วันศุกร์ 29 มีนาคม 2024
  • :
  • :
Latest Update

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระแก้วมรกตน้อย เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๐


เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชานุญาตให้รัฐบาลจัดพิมพ์หนังสือบทเจริญพระพุทธมนต์ สำหรับพระราชทานแก่ผู้มาร่วมพิธี และพระราชทานพระพุทธมณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกตน้อย ฝีมือช่างฟาแบร์เช่ไปประดิษฐานเป็นประธานในพิธีเจริญพระพุทธมนต์ด้วย

พสกนิกรไทยร่วมกิจกรรมเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๖๕ พรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๐ อย่างพร้อมเพรียง

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และภริยาImage copyrightEPA
ข้าราชการและประชาชน ทำบุญตักบาตรImage copyrightEPA

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. พร้อมด้วยภริยา นำคณะรัฐมนตรี ข้าราชการและประชาชน ทำบุญตักบาตร พระสงฆ์  ๖๕๑ รูป ณ พระลานพระราชวังดุสิต เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และถวายพระพรชัยมงคลถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๖๕ พรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๐

กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์Image copyrightEPA
กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ ยิงปืนใหญ่เฉลิมพระเกียรติ 21 นัด บริเวณท้องสนามหลวงImage copyrightEPA

กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ ยิงปืนใหญ่เฉลิมพระเกียรติ ๒๑ นัด เพื่อเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร บริเวณท้องสนามหลวง

ขณะเดียวกันคณะข้าราชการและประชาชนต่างร่วมถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บริเวณพระลานพระราชวังดุสิต

ทหารที่พระลานพระราชวังดุสิตImage copyrightGETTY IMAGES
ทหารที่พระลานพระราชวังดุสิตImage copyrightGETTY IMAGES
ประชาชน ที่พระลานพระราชวังดุสิตImage copyrightGETTY IMAGES

บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ได้เริ่มเปิดจำหน่ายดวงตราไปรษณียากรที่ระลึกชุดแรกแห่งรัชกาลที่ 10 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๖๕ พรรษา เป็นวันแรก ในวันนี้ด้วย

ดวงตรา ไปรษณียากรที่ระลึกชุดแรกแห่งรัชกาลที่ 10Image copyrightREUTERS
ดวงตราไปรษณียากรที่ระลึกชุดแรกแห่งรัชกาลที่ 10Image copyrightREUTERS

สำหรับในต่างจังหวัด และวัดไทย เอกอัครราชทูต และกงสุลไทยทั่วโลก ต่างก็จัดพิธีเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เช่นกันเพื่อแสดงความจงรักภักดี และถวายพระพรชัยมงคลและถวายพระราชกุศล

ทางด้านผู้นำต่างประเทศ เช่น ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ และประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย ได้ส่งสารถวายพระพรชัยมงคงเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๖๕ พรรษาด้วย

อะไรคือพระแก้วมรกตน้อยฝีมือช่างฟาแบร์เช่?

ฟาแบร์เช่ (Fabergé) ช่างทองหลวงแห่งจักรวรรดิรัสเซีย เป็นหนึ่งในผู้นำด้านเครื่องอัญมณีชั้นสูงที่มีชื่อเสียงแห่งทวีปยุโรป และรังสรรค์เหล่าศิลปวัตถุจนมีชื่อก้องโลก ฟาแบร์เช่ เป็นผู้สรรค์สร้างศิลปวัตถุที่ได้รับความนิยมจากเหล่าบรรดาราชวงศ์รวมถึงบุคคลชั้นสูงทั่วโลก

พื้นเพดั้งเดิมของตระกูลฟาแบร์เช่ช่างทองหลวงแห่งราชสำนักรัสเซียมาจากแคว้นปิการ์ดี (Picardi) ซึ่งอยู่ในเขตตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศสปัจจุบัน เหตุที่ตระกูลฟาแบร์เช่ต้องอพยพลี้ภัยทางการเมืองและศาสนา สืบเนื่องมาจากสงครามความขัดแย้งระหว่างนิกายคาทอลิกและโปรแตสแตนท์ ในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ หรือที่เรียกว่าเหตุการณ์ “การยกเลิกพระราชกฤษฎีกาแห่งนองซ์” (L’Edit de Nantes) ดังนั้นในราวปี พ.ศ. ๒๒๒๘ ครอบครัวชาวโปรแตสแตนท์เชื้อสายฝรั่งเศสหลายครอบครัวต้องอพยพไปอยู่ ณ ประเทศเยอรมัน หรืออีกหลายๆ ประเทศที่ให้สิทธิเสรีภาพในการนับถือนิกายนี้ รวมทั้งตระกูลฟาแบร์เช่

