วันจันทร์ 9 กันยายน 2024
  • :
  • :
Latest Update

เสียสัตย์เพื่อชาติ เสียสัตย์เพื่อร่วม เสียสัตย์เพื่อล้ม – ดร.ปิติ ศรีแสงนาม

ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังยิ้ม

เสียสัตย์เพื่อชาติ เสียสัตย์เพื่อร่วม เสียสัตย์เพื่อล้ม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิติ ศรีแสงนาม
คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

7 เมษายน 2535 พลเอกสุจินดา คราประยูร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 19 ของประเทศไทย ทั้งที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญทุกประการ แต่เป็นการ #ตระบัดสัตย์ ที่เคยกล่าวไว้ว่าจะไม่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เหตุการณ์ในครั้งนั้นกลายเป็นชนวนนำไปสู่เหตุการณ์นองเลือด “#พฤษภาทมิฬ” ระหว่างวันที่ 17-24 พฤษภาคม 2535 ผมเชื่อว่าคนรุ่นใหม่จำนวนมากไม่ได้มีความรับรู้ในประวัติศาสตร์การเมืองดังกล่าว ในขณะที่คนไทยวัยกลางคนขึ้นไปยังจำเหตุการณ์ครั้งนั้นได้ดี เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ยุติลงหลังจากการฆ่ากันเองของประชาชนชาวไทย เนื่องจากในคืนวันที่ 20 พฤษภาคม 2535 #ในหลวงรัชกาลที่9 มีรับสั่งให้ผู้นำทั้งสองฝ่าย คือพลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง เข้าเฝ้า โดยผู้ที่นำเข้าเฝ้าคือพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ประธานองคมนตรี ในขณะนั้น และนี่คือ #รูปแบบประชาธิปไตยและสังคมวัฒนธรรมของประเทศไทยที่ผูกพันลึกซึ้งกับสถาบันพระมหากษัตริย์

24 มีนาคม 2562 การเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ที่ถือเป็นอีกหนึ่งจุดเปลี่ยนสำคัญของประเทศไทยสิ้นสุดลงพร้อมกับความคลุมเครือในหลายๆ เรื่อง แต่ในอีกไม่กี่วันต่อมาผมเชื่อว่าคนรุ่นใหม่จำนวนมากรวมทั้งผู้ใหญ่อีกหลายๆ ท่านที่ให้โอกาสนักการเมืองรุ่นใหม่ที่เสนอตัวเข้ามาทำงานการเมืองด้วยวิธีคิดที่ทันสมัยบนหลักการหลายๆ เรื่องที่พวกเราอยากเห็นในหน้าการเมืองไทย ในนาม “#พรรคอนาคตใหม่” แต่พรรคอนาคตใหม่กลับ “#เสียสัตย์

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 ที่พรรคอนาคตใหม่ อาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ กล่าวว่า “วันนี้พรรคเดินทางไปกกต. เพื่อยื่นรายชื่อผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ และชื่อของแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ซึ่งพรรคอนาคตใหม่เสนอ คุณธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นนายกรัฐมนตรี เราเห็นว่ามีความเหมาะสมมากในช่วงเวลานี้ และเมื่อพิจารณารายชื่อว่าที่นายกรัฐมนตรีของพรรคอื่นๆ แล้ว ยิ่งมีความมั่นใจว่า คุณธนาธรมีความเหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุด เพราะมีจุดเด่นเรื่องบริหารงานเป็น และจุดยืนเรื่องประชาธิปไตยที่ชัดเจน” อาจารย์ปิยบุตรยังกล่าวต่ออีกว่า “การเลือกตั้ง 24 มี.ค. นี้ ไม่เพียงแต่เป็นการเลือกตั้งเพื่อยุติการสืบทอดอำนาจของ คสช.เท่านั้น แต่พรรคอนาคตใหม่ยืนยันว่า จำเป็นต้องยืนยันหลักการเรื่อง #นายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส.ด้วย เราต้องไม่ลืมว่าหลักการนี้ เป็นการต่อสู้กันอย่างยาวนานของประชาชนผู้รักชาติ รักประชาธิปไตย เพื่อจะยืนยันหลักการว่านายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส. เราผ่านเหตุการณ์ตั้งแต่ 14 ตุลาคม 2516, 6 ตุลาคม 2519 ผ่านช่วงประชาธิปไตยครึ่งใบที่เลือกตั้งกี่ครั้งสุดท้ายก็เชิญคนนอก เชิญคนที่ไม่ได้เป็น ส.ส. เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีทุกครั้ง กว่าจะได้หลักการนี้ยืนหยัดปักฐานในรัฐธรรมนูญก็ต้องรอหลังพฤษภาคมปี 2535 ประชาชนเสียเลือดเนื้อ เสียชีวิตไปจำนวนมาก เพื่อจะได้นายกรัฐมนตรีที่มาจาก ส.ส. เราไม่ต้องการนายกฯ คนนอกอีกแล้ว” (ที่มา: https://www.khaosod.co.th/election-2019/news_2180467)

