วันเสาร์ 14 กันยายน 2024
  • :
  • :
Latest Update

เมื่อไทยมีเรือดำน้ำ พ.ศ.๒๔๘๐ (มีคลิป)

 

ชมคลิปการเดินทางของ #เรือดำน้ำไทยจากญี่ปุ่นมาไทย เรือดำน้ำทั้ง ๔ ลำ คือ #เรือหลวงสินสมุทร#เรือหลวงพลายชุมพล#เรือหลวงมัจฉาณุ และ #เรือหลวงวิรุณ ออกเดินทางจากเมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๔๘๑ ระหว่างการเดินทางยังได้พบเรือหลวงสีชัง ช่วยส่งเสบียง และแวะจอดที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ก่อนที่จะเดินทางฝ่าคลื่นลมมาถึงฐานทัพเรือสัตหีบ ในวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๔๘๑ รวมระยะทางทั้งสิ้น ๓,๐๐๐ ไมล์ ใช้เวลาเดินเรือและแวะเมืองท่ารวม ๒๔ วัน เมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทยแล้ว เรือดำน้ำทั้ง ๔ ลำ ได้ทำการออกฝึกอย่างต่อเนื่อง
#การฝึกของเรือดำน้ำทั้งสี่ลำ
ในปี พ.ศ.๒๔๘๔ มีการฝึก ๒ ครั้ง

