วันเสาร์ 11 พฤษภาคม 2024
  • :
  • :
Latest Update

วิรังรอง เตือนสติ เนติวิทย์!! อย่าให้ ผลไม้พิษได้แพร่พิษขยายพันธ์หยั่งรากลึก

ล่าสุด ทางเฟสบุค วิรังรอง ทัพพะรังสี ของคุณ  วิรังรอง  ทัพพะรังสี  อดีต นิสิตเก่ารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย (มปปท.)   ที่โพสต์ถึงกรณีดังกล่าวนี้ โดย มีถึง 2 ตอนด้วยกัน ระบุว่า….

โดยตอนแรกระบุว่า

ตอนที่ ๑ ถามจุฬาฯ ว่าปัญหาเนติวิทย์ลบหลู่หรือแค่เดินออกจากแถว……วิเคราะห์บางประโยคต่อประโยค “บันทึกข้อความแจ้งสิทธิ์ตามกฎหมายปกครองถึง เนติวิทย์” ลงวันที่ ๑๐ สิงหาคม (ตามภาพประกอบ) ระบุว่า:
๑. “ด้วยเหตุการณ์และข่าวสารต่างๆในโลก Social Media ที่ส่งผลต่อชื่อเสียงของจุฬาลงกรณ์ฯ…..”
วิรังรองถาม:
– แค่ประโยคแรกของบันทึกฯ อ่านแล้วก็งง…..ตกลงการกระทำอันไม่สมควรของเนติวิทย์….. หรือกระแสข่าวใน Social Media กันแน่ ที่ส่งผลต่อชื่อเสียงจุฬาฯ??????? (ที่กล่าวว่า”ส่งผลต่อชื่อเสียงของจุฬาฯ” อ่านแล้วเข้าใจว่าเป็นไปในทางลบ อีนัยหนึ่งทำให้เข้าใจว่า เป็นการทำให้จุฬาฯ เสียชื่อเสียง)
– ขอถามผู้บริหารจุฬาฯ…. ก่อนเขียนบันทึกฯ และก่อนตั้งคณะกรรมการฯ ควรตีโจทย์ให้แตกโดยใคร่ครวญถึง “เหตุ และผล” ให้ถูกต้องเสียก่อนดีไหมว่า “โซเชียล หรือ เนติวิทย์” ที่ “ส่งผลต่อชื่อเสียงของจุฬาฯ” ????? เพราะเมื่อมองไม่เห็นเหตุที่แท้จริง ย่อมไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง
เกรงใจเนติวิทย์มากไปหรือเปล่าคะ…เหตุใดจึงไม่เขียนให้ตรงประเด็นและชัดเจนลงไปว่า…..
“ด้วยความประพฤติอันไม่สมควรในทางจิรยธรรมและมารยาทของเนติวิทย์ ได้ส่งผลเสียต่อชื่อเสียงของจุฬาฯ…..????
วิรังรองตอบ:
– เปล่าเลย..ข่าวสารต่างๆ ใน Social Media มิได้ทำให้ชื่อเสียงจุฬาฯ เสีย แต่เนติวิทย์นั้นแหละเป็นเหตุที่ส่งผลต่อชื่อเสียงของจุฬา (หลายครั้งแล้วด้วยค่ะ) โดยมีฝ่ายบริหารของจุฬาฯ เข้าประกอบ เรียกว่าเข้าประกอบ แปลว่า มีส่วนร่วมทำให้ชื่อเสียงจุฬาฯ เสียด้วย กล่าวคือไม่ให้ความสำคัญกับปัญหา ปล่อยให้เรื่องเดิมๆ เกิดขึ้นซ้ำสอง เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ เชื่องช้าในการแก้ปัญหา และตีโจทย์ไม่แตก เป็นเหตุเสริมที่ส่งผลโดยตรงต่อชื่อเสียงจุฬาฯ
– ข้อสังเกต: การขึ้นต้นบันทัดแรกใน “บันทึกข้อความ” โดยอ้าง Social Media เป็นเหตุให้จุฬาฯ เสียชื่อดังกล่าว แสดงวิสัยทัศน์ของ“ผู้บริหารจุฬาฯ” ว่า หากไม่มีกระแสโซเชียลต่อต้านการกระทำอันไม่เหมาะสมของเนติวิทย์ ผู้บิรหารจุฬาฯ ก็อาจจะไม่เห็นความสำคัญในการแก้ปัญหาดังกล่าว
– ข้อควรทำ: เห็นทีโซเชียลจะต้องช่วยกันเกาะติด ตามเรื่องนี้ให้ถึงที่สุด เพราะคงเป็นวิธีเดียวที่จะทำให้ผู้บริหารจุฬาฯ หันมาฟังความคิดเห็นของประชาชนคนไทย จนกว่าผู้บริหารจุฬาฯ จะได้จัดการเรื่องนี้อย่างเหมาะสม ขออย่าระดมกดไลค์-แชร์กันเฉพาะช่วงฮิตติดสื่อ (แต่ถ้าเมื่อไรดิฉันโพส ถ้าเห็นด้วยก็ช่วยกดไลค์ ช่วยแชร์ด้วยจักเป็นพระคุณ 5555-678910++++)
๒. “คณะกรรมการส่งเสริมวินัยนิสิต” เห็นควรให้มีการสอบสวนพิจารณาการกระของเนติวิทย์ ๒ กรณี คือ