แต่แล้วในวันที่ 27 มีนาคม 2562 ที่โรงแรม Lancaster เราก็ได้ฟังคุณธนาธรแถลงจุดยืนของพรรคหลังการเลือกตั้งว่า พรรคอนาคตใหม่ มี จุดยืน 5 ข้อ
1. ยืนยันว่า จะร่วมกับพรรคการเมืองที่ร่วมแถลงข่าววันนี้ ต้านอำนาจ คสช. อย่างเต็มที่ แม้หนทางข้างหน้าจะต้องฝ่าฟัน 250 ส.ว. แต่ก็จะร่วมกันทำงาน
2. จะเชิญชวนพรรคการเมืองอื่น ที่สัญญาประชาชนไว้ ว่า จะมีสนับสนุนการสืบทอดอำนาจ มาทำงานร่วมกัน
3. อนาคตใหม่ ยืนยันเหมือนเดิมว่า นายกฯ ต้องมาจากพรรคที่ได้ ส.ส. เป็นอันดับ 1 โดย พรรคอนาคตใหม่ จะ #สนับสนุนคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เป็นนายกฯ เพราะเหมาะสมที่สุดกับประเทศไทย
4. เรียกร้องต่อพรรคการเมือง ที่ต้องการจะตั้งรัฐบาลจากเสียงข้างน้อย โดยใช้เสียง ส.ว.หนุน รังแต่จะสร้างความวุ่นวายให้สังคม และทำให้สังคมเดินไปสู่ทางตัน และ
5. เรียกร้องให้กกต. ทำหน้าที่อย่างบริสุทธิ์ ยุติธรรม เราเรียกร้องให้ กกต. เปิดผลทุกหน่วย ที่มีการมาใช้สิทธิ์ ให้สามารถตรวจสอบได้ (ที่มา: https://www.khaosod.co.th/election-2019/news_2351820)

และในวันนี้วันที่ 28 มีนาคม 2562 กกต. ประกาศผลการนับคะแนนทั้ง 100% และพรรคเพื่อไทยไม่ได้ สส.แบบบัญชีรายชื่อแม้แต่คนเดียว นั่นทำให้ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ไม่ได้เป็น สส. นั่นหมายความว่า อนาคตใหม่เสียสัตย์

สำหรับตัวผมเองที่ออกตัวไว้ในหลายวาระว่าผมเชียร์พรรคนี้ และตอนนี้ผมเสียใจที่สุด ถึงแม้ที่ผ่านมาพรรคอนาคตใหม่อาจจะตั้งใจหรือผิดพลาดโดยไม่ได้ตั้งใจในการใช้ข้อมูลที่บิดเบือนมาเป็นประโยชน์ในการหาเสียง และผมเคยกล่าวตักเตือนผ่านทาง Facebook (ดู https://www.facebook.com/piti.srisangnam/posts/10156920452017225) ซึ่งก็มีสื่ออีกหลายๆ สำนักนำไปเผยแพร่ต่อ แต่ตัวผมเองก็ยังเชียร์ให้นักการเมืองรุ่นใหม่เหล่านี้ได้มีโอกาส ที่ติก็เพื่อให้เขาปรับตัว ไม่ใช้วิธีแบบการเมืองเก่าๆ ในการหาเสียง เพราะในแวดวงการเมืองไทยซึ่งมีความสกปรกและวนอยู่ในวังวนของนักการเมืองหน้าเดิมๆ เราต้องการนักการเมืองที่เป็นคนรุ่นใหม่ เราต้องให้โอกาสคนรุ่นใหม่ได้แสดงฝีมือ

