วันเสาร์ 27 กรกฎาคม 2024
  • :
  • :
Latest Update

จุฬาฯ ไม่มีแผนทุบสกาล่าตามข่าวลือ – กิตติธัช ชัยประสิทธิ์

ข้อเท็จจริงคือจุฬาฯ ไม่มีแผนทุบสกาล่า
ตามที่คนบางกลุ่มในสังคมออกมาดราม่า
————————-

– เครือ Apex เจ้าของโรงหนังเหล่านี้
ทำสัญญาครั้งล่าสุดกับจุฬาฯ เมื่อต้นปี
โดยเป็นสัญญา 3 ปี นั่นหมายความว่า
สกาล่าก็จะอยู่ต่อไปจนถึงในปี 2563
ส่วนเมื่อว่าหมดสัญญาแล้วทาง Apex
จะต่อสัญญาหรือไม่ เป็นเรื่องของผู้เช่า

(หรือแม้กระทั่งผู้เช่าขอออกก่อนสัญญา)

ตัวอาคารโรงหนังที่เป็นสถาปัตยกรรม
ที่มีเอกลักษณ์ มีคุณค่า จะเป็นอย่างไร
เป็นเรื่องที่ต้องมาดูรายละเอียดกันอีกที
แต่จุฬาฯ ไม่ได้มีแผนที่จะมาทุบสกาล่า
และสกาล่าก็ยังดำเนินกิจการเหมือนเดิม

– ซึ่งก่อนที่จะกล่าวอะไรต่อ….
ผมคงต้องขอท้าวความถึงเรื่องราว
ที่เป็นปัญหาของโรงหนังแห่งนี้ก่อน

————————-

– ตลอดระยะเวลา 40 กว่าปีที่ผ่านมา
โรงหนังในเครือนี้ทำกำไรไปมหาศาล
แต่มาระยะ 20 ปีให้หลัง กระแสเปลี่ยน
คนเริ่มเดินห้าง ดูหนังในห้างสรรพสินค้า
โรงหนังแบบเดิมๆ ที่สภาพของโรงหนัง
รวมถึง องค์ประกอบอื่นๆ ที่ดึงดูดใจผู้คน
ให้ไปดูโรงหนัง(แบบเดิม)ไม่ดึงดูดต่อไป

– ในขณะเดียวกันเราก็ยังไม่เห็นโรงหนัง
#ปรับปรุงกิจการให้สอดคล้องกับยุคสมัย
ทั้งที่โรงหนังเหล่านี้ มีระยะเวลาที่ยาวนาน
มีทุนเดิมที่ดี/สูงกว่าผู้ประกอบการหน้าใหม่
แต่เรากลับไม่ได้เห็นถึงพัฒนาการที่ปรับตัว
ตามกระแสของโลกที่เคลื่อนไปเรื่อยๆ เลย

ทำให้คนไม่นิยมเข้าไปดูหนังในโรงเหล่านั้น

– สุดท้ายกิจการที่เคยรุ่งเรืองและ
สร้างความมั่งคั่งได้ ก็กลับตกต่ำลง
ล่าสุดผลประกอบการ 5 ปีหลังขาดทุน
อยู่ราว 7 ล้านบาท (ยังถือว่าไม่เยอะ)

https://www.isranews.org/thaireform-…/47393-scala_47393.html


หลายคนเรียกร้องบอกให้จุฬาช่วย

#คำถามคือจุฬาฯจะช่วยอย่างไร
#และยุติธรรมกับผู้เช่ารายอื่นไหม

– ในขณะที่ผู้เช่ารายอื่นต้องแข่งขันกัน
พัฒนาปรับปรุงธุรกิจของตนให้แข่งขันได้
และก็จ่ายค่าเช่าในอัตราเดียวกันกับสกาล่า
แต่จุฬาฯจะต้องมาอุ้มสกาล่าที่บริหารขาดทุน
และไม่สามารถปรับตัวตามยุคสมัยเช่นนั้นหรือ

*** จุฬาฯ จะตอบกับผู้เช่ารายอื่นว่าอย่างไร?
*** และผู้เช่ารายอื่นจะคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

– แล้วมันจะยุติธรรมกับจุฬาฯ หรือไม่
ในเมื่อสมัยก่อน ธุรกิจมีรายได้มหาศาล
เคยรุ่งเรืองมีผู้คนเข้าชมภาพยนต์มากมาย
แต่ปัจจุบัน กิจการแข่งขันไม่ได้อีกต่อไป
กลับบอกให้จุฬาฯ ต้องรับผิดชอบเรื่องนี้?

