วันเสาร์ 27 กรกฎาคม 2024
  • :
  • :
Latest Update

จับประเด็นประวัติศาสตร์: ปรีดีและสมุดปกเหลือง เบื้องแรกคอมมิวนิสต์

ก่อนหน้า การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7  พระองค์มีพระราชปรารภจะพระราชทานรัฐธรรมนูญการปกครองให้แก่สยาม โดยพระองค์ได้มอบหมายให้นายเรย์มอนด์ บาร์ทเล็ตต์ สตีเฟนส์ ที่ปรึกษานโยบายต่างประเทศชาวอเมริกัน และพระยาศรีวิสารวาจา ร่วมกันทำบันทึกความเห็นในเรื่องดังกล่าว แต่ถูกทักท้วงจากพระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่จึงได้ระงับไปก่อน

ร่างรัฐธรรมนูญของเรย์มอนด์ บี. สตีเวนส์และพระยาศรีวิสารวาจา พ.ศ. 2474 ที่เรียก An outline of changes in the form of government มีใจความว่า

“ให้พระมหากษัตริย์ยังคงเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารและรัฏฐาธิปัตย์ นายกรัฐมนตรีมาจากการแต่งตั้งของและต้องรับผิดชอบต่อพระมหากษัตริย์ มีสภานิติบัญญัติซึ่งสมาชิกมาจากการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์และการเลือกตั้งอย่างละเท่า ๆ กัน กรณีที่เกิดข้อพิพาทระหว่างสภากับนายกรัฐมนตรีให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้ตัดสิน พระมหากษัตริย์มีอำนาจยับยั้ง และสามารถออกกฎหมายฉุกเฉินได้โดยไม่ต้องผ่านสภา”

แต่ก็เกิดการปฏิวัติยึดอำนาจการปกครอง(coup d’etat)ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475ด้วยกำลังทหาร ขึ้นเสียก่อน คณะราษฎรได้เข้ายึดสถานที่สำคัญของทางราชการได้ รวมทั้ง ได้เชิญสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ผู้สำเร็จราชการพระนคร พร้อมกับพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มาที่พระที่นั่งอนันตสมาคมเพื่อเป็นตัวประกัน  และนำกำลังพลเข้าปิดล้อมโรงเรียน สวนกุหลาบ เพื่อกดดันขุนนางให้ยอมแพ้ จนปรากฏวาทะกรรม “ชิงสุกก่อนห่าม”ในสังคม

 

ใน ระหว่าง การปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองของคณะราษฎร นั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เสด็จแปรพระราชฐานไปยังวังไกลกังวล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

เมื่อพระองค์ทรงทราบถึงเหตุการณ์ดังกล่าว พระองค์ตรัสเรียกพระบรมวงศานุวงศ์และเสนาบดีที่อยู่ที่หัวหินให้เข้าประชุมกันที่วังไกลกังวลเพื่อทรงหารือแนวทางต่าง ๆ ที่จะรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในที่ประชุมนั้นแสดงความเห็นออกเป็นสองฝ่ายทั้งสนับสนุนให้ต่อสู้กับคณะราษฎรและฝ่ายที่เห็นว่าไม่ควรสู้ หลังจากนั้น พระองค์ตรัสว่า

เมื่อได้ฟังความเห็นของเจ้านายและเสนาบดีทั้งสองฝ่ายแล้ว ทรงเห็นว่าถ้าจะสู้ก็คงสู้ได้ แต่จะเสียเลือดเนื้อข้าแผ่นดินซึ่งเป็นคนไทยด้วยกัน

ท้ายที่สุด พระองค์ทรงตัดสินพระทัยที่จะอยู่ในราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญดังที่พระองค์ทรงสนับสนุนที่จะให้ประชาชนมีรัฐธรรมนูญมาโดยตลอด พระองค์เสด็จกลับพระนครและได้พระราชทานพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวรเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มิถุนายน พ.ศ. 2475 แม้ว่าคณะราษฎรได้เคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงการปกคครองได้โดยสำเร็จ โดยการจับเชื่อพระวงศ์ต่างๆเป็นองค์ประกัน บีบบังคับเอาอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้โดยสำเร็จ แต่ก็ไม่อาจทัดทานเสียงประชาชนที่รักใคร่ในสถาบันเบื้องสูงได้ จึงยังคงไว้ซึ่งระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญจากระบอบประชาธิปไตย

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าเวลานั้น คณะราษฎร มีเจตนาต้องการปฎิวัติประวัติศาสตร์การปกครองของไทยจึง ได้รีบเร่งสร้างแนวคิด “ลัทธิบูชารัฐธรรมนูญ” สร้างค่านิยมให้ผู้คนในสังคมเชื่อว่ารัฐธรรมนูญเป็นสิ่งวิเศษจากฟากฟ้าสมควรกราบไหว้บูชา อันปรากฏได้จากหลักฐานเช่นการรีบเร่ง มีขบวนแห่ พานรัฐธรรมนูญ ในวันชาติรัฐไทยใหม่ 24 มิถุนายน 2475 จัดสร้าง อนุเสาวรีย์ รัฐธรรมนูญในหลายแห่งในหลายจังหวัด, การประกวดสร้างสัญลักษณ์ เทพีรัฐธรรมนูญ (ผู้หญิงแต่งกายคล้ายเทพธิดาชูพานรัฐธรรมนูญขึ้นเหนือหัว) ซึ่งผลงานดังกล่าวถูกสร้างขึ้นจากภาพที่ชนะเลิศการประกวด ศีลปกรรมแห่งชาติ ซึ่งต่อมาถูกใช้เป็นต้นแบบในการสร้างโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ที่จะเกิดขึ้นในเวลาอันไกล้   และพิธีกรรมดังกล่าวนั้น เชื่อได้ว่า เป็นการหยิบยก Cult to Reason (เทพีแห่งเหตุผล)ของฝรั่งเศส ในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศส มาเป็นแม่แบบ**

…ทั้งนี้ในภายหลัง ปี 2477 ก็ยังมีการสร้างโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับประชาธิปไตย อย่างต่อเนื่อง เช่นประกวดนางงามรัฐธรรมนูญ(ซึ่งเกิดขึ้นช่วงปี พ.ศ. 2477) และ การสูญหายของทรงฉลองพระองค์ครุยกรองทองคำแท้ ที่ห่อหุ้มพระต้นรูป ใน”ปราสาทพระเทพบิดร”อันเป็นศูนย์กลางความรู้ความศรัทธาในองค์มหาบูรพกษัตริย์ ซึ่งหายไปในภายหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่7 สละราชสมบัติ  (ทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 ) และความเสือมโทรมของ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ( the Royal museum)อันเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ที่รัชกาลที่5ใช้เป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับชาติ จนบางส่วนถูกทำลายไป เช่น ส่วนของ พิพิธภัณฑ์สัตว์

 

 

 

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 คณะราษฎรได้ปกครองในระบบเผด็จการคณาธิปไตย โดยใช้ พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475อยู่ในช่วงเวลาหนึ่ง

ก่อนที่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7ทรงมอบ รัฐธรรมนูญที่พระองค์ตั้งพระราชหฤทัยไว้แต่แรก เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 (วันรัฐธรรมนูญ)เป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของประเทศไทย โดยผลของการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ให้ยกเลิก พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 โดยปริยาย

และการปรากฏรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของประเทศไทยนั้น ก็ทำให้ประเทศไทยได้มีคณะรัฐบาลชุดแรกเกิดขึ้น  คือรัฐบาลของ พระยามโนปกรณนิติธาดา
——————————————————————-