แต่ตอนนี้ผมกำลังเสียใจ และเชื่อว่าหลายๆ คนที่ให้โอกาสพรรคการเมืองนี้ด้วยการลงคะแนนเลือกพวกเขาเข้ามาอย่างท้วมท้นเกินความคาดหวังก็กำลังเสียใจ เพราะการที่อนาคตใหม่สนับสนุนคุณหญิงสุดารัตน์ จะทำให้เกิดรอยแผลเป็น พรรคการเมืองรุ่นใหม่อย่างอนาคตใหม่ ไม่น่าเริ่มต้นการเมือง ด้วยการเสียคำพูดครับ แน่นอน พรรคอาจจะบอกว่า ก็ในเมื่อกติกามันไม่ยุติธรรม กติกาไม่ดี รัฐธรรมนูญ 2560 ต้องถูกแก้ไขทั้งฉบับ แต่ถ้าเลือกจะลงเล่นเกมในกติกานี้แล้ว และเป็นคนตั้งเงื่อนไขเอาไว้เอง ก็น่าจะต้องยอมรับครับ ถึงจะสง่างามสมเป็นคนรุ่นใหม่ มิฉะนั้นมันก็จะเป็นการนำมาคนรุ่นใหม่เข้ารูปแบบวังวนการเมืองแบบเดิมแบบที่พวกคุณในพรรคอนาคตใหม่รังเกียจ นั้นคือ ตอนหาเสียงพูดไว้อย่างนึง ตอนนี้พอจะตั้งรัฐบาลก็มีข้ออ้างมากมายเพื่อให้ตนเองเสียสัจจะวาจาได้

อนาคตใหม่เคยบอกว่า ไม่เสียใจที่จะเป็นฝ่ายค้าน แต่ตอนนี้ยอมเสียสัตย์ โดยอ้างว่ากติกาไม่ดี ทั้งที่รู้ตั้งแต่ต้น และก็บอกเองว่ากติกาไม่ดี ตอนนั้นไม่ได้มีใครบังคับนะครับว่าให้คุณธนาธรและอาจารย์ปิยบุตรตั้งเงื่อนไขแบบนี้ ผมเสียใจและผิดหวังที่เห็นคนรุ่นใหม่ไม่สามารถก้าวพ้นวังวนการเมืองเก่าๆ ไปได้

และในเมื่อพวกคุณเสียสัตย์ไปแล้ว #คราวนี้จะให้ผมเชื่อใจได้อย่างไรว่าพวกคุณจะไม่เสียสัตย์อีกในอนาคต โดยเฉพาะกับเรื่องสำคัญๆ ที่คนไทยจำนวนมากหวาดระแวงจากแนวคิดในอดีตของพวกคุณ
เนื่องจากผมเป็นคนหนึ่งที่เชียร์การทำงานของพวกคุณมาโดยตลอดทำให้ผมได้มีโอกาสอ่าน Manifesto (คำประกาศเจตนารมน์ในการก่อตั้งพรรคและแนวนโยบายของพรรค) และได้ติดตามการแถลงของอาจารย์ปิยบุตรว่า #อนาคตใหม่จะไม่แก้ไขมาตรา 112 (ดู https://www.youtube.com/watch?v=H8SYbbxSRBY) เคยแม้แต่การออกตัวกับสื่ออาวุโสอย่างคุณสุทธิชัย หยุ่น ในรายการ Suthichai Live ในวันที่หลายๆ คนเคลือบแคลงในแนวทางทางการเมืองของพรรคอนาคตใหม่ว่า ที่ประกาศว่าจะเข้าไปแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับนั้น พรรคอนาคตใหม่จะแก้ไขมาตรา 112 ด้วยหรือไม่ ผมออกตัวในรายการเลยว่า ถ้าอ่านจากนโยบายของพรรค พรรคอนาคตใหม่ไม่มีข้อเสนอที่จะแก้รัฐธรรมนูญ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสถาบัน และไม่แก้ไข กฎหมายอาญามาตรา 112 (ดู https://www.facebook.com/suthichai.yoon/videos/10157297821181209/) ซึ่งแน่นอนว่าประเด็นนี้เป็นเรื่องที่หลายฝ่ายหนักใจกับ