ภาพที่ ๑  ห้างฟาแบร์เช่ ณ เลขที่ ๒๔ ถนน Bolshaya Morskaya กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ในราวปีพ.ศ. ๒๔๕๐

 

ต่อมาในราวพุทธศักราช ๒๓๗๔ กุสตาฟ ฟาแบร์เช่(Gustav Fabergé) ได้ย้ายถิ่นฐานมาพำนักยัง กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และเริ่มเข้าทางานเป็นช่างทองฝึกหัดของ Andreas Ferdinand Spiegel (พ.ศ. ๒๓๔๐-๒๔๐๕) และ Johann Wilhelm Keibel (พ.ศ. ๒๓๓๑-๒๔๐๕) จากนั้นในปีพ.ศ. ๒๓๘๕ กุสตาฟ ฟาแบร์เช่ ก็ได้เปิดร้านเครื่องเงินและทองของเขาเอง ณ กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ที่ถนน Bolshaya Morskaya

จนกระทั่งในปีพ.ศ. ๒๔๑๓ คาร์ล ฟาแบร์เช่ (พ.ศ. ๒๓๘๙-๒๔๖๓) บุตรของกุสตาฟ ฟาแบร์เช่ ได้เข้าดำเนินงานบริหารควบคุมกิจการของตระกูล ห้างฟาแบร์เช่รุ่งเรืองถึงขีดสูงสุดในช่วงสมัยเขา ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เนื่องด้วยพรสวรรค์ในด้านศิลปะและการบริหาร โลกทรรศน์ทางศิลปะของคาร์ล ฟาแบร์เช่นั้น ไม่อยู่ในจุดใดจุดหนึ่งหรือไม่มีจุดยืนตายตัวในทางศิลปะ คาร์ลเลือกที่จะรับแรงบันดาลใจจากอิทธิพลศิลปะตะวันตกต่างๆ อาทิ โกธิก เรอแนสซองส์ บารอก โรโกโก นีโอคลาสสิก เป็นต้น แต่จุดสาคัญที่สุดก็คือ ความนิยมชมชอบของเขาในศิลปะแบบโรโกโก

ในรูปแบบการเลือกใช้วัตถุดิบของคาร์ล ฟาแบร์เช่นั้น ถือได้ว่า เขาเป็นดังเช่นเหล่าศิลปินแห่งสไตล์อาร์ตนูโว นิยามของคาร์ล ฟาแบร์เช่ก็คือ “มูลค่าของศิลปะวัตถุ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความแพงหรือหายาก แต่ขึ้นอยู่กับความละเอียดอ่อนของดีไซน์และขั้นตอนการผลิต” นอกจากจะนาอิทธิพลของศิลปะตะวันตกมารังสรรค์ผลงานและยังมีวิทยาการทางด้าน งานศิลป์ที่เป็นเอกลักษณ์ของสกุลช่างฟาแบร์เช่ อาทิเช่น ผสมทองคำให้เป็นวรรณะ ๔ สี, การลงยาแบบ Guilloché enamel

ภาพที่ ๒  คาร์ล ฟาแบร์เช่ (Peter Carl Fabergé) ฉายโดย Hugo Oeberg ในราวปีพ.ศ. ๒๔๔๘

