วันเสาร์ 27 กรกฎาคม 2024
  • :
  • :
Latest Update

ในหลวงอานันท์ฯ และ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ในเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง

ค.ศ. ๑๙๔๐ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา
.
หนึ่งปีกับอีกหกเดือนต่อมา ในวันที่อ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ถูกโจมตีด้วยระเบิด อย่างไม่มีใครคาดฝันมาก่อน กองทัพญี่ปุ่นได้บุกเข้าไทย
กลุ่มผู้มีอำนาจในรัฐบาลเลือกที่จะให้ความร่วมมือกับญี่ปุ่น จึงได้ออกคำสั่งห้ามกองทัพไทยมิให้ทำการต่อต้าน และต่อมาในเดือนธันวาคม เมื่อกองทัพญี่ปุ่นได้เข้ามายึดครองประเทศไทยอย่างเต็มอัตรา ก็ได้มีการลงนามในข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางการทหารระหว่างไทยกับญี่ปุ่น
.
ก้าวต่อไปคือการออกคำสั่งโดยโทรเลขให้ ม.ร.ว.เสนีย์ ยื่นหนังสือประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกา
.

 


ด้วยความรักชาติและจิตจำนงอันสูงส่ง ม.ร.ว.เสนีย์ ตัดสินใจปฏิบัติหน้าที่ตามความคิดเห็นของท่านด้วยความแน่วแน่และมั่นคงท่านเล่าถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้นว่า ท่านได้ไปยังกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯหนึ่งวันให้หลังจากวันที่ได้รับโทรเลขดังกล่าวแล้วแจ้งให้นายคอร์เดล ฮัลล์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯในขณะนั้นทราบว่า
.
“ผมเสียใจที่จะเรียนให้ทราบว่า ผมได้รับคำสั่งจากรัฐบาลของผม ให้ประกาศสงครามกับสหรัฐฯแต่ผมปฏิเสธเพราะไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะกระทำการดังกล่าว และผมได้ตัดขาดจากกรุงเทพฯแล้ว ผมไม่สามารถฝืนใจ ประกาศสงครามกับสหรัฐฯได้”
.
ม.ร.ว.เสนีย์ เก็บคำประกาศสงครามนั้นไว้ในตู้นิรภัยของสถานทูตไทย ที่ถนนคาโลมาจนกระทั่งสงครามสิ้นสุดลง และยังได้ปฏิเสธที่จะย้ายออกจากสถานทูตเมื่อได้รับคำสั่งจากทูตกรุงเทพฯให้กระทำดังกล่าว
.
ตรงกันข้าม ท่านกลับทุ่มเทให้กับการปฏิบัติงานของพันธมิตรและส่งหนังสือถึงนักเรียนไทยในสหรัฐฯทุกคน เพื่อประกาศให้ทราบการตัดสินใจของท่านที่จะก่อตั้งกองกำลังต่อต้านภายใต้ชื่อว่า ขบวนการเสรีไทย
.
นักเรียนไทยเกือบทุกคนในจำนวน ๑๑๐ คนที่กำลังศึกษาอยู่ในสหรัฐฯ ตอนนั้น ได้เข้าร่วมขบวนการเสรีไทย ๗๐ คน เข้าฝึกฝนการรบแบบกองโจรกับหน่วยงานโอเอสเอส ส่วนที่เหลือเข้าทำงานกองทัพอเมริกันในการชี้แนะสถานที่สำคัญทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์เพื่อป้องกันอันตรายจากการทิ้งระเบิดของฝ่ายพันธมิตรในช่วงปลายสงคราม
.
ส่วนภายในประเทศ ขบวนการเสรีไทยก็ประสบความสำเร็จเช่นกัน ด้วยแรงบันดาลใจจากการกระจายเสียงของ ม.ร.ว.เสนีย์ ระหว่างสงครามและเมื่อได้รับการฝึกฝนจากนักศึกษาที่ท่านเชื้อเชิญเข้ามาร่วมขบวนการ ในที่สุดก็มีทหารเสรีไทยติดอาวุธจำนวนถึง ๕๐,๐๐๐ คน
.
หลังจากญี่ปุ่นยอมแพ้สงคราม ขบวนการเสรีไทยได้จัดตั้งรัฐบาลขึ้นเป็นรัฐบาลแรกหลังสงครามโดยมี ม.ร.ว.เสนีย์ ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี
.
นับตั้งแต่นั้นมา ชีวิตด้านการงานของ ม.ร.ว.เสนีย์ โดดเด่นเช่นกัน ท่านเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองเก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย
.
แหล่งอ้างอิง
ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช. (2548). ชีวลิขิต. กรุงเทพมหานคร : นานมีบุ๊คส์

————————

ข้อมูลเบื้องต้น

เสรีไทย (อังกฤษ: Free Thai Movement) เป็นขบวนการใต้ดินที่ดำเนินการระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สอง ในช่วง พ.ศ. 2484 – 2488 มีวัตถุประสงค์เพื่อต่อต้านการรุกรานของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น รักษาเอกราชและอธิปไตยของชาติไทย ขบวนการเสรีไทยกำเนิดขึ้นในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 เมื่อกองทัพญี่ปุ่นยกทัพเข้ามาทางด้านทิศตะวันออกและยกพลขึ้นบกจากอ่าวไทย เดิมเรียกขบวนการนี้ว่า “องค์การต่อต้านญี่ปุ่น” ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น “เสรีไทย” มีบทบาทเป็นแหล่งข่าวสำคัญของฝ่ายสัมพันธมิตร

การที่รัฐบาลไทยนำโดยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ยินยอมตกลงเข้าร่วมกับญี่ปุ่นและประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ทำให้บุคคลสำคัญทางการเมืองการปกครอง ข้าราชการ และชาวไทยทั้งในและนอกประเทศไม่เห็นด้วยกับนโยบายประกาศสงคราม มีการรวมตัวกันเคลื่อนไหวต่อต้านญี่ปุ่น

———————-

หลักฐานอธิบายเพิ่มเติม

ม.ร.ว.เสนีย์  ปราโมช เล่าไว้ใน “ชีวลิขิต” ว่า  เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบ  อังกฤษแจ้งเข้ามาว่าจะส่งทหารเข้ามาปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในเมืองไทย  รัฐบาลไทยตอบไปว่า ญี่ปุ่นยอมวางอาวุธหมดแล้ว  อังกฤษไม่ต้องส่งทหารเข้ามา  แต่ลอร์ดหลุยส์เมาท์แบทเทน ก็ยังแข็งขืนส่งทหารเข้ามา  และจะจัดการสวนสนามทหารอังกฤษที่ถนนราชดำเนิน  เมื่อในหลวงอานันทมหิดลทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท มีพระราชกระแสว่า ถ้ายอมให้ลอร์ดหลุยส์ฯ ขึ้นแท่นรับความเคารพโดยลำพังก็เท่ากับประเทศไทยถูกอังกฤษยึดครอง  จึงมีรับสั่งว่าจะเสด็จไปตรวจพลครั้งนี้ด้วย  ลอร์ดหลุยส์จึงต้องจำยอม  และทำใก้ทีเสรีไทยเข้าร่วมสวนสนามต่อท้ายแถวทหารอังกฤษด้วย

ในหลวงอานันทมหิดลนั้นทรงฉลองพระเนตรมาแต่ทรงพระเยาว์แล้วครับ  แต่ไม่ค่อยได้เห็นทรงบ่อยนัก

ในตอนท้ายของภาพยนตร์จะเห็นสารถีผู้ช่วยเป่าแตรเวลารถยนต์พระที่นั่งผ่านทางโค้งหรือขึ้นสะพาน  เป็นธรรมเนียมมาแต่รัชกาลที่ ๕  เพิ่งมาหายไปไม่เมื่อสัก ๒๐ ปีมานี้เอง

(คัดลอกจาก V_Mee สมาชิกหมายเลข 893749 ในกระทู้พันทิป)

(ต่อ)

ฟิลม์ฉบับของหอภาพยนต์มีเสียงของ ร.8 ตอนขึ้นกล่าวด้วยครับ
ซึ่งตอนนั้นอังกฤษต้องการให้ไทยเซ็นยินยอมให้เป็นรัฐอารักขาของอังกฤษ
ห้ามขุดคอคอดกระ และให้ส่งตัวอาชญากรสงคราม จอมพล ป. ขึ้นพิจารณาความเหมือนญี่ปุ่นไทยก็บ่ายเบี่ยงเรื่อยมา เราก็ไปปรึกษาสหรัฐ สหรัฐจึงให้นักข่าวหนังสือพิมพ์ประโคมข่าวที่อังกฤษจะเอาไทยเป็นเมืองขึ้น ซึ่งตอนนั้นอังกฤษจะกู้เงินสหรัฐพันล้านดอลข่าวนี้เป็นข่าวดังมาก จนมีชาวอเมริกันบอกว่า ภาษีของเราจะไม่ให้อังกฤษเอาไปล่าเมืองขึ้นอังกฤษเร่งนัดวันเซ็นกับตัวแทนประเทศไทย แต่ช่วงนั้นในหลวงอานันท์ ทรงนิวัติกลับประเทศไทยทันทีที่ฝ่าพระบาทเหยียบแผ่นดินไทย ความเป็นผู้สำเร็จราชการของ ปรีดี เป็นอันสิ้นสุดไทยจึงรอดพ้นการเป็นเมืองขึ้นอย่างหวุดหวิด (คัดลอกมาจาก jo guevara สมาชิกพันทิป)

LS. The band of the Royal Marines in tropical dress marching as the King of Siam inspects troops. MS. The King of Siam Bhumibol and Queen Mother. MS. British troops looking on. LS. The King and Lord Louis Mountbatten walking, chatting. A car stops in front of camera and Lord Mountbatten and King of Siam leave it to mount a dais to watch the parade. LS. The Band of the Royal Marines heading the parade. LS. The King salutes the band. MS. Sailors marching past. LS. The Queens Battalion march past. LS. Dais with King saluting. CU. Feet marching. MS. Siamese officers look up at planes flying past. LS. King departs in car. LS. King’s car leaves parade. LS. Lord Mountbatten says farewell to Queen Mother.
FILM ID:2181.13

Thank’s All information from www.britishpathe.com
—————————————————–
น อติวิชัย ป. ฯ
ค้นคว้า/เรียบเรียง/เผยแผ่