แนวคิดที่อาจารย์ปิยบุตรเคยแสดงออกในหลายวาระ ผมก็เป็นคนหนึ่งที่ยืนยันให้ว่า นโยบายพรรคเขาไม่มีเรื่องนี้นะ แต่วันนี้วันที่พวกคุณเริ่มต้นชีวิตการเมืองด้วยการเสียสัตย์ จะให้ผมเชื่อได้อย่างไรว่าพวกคุณจะยังยึดมั่นในการทำงานตามแนวนโยบายที่คุณวางเอาไว้ เมื่อถือเวลาที่คุณต้องการแก้รัฐธรรมนูญ จะมีอะไรเป็นสิ่งที่ทำให้ผมและคนไทยหลายๆ คนที่สนับสนุนคุณเชื่อได้ว่าคุณจะไม่แก้ไขในส่วนของสถาบัน และไม่แก้ไขมาตรา 112 ของกม.อาญาให้เป็นไปในรูปแบบที่คุณเคยเสนอแนวคิดไว้ในอดีต แนวคิดที่คุณไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจในบริบทที่แตกต่าง เงื่อนไขที่แตกต่างในแต่ละสังคมเลย

อาจารย์ปิยบุตรเคยแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผยในเวทีที่มีการเผยแพร่ทางสื่อมากมาย เช่น ในการเสวนาหัวข้อ “การเมือง ความยุติธรรม สถาบันกษัตริย์” ซึ่งจัดโดยกลุ่ม 24 มิถุนาฯ เมื่อวันที่ 17/2/2013 (ดู https://www.youtube.com/watch…)

โดยอาจารย์กล่าวในนาทีที่ 5.38 ถึงบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยในรูปแบบที่ผมเชื่อว่าคนไทยจำนวนมากไม่เห็นด้วย หรือในนาทีที่ 7.25 อาจารย์ปิยบุตรก็กล่าวถึงแนวคิดของ Louis Antoine de Saint-Just อาจารย์บอกว่าเขาอภิปรายไว้ดีมาก ในการพิจารณาคดีของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 “คุณไม่ต้องไปดูหรอกว่าองค์พระประมุขหรือพระมหากษัตริย์เขาจะเป็นคนดี หรือ คนเลว เขาจะทำงานดี หรือ ทำงานไม่ดี โดยสภาพการณ์ของสถาบันกษัตริย์ ลักษณะของสถาบันกษัตริย์ มันเป็น Tyranny มันเป็นทรราชในตัวมันเอง” “การเป็นทรราชไม่ได้ถือว่าเป็นคนเลว แต่เพราะการถืออำนาจของทั้งหมดทุกคนไปถือไว้ที่คนคนเดียว มันผิดตั้งแต่แรกแล้ว มันผิดตั้งแต่วันเริ่มต้น โดยลักษณะทางธรรมชาติของตัวสถาบันเอง ไม่ได้เกี่ยวกับตัวบุคคลใดๆ ทั้งสิ้น” แล้วอาจารย์ก็พูดต่อในนาทีที่ 8.20 ในสิ่งที่ผมเชื่ออีกเหมือนกันว่าคนไทยส่วนใหญ่ไม่ยอมรับ และแสดงให้เห็นว่าอาจารย์อาจจะยังไม่ค่อยเข้าใจเงื่อนไขและบริบทของสังคมไทย

จริงๆ ผมก็พยายามไปหา Quote ของ Louis Antoine de Saint-Just ที่อาจารย์ปิยบุตรอ้าง แต่ผมยังหาไม่เจอ อันที่ใกล้เคียงที่สุดน่าจะเป็นอันนี่ครับ “One cannot reign innocently: the insanity of doing so is evident. Every king is a rebel and a usurper.” ซึ่งแปลมาจากภาษาฝรั่งเศสว่า “On ne peut point régner innocemment : la folie en est trop évidente. Tout roi est un rebelle et un usurpateur.” โดยอยู่ในคำปาฐกถาเรื่อง Sur le jugement de Louis XVI (1er discours) ที่เขากล่าวต่อ the National Convention เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 1792 (November 13, 1792). ซึ่งส่วนของการขยายความที่อาจารย์ปิยบุตรกล่าวต่อ ผมยังหาไม่เจอ หรืออาจจะเป็นการวิเคราะห์โดยตัวอาจารย์เองก็ได้ แต่ผมคิดว่าแนวคิดแบบนี้อันตรายครับ