ผลงานสร้างสรรค์ของ ฟาแบร์เช่ ที่ถือว่าเป็นที่สุด ก็คือไข่อีสเตอร์ ตามธรรมเนียมของรัสเซีย จะมีการมอบไข่ที่ทำจาก แก้ว เปเปอร์มาช์เช่ หรือ พอร์ซเลน ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๔๒๘ สมเด็จพระจักรพรรดิซาร์อเล็กซานเดอร์ ที่ ๓ (พ.ศ. ๒๓๘๘ – ๒๔๓๗) ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ ฟาแบร์เช่ จัดถวายเพื่อพระราชทานแด่สมเด็จพระจักรพรรดินีซารีน่าแมรี่ เฟโอโดรอฟน่า (พ.ศ. ๒๓๙๐ – ๒๔๗๑) พระมเหสี จากนั้นจึงกลายเป็น พระราชธรรมเนียมปฏิบัติของราชวงศ์โรมานอฟ ที่จะทรงโปรดเกล้าฯ ให้ฟาแบร์เช่ จัดถวายไข่อีสเตอร์ทุกปี ตราบจนจักรวรรดิรัสเซียล่มสลาย และเช่นกัน ห้างฟาแบร์เช่ ก็ได้รับพระราชทานตราตั้ง โปรดเกล้าฯ ขึ้นเป็นช่างหลวงแห่งราชสำนักรัสเซีย ในปีพ.ศ. ๒๔๒๘

อีกหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของฟาแบร์เช่ก็คือ งานประติมากรรมขนาดเล็กจำหลักจากหินสีมีค่านานาชนิด ซึ่งถือเป็นผลงานการรังสรรค์ตามแบบธรรมชาตินิยม(Naturalism) อีกแขนงหนึ่งของเขา ซึ่งจะต้องคัดเลือกอัญมณีที่มีโทนสีใกล้เคียงกับธรรมชาติ ผนวกกับความประณีตละเอียดอ่อนของช่างสลัก ซึ่งต้องแกะชิ้นงานให้มีความใกล้เคียงเหมือนต้นแบบจริง นอกจากนั้นยังมีงานจำหลักอัญมณีเลียนแบบพรรณไม้ดอกก็ได้รับความนิยมอย่างสูง

ภาพที่ ๓  The Orange Tree Egg ไข่อีสเตอร์ใบนี้ทำเป็นทรงพุ่มต้นส้มใบทำจากหิน Nephrite ดอกส้มทองคำลงยาสีขาวประดับเพชรเหลี่ยมกุหลาบแทนเกสร มีการตกแต่งด้วยอัญมณี มีค่าต่างๆ เจียระไนทรงกลมอาทิ ซีทรีน ทับทิมสีอ่อน และเพชรสีแชมเปญเป็นผลส้ม สิ่งที่พิเศษก็คือ เมื่อกดปุ่มบนยอดของพุ่มส้มจะมีนกตกแต่งด้วยขนทองคำออกมาร้องเพลง กระถางสลักจากหินควอทซ์ประดับลายช่อชัยพฤกษ์ทองคำลงยา พร้อมทับทิม ไข่มุก และเพชร ในส่วนของฐานทำจากหิน Nephrite ไข่อีสเตอร์ใบนี้รังสรรค์ในปี พ.ศ. ๒๔๕๔ โดยอัตเตอลิเย่ร์ของ Henrik Wigström    สำหรับห้างฟาแบร์เช่    เพื่อจัดถวายแด่สมเด็จพระจักรพรรดิซาร์นิโคลัสที่ ๒

ผลงานรังสรรค์ของคาร์ล ฟาแบร์เช่ในปัจจุบัน ถือเป็นหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของโลกประณีตศิลป์ รูปแบบศิลปวัตถุที่ผลิตมีความหลากหลาย อีกทั้งเครื่องเพชรพลอยตามรูปทรงที่นิยมร่วมสมัย ผลงานแต่ละชิ้นจะต้องได้รับมติความเห็นชอบจากคาร์ล ฟาแบร์เช่ก่อนทุกชิ้น และชิ้นที่ไม่ได้ผ่านเกณฑ์ของเขา จะถูกทำลาย หรือจำหน่าย โดยไม่ประทับตราฟาแบร์เช่