ทั้งนี้ พระยามโนปกรณนิติธาดา เป็นผู้ที่จบการศึกษาวิชากฎหมายระดับเนติบัณฑิต จากประเทศอังกฤษ เป็นข้าราชการตุลาการผู้ที่ได้ชื่อว่ามือสะอาด ไม่เคยมีเรื่องด่างพร้อยมาตลอดชีวิตการรับราชการ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้รับเลือกจากคณะราษฎรโดยหลวงประดิษฐมนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์) ให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดแรกที่มีด้วยกันทั้งหมด 70 คน (สมัยแรก) ที่มาจากการแต่งตั้ง และได้รับคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศ ด้วยหวังว่าท่านจะเป็นคนกลางประสานความเข้าใจระหว่างกลุ่มผู้นิยมการปกครองแบบเก่า และกลุ่มผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยพระยามโนปกรณ์นิติธาดาได้ถูกทาบทามตั้งแต่วันแรกที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่ทว่ายังไม่ตอบรับเลยในทันที เพียงแต่ขอเวลาไปตัดสินใจหนึ่งคืน และได้ให้คำตอบรับในเช้าวันถัดมา
—————————————————————

มีเรื่องเล่า เบื้องลึกหลัง รัชกาลที่7ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญ ในวันที่10 ธันวาคม2475

หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่7ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญ ในวันที่10 ธันวาคม2475แล้ว
พระองค์จึงตัดสินพระทัยเสด็จพระราชดำเนินกลับไปประทับยังวังสวนไกลกังวล อำเภอหัวหิน  แต่รัฐบาลในขณะนั้นทูลขอให้พระเจ้าอยู่หัวประทับต่อในพระนคร ถึงกับส่งตัวแทนเข้ามาเจรจาเชิญเสด็จกลับทางรถไฟจนเป็นที่น่าแปลกใจ
ว่าทำไมจึงอยากให้เสด็จพระราชดำเนินกลับ  ซึ่งในขณะนั้นมีข่าวลือมากมายว่าหากพระเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับเข้าพระนคร
ฝ่ายพระยาทรงสุรเดชจะคอยดักยึดขบวนรถไฟพระที่นั่งที่บางซื่อ แล้วจะบังคับให้พระองค์ทรงเซ็นลาออกจากการเป็นพระเจ้าอยู่หัวเสีย
แต่หากมิทรงยินยอมที่จะเซ็นก็จะจับพระองค์ไว้เป็นตัวประกัน แล้วให้พระราชวงศ์นำสมบัติมาถ่ายพระชนม์ชีพของพระเจ้าอยู่หัวไป

เมื่อพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบการเช่นนั้นแล้วจึงตรัสกับ  พระยามโนปกรณฯผู้เป็นประธานคณะกรรมการราษฎรที่ในขณะนั้นมาเข้าเฝ้าว่า
เรื่องนี้เห็นจะจริงเพราะพระยาทรงสุรเดชเป็นผู้เดียวที่ไม่ได้มาเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว
พระยาทรงสุรเดชผู้นี้เป็นหัวหน้าของเหล่าทหารที่มีความเข้มแข็ง พวกทหารเชื่อฟังเสียด้วยพระยามโนปกรณได้ฟังรับสั่งเช่นนั้นแล้วจึงรีบกลับไปหาพระยาทรงสุรเดชและพามาเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวเพื่อรับรองกับพระองค์ว่าจะไม่เป็นไปตามข่าวลืออย่างแน่นอน

ไม่นานนัก ในเดือนมีนาคมปีถัดมาพระเจ้าอยู่หัวจึงตัดสินพระทัยเสด็จพระราชดำเนินกลับเข้าพระนคร โดยมีพระยาทรงสุรเดชตรวจตราดูแลรักษาพระองค์อย่างกวดขัน
ทำให้การเสด็จกลับครั้งนี้พระราชวงศ์และประชาชนเบาใจกันไปว่า “ทหารไม่ได้เป็นพวกนั้นเสียหมด”
ไม่ช้าก็มีเสียงติเตียนหาว่าพระเจ้าอยู่หัวขี้ขลาด จะเสด็จไปไหนก็ต้องพกปืนกระบอกเล็กๆไปด้วย
บางคนก็หัวเราะเยาะพระเจ้าอยู่หัวว่า ปืนกระบอกเล็กเพียงนั้นจะไปสู้อะไรเขาได้
พระเจ้าอยู่หัวจึงตรัสว่า….”ปืนกระบอกนี้มีกระสุนเพียงสองลูก ลูกหนึ่งสำหรับหัวหญิง(สมเด็จพระบรมราชินี)
แล้วเป็นของฉันเองอีกลูกหนึ่ง เพราะถ้าจะบังคับให้ฉันเซ็นอะไรที่เป็นการหลอกลวงราษฎรของฉันแล้ว เป็นยิงตัวตาย!”