และคนอย่าง Louis Antoine de Saint-Just เองก็ไม่ใช่คนที่น่าจะยกเป็นตัวอย่างเมื่อต้องการจะทำความเข้าใจระบบประชาธิปไตยครับ เพราะถึงแม้ตัวแกจะเป็นคนรุ่นหนุ่มอายุน้อยที่ได้เป็นหนึ่งในคณะแกนนำที่ทำให้เกิด #การปฏิวัติฝรั่งเศส ในปี 1789 แต่ภายหลังการก่อตั้งสาธารณรัฐที่ 1 (First French Republic) คนอย่าง Louis Antoine de Saint-Just ที่มีความคิดรุนแรงในลักษณะอำนาจนิยม กลับได้ชื่อว่าเป็นหน้าตา หรือเป็นกระบอกเสียงของ #ยุคสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว (the Face of the #ReignOfTerror)

Reign of Terror หรือ la Terreur เริ่มต้นเมื่อ 5 กันยายน 1793 ถึง 28 กรกฎาคม 1794) หรือที่เรียกว่า The Terror (la Terreur) เป็นสมัยแห่งความรุนแรงที่เกิดขึ้นหลังการปฏิวัติฝรั่งเศสเริ่มต้น โดยถูกกระตุ้นจากความขัดแย้งระหว่างกลุ่มแยกทางการเมืองที่เป็นคู่แข่งกัน คือ Girondins และ Jacobins โดย Louis Antoine de Saint-Just ที่อาจารย์ปิยบุตรนำมาอ้างอยู่ในฝ่ายของ Jacobins และเริ่มต้นกระบวนการประหารชีวิต “ศัตรูแห่งการปฏิวัติ” หรือผู้ที่มีความเห็นขัดแย้งกับแกนนำของฝ่ายปฏิวัติเป็นจำนวนมาก ยอดผู้เสียชีวิตเฉพาะที่ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตินอยู่ที่ 16,594 คน และอีกมากกว่า 25,000 คน ถูกฆ่าโดยไม่มีกระบวนการยุติธรรมทั่วประเทศฝรั่งเศส ทำไมอาจารย์ชอบอ้างคนแบบนี้ครับ

ยังมีอีกหลายวาระ หลายโอกาสครับ ที่อาจารย์แสดงความคิดเห็นต่อสถาบันในรูปแบบที่คนไทยหลายๆ คนกังวล อาทิ ในเวทีเสวนา “#กษัตริย์ศึกษาในรัฐไทย” (ดู https://www.youtube.com/watch?v=U6bPNVK83jU&t=99s) หรือสนทนาวิชาการที่อาจารย์จัดกับภรรยาในหัวข้อ “#ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” กับ Constitutional Monarchy (ดู https://www.youtube.com/watch?v=XYE1g6wlPk0&t=29s) รวมทั้งข้อเสนอของอาจารย์ในวงเสวนา “#แขวนเสรีภาพ” (ดู https://www.youtube.com/watch?v=PnNZSXiDcJU)
ผมเลือกคลิปที่เป็นการบรรยายฉบับเต็มของอาจารย์มาให้พิจารณาครับ เพราะไม่อยากให้ผู้อ่านได้ดูคลิปที่มีการตัดตอน ตัดต่อเฉพาะบางช่วง เพราะมันอาจจะบิดเบือนข้อเท็จจริง แต่จากคลิปฉบับเต็มๆ ที่ผมนำมาให้พิจารณา จะให้ได้ครับว่าตลอดเวลาที่ผ่านมาหลายๆปี ในหลายๆวาระ หลายๆโอกาส อาจารย์ปิยบุตรได้แสดงให้เห็นจุดยืนของอาจารย์อย่างชัดเจน

และจุดยืนของอาจารย์คือสิ่งที่ผมเชื่อว่าหลายๆ ฝ่ายของสังคมไทยกังวลและหวาดกลัวครับ ผมเชื่อว่าสถาบันหลักของประเทศไทยมีบริบทเฉพาะที่แตกต่าง และมีความสำคัญยิ่งต่อความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของไทย อาจารย์ปิยบุตรและพรรคอนาคตใหม่เคย “#เสียสัตย์เพื่อร่วม…” ไปแล้ว ผมหวังว่าอาจารย์จะไม่เสียสัตย์ที่อาจารย์เคยแจ้งไว้นะครับว่าอาจารย์และพรรคอนาคตใหม่จะไม่เข้าไปแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตราที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดของอาจารย์ในประเด็นที่ผมยกมา เพราะผมไม่อยากให้อาจารย์และพรรคอนาคตใหม่ “#เสียสัตย์เพื่อล้ม…” ครับ