๒.๑. ใช้สถานที่ราชการประชุมโดยไม่ได้รับอนุญาต และ
๒.๒ แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมโดยเจตนา เดินออกจากแถวขณะประกอบพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนเป็นนิสิตฯ ในวันพฤหัสบดีที่ ๓ สิงหาคม ที่ผ่านมา
วิรังรองถาม:
– คณะกรรมการชุดที่จะสอบสวนและพิจารณาลงโทษเนติวิทย์เกี่ยวกับจริยธรรมและมารยาทนั้น คือคณะกก. ชุดเดียวกับ “คณะกรรมการส่งเสริมวินัยนิสิต” หรือมีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้นมา ขอให้ฝ่ายบริหารจุฬาฯ ช่วยตอบให้ชัดเจน ?????
– ตามข่าวจากสื่อที่ปรากฏก่อนหน้า ระบุว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวนฯ แต่ในบันทึกฯ มีแต่การเอ่ยถึง “คณะกรรมการส่งเสริมวินัยนิสิต” ซึ่งเป็นคณะกก.ที่มีอยู่แล้ว โดยมิได้บอกกว่ามีการแต่งตั้งคณะกก. อื่นใดอีก “คณะกรรมการส่งเสริมวินัยนิสิต” จะทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลเท่านั้น หรือสอบสวนพิจารณาตัดสินลงโทษด้วย ทั้งนี้หากมีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้นมาเพื่อสอบสวนพิจารณาและลงโทษโดยเฉพาะ ก็ขอถามว่าได้แต่งตั้งคณะกก. เสร็จหรือยัง ชื่อคณะกก.อะไร???? และขอให้เปิดเผยรายชื่อคณะกรรมการทั้งหมดที่จะสอบสวนพิจารณาและลงโทษเนติวิทย์ ต่อสาธารณะได้หรือไม่ ?????
วิรังรองตอบ:
– ในตอนแรก คงไม่ได้ต้องการใช้บริการ “คณะกรรมการส่งเสริมวินัยนิสิต” เพราะดิฉันก็ได้ข่าวมาว่า ผู้บริหารจุฬาฯ ได้มีการทาบทามผู้ใหญ่หลายท่าน ผู้มีชื่อเสียง มีตำแหน่งหน้าที่การงานเป็นที่น่าเชื่อถือ (ภายนอกรั้วจุฬาฯ ) เพื่อให้มาเป็นคณะกรรมการฯ แต่….ได้รับการปฏิเสธ…เรื่องนี้ดิฉันเห็นว่า ก็ในเมื่อเรื่องเกิดในจุฬาฯ อธิการบดีเองก็ประกาศว่าเรื่องนี้เป็นเรื่อง “ภายในจุฬาฯ ไม่เกี่ยวกับคนนอก” ตอนนี้หากจุฬาฯ แสวงหาคนนอกมาเป็นคณะกก. ก็ไม่เหมาะสม ดิฉันคิดว่า อธิการบดีนั้นแหละ ควรนั่งเป็นประธานคณะกรรมการฯ เพื่อแสดงความรับผิดชอบ
– ขอให้ผู้บริหารจุฬาฯ ประกาศรายชื่อคณะกก. ให้สาธารณชนทราบด้วย หวังว่ารายชื่อคณะกก. ดังกล่าวคงไม่ต้องปิดเป็นความลับ เพราะไม่มีเหตุผลที่จะต้องปิดบังทำให้การสอบสวนดูไม่โปร่งใส ยิ่งส่งผลเสียต่อชื่อเสียงของผู้บิรหารจุฬาฯ เพิ่มมากขึ้น และหากไม่สามารถประกาศรายชื่อคณะกรรมการฯ ได้ ก็ขอให้ “ประกาศเหตุผล” ที่ต้องปิดเป็นความลับระดับท๊อปซีเครตด้วย
วิรังรองถาม:
– ข้อ ๒.๒ ข้างต้นนั้น การใช้คำว่า “แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมโดยเจตนา เดินออกจากแถวขณะประกอบพิธี……” ดิฉันขอถามผู้บริหารจุฬาฯ และ “คณะกรรมการส่งเสริมวินัยนิสิต” ว่า… มองเห็นปัญหาพฤติกรรมของเนติวิทย์เพียงแค่…”เดินออกจากแถว…..” เท่านั้นหรือ???
– ข้อกล่าวหาดังกล่าวฟังดูแล้วอ่อนมาก เพราะการกระทำของเนติวิทย์ ไม่ใช่เพียงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเรื่องการเดินออกจากแถว ซึ่งเป็นโทษเบา ดิฉันคิดว่าผู้บริหารจุฬาฯ ประเมินสมองและความคิดของ Social Media (เรียกตามในบันทึกจุฬาฯ) ต่ำเกินไป….เพราะพวกเรามิได้เป็นมังสวิรัติ กล่าวคือไม่ได้รับประทาน “หญ้า” เป็นอาหารหลัก…..เราจึงไม่ได้มองแค่การที่เนติวิทย์เดินออกจากแถว….(ขออภัยผู้ที่เป็นมังสวิรัติ มิได้มีเจตนากล่าวว่าท่านรับประทานญ้าเป็นเมนูหลักแต่เป็นการเปรียบเปรยนะคะ อย่าเคืองกันนะ)
