชนก็ต้องมีวินัยและสามัคคี และต้องปฎิเสธการคอรัปชั่น ไม่เห็นแก่เงินไม่เอาเปรียบเพื่อนร่วมชาติ ร่วมกันรักษาประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ก็จะผ่านพ้นปัญหาไปได้

ปล ส่วนจะมีพวก “ผู้ลี้ภัยการเมือง” และพวก “ผู้ลี้ภัยนิยม” บางคนออกมาเห่าหอนบ้าง นั้นก็ไม่แปลกครับ เป็นเรื่องของคนขี้อิจฉา