และในเมื่อพวกคุณเสียสัตย์ไปแล้ว #คราวนี้จะให้ผมเชื่อใจได้อย่างไรว่าพวกคุณจะไม่เสียสัตย์อีกในอนาคต โดยเฉพาะกับเรื่องสำคัญๆ ที่คนไทยจำนวนมากหวาดระแวงจากแนวคิดในอดีตของพวกคุณ
เนื่องจากผมเป็นคนหนึ่งที่เชียร์การทำงานของพวกคุณมาโดยตลอดทำให้ผมได้มีโอกาสอ่าน Manifesto (คำประกาศเจตนารมน์ในการก่อตั้งพรรคและแนวนโยบายของพรรค) และได้ติดตามการแถลงของอาจารย์ปิยบุตรว่า #อนาคตใหม่จะไม่แก้ไขมาตรา 112 (ดู https://www.youtube.com/watch?v=H8SYbbxSRBY) เคยแม้แต่การออกตัวกับสื่ออาวุโสอย่างคุณสุทธิชัย หยุ่น ในรายการ Suthichai Live ในวันที่หลายๆ คนเคลือบแคลงในแนวทางทางการเมืองของพรรคอนาคตใหม่ว่า ที่ประกาศว่าจะเข้าไปแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับนั้น พรรคอนาคตใหม่จะแก้ไขมาตรา 112 ด้วยหรือไม่ ผมออกตัวในรายการเลยว่า ถ้าอ่านจากนโยบายของพรรค พรรคอนาคตใหม่ไม่มีข้อเสนอที่จะแก้รัฐธรรมนูญ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสถาบัน และไม่แก้ไข กฎหมายอาญามาตรา 112 (ดู https://www.facebook.com/suthichai.yoon/videos/10157297821181209/) ซึ่งแน่นอนว่าประเด็นนี้เป็นเรื่องที่หลายฝ่ายหนักใจกับ

แนวคิดที่อาจารย์ปิยบุตรเคยแสดงออกในหลายวาระ ผมก็เป็นคนหนึ่งที่ยืนยันให้ว่า นโยบายพรรคเขาไม่มีเรื่องนี้นะ แต่วันนี้วันที่พวกคุณเริ่มต้นชีวิตการเมืองด้วยการเสียสัตย์ จะให้ผมเชื่อได้อย่างไรว่าพวกคุณจะยังยึดมั่นในการทำงานตามแนวนโยบายที่คุณวางเอาไว้ เมื่อถือเวลาที่คุณต้องการแก้รัฐธรรมนูญ จะมีอะไรเป็นสิ่งที่ทำให้ผมและคนไทยหลายๆ คนที่สนับสนุนคุณเชื่อได้ว่าคุณจะไม่แก้ไขในส่วนของสถาบัน และไม่แก้ไขมาตรา 112 ของกม.อาญาให้เป็นไปในรูปแบบที่คุณเคยเสนอแนวคิดไว้ในอดีต แนวคิดที่คุณไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจในบริบทที่แตกต่าง เงื่อนไขที่แตกต่างในแต่ละสังคมเลย

อาจารย์ปิยบุตรเคยแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผยในเวทีที่มีการเผยแพร่ทางสื่อมากมาย เช่น ในการเสวนาหัวข้อ “การเมือง ความยุติธรรม สถาบันกษัตริย์” ซึ่งจัดโดยกลุ่ม 24 มิถุนาฯ เมื่อวันที่ 17/2/2013 (ดู https://www.youtube.com/watch…)

โดยอาจารย์กล่าวในนาทีที่ 5.38 ถึงบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยในรูปแบบที่ผมเชื่อว่าคนไทยจำนวนมากไม่เห็นด้วย หรือในนาทีที่ 7.25 อาจารย์ปิยบุตรก็กล่าวถึงแนวคิดของ Louis Antoine de Saint-Just อาจารย์บอกว่าเขาอภิปรายไว้ดีมาก ในการพิจารณาคดีของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 “คุณไม่ต้องไปดูหรอกว่าองค์พระประมุขหรือพระมหากษัตริย์เขาจะเป็นคนดี หรือ คนเลว เขาจะทำงานดี หรือ ทำงานไม่ดี โดยสภาพการณ์ของสถาบันกษัตริย์ ลักษณะของสถาบันกษัตริย์ มันเป็น Tyranny มันเป็นทรราชในตัวมันเอง” “การเป็นทรราชไม่ได้ถือว่าเป็นคนเลว แต่เพราะการถืออำนาจของทั้งหมดทุกคนไปถือไว้ที่คนคนเดียว มันผิดตั้งแต่แรกแล้ว มันผิดตั้งแต่วันเริ่มต้น โดยลักษณะทางธรรมชาติของตัวสถาบันเอง ไม่ได้เกี่ยวกับตัวบุคคลใดๆ ทั้งสิ้น” แล้วอาจารย์ก็พูดต่อในนาทีที่ 8.20 ในสิ่งที่ผมเชื่ออีกเหมือนกันว่าคนไทยส่วนใหญ่ไม่ยอมรับ และแสดงให้เห็นว่าอาจารย์อาจจะยังไม่ค่อยเข้าใจเงื่อนไขและบริบทของสังคมไทย