แต่ที่ Social Media พากันจับตาเรื่องนี้อย่างกว้างขวงเพราะมองว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเจตนาที่จะแสดงความหมิ่น….ลบหลู่….ต่อสถาบันอันเป็นที่รักเคารพของคนไทย ซึ่งเป็นประเด็นหลักและสำคัญที่สุดประการแรก แต่น่าแปลกที่ผู้บริหารจุฬาฯ มองไม่เห็นจุดนี้ หรือว่าเห็นแต่ละเลย ทั้งที่ดิฉันจำได้ว่า ดิฉันเป็นคนยกประเด็นนี้อย่างชัดเจนกลางที่ประชุมกับอธิการบดี, นายเทวินทร์ วงศ์วานิช อดีตนายกสามาคมศิษย์เก่าจุฬาฯ และผู้บริหารจุฬาฯ หลายคน พร้อมกับคณะนิสิตเก่าที่เข้าร่วมประชุมด้วย หลังเนติวิทย์ก่อเรื่องทำนองเดียวกันนี้ครั้งแรก นี้แสดงว่าคำพูดของดิฉันมิได้ทำให้พวกเขาเหล่านั้นสำเหนียกถึงประเด็นที่สำคัญยิ่งนี้เลยแม้กระทั่งในวันนี้ที่ปัญหาได้เกิดขึ้นซ้ำสอง
จึงขอย้ำฝากอธิการบดีไว้อีกครั้งว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่กระทบต่อจิตใจคนไทยทั้งชาติ “เป็นพฤติกรรมที่ลบหลู่ หมิ่น และหยามพระเกียรติ พระผู้ทรงให้กำเนินสถาบันที่เนติวิทย์ เข้ามาขอเป็นที่พึ่งที่อาศัยในการศึกษาเล่าเรียนเพื่อเป็นเกียรติประวัติต่อครอบครัว เป็นความภาคภูมิใจของบิดามารดาผู้ให้กำเนิด และเป็นประโยชน์ในการต่อยอดอนาคตของเนติวิทย์ให้สูงขึ้น นี้ยังไม่นับรวมถึงผลที่กระทบถึงขนบธรรมเนียมประเพณีอันเป็นรากเหง้าของชาติไทย และก่อให้เกิดความแตกแยก
สังคมมองปัญหาในเรื่องนี้ว่า มิได้อยู่ที่ “การกระทำ” ของเนติวิทย์ แต่อยู่ที่เจตนาและเหตุของเจตนาแห่งการกระทำนั้นๆ ถ้าหากว่าผู้บริหารจุฬาฯ ตั้งคณะกก. ขึ้นมาเพื่อสอบสวนเนติวิทย์เรื่องเดินออกจากแถวซึ่งเป็นแค่ “การกระทำ” โดยมองไม่เห็นถึงเจตนาและเหตุของเจตนาแห่งการกระทำนั้นของเนติวิทย์ ก็ขอประกาศไว้ตรงนี้เลยว่าดิฉันเชื่อว่า เสียเวลาเปล่า….
เนติวิทย์ มิใช่เด็กแล้ว มีเสียงหนาหูว่า “อย่าไปให้ค่าเด็ก หรือเดี๋ยวก็เงียบไปเอง…” แต่วัยนี้คือวัยรุ่นที่กำลังจะเป็นผู้ใหญ่ เป็นทรัพยากรมนุษย์ เป็นอนาคตของชาติ หากเนติวิทย์ใช้ความกล้าและความคิดปัจจเจกที่มีในทางสร้างสรรค์เพื่อความปรองดองสามัคคี มีความกตัญญรู้คุณ เขาจะเป็นผู้นำที่ดี เราส่งลูกเข้าโรงเรียนเพื่อให้เขาเรียนวิชาและให้คุณครูสอนให้เขาเป็นคนดี แล้วเหตุใดเล่า เมื่อเขาสร้างปัญหาขึ้น เรากลับผลักไสเขาและบอว่า…อย่าไปให้ค่าเด็กคนนั้นที่อาจพลาดพลั้งทำผิดไป นี้จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายวิสัยทัศน์ของอธิการบดีจุฬาฯ ที่จะแสดงจุดยืนของผู้บริหารระดับสูงที่ชัดเจนในเรื่องนี้ให้แก่คณะผู้บริหารระดับรองลงมา และคณาจารย์ โดยเฉพาะคณะบดีและอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ว่าหน้าที่ของสถาบันจุฬาฯ และหน้าที่ของอาจารย์ที่มีต่อนิสิตที่พวกคุณสกรีนรับเข้ามาเองนั้นน่ะ….คืออะไร