————————-

– สุดท้ายโรงหนังจะอยู่ไม่อยู่นั้น
เป็นเรื่องที่ต้องว่ากันหลังปี 2563
(ซึ่งถ้าโรงหนังไม่ปรับเปลี่ยนตัวเอง
ก็คงจะยากที่จะอยู่ในพื้นที่นั้นต่อได้)

– ส่วนจะเกิดอะไรขึ้นกับอาคาร
ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่งดงามนั้น
เป็นเรื่องหลังจากที่มีการตกลงแล้ว
ว่าทางผู้เช่าจะไม่ต่อสัญญาแน่นอน

– แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่า
การที่ผู้เช่ารายนี้ไม่ต่อสัญญาแล้ว
อาคารจะต้องถูกทุบทิ้งหรือรื้อทิ้งไป
ประเด็นแรกขึ้นอยู่กับว่าใครคือผู้มีสิทธิ
ในการครอบครองทรัพย์สินบนพื้นที่นั้น

– ถ้าเป็นของทางเจ้าของโรงหนัง
ก็มีความเป็นไปได้ว่าเจ้าของจะถอด
เอาองค์ประกอบอาคารไปประกอบใหม่
ที่สวนนงนุชที่เป็นกิจการของครอบครัว

https://mgronline.com/entertainment/detail/9600000131179

– แต่ถ้าอาคารเป็นทรัพย์สินของทางจุฬาฯ
ก็ต้องดูต่อว่าจุฬาฯ จะดำเนินการอย่างไร
ซึ่งแนวทางก็มีหลากหลายรูปแบบ

1.รื้อทิ้งตามที่หลายฝ่ายไม่อยากให้เป็น

2.เก็บรักษาไว้ทำประโยชน์อย่างอื่น
แต่มันก็จะขัดกับแผนแม่บทของจุฬา
(ซึ่งจะอธิบายในเนื้อหาด้านล่างครับ)
แต่ก็ไม่ใช่ว่าเป็นไปไม่ได้ แต่มันต้อง
มาแก้ผังแม่บทกันใหม่ ซึ่งก็ไม่เหมาะ
ที่จะให้ส่วนสถานศึกษาไปตั้งอยู่กลาง
ส่วนของพื้นที่เพื่อการพานิชย์

3.เปิดให้ผู้สนใจเข้ามาลงทุนรายใหม่
ได้มีสิทธิมาประมูล โดยเขียนสัญญา
ว่าให้ยังคงเก็บรักษาโครงสร้างและ
องค์ประกอบหลักของอาคารเข้าไว้

** ซึ่งทางเลือกที่ 3 ค่อนข้างเป็นไปได้ยาก

——————-
วิธีการช่วยเหลือสกาล่าอย่างแท้จริง
——————-

1. ผู้ประกอบการโรงหนังต้อง #ปรับตัว
ไม่ว่าจะปรับปรุง (renovate) พื้นที่ใหม่
อาจเป็นโรงหนังประกอบกับศูนย์อาหาร
หรืออะไรก็แล้วแต่ ที่จะทำให้ดึงดูดผู้คน
แข่งกับโรงหนังที่อยู่บนห้างสรรพสินค้า
เพื่อให้สามารถแข่งขันและมีรายได้
พอที่จะเลี้ยงตัวเอง/จ่ายค่าเช่าได้

2. คนที่เรียกร้องให้ save scala
ก็ควรไป #อุดหนุน โรงหนังแห่งนี้
ไปกันให้เต็มโรงกันทุกรอบเลยยิ่งดี
ให้เจ้าของมีรายได้ เพื่อทำกิจการต่อ
ไม่ใช่ว่าพอมีกระแสดราม่าก็ออกมาเย้วๆ
แต่ตัวเองก็ยังเลือกดูหนังตามโรงในห้าง

*** ไม่ใช่เรียกร้องให้ “ช่วยสกาล่า”
แต่ถามว่าไปดูหนังที่สกาล่ากันไหม
ก็ตอบว่า “ไม่” หรือสิบปีไปดูครั้งหนึ่ง
แบบนี้ก็คงช่วยใครไม่ได้หรอกนะครับ…

——————-
พระราชประสงค์ของรัชกาลที่ 6
กับแนวคิดมหาวิทยาลัยจัดการตนเอง
——————-

อีกประเด็นสำคัญที่คนมักโจมตีจุฬาฯ
คือเรื่องของการใช้พื้นที่ใช้เชิงพานิชย์
ซึ่งมักจะอ้างว่าในหลวงรัชกาลที่ 5-6
พระราชทานให้ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น

– หลายคนมักไม่เคยทราบในหลวง ร.6
ท่านได้นำรูปแบบ “การเลี้ยง/พึ่งพาตนเอง”
มาจากประเทศอังกฤษ (ที่ท่านเล่าเรียนมา)
มาประยุกต์ใช้กับการก่อตั้งจุฬาฯ และการ
อนุรักษ์อาคารสำคัญในประเทศด้วย