ผนวกจากการได้รับความไว้วางใจอย่างสูงจาก ทางราชสานักรัสเซียให้จัดถวายเหล่าเครื่องถนิมพิมพาภรณ์ชิ้นสาคัญๆ ที่รังสรรค์จากเพชรพลอยและเหล่าอัญมณีอันเลอค่าแด่พระบรมวงศานุวงศ์แห่งโรมานอฟ อาทิเช่น ในปีพุทธศักราช ๒๔๔๑ มีพระราชเสาวนีย์ในองค์สมเด็จพระจักรพรรดินีซารีน่าอเล็กซานดรา เฟโอโดรอฟนา (พ.ศ. ๒๔๑๕-๒๔๖๑) พระมเหสีในสมเด็จพระจักรพรรดิซาร์นิโคลัสที่ ๒ โปรดเกล้าฯให้จัด ถวายกรองพระศอในสไตล์รัสเซียนแอนติคของช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ ประดับด้วยไข่มุกและมรกตอันเลอค่าขนาดมหึมา และ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๓ แกรนดัชเชสเอลิซาเบธ เฟโอโดรอฟนา(พ.ศ. ๒๔๐๗ – ๒๔๖๑) ทรงมีรับสั่งให้ทางห้างฟาแบร์เช่จัดถวาย เทียร่าประดับด้วยเพชรและเทอควอยซ์ เข็มกลัดรูปทรงดอกกุหลาบประดับเพชร เข็มกลัดประดับพระอุระ(stomacher) ประดับเพชรและมรกตเจียระไนทรง cabochon หรือทรงหลังเบี้ย ซึ่งเม็ดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดหนักราว ๔๕ กระรัต เป็นต้น ดังนั้นจากการถวายการรับใช้เจ้านายเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงจึงเป็นเหตุให้ฟาแบร์เช่กลายเป็นหนึ่งในช่างทองหลวงแห่งจักรวรรดิรัสเซียที่มีชื่อเสียงไปทั่วทุกราชสานักในยุโรป

ฟาแบร์เช่กับราชสำนักสยาม

ราชสำนักสยามมีการติดต่อสัมพันธ์กับห้างฟาแบร์เช่เป็นครั้งแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่อย่างไรก็ตามยังมิอาจสามารถกำหนดช่วงระยะเวลาปีศักราชที่แน่นอนลงได้ สิ่งที่สามารถจะทำได้อย่างดีที่สุดก็คือการตั้งสมมุติฐานอนุมานได้ว่า ในครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๑ ปีพุทธศักราช ๒๔๔๐ พระองค์ได้ทรงเสด็จพระราชดาเนินเยี่ยมเยียนราชสำนักต่างๆในยุโรปรวมทั้ง จักรวรรดิรัสเซีย

ในครานั้นเองสมเด็จพระจักรพรรดิซาร์นิโคลัสที่ ๒ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายของที่ระลึก ซึ่งบางชิ้นเป็นผลงานที่รังสรรค์โดยฟาแบร์เช่ ด้วยเหตุแห่งความงดงามอันเป็นที่ตรึงตราใจของเหล่าพระของขวัญจากองค์พระประมุขแห่งรัสเซีย นั้นอาจจะให้แรงบันดาลพระราชหฤทัยแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงกับทรงเสด็จพระราชดาเนินไปเยี่ยมชมห้างฟาแบร์เช่ด้วยพระองค์เอง รวมถึงกับทรงมีพระราชหัตถเลขาเล่าพระราชทานมายังสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ (ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เฉลิมนามาภิไธยและพระอิสริยยศขึ้นเป็นที่ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง) ความว่า

“…กลับมาแวะที่ร้านขายเครื่องเงิน เครื่องทอง ชื่อร้านพับแบระกี(ฟาแบร์เช่) ซึ่งเป็นร้านช่างทองฝีมือเอกของราชสำนักรุสเซีย…”

ในส่วนหนึ่งของบันทึกในปีพุทธศักราช ๒๔๖๒ ของนายฟรานซ์ บีร์โบม (Franz Birbaum) ผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเป็นถึงหัวหน้าฝ่ายศิลป์ของฟาแบร์เช่ตั้ง แต่ปี พ.ศ. ๒๔๓๖ ตราบจนกระทั่งอวสานของห้าง ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างราชสานักสยามกับทางฟาแบร์เช่ ดังต่อไปนี้

“…เป็น เวลาสองครั้งต่อปีที่ทางห้างฟาแบร์เช่จะจัดส่งตัวแทนของห้างไปยังบูรพาทิศ โดยเฉพาะในอินเดียและสยามเพื่อที่จะนาเสนอศิลปะวัตถุคอลเล็กชั่นใหม่ ราชสานักสยามและพระบรมวงศานุวงศ์เป็นลูกค้ากลุ่มสำคัญแห่งตะวันออกไกล…