ในภาพอาจจะมี ท้องฟ้า, มหาสมุทร, สถานที่กลางแจ้ง และ น้ำ

เรือดำน้ำมัจฉาณุ

#ครั้งที่๑ ออกเรือไปฝึกวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๘๔ มีกำหนดการฝึก ๑๕ วัน ทำการฝึกบริเวณสนามฝึกสัตหีบ มีเรือดำน้ำออกฝึกทั้ง ๔ ลำ เรือหลวงพงัน เป็นเรือพี่เลี้ยง
#ครั้งที่๒ ออกฝึก ๑๔ พฤศจิกายน ๒๔๘๔ ระยะเวลา ๑๕ วัน สนามฝึกสัตหีบ เรือดำน้ำออกฝึก ๒ ลำ คือ เรือหลวงสินสมุทร และ เรือหลวงพลายชุมพล มีเรือหลวงพงัน เป็นเรือพี่เลี้ยงในภาพอาจจะมี ท้องฟ้า, มหาสมุทร, เรือ, สถานที่กลางแจ้ง, น้ำ และ ธรรมชาติ
#การปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างสงครามอินโดจีน ภายหลังการยุทธที่เกาะช้าง หลังจากเรือหลวงธนบุรี และเรือตอร์ปิโดถูกเรือฝรั่งเศสยิงจมแล้ว เรือดำน้ำทั้ง ๔ ลำ ได้ไปทำการลาดตระเวนเป็น ๔ แนว อยู่บริเวณหน้าฐานทัพเรือเรียมของอินโดจีนฝรั่งเศส ใช้เวลาอยู่ใต้น้ำทั้งสิ้นลำละ ๑๒ ชั่วโมงขึ้นไป คือระหว่าง ๐๖.๐๐ – ๑๘.๐๐ น. กลางคืนแล่นลาดตระเวนบนผิวน้ำ นับเป็นปฏิบัติการดำที่นานที่สุดนับแต่เริ่มตั้งหมวดเรือดำน้ำมา ซึ่งยังปรากฏจากหลักฐานของฝ่ายฝรั่งเศสในการรบที่เกาะช้างว่า ฝรั่งเศสมีความหวั่นเกรงเรือดำน้ำทั้ง ๔ ลำของไทยมาก แต่เพื่อผลของการยุทธ จึงได้ตัดสินใจเสี่ยงเข้ามาปฏิบัติการในอ่าวไทย โดยกำหนดแผนการปฏิบัติเป็นลับ กำหนดช่วงระยะเวลาสั้นมาก เมื่อปฏิบัติการเสร็จก็รีบถอนตัวกลับทันที เพราะเกรงว่าจะถูกต่อตีด้วยเรือดำน้ำ
#การปฏิบัติหน้าที่ในสมัยสงครามโลกครั้งที่๒ ช่วงปลายสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรเอาเครื่องบิน B24 B29 มาทิ้งระเบิดโจมตีกรุงเทพฯ และชานเมือง ยิ่งกว่านั้นยังโปรยทุ่นระเบิดแม่เหล็กปิดเส้นทางเดินเรือตรงปากน้ำสันดอนเอาไว้ทำให้เรือรบทุกลำแม้กระทั่งเรือสินค้าต้องหยุดนิ่งทันที #เรือหลวงพลายชุมพล และ #เรือหลวงสินสมุทร ออกปฏิบัติราชการและจะเดินทางเข้ากรุงเทพฯ อยู่แล้ว จึงต้องแวะที่เกาะสีชังไปก่อน จนกว่าจะทำการกวาดทุ่นระเบิดแม่เหล็กเสร็จเรียบร้อย
#ต่อมาเมื่อโรงไฟฟ้าสามเสนและวัดเลียบที่จ่ายกระแสไฟฟ้าประจำวันถูกระเบิดเรียบ กรุงเทพฯ ยามราตรีมีแต่ความมืดมาครอบงำราวกับเมืองร้าง เนื่องจากชาวกรุงอพยพไปหมด แต่ผู้จัดการไฟฟ้ากรุงเทพฯ ทราบว่า เรือดำน้ำจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ จึงขอร้องมายังกองทัพเรือ แล้วอนุมัติให้ เรือหลวงมัจฉาณุ กับเรือหลวงวิรุณ ไปเทียบท่าบริษัทบางกอกด็อก (บริษัทอู่กรุงเทพปัจจุบัน) #เมื่อเรือดำน้ำทั้งสองลำจ่ายกระแสไฟฟ้าทำให้รถรางสายหลักเมือง_ถนนตกวิ่งได้ ยังความประหลาดใจแก่ชาวบ้านเป็นอันมาก ขณะที่เรือทั้งสองจ่ายกระแสไฟฟ้าอยู่นั้นทหารบนเรือต้องทำงานเสี่ยงอันตรายอย่างหนัก และคอยหลบภัยทางอากาศอยู่ตลอดเวลา#เรือดำน้ำทั้งสี่ลำนี้ได้รับใช้ชาติอย่างสมบูรณ์ในกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสและในสงครามมหาเอเชียบูรพา จนสงครามสงบ
#ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่๒ เรือดำน้ำเหล่านี้เริ่มชำรุดทรุดโทรมไปตามอายุขัย ขาดแคลนชิ้นส่วนที่จะใช้ในการซ่อม การสั่งซื้อจากผู้สร้างไม่อาจทำได้ เพราะญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงครามและถูกยึดครอง กองทัพเรือได้พยายามหาทางที่จะซ่อมแซมเรือเหล่านี้ให้ใช้การได้อยู่หลายปีแต่ก็ไม่บรรลุผลสำเร็จ และรุขายไปในที่สุด ทั้งๆ ที่กองทัพเรือและทหารเรือมีความเสียดายเป็นอย่างยิ่ง
ที่มา หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พลเรือเอกสนอง ธนะศักดิ์ (อดีตผู้บังคับการเรือหลวงสินสมุทร)
ในภาพอาจจะมี สถานที่กลางแจ้ง และ น้ำ

อู่เรือ Mitsubishi เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น

 

ในภาพอาจจะมี ท้องฟ้า, สถานที่กลางแจ้ง และ น้ำ

พิธีรับมอบเรือดำน้ำ ณ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ ๔ กันยายน ๒๔๘๐

 

ในภาพอาจจะมี รองเท้า, ท้องฟ้า และ สถานที่กลางแจ้ง

เรือดำน้ำสินสมุทร ในพิธีปล่อยเรือลงน้ำ เมื่อวันที่ ๑๔ พ.ค.๒๔๘๐ ที่ อู่ Mitsubishi เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น

 