– การอนุรักษ์โบราณสถานในประเทศอังกฤษ
มีแนวคิดสำคัญก็คือ ต้องทำให้โบราณสถาน
อยู่ได้ด้วยตนเอง คือให้สามารถหารายได้เอง
เพื่อนำมาเป็น “ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา”
ไม่ใช่มานั่งรอความช่วยเหลือจากภาครัฐ

(รัฐอาจช่วยบางส่วนหรือช่วยตอนเริ่มต้น)

แนวคิดนี้เห็นได้ทั้งกรณีโฮเต็ลพญาไท
และกรณีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

– กรณีพระราชวังพญาไท ท่านให้เปิดเป็น
“โฮเต็ลพญาไท” โรงแรมที่รองรับต่างชาติ
ที่เข้ามาพักอาศัยเพื่อทำธุรกิจในประเทศ
เพื่อนำเงินมาเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษา
อสังหาริมทรัพย์ที่มีขนาดใหญ่เช่นนี้

http://www.phyathaipalace.org/…/%E0%B9%82%E0%B8%AE%E0%B9%80…

– ส่วนในกรณีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มีพระราชประสงค์จะให้ที่ดินมหาวิทยาลัย
ไว้ประกอบธุรกิจ-พานิชย์ เพื่อเลี้ยงตัวเอง
ดังเช่นที่มหาวิทยาลัยในอังกฤษอย่าง…
Oxford และ Cambridge เป็นกัน
…………………

หมายเหตุ:

– มหาวิทยาลัยชื่อดังในต่างประเทศ
มีจุดเด่นสำคัญคือ หาเลี้ยงตัวเองได้
ทั้งจากเงินลงทุนกิจการหลายประเภท
เงินบริจาค เงินค่าจ้างในการทำวิจัยจาก
เอกชนที่เล็งเห็นประโยชน์ของงานวิจัย

เช่น มหาวิทยาลัย Oxford มีรายได้
ปีละไม่ต่ำกว่า 1,300 ล้านปอนด์
(63,000 ล้านบาท) โดยที่ 40%
มาจาก “การรับจ้างทำงานวิจัย”
เพื่อป้อนให้กับภาคเอกชน/รัฐ

22% มาจากค่าเทอม/ค่าหน่วยกิต
22% มาจากการทำสื่อและเงินบริจาค
15% มาจากเงินช่วยเหลือของรัฐบาล

https://www.ox.ac.uk/about/organisation/finance-and-funding…

– ในขณะที่บ้านเรา เอกชนน้อยรายนัก
ที่เห็นความสำคัญของงานวิจัยเชิงปฏิบัติ
ซึ่งสามารถนำไปใช้พัฒนาธุรกิจของตนได้

– เราจึงมีแต่งานวิจัยที่สักแต่ทำวิจัย
เพื่อให้ผ่านเกณฑ์ของกระทรวงศึกษา
หรืองานวิจัยขึ้นหิ้งที่เขียนใช้ขอตำแหน่ง
แต่ไม่เคยถูกนำเอาไปใช้ประโยชน์อะไร

– สิ่งเหล่านี้คือปัญหาหลักของการศึกษา
และการพัฒนาภาคธุรกิจในประเทศไทย
มาไม่ต่ำกว่า 20-30 ปีแล้ว แต่บรรดาผู้นำ
กลับไม่เคยเล็งเห็นปัญหา เรายังมีแต่พวก
นักวิชาการที่บ้าบออยู่กับการประเมินผล
บ้าบออยู่กับการปรับปรุงหลักสูตรต่างๆ

แต่ไม่ได้สนใจว่าหลักสูตรเหล่านั้น
ตอบต่อความต้องการของตลาดแรงงาน
การพัฒนาคุณภาพชีวิต+ประเทศหรือไม่

——————-
แผนแม่บทของจุฬาฯ
กับการแบ่งพื้นที่ใช้สอย
——————-

สำหรับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แบ่งพื้นที่ใช้สอยของมหาวิทยาลัย
ออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน ได้แก่…

(กรุณาดูภาพแผนที่ประกอบ)

1.พื้นที่เขตการศึกษา 50% (สีชมพู)
คือพื้นที่ส่วนกลางของมหาวิทยาลัย
ที่มีถนนพญาไทคั่นอยู่ตรงกลาง

2.พื้นที่ให้ส่วนราชการเช่า 20% (สีฟ้า)
– เตรียมอุดม
– สาธิตปทุมวัน
– อุเทนถวาย
– สำนักงานเขตปทุมวัน
– สนามกีฬาแห่งชาติ