อ้างอิงจากหนังสือ: สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น โดย หม่อมเจ้า(หญิง)พูนพิศมัย ดิศกุล


และ  “สมุดปกเหลือง” เกิดขึ้นเมื่อใด?

เค้าโครงเศรษฐกิจแห่งชาติ หรือที่เรียกว่าสมุดปกเหลือง  ของ หลวงประดิษฐมนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์) ในสมัยรัฐบาลพระยามโนปกร์นิติธาดาสมัยที่ 2 ( 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 – 1 เมษายน พ.ศ. 2476) ซึ่งก่อให้เกิดความแตกแยกออกเป็น 2 ฝ่ายในยุคนั้น ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยลงความเห็นว่าเป็นแผนที่นิยมระบอบคอมมิวนิสต์ โครงการหลักในแผนปฏิรูปเศรษฐกิจที่ทำให้ถูกมองว่าฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ คือ รัฐจะบังคับซื้อที่นาและที่สวนทั้งหมดเป็นของรัฐบาลทั้งหมด โดยจะจ่ายเป็นพันธบัตรรัฐบาลแทนเงินสด จากนั้นให้เกษตรกร ชาวนายังคงทำไร่ทำนาทำสวนในที่ของตน ในฐานะลูกจ้างของรัฐ แต่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ไม่เป็นทั้งเจ้าของและผู้เช่า ค่าจ้างที่จ่ายจะจ่ายเป็นตั๋วเงิน หรือพันธบัตร หรือบัตรแทนเงิน ซึ่งเกษตรกรจะสามารถใช้ตั๋วเงินเหล่านี้ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคในร้านที่รัฐจะจัดตั้งขึ้นเพื่อจำหน่ายสินค้าราคาถูก ส่วนผลผลิตทางการเกษตรที่ได้เป็นของรัฐ รัฐเป็นผู้จัดจำหน่ายเพื่อตัดปัญหาพ่อค้าคนกลาง

อีกทั้งเค้าโครงเศรษฐกิจแห่งชาติ หรือที่เรียกว่าสมุดปกเหลือง นั้นมีเนื้อความเศรษฐกิจคล้ายในสมัย ของ โจเซฟสตาลิน ของรัซเซีย เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับ “ระบบสหกรณ์คอมมูน” การกระจายผลประโยชน์เท่าๆกัน การใช้เครื่องจักรมาแทนแรงงานคน ฯลฯ ซึ่งได้ระบุไว้ในหมวดที่ 4 แห่งเค้าโครงการเศรษฐกิจอย่างชัดเจน ในชื่อร่างพ.ร.บ.  “แรงงานที่สูญเสียไปและพวกหนักโลก” หมวดที่ 4    โดยกล่าวว่า