และจะต้องทำอย่างไรเพื่อแก้ปัญหานี้…ทำอย่างไรที่จะแปรสสภาพคนที่คิดต่างในทางที่เป็นโทษต่อตนเองและสังคมให้เป็นคนดีให้ได้…..อย่าแก้ปัญหาเหมือนเรื่องนี้เป็นแค่ปัญหาเฉพาะหน้า ขายผ้าเอาหน้ารอดไว้ก่อน หรือผักชีโรยหน้าเยอะๆ เข้าไว้คงไม่เป็นไร อย่าคิดเพียงว่า อีกสองสามปีก็เรียนจบออกไปจากจุฬาฯ แล้วเรื่องก็จบ เพราะมันอาจจะไม่จบแม้ในจุฬาฯ ด้วยผลไม้พิษได้แพร่พิษขยายพันธ์หยั่งรากลึกไว้เรียบร้อยแล้วในร่มรั้วจุฬาฯ ส่วนพ่อพิษก็ได้ออกไปกระจายพันธ์ในสังคมที่ใหญ่กว่า
วิรังรอง ทัพพะรังสี
นิสิตเก่า สิงห์ดำ รัฐศาสตร์ จุฬาฯ รุ่น ๓๐
๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๐

ตอน ๑: คำตัดสินลงโทษเนติวิทย์ถือว่าจุฬาฯ เมตตามากแล้ว…๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๐ ผศ. ดร. ปมทอง มาลากุล ณ อยุธยา รองอธิการบดี ปฏิ…

โพสต์โดย วิรังรอง ทัพพะรังสี บน 1 กันยายน 2017