วันศุกร์ 20 กันยายน 2024
  • :
  • :
Latest Update

รูปปั้นโกษาปาน ฟื้นความสัมพันธ์ สยาม – ฝรั่งเศส 333 ปี

เมื่อปี พ.ศ. 2562 เพื่อรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณในวาระครบรอบ 11 ปีการสิ้นพระชนม์ของ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ องค์ผู้ก่อตั้งสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย สมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดสร้างรูปปั้นขนาดครึ่งตัว “Kosa Pan: Le buste โกษาปาน อนุสรณ์สถานแห่งมิตรไมตรีที่ถนนสยาม” เพื่อนำไปประดิษฐาน ณ ถนนสยาม เมืองแบรสต์ ประเทศฝรั่งเศส

อ.วัชระ ประยูรคำ ประติมากรและศิลปินผู้ปั้นเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน)


ล่าสุด เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ประเทศฝรั่งเศส ได้มีการติดตั้งรูปปั้นของโกษาปาน ณ จุดเริ่มต้นถนนสยาม ที่เมือง Brest แคว้นเบรตาญ ประเทศฝรั่งเศส โอกาส 333 ปีของการเดินทางไปเจริญพระราชไมตรีจากแผ่นดินสยามสู่พระราชวังแวร์ซายส์ เป็นการฝื้นความสัมพันธุ์ สยามประเทศใหม่อีกครั้ง

ทั้งนี้จะมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการอีกครั้ง ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2563




ป้ายถนนสยาม (Rue de Siam) เดิมก่อนคณะราชฑูตไทยเดินทางไปถึงชื่อ”ถนนแซงต์ปิแอร์ “ถนนสายหลักของเมือง

ออกญาโกษาธิบดี มีชื่อเดิมว่า ปาน เป็นน้องชายของออกญาโกษาธิบดี (เหล็ก) ซึ่งดำรงตำแหน่งพระคลังระหว่างปี พ.ศ. 2200-2226 ต่อมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระวิสุทธสุนทร (ปาน) ในสมัยที่โกษาปานดำรงตำแหน่งเป็นพระวิสูตรสุนทรได้รับแต่งตั้งให้เป็นทูตออกไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส ในสมัยดังกล่าวฝรั่งเศสมีอิทธิพลในราชสำนักของพระนารายณ์มาก จุดประสงค์ของฝรั่งเศส คือ การเผยแพร่คริสต์ศาสนา และพยายามให้พระนารายณ์เข้ารีตเป็นคริสต์ชนด้วย รวมทั้งยังพยายามมีอำนาจทางการเมืองในอยุธยา ด้วยการเจรจาขอตั้งกำลังทหารของตนที่เมืองบางกอกและเมืองมะริด

โกษาปานเดินทางไปกับเรือฝรั่งเศสเมื่อธันวาคม พ.ศ. 2228 ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เมื่อ 1 กันยายน พ.ศ. 2229 และเดินทางกลับเมื่อ 27 กันยายน พ.ศ. 2230 รวมเดินทางไปกลับอยุธยาฝรั่งเศสทั้งหมด 1 ปี 9 เดือน โกษาปานเป็นนักการทูตที่สุขุม ไม่พูดมาก ละเอียดลออในการจดบันทึกที่ได้พบเห็นในการเดินทางครั้งนั้น

สำหรับการเข้าเฝ้าในครั้งนี้ ออกพระวิสุทธิ์สุนทร (ปาน) ได้กระทำหน้าที่เป็นผู้แทนของราชสำนักอยุธยาอย่างถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณีการเข้าเฝ้า จนชาวฝรั่งเศสได้กล่าวยกย่องชื่นชมคณะทูตไทย ซึ่งถือว่าการไปเจริญสัมพันธไมตรีครั้งนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง เพราะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

การเจริญสัมพันธไมตรีของพระวิสุทธิ์สุนทร (ปาน) และคณะราชทูตในครั้งนั้นได้สร้างชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือในทวีปยุโรป เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่พระเจ้าแผ่นดินทางด้านตะวันออกแต่งคณะราชทูตไปยังสำนักฝรั่งเศสพระเจ้าหลุยส์ทรงจัดการรับรองคณะราชทูตจากกรุงศรีอยุธยาอย่างสมเกียรติยศ และโปรดให้จัดทำเหรียญที่ระลึก และมีการเขียนรูปราชทูตไทยเข้าเฝ้า พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ของฝรั่งเศสเป็นที่ระลึกด้วย

ปลายสมัยของพระนารายณ์มีความรู้สึกต่อต้านชาวต่างชาติ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝรั่งเศส) ในหมู่ขุนนางไทยและพระสงฆ์ พระเพทราชา เจ้ากรมช้าง (ซึ่งต่อมาเป็นกษัตริย์องค์ที่ 28 ของอยุธยา) ทรงเป็นผู้นำในการต่อต้านครั้งนี้ โกษาปานได้เข้าเป็นฝ่ายของพระเพทราชา เมื่อพระเพทราชาปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ โกษาปานได้รับมอบหมายให้เป็นผู้เจรจากับนายพลฝรั่งเศสที่คุมป้อมอยู่ที่เมืองบางกอกให้ถอนทหารออกไปจากอาณาจักรไทยได้สำเร็จ