จริงๆ ผมก็พยายามไปหา Quote ของ Louis Antoine de Saint-Just ที่อาจารย์ปิยบุตรอ้าง แต่ผมยังหาไม่เจอ อันที่ใกล้เคียงที่สุดน่าจะเป็นอันนี่ครับ “One cannot reign innocently: the insanity of doing so is evident. Every king is a rebel and a usurper.” ซึ่งแปลมาจากภาษาฝรั่งเศสว่า “On ne peut point régner innocemment : la folie en est trop évidente. Tout roi est un rebelle et un usurpateur.” โดยอยู่ในคำปาฐกถาเรื่อง Sur le jugement de Louis XVI (1er discours) ที่เขากล่าวต่อ the National Convention เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 1792 (November 13, 1792). ซึ่งส่วนของการขยายความที่อาจารย์ปิยบุตรกล่าวต่อ ผมยังหาไม่เจอ หรืออาจจะเป็นการวิเคราะห์โดยตัวอาจารย์เองก็ได้ แต่ผมคิดว่าแนวคิดแบบนี้อันตรายครับ

และคนอย่าง Louis Antoine de Saint-Just เองก็ไม่ใช่คนที่น่าจะยกเป็นตัวอย่างเมื่อต้องการจะทำความเข้าใจระบบประชาธิปไตยครับ เพราะถึงแม้ตัวแกจะเป็นคนรุ่นหนุ่มอายุน้อยที่ได้เป็นหนึ่งในคณะแกนนำที่ทำให้เกิด #การปฏิวัติฝรั่งเศส ในปี 1789 แต่ภายหลังการก่อตั้งสาธารณรัฐที่ 1 (First French Republic) คนอย่าง Louis Antoine de Saint-Just ที่มีความคิดรุนแรงในลักษณะอำนาจนิยม กลับได้ชื่อว่าเป็นหน้าตา หรือเป็นกระบอกเสียงของ #ยุคสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว (the Face of the #ReignOfTerror)

Reign of Terror หรือ la Terreur เริ่มต้นเมื่อ 5 กันยายน 1793 ถึง 28 กรกฎาคม 1794) หรือที่เรียกว่า The Terror (la Terreur) เป็นสมัยแห่งความรุนแรงที่เกิดขึ้นหลังการปฏิวัติฝรั่งเศสเริ่มต้น โดยถูกกระตุ้นจากความขัดแย้งระหว่างกลุ่มแยกทางการเมืองที่เป็นคู่แข่งกัน คือ Girondins และ Jacobins โดย Louis Antoine de Saint-Just ที่อาจารย์ปิยบุตรนำมาอ้างอยู่ในฝ่ายของ Jacobins และเริ่มต้นกระบวนการประหารชีวิต “ศัตรูแห่งการปฏิวัติ” หรือผู้ที่มีความเห็นขัดแย้งกับแกนนำของฝ่ายปฏิวัติเป็นจำนวนมาก ยอดผู้เสียชีวิตเฉพาะที่ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตินอยู่ที่ 16,594 คน และอีกมากกว่า 25,000 คน ถูกฆ่าโดยไม่มีกระบวนการยุติธรรมทั่วประเทศฝรั่งเศส ทำไมอาจารย์ชอบอ้างคนแบบนี้ครับ