…ได้มีพระบรมราชโองการและพระราชเสาวนีย์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ดำรัสสั่งให้ทางห้างจัดถวายผลงานวิจิตรศิลป์อีกหลายๆ ครา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นงานจำพวกประติมากรรมขนาดเล็กจำหลักจากหินเนฟไฟน์ (Nephrite) และ งานสลักลายเส้นสีน้าตาลแบบ sepia พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระฉายาสาทิสลักษณ์ของสมเด็จพระบรมราชินีนาถและพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง ลงบนเหรียญสลักลายลงยาสีขาวแบบ “guilloché” สำหรับใช้ประดับเป็นห้อยพระศอหรือเข็มกลัดที่ล้อมด้วยเพชรหรืออัญมณีมีค่า…”

โดยลำดับต่อมา ยังปรากฏหลักฐานทางเอกสารกล่าวยืนยันว่าฟาแบร์เช่ได้ส่งผู้แทนของทางห้าง เดินทางมายังกรุงเทพมหานคร ในราวเดือนพฤศจิกายน ปีพุทธศักราช ๒๔๕๑ ซึ่งตรงกับช่วงการพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติครบ ๔๐ ปี โดยการครานี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ในวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน เพื่อถวายทอดพระเนตรผลงานวิจิตรศิลป์ชิ้นยอดจากรัสเซีย และในวโรกาสเดียวกันนั้นพระองค์ทรงเลือกซื้อรวมทั้งสิ้น ๘ รายการประกอบด้วย ห้อยพระศอ ๑ รายการ พระดุมข้อพระหัตถ์ ๕ รายการและหีบพระโอสถมวน ๒ รายการ

บทบาทของห้างฟาแบร์เช่ในการเข้าร่วมเฉลิมฉลองอันเนื่องในการพระราชพิธีของราชสานักสยามปรากฏอีกครั้ง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตลงเมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติสืบสันตติวงศ์ขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชพิธีเฉลิมฉลองอันสืบเนื่องจากการพระราชพิธีมหามงคลบรมราชาภิเษกมีขึ้นอีกหนึ่งปีให้หลัง และในการครั้งนี้ทางห้างฟาแบร์เช่ก็ได้ร่วมเฉลิมฉลองกับทางราชสานักสยาม โดยการนำศิลปวัตถุอันเลอค่าเข้ามาร่วมจัดแสดงยังกรุงเทพมหานคร ดังปรากฎหนังสือพิมพ์ “บางกอกไทม์” (Bangkok Times) ฉบับลงวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๔ ลงประกาศหนึ่งที่มีข้อความว่า “นายคาร์ล ฟาแบร์เช่ มีความยินดีที่จะขอแจ้งให้ทราบว่า ในระหว่างสัปดาห์ที่มีการเฉลิมฉลองเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกจะมีนิทรรศการงานฝีมือที่มีชื่อเสียงของฟาแบร์เช่ขึ้นที่โรงแรมโอเรียนเต็ลระหว่างเวลา ๑๔.๐๐-๑๖.๐๐ น.”

จะเห็นได้ว่าจากการเข้าร่วมกับการพระราชพิธีของห้างฟาแบร์เช่ในทั้งสองรัชกาล โดยนำเสนอคอลเล็กชั่นศิลปวัตถุต่างๆ ผ่านทางนิทรรศการถือเป็นการเผยแพร่และโฆษณาผลงานของทางห้างอีกทางหนึ่ง เพราะหลังจากการนั้นเป็นต้นมา พระราชวังและวังต่างๆ ของเจ้านายในพระบรมราชจักรีวงศ์ ต่างก็สั่งซื้อผลงานวิจิตรศิลป์ของ ฟาแบร์เช่เข้ามาเป็นจำนวนมาก และกลายเป็นแฟชั่นกระแสนิยม ความสัมพันธ์ระหว่างราชสานักสยามกับ ฟาแบร์เช่นั้นอาจจะสิ้นสุดลงพร้อมๆ กับการปิดกิจการของห้างฟาแบร์เช่ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๑ กล่าวคือหนึ่งปีภายหลังจากการปฏิวัติรัสเซีย