#การเดินทางมาไทย
เรือดำน้ำสองลำแรกในจำนวนสี่ลำที่ประเทศไทยสั่งต่อจากประเทศญี่ปุ่น ได้ต่อเสร็จก่อน คือ เรือหลวงมัจฉานุ และ เรือหลวงวิรุณ ซึ่งได้มีพิธีส่งมอบเรือทั้งสองลำให้แก่ กองทัพเรือ เมื่อวันที่ ๔ กันยายน ๒๔๘๐ โดยมี พระมิตรกรรมรักษา อัครราชทูตไทยในขณะนั้น เป็นประธานในพิธีการปล่อยเรือทั้ง ๒ ลำ ซึ่งต่อมาได้ถือว่า วันที่ ๔ กันยายน ของทุกปี ถือเป็น #วันที่ระลึกเรือดำน้ำไทย

ต่อมาในวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๔๘๑ บริษัทมิตซูบิชิ ได้ทำพิธีส่งมอบเรือดำน้ำที่เหลืออีก ๒ ลำ คือ เรือหลวงสินสมุทร และเรือหลวงพลายชุมพล ให้แก่ กองทัพเรือไทย

เมื่อกองทัพเรือได้รับมอบเรือดำน้ำครบทั้ง ๔ ลำแล้ว ประกอบด้วย เรือหลวงสินสมุทร, เรือหลวงพลายชุมพล, เรือหลวงมัจจาณุ (ลำที่ ๒) และ เรือหลวงวิรุณ จึงได้เริ่มฝึกศึกษาตามหลักสูตรทางวิชาการของเรือดำน้ำเพิ่มเติมจนคล่องแคล่ว และออกเดินทางจากเมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๔๘๑ ถึงประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๑

#กำลังพลรับเรือดำน้ำ ทั้ง ๔ ลำ ประกอบไปด้วย นายทหารสัญญาบัตร ๒๐ นาย นายทหารประทวน ๑๓๔ นาย โดยมีรายนามผู้บังคับการเรือ ดังนี้
*นาวาตรี ซุ้ย (กนก) นพคุณ เป็น #ผู้บังคับการเรือหลวงมัจฉานุ
*เรือเอก พร เดชดำรง เป็น #ผู้บังคับการเรือหลวงวิรุณ
*เรือเอก สาคร จันทร์ประสิทธิ์ เป็น #ผู้บังคับการเรือหลวงพลายชุมพล
*เรือเอก สนอง ธนศักดิ์ เป็น #ผู้บังคับการเรือหลวงสินสมุทร

เรือดำน้ำทั้ง ๔ ลำ เป็นเรือดำน้ำขนาด ๓๗๐ ตัน ในสนนราคาลำละ ๘๘๒,๐๐๐ บาท วางกระดูกงูและปล่อยลงน้ำไล่เลี่ยกัน คือระหว่างเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม ๒๔๗๙ หลังจากมาถึงประเทศไทย ก็ได้ขึ้นระวางประจำการพร้อมกันคือวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๔๘๑

จนกระทั่งในปี พ.ศ.๒๔๘๓ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้อุบัติขึ้น กองทัพเรือ ได้ส่งเรือหลวงมัจฉานุ เรือหลวงวิรุณ เรือหลวงสินสมุทร และเรือหลวงพลายชุมพล ไปทำการลาดตระเวนเป็นแนวหน้าบริเวณฐานทัพเรือเรียมของแหลมอินโดจีน เพื่อป้องกันกองทัพฝรั่งเศสที่จะลอบเข้ามาโจมตีประเทศไทย โดยเรือทั้งสี่ลำจะใช้เวลาอยู่ใต้น้ำ เพื่อเฝ้าสังเกตการณ์ถึงวันละ ๑๒ ชั่วโมง ซึ่งปฏิบัติการณ์ในครั้งนั้น ได้สร้างความยำเกรงให้แก่ฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก ซึ่งบทบาทของเรือดำน้ำแห่งราชนาวีไทยนี้เป็นที่กล่าวขานถึงวีรกรรมอันห้าวหาญของราชนาวีไทย เมื่อเทียบกับกำลังของมหาอำนาจที่มีอยู่เหนือกว่า