ยังมีอีกหลายวาระ หลายโอกาสครับ ที่อาจารย์แสดงความคิดเห็นต่อสถาบันในรูปแบบที่คนไทยหลายๆ คนกังวล อาทิ ในเวทีเสวนา “#กษัตริย์ศึกษาในรัฐไทย” (ดู https://www.youtube.com/watch?v=U6bPNVK83jU&t=99s) หรือสนทนาวิชาการที่อาจารย์จัดกับภรรยาในหัวข้อ “#ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” กับ Constitutional Monarchy (ดู https://www.youtube.com/watch?v=XYE1g6wlPk0&t=29s) รวมทั้งข้อเสนอของอาจารย์ในวงเสวนา “#แขวนเสรีภาพ” (ดู https://www.youtube.com/watch?v=PnNZSXiDcJU)
ผมเลือกคลิปที่เป็นการบรรยายฉบับเต็มของอาจารย์มาให้พิจารณาครับ เพราะไม่อยากให้ผู้อ่านได้ดูคลิปที่มีการตัดตอน ตัดต่อเฉพาะบางช่วง เพราะมันอาจจะบิดเบือนข้อเท็จจริง แต่จากคลิปฉบับเต็มๆ ที่ผมนำมาให้พิจารณา จะให้ได้ครับว่าตลอดเวลาที่ผ่านมาหลายๆปี ในหลายๆวาระ หลายๆโอกาส อาจารย์ปิยบุตรได้แสดงให้เห็นจุดยืนของอาจารย์อย่างชัดเจน

และจุดยืนของอาจารย์คือสิ่งที่ผมเชื่อว่าหลายๆ ฝ่ายของสังคมไทยกังวลและหวาดกลัวครับ ผมเชื่อว่าสถาบันหลักของประเทศไทยมีบริบทเฉพาะที่แตกต่าง และมีความสำคัญยิ่งต่อความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของไทย อาจารย์ปิยบุตรและพรรคอนาคตใหม่เคย “#เสียสัตย์เพื่อร่วม…” ไปแล้ว ผมหวังว่าอาจารย์จะไม่เสียสัตย์ที่อาจารย์เคยแจ้งไว้นะครับว่าอาจารย์และพรรคอนาคตใหม่จะไม่เข้าไปแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตราที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดของอาจารย์ในประเด็นที่ผมยกมา เพราะผมไม่อยากให้อาจารย์และพรรคอนาคตใหม่ “#เสียสัตย์เพื่อล้ม…” และถูกตราหน้าว่า #พ่อหักหลังฟ้า เพราะมันคือการทรยศต่อคนจำนวนมากที่ไว้ใจพวกคุณครับ

#เสียงเตือนด้วยความหวังดี (#ปรโตโฆษะ) จาก #กัลยณมิตร มักจะไม่หวานหูครับ ส่วนใหญ่จะเป็นการ #วิพากษ์วิจารณ์ แต่ขอให้คนรุ่นใหม่เปิดใจรับฟัง ผมไม่ได้เขียนบทความนี้เมื่อมุ่งโจมตีอนาคตใหม่ แต่ผมหวังดี #อยากให้คนรุ่นใหม่เดินเข้าสู่การเมืองด้วยความสง่างาม ผมอาจจะไม่ได้ไปเตือนหรือไปวิพากษ์พรรคการเมืองอื่นๆ ที่เป็นรุ่นเก่า เพราะผมคิดว่าพวกเขาติดกับดักอยู่ในวังวนการเมืองน้ำเน่าไปแล้ว เตือนไปก็คงไม่มีอะไรดีขึ้น แต่พวกคุณ พรรคอนาคตใหม่ คือน้ำดี ที่ผมไม่อยากให้มีแผล

ผมเชื่อว่า #รัฐบาลใหม่คงอยู่ได้ไม่นาน แล้วเราก็จะมีการ #เลือกตั้งใหม่อีกครั้ง #การรักษาสัจจะ #ไม่จำเป็นต้องเข้าร่วมกับทั้งฝ่ายเพื่อไทยและพลังประชารัฐ หากแต่ทำตัว #เป็นฝ่ายค้านที่ดี #ตรวจสอบ #เอาคนผิดมาลงโทษ #ทำงานหนักในการแก้ไขกฎกติกา ร่วมกับทุกฝ่ายทั้งในและนอกสภา ผมเชื่อว่าจุดยืนที่หนักแน่น รักษาสัจจะ จะทำให้ในการเลือกตั้งครั้งหน้า พรรคอนาคตใหม่จะยิ่งสง่างามและได้การสนับสนุนมากยิ่งขึ้น เพราะคุณได้พิสูจน์ตัวเองแล้วว่า คุณมีเกียรติ คุณมีจุดยืน คุณเป็นคนรุ่นใหม่ที่ต้องการเห็นประเทศไทยดีขึ้นจริงๆ

#พ่อหักหลังฟ้า