” ที่ดินของเราอันอุดมอยู่แล้วนี้ยังมิได้ใช้ให้เป็นประโยชน์ ทั้งนี้เพราะการประกอบการเศรษฐกิจตามทำนองเอกชนต่างคนต่างทำดั่งที่เป็นมาแล้ว ทำให้แรงงานสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์บ้างขาดเครื่องจักรกลที่จะช่วยแรงงานให้ได้ผลดียิ่งขึ้นบ้างและมี “บุคคลที่เกิดมาหนักโลก”บ้าง หมายถึง บุคคลที่อาศัยคนอื่นกิน ไม่เป็นผู้ประกอบการเศรษฐกิจหรือกิจการใดให้เหมาะสมกับแรงงานของตน อาศัยอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และสถานที่ของผู้อื่นหรือบางทีก็ทำงานเล็กๆ น้อยๆ ในกรุงเทพฯ หรือในหัวเมือง เมื่อสังเกตตามบ้านของชนชั้นกลางหรือตามบ้านของคนมั่งมีแล้วก็จะเห็นว่ามีผู้ที่อาศัยกินอยู่เป็นจำนวนมาก บุคคลจำพวกนี้ นอกจากจะ “หนักโลก” แล้วยังเป็นเหตุให้ราคาสิ่งของเพิ่มขึ้นได้ถ้าปล่อยให้คงอยู่ก็จะกลายเป็นคนขี้เกียจไป การปล่อยให้เอกชนต่างคนต่างทำ และปล่อยให้มีคนขี้เกียจคอยอาศัยกิน ดังนั้น ผลเศรษฐกิจของประเทศก็จะลดน้อยลง ไม่มีวิธีใดที่ดีกว่าที่รัฐบาลจะประกอบการเศรษฐกิจเสียเอง และหาทางบังคับและให้ราษฎรประเภทนี้ทำงานจึงจะใช้แรงงานของ “ผู้ที่หนักโลก” นี้ ให้เป็นประโยชน์แก่บ้านเมืองได้”

ซึ่ง ในเวลานั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงไม่เห็นด้วย และ ไม่เซ็นอนุมัติ เมื่อมองภาพรวมแล้ว เค้าโครงเศรษฐกิจที่ปรีดีร่างนั้น มีความเหมาะสมมากกว่ากว่า คือ ระบบสหกรณ์ นั้นสามารถแบ่งสันผลประโยชน์เท่าๆกัน ได้อย่างไม่ถูกกดขี่เอารัดเอาเปรียบ และ การใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคน นั้นช่วยเพิ่มกำลังการผลิต ลดละยะเวลาการผลิตได้ ไม่เปลืองแรงงานคน ซึ่งเมื่อมา ผสมกับระบบคอมมูน กับการใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคน

แต่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7ทรงมีพระวินิจฉัย  โดยสรุปได้โดยสั้นๆว่า  “คนจะไม่มีงานทำเพราะใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคน ผลสุดท้าย เราก็ต้องใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคนอยู่ดี ในยุคสมัยนี้ทำให้การพัฒนาการผลิตของเราล่าช้า”

อีกทั้ง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7ทรงมีพระวินิจฉัยเห็นชอบกับแนวทางของพระยามโนปกรณ์ โดยทรงอธิบายคัดค้านโดยยกเหตุผลด้านเศรษฐกิจ การเมืองอย่างละเอียด และมีความตอนหนึ่งว่า

” การที่จะรู้ว่าใครเป็นคนถูกหรือผิดก็ต้องทดลองดูเท่านั้นจึงจะเห็นได้ แต่มีข้ออันหนึ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนไม่ต้องเป็นสิ่งสงสัยเลยว่า โครงการอันนี้เป็นโครงการอันเดียวอย่างแน่นอนกับที่ประเทศรัสเซียใช้อยู่ ส่วนใครจะเอาอย่างใครนั้นข้าพเจ้าไม่ทราบสตาลินจะเอาอย่างหลวงประดิษฐ์ หรือหลวงประดิษฐ์จะเอาอย่างสตาลินก็ตอบไม่ได้ ตอบได้ข้อเดียวว่าโครงการทั้งสองนี้เหมือนกันหมด เหมือนกันจนรายละเอียดเช่นที่ใช้และรูปของวิธีการกระทำ”


จึงทำให้เชื่อได้ว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงไม่อนุมัติเพราะ เนื้อหาในสมุดปกเหลือง มีเนื้อหาเป็นการปูระบบไปสู่”สังคมนิยมสมบูรณ์”แบบรวบอำนาจกลับไปที่รัฐบาลอันไม่เหมาะสมกับสภาพสังคมไทยในเวลานั้น และจะยิ่งทำให้คณะผู้บริหารบ้านเมืองกลายเป็นเผด็จการโดยสมบูรณ์เสียมากกว่าการทำงานเพื่อประโยชน์สุขคืนสู่ประชาชนอย่างแท้จริง