ในภาพอาจจะมี สถานที่กลางแจ้ง

เรือดำน้ำไทย จอดเทียบท่าอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา (น่าจะเป็นท่าราชวรดิษฐ์ตรงข้ามกรมอู่ทหารเรือ : แอดมิน) จากภาพถ่ายทางอากาศ ในช่วง ค.ศ.1946 หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดไม่นาน ต้นฉบับของภาพอยู่ที่ University of London ประเทศอังกฤษ คัดลอกภาพและรวบรวมอยู่ในบทความ ชื่อ Williams-Hunt Aerial Photo Collection โดย Col.Surat Lertlum และ Dr.Elizabeth Moore

ในระหว่างสงครามโลก ครั้งที่ ๒ กองทัพเรือได้ส่งนายทหารสัญญาบัตรและประทวน (บางท่านเคยประจำเรือดำน้ำมาก่อน) และช่างของกรมอู่ทหารเรือไปศึกษาและฝึกงานการสร้างแบตเตอรี่ในญี่ปุ่นด้วยความมุ่งหมาย ที่จะผลิตจะแบตเตอรี่ขึ้นใช้ราชการเอง โดยเฉพาะแบตเตอรี่ที่ใช้กับเรือดำน้ำ เมื่อคณะทหารและช่างชุดนี้กลับมาถึงกรุงเทพฯ แล้ว ก็ได้จัดตั้งโรงงานแบตเตอรี่และสีขึ้นทดลองและพัฒนางานี้จนเป็นโรงงานที่ใกล้จะสมบูรณ์ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้ส่งนายทหารไปศึกษาต่อในต่างประเทศและได้พัฒนางานต่อไป เมื่อเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงในวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๙๔ แล้ว หน่วยงานนี้ก็ต้องย้ายไปสังกัดกระทรวงกลาโหม และแปรสภาพเป็น #องค์การแบตเตอรี่ ในเวลาต่อมา

เมื่อสงครามโลก ครั้งที่ ๒ สิ้นสุดลงญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงครามและไม่ได้รับอนุญาตให้ผลิตอาวุธยุทธโธปกรณ์ขายอีก กองทัพเรือจึงเริ่มขาดแคลนชิ้นส่วนอะไหล่ของเรือดำน้ำ โดยเฉพาะแบตเตอรี่ประจำเรือซึ่งได้ใช้งานมาถึง ๙ ปีแล้ว โรงงานแบตเตอรี่และสีที่ตั้งขึ้นก็ยังไม่สามารถผลิตแบตเตอรี่ชนิดนี้ได้ ชาติพันธมิตรของเราก็ไม่มีนโยบายที่จะช่วยเหลือประเทศไทยในเรื่องเรือดำน้ำ

ในวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๔ กองทัพเรือจึงจำเป็นต้อง #ปลดเรือดำน้ำออกจากประจำการ ทั้ง ๔ ลำ การมีเรือดำน้ำในกองทัพเรือไทย จึงสิ้นสุดลงตั้งแต่วันนั้น

เรือดำน้ำทั้ง ๔ ลำ ขึ้นระวางประจำการเมื่อ วันที่ ๑๙ กรกฏาคม ๒๔๘๑ ปลดระวางประจำการ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๔ นับว่าได้รับใช้ชาติเป็นเวลา ๑๒ ปีเศษ และสุดท้าย ได้มีการขายเรือดังกล่าวไปให้บริษัทปูนซีเมนต์ คงเหลือแต่หอเรือดำน้ำและอาวุธบางชิ้น เช่น ปืนและกล้องส่อง ซึ่งต่อมากองทัพเรือได้สร้างสะพานเดินเรือจำลองขึ้น แล้วนำอาวุธมาติดตั้งไว้เป็นอนุสรณ์ จัดแสดงไว้หน้าพิพิธภัณฑ์ทหารเรือ หน้าโรงเรียนนายเรือ ริมถนนสุขุมวิท ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ

 

ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป, สถานที่กลางแจ้ง และ ข้อความในภาพอาจจะมี 4 คนในภาพอาจจะมี 5 คนในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป และ สถานที่กลางแจ้ง