ภาพที่ ๔ พระแก้วมรกตองค์น้อย จำหลักจากหิน Nephrite ปางมารวิชัย รังสรรค์โดยอัตเตอร์ลิเย่ (Atelier) ของ ฟาแบร์เช่ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ หอพระสุราลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง พระแก้วมรกตองค์น้อยองค์นี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการดารัสสั่งทางห้างฟาแบร์เช่เป็นผู้จัดถวาย

ภาพที่ ๕ พระพุทธปฎิมาหินหยกเขียวขนาดเล็ก องค์พระพุทธรูปสลักจากหินหยกเขียวตระกูล Nephrite ทำปางสมาธิประทับเหนือฐานบัวคว่ำบัวหงาย โดยส่วนพระเกศและฐานบัวทำจากทองคำลงยา พระพุทธรูปองค์นี้ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถทรงประทานแด่สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) ผู้ทรงเป็นพระอนุชาต่างพระชนนี รังสรรค์โดยอัตเตอร์ลิเย่ (Atelier) ของ Henrik Wigström สำหรับห้างฟาแบร์เช่ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่งวิมานเมฆ พระราชวังดุสิต

ภาพที่ ๖ พระพุทธรูป ศิลปะ รัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๔๕๗ วัสดุ หยกเนฟไฟรต์ (Nephrite) ขนาด สูงรวมฐาน ๑๙.๕ ซ.ม. หน้าตักกว้าง ๑๑ ซ.ม. ลักษณะ พระพุทธรูปประทับนั่งบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย ขัดสมาธิเพชร(วัชราสนะ) พระหัตถ์ทั้งสองข้างซ้อนกันอยู่บนพระเพลาแสดงปางสมาธิ ครองจีวรห่มเฉียงคลุมพระอังสาซ้าย เปิดพระอังสาขวา จีวรมีริ้วแบบธรรมชาติ สังฆาฏิแบนยาวพาดบนพระอังสายาวลงมาจนถึงใต้พระหัตถ์ พระพักตร์รูปไข่ พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์แย้มพระสรวลเล็กน้อย พระเนตรหลุบต่ำ พระนลาฏแคบ เม็ดพระศกขนาดเล็กกลมมน ไม่มีอุษณีษะ พระเกตุมาลาเป็นแบบเปลวเพลิง ที่ด้านใต้ฐาน มีร่องรอยจารอักษรสองบรรทัด บรรทัดบนเขียนว่า “FABERGÉ” บรรทัดล่างเขียนว่า “1914” ประวัติที่มา พลเรือเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง ทรงสั่งให้สำนักช่างอัญมณีฟาแบร์เช่ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)

จากพระพุทธลักษณะของพระพุทธรูปองค์นี้ มีลักษณะละม้ายกับองค์ที่เก็บรักษาไว้ที่พระที่นั่งวิมานเมฆ พระราชวังดุสิต (ภาพที่๕) จะแตกต่างตรงที่รัศมีเปลวเพลิง และฐานบัวที่อีกองค์หนึ่งทำด้วยทองคำลงยาราชาวดี องค์ที่อยู่ที่พระที่นั่งวิมานเมฆนั้นได้บันทึกไว้ว่า สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ) ทรงประทานแด่สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ ซึ่งอาจเป็นไปได้ที่สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถจะทรงสั่งให้ทางห้างฟาแบร์เช่ จำหลักกลุ่มพระพุทธปฏิมาจากหินหยกเขียว Nephrite ถวายเพื่อจะทรงใช้ประทานแด่พระเชษฐาหรือพระอนุชาที่ทรงสนิทชิดชอบเป็นพระของขวัญ ซึ่งจากทะเบียนประวัติของพระพุทธรูปองค์นี้ แต่เดิมเป็นสมบัติส่วนพระองค์ของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา ผู้ทรงเป็นพระอนุชาร่วมพระชนกและชนนีเดียวกันกับพระองค์ ปัจจุบัน จัดแสดง ณ ห้องนิทรรศการประวัติศาสตร์ชาติไทย พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
—————