3.พื้นที่พานิชย์ 30% (สีเหลือง)
คือ พื้นที่รอบนอกซึ่งติดถนน 3 สาย
– ถนนพระรามที่ 1
– ถนนพระรามที่ 4
– ถนนบรรทัดทอง

http://www.chula.ac.th/th/archive/1773

แต่คนจำนวนมากไม่ทราบข้อมูลเหล่านี้
แม้แต่นิสิตในจุฬาฯ เองก็น้อยคนที่ทราบ
ทำให้มีการวิจารณ์จากคนภายนอกบ่อยครั้ง
ว่าทำไมจุฬาฯ ไม่เอาที่ไปใช้เพื่อการศึกษา
ทั้งที่ในความเป็นจริงมีการแบ่งสัดส่วนไว้แล้ว
และพื้นที่แต่ละประเภทก็ถูกใช้ตามผังที่แบ่ง

(ส่วนรายได้ของจุฬาฯ ปัจจุบันอยู่ที่ราว
2 หมื่นล้าน รายจ่ายอยู่ที่ 1.6 หมื่นล้าน)

www.chula.ac.th/wp-conte…/uploads/…/20171003_CUFinan57.pdf

(หมายเหตุ: แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า
ผังแม่บทไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้นะครับ
การปรับเปลี่ยนสัดส่วนในผังแม่บทดังกล่าว
สามารถทำได้ แต่เป็น “เรื่องใหญ่” ที่จุฬาฯ
ก็ต้องไปประเมินและตัดสินใจกันในอนาคต

ถึงกระนั้นก็ไม่น่ามีสัดส่วนที่ต่างจากเดิมมาก
เช่นอาจลดพื้นที่พานิชย์ลงสัก 5% และเพิ่ม
พื้นที่การศึกษาหรือหอพักสำหรับนิสิตแทน
อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ไปมีข้อมูลมาถกเถียงและ
ต่อสู้กันด้วยเหตุผลอีกทีหนึ่งนะครับ…)

————————-

ป.ล. ผมเองเป็นคนหนึ่งที่ชอบโรงหนัง
ในเครือ Apex มาตั้งแต่เด็กและชื่นชม
แนวคิดของผู้ประกอบการโรงหนังแห่งนี้
ที่อยากให้คนรับชมภาพยนต์ในราคาถูก

และอยากให้มีการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม
ที่มีคุณค่าในหน้าประวัติศาสตร์ของการ
พัฒนาสถาปัตยกรรมในประเทศเอาไว้

#ถึงกระนั้นทุกอย่างต้องเดินทางสายกลาง
#และมองความเป็นไปได้ที่ทำได้จริงด้วย

ไม่ใช่เพียงบอกว่าให้เก็บรักษาไว้
แต่ไม่สนใจว่าจะดูแลรักษาอย่างไร
เหมือนการที่คนเมืองไปเที่ยวชนบท
แล้วเห็นบ้านเรือนเก่าๆ ก็อยากเก็บไว้
แต่ชาวบ้านที่อยู่อาศัยบอกอยู่ไม่สบาย
ไม่สะดวกต่อชีวิตสมัยใหม่ของพวกเขา

แล้วเราจะทำอย่างไร?

จะทิ้งรากเหง้าทิ้งประวัติศาสตร์ก็คงไม่ถูก
จะแช่แข็งให้ของเดิมเหมือนกับสัตว์สตาฟ
ในพิพิธภัณฑ์เพื่อสนอง “จริต” คนบางกลุ่ม
ก็คงไม่ถูกต้องเช่นกัน มันก็ต้องมาดูแนวทาง
ที่จะสามารถรักษาสถาปัตยกรรมที่มีอยู่เอาไว้
ในขณะเดียวกันก็ต้องมีการปรับปรุงบางอย่าง
ให้เข้ากับยุคสมัยหรือความเปลี่ยนแปลงเช่นกัน

*** การสร้างดราม่ากล่าวโทษผู้ให้เช่าพื้นที่
โดยไม่เข้าใจบริบท ไม่มีเหตุผล/ข้อมูลพื้นฐาน
จึงเป็นเรื่องที่ไม่สมควรทำ เพราะมันไม่ได้ช่วย
รักษาทั้งกิจการโรงหนังและสถาปัตยกรรมเลย…

————–

อัพเดท: สำนักงานทรัพย์สินจุฬาฯ
ออกแถลงการณ์ล่าสุดมาแล้วนะครับ
ว่าตกลงเรื่องราวเป็นอย่างไรกันแน่
ตามไปอ่านกันได้ในโพสท์นี้เลย

https://www.facebook.com/kittitouch.chaiprasith/posts/1668435309887288?pnref=story