อีกทั้ง ถ้าหากประเทศเข้าใกล้ระบอบสังคมนิยมมาก ระบบกษัตริย์ที่เหลือรอดจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 อาจโดนล้มล้างโดยสมบูรณ์ แบบ สมัยราชวงศ์โรมานอฟ ของ รัซเซีย ที่ถูกโค่นล้มใน ครั้งการปฏิวัติเดือนสิบ ปี 1917 โดย วลาดิเมียร์ เลนิน

***สามารถหาอ่าน”สมุดปกขาว” คำวิจารณ์ของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ที่มีต่อ “สมุดปกเหลือง – เค้าโครงเศรษฐกิจ” ของหลวงประดิษฐมนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์) ได้ที่ https://issuu.com/mybook15/docs/___________ds582.73__25


เมื่อนายปรีดีได้นำร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจฉบับนี้เสนอต่อรัฐบาล แต่พระยามโนปกรณ์นิติธาดาไม่เห็นด้วย หลวงประดิษฐมนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์) จึงขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี รัฐบาลจึงร่วมมือกับทหารบางกลุ่มทำการยึดอำนาจด้วยการปิดสภาและออก พ.ร.บ.ว่าด้วยคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2476 ออกแถลงการณ์ประณามนายปรีดีว่าเป็นคอมมิวนิสต์ และบีบให้ลี้ภัยไปฝรั่งเศส เป็นการลี้ภัยการเมืองครั้งแรกด้วยข้อหามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ จากการเสนอเค้าโครงการเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสฉบับแรก จึงถูกฝ่ายผู้สนับสนุนปรีดี กล่าวหาว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2476 คือการกระทำรัฐประหารด้วยการใช้ “ปากกาด้ามเดียว”  แต่ไม่นานปรีดีก็ได้กลับมา

ผลกระทบจากสมุดปกเหลืองที่ถูกระบุว่ามีแนวคิดคอมมิวนิสต์ได้ก่อให้ความหวั่นไหวหวาดกลัวในหมู่ประชาชน ว่าคอมมิวนิสต์คือสิ่งที่จะทำความหายนะแก่ราษฎรและทำลายความมั่นคงของประเทศ และได้เกิดมีพรบ.คอมมิวนิสต์ ปี 2476 เป็นการอธิบายความหมายของคำ ๆ นี้เป็นครั้งแรก แต่รัฐบาลของพระยามโนปกรณ์ ฯ ก็ถูกรัฐประหารเงียบเมื่อวันที่ 20 มิย. 2476 โดยพ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนาซึงคุมกำลังทั้งทหารบก ทหารเรือ ส่งจดหมายบีบให้นายกและรัฐบาลลาออก โดยที่สุดนั้นพระยามโนปกรณ์ฯต้องเดินทางออกนอกประเทศไปอยู่ที่ปีนัง และอสัญกรรมที่นั่นเมื่อ 1 ตค. 2491

คณะรัฐมนตรีในเวลานั้น พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี (แถวล่างสุด คนกลาง) ปรีดี พนมยงค์ (แถวบนสุด คนที่ 2 จากขวา) จอมพล ป.พิบูลสงคราม (แถวที่ 2 คนที่ 3 จากขวา)

 

คณะรัฐบาลชุดใหม่นำโดยพ.อ.พระยาพหลฯ แน่นอนมีชื่อหลวงประดิษฐมนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์) เป็นรัฐมนตรีด้วย แต่ก็เป็นรัฐมนตรีลอยไม่ได้ประจำไม่มีอำนาจว่าการกระทรวงใดเพราะสังคมยังคลางแคลงใจ นายฟัก ณ สงขลา ผู้แทนจ.อุตรดิตถ์จึงเสนอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อสอบสวนว่าหลวงประดิษฐมนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์) เป็นคอมมิวนิสต์ตามคำกล่าวหาหรือไม่? ผลคือ หลวงประดิษฐ์ ฯ พ้นมลทินจากข้อกล่าวหาดังกล่าว และได้มีพระบรมราชโองการให้ว่าการกระทรวงมหาดไทย ในระหว่างมีเรื่องตลกที่ไม่ขำ คือ เมื่อผลพิจารณาออกเป็นเช่นนี้ ได้มีผู้แทนคือ นายถวัติ ฤทธิเดช ยื่นฟ้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวต่อศาลอาญาข้อหาหมิ่นประมทาต่อหลวงประดิษฐมนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์) เหตุต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้รอยร้าวในสังคมขณะนั้นที่มีอยู่แล้วได้แตกแยกอย่างชัดเจนเป็นกลุ่มเจ้าและกลุ่มผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง(คณะราษฎร์)

“สมุดปกเหลือง” จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้น ของ ก่อกำลังที่ต่อต้านรัฐบาล ในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดชจึงก่อการขึ้นอันเป็นสงครามภายในครั้งแรกของไทย แต่ภายหลังกลับได้รับความพ่่ายแพ่ เนื่องจากแม่ทัพเสียชีวิต พระองค์เจ้าบวรเดชจึงเสด็จหนีโดยทางเครื่องบินจากฐานบินโคราช มีหลวงเวหนเหิรเป็นนักบิน ไปขอลี้ภัยทางการเมืองที่เมืองไซ่ง่อน ประเทศเวียดนาม

 

รัชกาลที่ 7เสด็จฯ ยุโรป -อังกฤษ พ.ศ.2476 – 2477

พระองค์เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีไปเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศในแถบยุโรป พร้อมทั้งเสด็จประทับที่ พระตำหนักโนล (Knowle) ประเทศอังกฤษ  เพื่อทรงเข้ารับการผ่าตัดและรักษาพระเนตร ในการนี้ได้แต่งตั้งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ระหว่างนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 พระองค์ยังทรงติดต่อราชการกับรัฐบาลผ่านทางผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งยังคงปรากฏข้อขัดแย้งต่าง ๆ ที่ไม่สามารถหาข้อยุติกันได้ โดยเฉพาะกรณีมีพระประสงค์ให้แก้ไขมาตรา 39 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม ให้กฎหมายใดที่ไม่ทรงลงพระปรมาภิไธยต้องเป็นอันตกไป และสภาผู้แทนราษฎรที่เสนอร่างกฎหมายนั้นต้องถูกยุบ แต่รัฐบาลและสมาชิกรัฐสภาไม่อาจยอมทำตามประสงค์นั้นได้ จึงมีพระราชดำริที่จะสละราชสมบัติ

รัฐบาลจึงตั้งคณะกรรมการขึ้นหนึ่งคณะโดยมีเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)ประธานสภาผู้แทนราษฎร ณ ขณะนั้น เป็นประธานคณะกรรมการ พร้อมกับพลเรือตรี หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์) และนายดิเรก ชัยนาม เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ และไกล่เกลี่ยเพื่อกราบบังคมทูลให้เสด็จกลับประเทศไทย แต่การเจรจาไม่เป็นผลสำเร็จ พระองค์ทรงตัดสินพระทัยสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 (นับศักราชแบบเก่า) ในพระราชหัตถเลขาสละราชสมบัตินั้น ปรากฏข้อความที่ใช้อ้างอิงกันเสมอในเวลาต่อมาว่า

ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของ ข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดย สิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของราษฎร… …บัดนี้ ข้าพเจ้าเห็นว่า ความประสงค์ของข้าพเจ้า ที่จะให้ราษฎรมีสิทธิออกเสียง ในนโยบายของประเทศไทยโดยแท้จริงไม่เป็นผลสำเร็จ และเมื่อข้าพเจ้ารู้สึกว่า บัดนี้ เปนอันหมดหนทาง ที่ข้าพเจ้าจะช่วยเหลือ ให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนได้ต่อไปแล้ว ข้าพเจ้าจึงขอสละราชสมบัติ และออกจากตำแหน่งพระมหากษัตริย์ แต่บัดนี้เปนต้นไป